190 likes | 335 Views
UNFCCC & KP เป็นมาอย่างไร ตอนนี้ไปถึงไหน. วุฒิ หวังวัชรกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์ vute.w@ku.ac.th. UNFCCC และ KP คืออะไร.
E N D
UNFCCC & KPเป็นมาอย่างไรตอนนี้ไปถึงไหน วุฒิ หวังวัชรกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์ vute.w@ku.ac.th
UNFCCC และ KP คืออะไร • UNFCCC เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายสำคัญคือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนโดยรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่การปล่อยของมนุษย์ไม่เกิดอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ • ลักษณะสำคัญของ UNFCCC คือมีพันธกรณีที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (ไม่มีมาตรการบังคับ) และมีมาตราที่กำหนดให้มีการปรับปรุงพันธกรณีที่ผูกพัน (ในการลดก๊าซ) เรียกว่า Protocol เช่น กรณีที่มีการจัดทำพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) • KP จึงเป็นพิธีสารภายใต้ UNFCCC
UNFCCC เนื้อหาเป็นอย่างไร
พันธกรณีมีอะไร (มาตรา 4) • All Parties, taking into account their common but differentiated responsibilities and their specific national and regional development priorities, objectives and circumstances, shall………………… • 4.1All Parties (จัดทำ National Communication และร่วมมือ ส่งเสริม ดำเนินการ ฯลฯ) • 4.2 ถึง 4.10 เป็นพันธกรณีของ Annex I รายละเอียดต้องไปอ่านเองในอนุสัญญาฯ
UNFCCC เกือบ 20 ปี เป็นมาอย่างไร
ประเด็นใหญ่ในการเจรจาประเด็นใหญ่ในการเจรจา • Inventory • Mitigation • Vulnerability and Adaptation • Financial supports • Development and transfer of technology • National Communication เรื่องใหญ่ในอนาคต Transboundary emissions Delayed emissions
Parties to the Convention • Other Stakeholders: • - Other MEAs • NGOs • Indigenous Groups • Private sector • Media • .. etc. IPCC Conference of the Parties:COP SBI SBSTA Expert Groups Expert Groups Institutionalized Political Process Social Political Process At Global level: Not about the problem but about who would sacrifice?, by how much?
Mitigation: from global to local COP Parties Annex I UNFCCC KP Non-Annex I Annex I parties Emission trading Joint Implementation Clean Development Mechanism All parties by abilities Public Private NGO/IGO Non-KP e.g. US project onCarbon off-set
ทำอะไรบ้าง? ทำไปถึงไหน? • การลดก๊าซ • ผ่านอนุสัญญา ฯ แบบเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พัก ทั้งสองกลุ่ม • ผ่านพิธีสารเกียวโต แบบแรลลี่เก็บคะแนน • ประเทศพัฒนาแล้ว (มือโปร) ET, JI • กำลังพัฒนา (สมัครเล่น) CDM • การสนับสนุน • การเงิน ผ่าน GEF ทวิภาคี พหุภาคี • เทคโนโลยี ไม่คืบหน้า • เสริมสร้างจิตสำนึก ได้ระดับหนึ่ง
5 ปีที่ผ่านมา มีอะไรน่าสนใจ ในกระบวนการเจรจา • เริ่มเจรจาพันธกรณีรอบใหม่ภายใต้พิธีสารเกียวโต AWG-KP • เริ่มเจรจาพันธกรณีรอบใหม่ภายใต้อนุสัญญาฯ AWG-LCA • เห็นชอบ Bali Road Map (Bali Action Plan - mitigation, adaptation, technology and financing) • “take note” Copenhagen Accord (กำหนดเป้าหมายไม่มีบทบังคับ สร้างแรงจูงใจ finance) ปีนี้ถือว่าการเจรจาล้มเหลวหรือถอยหลัง • เห็นชอบ (ส่วนใหญ่) Cancun agreements • เห็นชอบ Durban Platform for Further Action(แต่ดูอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างไรไม่รู้)
5 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่มเจรจา • Negotiation block • Annex I, Annex II • Non-Annex I • UN regional groups Africa, Asia, GRULAC, Eastern Europe, Western Europe and others • Interest groups • G77+China, EU, Umbrella, AOSIS, LDCs,, EIG, CRN, COMIFAC, SICA, CD, ALBA, HVC, OPEC, BASIC G77+China เริ่มแยกตามผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น ๆ (mitigation, V&A, finance) และบางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง
สรุปความเป็นจริง • อนุสัญญาฯ เป็นเพียงกรอบและมีศักยภาพเพียงระดับหนึ่ง • การลดก๊าซอย่างจริงจังเกิดขึ้นในพิธีสารเกียวโต • ใกล้สิ้นสุดการดำเนินการ (เห็นดำเห็นแดง) • เรียนรู้ต้นทุนทางเศรษฐกิจของการลดก๊าซ • บางประเทศได้ “โดยสารฟรี” และทุกประเทศอยากเป็น “ผู้โดยสารฟรี” • ประเทศเปลี่ยนใจตามกระแสการเมือง (แคนาดา) • ประเทศปรับตัวตามสถานะการณ์การเจรจา • V&A ถูกละเลยเมินเฉยตลอดมา (และคงตลอดไป)
ปัญหาอยู่ที่ไหน? • ทุกประเทศทราบถึงปัญหาและเห็นพ้องต้องกันว่าต้องลดก๊าซเรือนกระจก แต่ทำไมจึงไม่เห็นอะไรเป็นเนื้อเป็นหนัง • เพราะมีผลต่อเศรษฐกิจของตนอย่างสำคัญ (ต้นทุนในการลดก๊าซ ทรัพย์สินทางปัญญา ความได้เปรียบทางการค้า) • อยากเป็น “ผู้โดยสารฟรี” (เพราะเป็นผลประโยชน์ร่วมที่แบ่งแยกไม่ได้) • เป็นเรื่องผลประโยชน์และการเมืองระหว่างประเทศและในประเทศ
การเมืองเรื่องโลกร้อน: จะทำอะไรต่อ? • กำลังเจรจาแนวทางดำเนินการรอบใหม่ (ที่สอง) • การดำเนินการในระยะยาว แค่ไหน เป้าหมายเท่าไหร่ • ใครบ้างที่ต้องลดตามเป้าหมาย? เอาอะไรเป็นเกณฑ์การลด? จะทำให้ทุกประเทศมีส่วนร่วม(อย่างมีความหมาย)ได้อย่างไร? ฯลฯ • คงจบลงเป็น package • ทิศทางที่ต้องระวัง • การถ่ายโอนก๊าซเรือนกระจกข้ามประเทศ • การเปลี่ยนแนวคิดจาก source of origin เป็น destination • เกี่ยวข้องกับการค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขอขอบคุณ vute.w@ku.ac.th