270 likes | 367 Views
ปัญหาที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องเผชิญ และการแก้ไข. โดย ดร.ชวลิต หมื่นนุช. น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกาศนียบัตรการว่าความ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ประกาศนียบัตรจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ 29
E N D
ปัญหาที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องเผชิญและการแก้ไขปัญหาที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องเผชิญและการแก้ไข โดย ดร.ชวลิต หมื่นนุช • น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง • ประกาศนียบัตรการว่าความ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย • ประกาศนียบัตรจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ 29 • Certificate from Coventry International English Studies Centre, England. • M.Sc. (Community College Teaching), Pittsburg State University, USA. • Ph.D. (Development Administration), NIDA. • Post Doctoral Studies, “The Higher Education Management Program”, • The University of Oxford and The University of Warwick, UK. • “Executive Leadership”, Washington State University, USA. • ศึกษาและดูงาน ณ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ บุลกาเรีย โรมาเนีย ลักเซมเบอร์ก เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ • เดนมาร์กชิลี เปรูรัสเซียและญี่ปุ่น ตำแหน่งปัจจุบัน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(ABAC)และเลขานุการสภา กว่า 30 ปี กรรมการสภามหาวิทยาลัยหาดใหญ่มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ เลขาธิการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 6 สมัย
คณะกรรมการ(กกอ.) ม. 24 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ (1) ให้ความเห็นชอบในกรณีที่ พรบ.นี้กำหนดว่าให้ได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการ (2) เสนอความเห็นหรือให้คำแนะนำต่อ รมต. ในการออก กฎกระทรวงและประกาศเพื่อดำเนินการตาม พรบ.นี้ และเรื่อง อื่นๆที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (3) รับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามมาตรฐานการศึกษา ที่กระทรวงกำหนด (4) ออกระเบียบและข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตาม พรบ.นี้
คณะกรรมการ(กกอ.) (5) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิของบุคคลทั่วไป ในการนี้จะระบุชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้วยก็ได้ (6) ปฏิบัติงานอื่นใดตาม พรบ.นี้ หรือ กม.อื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ (4) ออกระเบียบและข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตาม พรบ.นี้
ความสำคัญของสภาสถาบันอุดมศึกษาความสำคัญของสภาสถาบันอุดมศึกษา สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตาม ม.28 แห่ง พรบ.สถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ.2546 เป็นองค์กรทางการบริหารระดับสูงสุดของสถาบัน อุดมศึกษา องค์ประกอบของสภาสถาบัน 1. นายกสภาสถาบัน ม.28(1) 2. อธิการบดี กรรมการโดยตำแหน่ง ม.28(2) แต่งตั้งโดยสภา ม.40 3. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่า 7 และ ไม่เกิน 14 คน ม.28(3) 4. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งรัฐมนตรี เลือกจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ กกอ. ให้ความเห็นชอบ ม.28(4)
ให้สภาสถาบันเลือกกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งเป็นอุปนายกสภาสถาบันเพื่อทำหน้าที่แทนนายกสภาสถาบันเมื่อนายกสภาสถาบันไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบัน
เลขานุการสภามหาวิทยาลัยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย กฎหมายกำหนดให้สภาสถาบันแต่งตั้งผู้บริหารของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนคนหนึ่งเป็น เลขานุการ โดยคำแนะนำของ อธิการบดี ม.28 ว.4
ม. 30 กรรมการสภาสถาบันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย กรรมการสภาสถาบันต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี ผู้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาอาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาสถาบันตามมาตรา 28(3) หรือ(4) ได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคสอง
ม. 31 นายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันตามมาตรา 28(3) และ (4) มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
อำนาจหน้าที่ของสภา สภาสถาบันมีอำนาจ 26 ประการ (ม.34) 1. อนุมัติแผนพัฒนา 2. ออกข้อกำหนด ระเบียบ และข้อบังคับ 3. จัดสรรทุนเป็นกองทุนประเภทต่างๆ ตาม ม.61 4. อนุมัติแผนการเงิน งบดุล งบการเงินประจำปีของกองทุนต่างๆ 5. อนุมัติการโอนเงินของกองทุน 6. อนุมัติหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร 7. อนุมัติการรับนักศึกษา การให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8. อนุมัติการให้ปริญญากิตติมศักดิ์
9. อนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกส่วนงานภายใน 10. อนุมัติความร่วมมือทางวิชาการ 10/1. อนุมัติการลงทุนหรือร่วมลงทุนกับนิติบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวกับกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อประโยชน์ เป็นรายได้ของสถาบัน 11. สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการระดม ทรัพยากรจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มคุณภาพของ บัณฑิต 12. อนุมัติการรับหรือการเข้าสมทบกับสถาบันการศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ 13. เสนอความเห็นต่อ กกอ. ในการแก้ไขข้อกำหนด ม.11 ว.3
14. เสนอความเห็นต่อ กกอ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ แต่งตั้ง และถอน ศ. และ ศ.พิเศษ 15. แต่งตั้งและถอดถอนอธิการบดี ศ.เกียรติคุณ และถอดถอน คณาจารย์ประจำ 16. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี และผู้ ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า 17. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งและถอดถอน รศ. รศ.พิเศษ ผศ. ผศ.พิเศษ 18. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา หรือให้ทุนแก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้มี ความสามารถพิเศษ 19. ออกข้อบังคับ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
20. พัฒนาบุคลากร และคุณภาพบัณฑิต 21. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศ 22. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศ 23. ให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน 24. หาวิธีที่จะทำให้การศึกษา การวิจัย และฝึกอบรมของสถาบันให้ เจริญก้าวหน้า และมีคุณภาพทางวิชาการยิ่งขึ้น 25. ปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่ได้ระบุไว้ให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด
สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะต้องเผชิญกับปัญหาอะไรสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะต้องเผชิญกับปัญหาอะไร 1. ปัญหาเรื่องบทบาทและหน้าที่ 2. ปัญหาอันเนื่องมาจากกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ และระเบียบต่าง 3. ปัญหาเฉพาะ 3.1 เลขานุการไม่ดี ไม่มีความรู้ ความชำนาญเชี่ยวชาญงานสภา 3.2 อธิการบดีไม่รู้หน้าที่ ไม่มีวิสัยทัศน์ ไร้หลักธรรมาภิบาล 3.3 กรรมการสภาขาดความรอบรู้ ไม่ช่วยพินิจและพิจารณาวาระ 3.4 นายกสภาไม่เคี่ยวก่ำ ช่ำชองศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ สถาบันอุดมศึกษา
ปัญหาเรื่องบทบาทและหน้าที่ปัญหาเรื่องบทบาทและหน้าที่ สภาสถาบันต้องรู้และเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างดี ในฐานะที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุด ที่กำหนดทิศทางการดำเนินงาน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า บทบาท (ตาม ม.28) 1. ในฐานะผู้ทรงคุญวุฒิ - การให้คำแนะนำช่วยเหลือด้านต่างๆ 2. ในฐานะผู้แทน สกอ. - การให้คำแนะนำ บอกข้อมูล รวมถึง ข้อเท็จจริงในเรื่องนโยบาย กฎ ระเบียบต่างๆ ของสกอ. 3. ในฐานะผู้พิทักษ์ผลประโยชน์และคุ้มครองผู้บริโภค - การกำกับ ดูแล และติดตามงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้จัดการเรียน การสอนที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐานตามเกณฑ์ สกอ.
ปัญหาอันเนื่องจากกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และหนังสือเวียนแนวปฏิบัติ 1. กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติอะไรที่กรรมการ สภาจะต้องรู้ 2. ทำอย่างไรจึงจะทำให้กรรมการสภารู้ 3. ทำไมถึงจะต้องรู้ สิ่งเหล่านี้ คือ หน้าที่ของเลขานุการ
1.กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ใน การกำกับ ติดตามการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ มีความมั่นคง กรรมการสภา จะต้องรู้ทั้งหมด ที่สำคัญ เช่น 1.1 พรบ. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 1.2 กฎกระทรวงว่าด้วยการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2551
1.3 ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น ว่าด้วย (1) การจัดทำทะเบียนคณาจารย์ประจำ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา (2) การรับความช่วยเหลือ และการทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน (3) การจัดทำรายงานประจำปีประเภทต่างๆ 1.4 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดม ศึกษา 1.5 หนังสือเวียนที่เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ
2. กรรมการสภาจะรู้ได้อย่างไร 3. ทำไมถึงจะต้องรู้ เป็นหน้าที่ของเลขานุการที่จะต้องแจ้งเวียนให้ทราบ โดย 1. บรรจุไว้ในวาระแจ้งเพื่อทราบ ในกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ 2. การนำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อพิจารณาจะต้องอ้างอิงกฎหมาย ระเบียบ หรือประกาศของสกอ. ให้กรรมการสภาทราบด้วย 1. เพราะกรรมการสภาสถาบันอาจจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. เพราะกรรมการสภาจะได้ช่วยพิจารณาให้ความเห็นที่ สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และประกาศต่างๆ
บทบาทและความสำคัญของเลขานุการบทบาทและความสำคัญของเลขานุการ ปัญหาที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเผชิญและการแก้ปัญหา มักจะเกิดจาก 3 สาเหตุ คือ 1. “เลขาไม่ชำนาญ” 2. “กรรมการเชี่ยวชาญน้อย” 3. “ประธานไม่ชี้นำ”
บทบาทของเลขานุการมีความสำคัญอย่างไรบทบาทของเลขานุการมีความสำคัญอย่างไร บทบาททั่วไป 1. การกำหนดตารางการประชุม และการเชิญประชุม 2. การกำหนดวาระการประชุม 2.1 ประสานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อบรรจุเป็นวาระ 2.2 เรื่องที่เลขานุการเห็นว่าสมควรแจ้ง หรือขออนุมัติสภา 3. การจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูล อันประกอบด้วย ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพิจารณา 4. การสรุปประเด็น
5. การเขียนรายงานการประชุม 5.1 กระชับ รัดกุม ในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย 5.2 มติชัดเจน 6. การแจ้ง การส่งต่อ และการดำเนินการตามมติของสภา 7. การติดตามการปฏิบัติตามมติของสภา ซึ่งต้องแจ้งหรือเสนอให้สภา ทราบในการประชุมครั้งต่อไป (เรื่องสืบเนื่อง) 8. การส่งรายงานการประชุมให้สกอ.
บทบาทพิเศษ 1. การประสานงานระหว่างสภากับมหาวิทยาลัย 2. การเป็นผู้คุมกฎ ต้องแม่นยำในกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติของ ราชการ และของมหาวิทยาลัย พร้อมชี้แจงต่อสภาทันที 3. การประสานงานการประเมินภาวะผู้นำ และการปฏิบัติหน้าที่ของ สภาสถาบันตามที่กฎหมายกำหนด และประเมินการปฏิบัติหน้าที่ ของอธิการบดี ตามเกณฑ์ สกอ. และ สมศ. 4. การให้ข้อมูล และตอบข้อซักถามต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ภายใน (สกอ.) และการประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.)
ประเด็นปัญหาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนใหญ่คือประเด็นปัญหาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนใหญ่คือ ประเด็นข้อกฎหมาย 1. ม.19 การจัดตั้ง ยุบ เลิก และการแบ่งส่วนงานภายในสถาบัน 2. ม.20 การจัดการศึกษานอกที่ตั้ง 3. ม.23 การคุ้มครองการทำงาน และผลประโยชน์ตอบแทนแก่ ผู้ปฏิบัติงาน ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศของ สกอ. และ ข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น ๆ เอง
4. ม.34 อำนาจหน้าที่ของสภา (13) พิจารณาเสนอความเห็น ต่อ กกอ. ในการแก้ไขข้อกำหนดตาม ม.11 วรรค 3 5. ม.43 อำนาจของอธิการบดี 6. ม.44 การพ้นตำแหน่งอธิการบดี “สภาต้องแจ้ง สกอ.” ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง 7. ม.48 การพ้นตำแหน่งคณาจารย์ ต้องแจ้ง สกอ. ตาม ม.77 ทรัพย์สินและการบัญชี 8. ม.67 อธิการบดีต้องจัดทำงบการเงินประจำปีที่ได้รับการตรวจ สอบ แล้วเสนอสภาภายใน 120 วัน (28 ก.ย.)
การกำกับควบคุม 9. ม.74 การกระทำที่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กกอ. มี 5 ประการ 10. ม.80 ไม่ดำเนินการในสิ่งที่จำเป็นต่อการจัดการศึกษาตาม โครงการที่ได้รับอนุญาตภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ได้รับอนุญาต – รมต.เพิกถอนใบอนุญาต 11. ม.82 การโฆษณาอันเป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง 12. ม.85 ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดจะถูกลงโทษตาม ม.84 ว.2 1. สั่งให้งดรับ นศ. ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชา 2. เพิกถอนการรับรองวิทยฐานะ 3. เพิกถอนใบอนุญาต 13. ม.86 อาจจะถูก“ควบคุม” ด้วยเหตุ 4 ประการ
บทกำหนดโทษ มีเหตุที่จะต้องรับโทษถึง 20 ประการ ซึ่งมีทั้งโทษปรับ จำคุก หรือทั้งจำคุกและปรับ การแก้ปัญหาของสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1. ต้องมีเลขานุการที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญมาก 2. อธิการบดีมีวิสัยทัศน์ เจนจัดธรรมาภิบาล 3. กรรมการสภารอบรู้ ช่วยดูเป็นอย่างดี 4. นายกสภาเก่งดี ช่วยชี้นำ
Thank You Q&A