1 / 22

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐. จัดทำโดย นายสุวิทย์ ศิริ รหัสนักศึกษา 54100279 คณะวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

azra
Download Presentation

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ จัดทำโดย นายสุวิทย์ ศิริ รหัสนักศึกษา 54100279 คณะวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. ๒๕๕๐ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐มีผลบังคับใช้แล้ว วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2550

  3. เจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อกำหนดเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อกำหนด

  4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกอบด้วยมาตราต่างๆรวมทั้งสิ้น 30 มาตรา แบ่งได้ 3 ส่วน คือ โครงสร้างของพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  5. 2 . หมวด 1 บทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีทั้งสิ้น 13 มาตรา ดังนี้

  6. หมวด 1

  7. หมวด 2เป็นการกำหนดเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้ผู้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์และต้องให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ ส่งมอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ บทบัญญัติในหมวดนี้มีทั้งหมด 13 มาตรา ดังนี้

  8. หมวด 2

  9. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.ฐานความผิดสาระสำคัญของพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.ฐานความผิด

  10. ความผิดในหมวด 1 เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ เนื่องจากผลของการกระทำความผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น อาจไม่เพียงกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะกระทบต่อสังคม หรือก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมทั้งหาตัวผู้กระทำผิดได้ยก ยกเว้นมาตร 16 ซึ่งเป็นความผิดที่กระทบเพียงบุคคลเดียว คู่คดีสามารถไกล่เกลี่ยกันได้

  11. ฐานความผิดตามมาตราต่างๆในหมวด 1 มีดังนี้ มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมสปายแวร์ (Spyware) ขโมยข้อมูลรหัสผ่านส่วนบุคคลของผู้อื่น เพื่อใช้บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของงผู้นั้นผ่านช่องโหว่ของระบบดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต

  12. มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ การล่วงรู้มาตรการความปลอดภัยการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Keystroke แอบบันทึกการกดรหัสผ่านของผู้อื่น แล้วนำไปโพสไว้ในเว็บบอร์ดต่างๆเพื่อให้บุคคลที่สามใช้เป็นรหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เป็นเหยื่อ • มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำใดๆตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูล(File) ที่เป็นความลับโดยไม่ได้รับอนุญาต • มาตรา 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือ การดักรับข้อมูลของผู้อื่นในระหว่างการส่ง เช่น การใช้สนิฟเฟอร์(Sniffer) แอบดักแพ็กเก็ต(Packet) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เล็กที่สุดที่อยู่ระหว่างการส่งไปให้ผู้รับ

  13. มาตรา 9 และ 10 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการรบกวนข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมไวรัสเพื่อส่งอีเมล์(E-mail)จำนวนมหาศาลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้อื่น เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

  14. มาตรา 11 การสแปมเมล์ เป็นมาตราที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการส่งสแปม ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกับมาตรา 10 และยังเป็นวิธีกระทำความผิดโดยการใช้โปรแกรมหรือชุดคำสั่งส่งไปให้เหยื่อจำนวนมาก โดยปกปิดแหล่งที่มา เช่น IP Address ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้ • มาตรา 12 การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และการบริการสาธารณะ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และแอบเพิ่มเติม หรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคหรือระบบการเงินของระเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการทำสงครามข้อมูลข่าวสาร(Information Warfare)

  15. มาตรา 13การจำหน่ายหรือเผยแพราชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด การเผยแพร่ชุดคำสั่งชั่วร้ายที่ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตราต่างๆ ก่อนหน้าที่ • มาตรา 14และ 15การปลอมแปลงคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการรับผิดของผู้ให้บริการ สองมาตรานี้เป็นลักษณะที่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ โดยในมาตรา 14ได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือสร้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลลามกอนาจาร และการฟอร์เวิร์ด(Forward)หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวอีกด้วยในมาตรา 15ได้มีการกำหนดโทษของผู้ให้บริการที่สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14ต้องรับโทษด้วยหากไม่ได้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

  16. มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ หรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น หรืออับอายเป็นการกำหนดฐานความผิดในเรื่องของการตัดต่อภาพของบุคคลอื่นที่อาจจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย โดยความผิดในมาตรานี้เป็นความผิดที่มีความใกล้เคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญา แต่มีการแพร่กระจายความเสียหายลักษณะดังกล่าวทางคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างมากกว่า

  17. มาตรา 17 การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร เป็นการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากมีความกังวลว่า หากมีความกระทำความผิดนอกประเทศแต่ความเสียหายเกิดขึ้นภายในประเทศแล้วจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร จึงต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนในพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ด้วย

  18. ฐานความผิดและบทลงโทษ

  19. ฐานความผิดและบทลงโทษ

  20. ข้อมูลอ้างอิงจากhttp://jackzone.igetweb.com/index.php?lite=article&qid=475309 http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=333&filename=index

More Related