240 likes | 255 Views
การ พัฒนาการเช็ดตัวลดไข้ในเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง หอผู้ป่วยในกุมารเวชกรรม 2. วัตถุประสงค์และหรือเป้าหมาย. ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลไม่มีภาวะชักซ้ำ. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ.
E N D
การพัฒนาการเช็ดตัวลดไข้ในเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงหอผู้ป่วยในกุมารเวชกรรม 2
วัตถุประสงค์และหรือเป้าหมายวัตถุประสงค์และหรือเป้าหมาย • ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลไม่มีภาวะชักซ้ำ
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ • จากสถิติโรคที่พบบ่อยในหน่วยงานกุมารเวชกรรม 2 พบว่าผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงมีจำนวนมาก ถือว่าเป็นลำดับที่ 2 ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของโรค ที่พบบ่อยในหน่วยงาน ในปี พ.ศ.2559-2561 พบว่ามีผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงมานอนเพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาลมีจำนวน 188 , 162 และ 70 คน ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยมีการชักเนื่องจากผู้ปกครองขาดความรู้เรื่องไข้ชัก และยังเช็ดตัวลดไข้ไม่ถูกต้อง พยาบาลในหน่วยงานยังสอนเกี่ยวกับการเช็ดตัวลดไข้ให้แก่ญาติไม่เป็นไปแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้สื่อการสอนเรื่องภาวะชักจากไข้สูงในหน่วยงานยังไม่มีที่จะสื่อกับญาติให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ เนื่องจากญาติเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การให้ความรู้โดยสอนสาธิตและสาธิตย้อนกลับการเช็ดตัวลดไข้ ใช้แผ่นพับเพื่อสอนเกี่ยวกับภาวะชักจากไข้สูงการดูแลขณะชัก การเช็ดตัวลดไข้ และการเสริมพลังในทางบวก จะทำให้ญาติมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพัฒนา • ขั้นตอนการดำเนินงาน • 1. เสนอปัญหา เรื่องการให้คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง ในที่ประชุมภายในหน่วยงาน เพื่อขออนุญาตจัดทำแผ่นพับเพื่อสอนการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง • 2. การค้นคว้าและรวบรวมเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง เพื่อจัดทำแผ่นพับเพื่อสอนการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง • 3. การจัดพิมพ์เนื้อหาแผ่นพับประกอบด้วย • 4. สอนหลักการให้ความรู้ญาติแก่พยาบาลตึกกุมารเวชกรรม 2 ทุกคนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน • 5. ให้ความรู้แก่ญาติ และนำแผ่นพับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง • 6. ประเมินผลหลังการสอนโดยตั้งคำถามให้ตอบและสาธิตย้อนกลับ
ภาวะชักจากไข้สูง • เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุระหว่างอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ส่วนใหญ่จะมีอาการชักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการไข้ แม้ว่าอาการชักจากไข้ไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ไม่มีผลต่อความผิดปกติของระบบประสาทและพัฒนาการของเด็ก แต่หากมีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 5 นาทีขึ้นไปจนมีภาวะขาดออกซิเจน หรือมีอาการชักซ้ำติดต่อกันหลายครั้งในการเจ็บป่วยครั้งเดียว อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสมองที่กำลังเติบโตส่งผลให้สมองเสียหายแบบถาวรได้ ซึ่งเด็กที่เคยชักจากไข้สูงมาแล้วมีโอกาสที่จะกลับมาชักอีกถึงร้อยละ20-50 และเด็กที่มีอาการชักจากไข้มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคลมชักได้สูงกว่าเด็กทั่วไป
พยาธิสภาพ • ภาวะไข้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึมในเซลล์ประสาทสมอง ทำให้เซลล์ประสาท ไวต่อการที่จะเกิดอาการชักได้มากขึ้น ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุและความเจริญของสมองด้วย ซึ่งอายุที่มากขึ้น ก็มีโอกาสเกิดไข้ได้น้อยลง ทำให้เกิดอาการชักได้น้อยลง นอกจากนี้อุณหภูมิของไข้ก็เป็นปัจจัยสำคัญใน การกระตุ้นให้เกิดอาการชัก โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 75 ของเด็กที่ชักจะมีอุณหภูมิสูงเกิน 39 องศาเซลเซียสแต่ยอมรับว่าไข้ที่ 38 องศาเซลเซียส เป็นจุดต่ำสุดที่เด็กเริ่มมีอาการชักได้ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น การติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจ หูชั้นกลางอักเสบ กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ การติดเชื้อใน ระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดภายหลังจากการให้วัคซีนคางทูม หัด หัดเยอรมัน เป็นต้น ไวรัสที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะชักจากไข้สูง ได้แก่ influenza A, respiratory syncytial virus (RSV) และ adenovirus เป็นต้น
ชนิดของภาวะชักจากไข้สูงภาวะชักจากไข้สูงชนิดของภาวะชักจากไข้สูงภาวะชักจากไข้สูง • แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. อาการชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อน (simple febrile convulsion หรือ primary febrile convulsion) พบได้บ่อยที่สุด พบร้อยละ 85 มีลักษณะคือ 1.1ก่อนมีอาการชัก ระบบประสาทและพัฒนาการมีลักษณะปกติ 1.2ขณะมีอาการชัก จะเกิดอาการชักระยะสั้นๆ ส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 นาที ไม่เกิน 5นาที และลักษณะการชักเป็นแบบชักทั้งตัว 1.3ภายหลังการชัก จะไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท
2. อาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (complex febrile convulsion หรือ secondary febrile convulsion) พบได้น้อย พบได้ร้อยละ 15 มีลักษณะคือ 2.1ก่อนมีอาการชัก ระบบประสาทและพัฒนาการมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีสมองเล็ก เป็นต้น 2.2ขณะมีอาการชัก จะมีอาการชักเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลามากกว่า 10-15 นาที หรือมี อาการชักเกิดขึ้นซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง และลักษณะการชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว 2.3ภายหลังการชัก อาจพบว่ามีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น อัมพาตครึ่งซีก (todd’s paralysis) เป็นต้น 2.4มีประวัติบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวมีลมชักแบบลมบ้าหมู (afebrile convulsion,epileptic seizures)
อุปกรณ์ในการเช็ดตัวลดไข้อุปกรณ์ในการเช็ดตัวลดไข้
ขั้นตอนในการเช็ดตัวลดไข้ขั้นตอนในการเช็ดตัวลดไข้ 1. น้ำธรรมดาหรือใช้น้ำอุ่นในกรณีที่อากาศเย็น ไม่ควรใช้น้ำแข็งเช็ดตัว เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และระบายความร้อนออกได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นและเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อจากการหนาวสั่น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไข้กลับได้ปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เด็กหนาวสั่นขณะเช็ดตัวถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด 2. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา พักผ้าไว้บริเวณศีรษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่รวมของเส้นเลือดจะระบายความร้อนได้ดี
3. เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน 4. ขณะเช็ดตัวให้ออกแรงเหมือนถูตัว เพื่อจะช่วยให้เลือดลมเดินดีขึ้น ทำให้เส้นเลือด และ รูขุมขนขยายตัว 5. ถ้ามีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดตัวทันที เพราะถ้าเช็ดแล้วหนาวสั่นจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้น 6. เปลี่ยนผ้าชุบน้ำบ่อยๆ ทุก 2 – 3 นาที 7.ใช้เวลาเช็ดตัวประมาณ 10 – 15 นาที 8. หลังเช็ดตัว ควรซับตัวเด็กให้แห้ง แล้วสวมเสื้อผ้าเบาสบาย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา หรือห่อตัวเพราะจะทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น 9. วัดไข้ซ้ำในอีก 15 – 30 นาทีต่อมา 10. ถ้าไข้ลดลงอุณหภูมิ 37.4 องศาเซลเซียส แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้ได้ผล 11. ถ้าไข้ไม่ลด ให้เช็ดตัวลดไข้ใหม่อีกครั้ง
การปฏิบัติตัวเมื่อเด็กมีอาการชัก • 1. ไม่ควรนำอะไรใส่ปากเด็ก เพื่อป้องกันการอุดตันทางเดินหายใจ • 2 จับเด็กตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลักน้ำลาย หรือ • อาเจียน • 3 รีบนำบุตรไปพบแพทย์ที่ใกล้บ้านที่สุดควรให้เด็กกินยาลดไข้ตามแผนการรักษา • ของแพทย์ ดังนั้นบิดา มารดา ญาติ ควรมียาลดไข้ ติดบ้านไว้เสมอ จนกว่าเด็กจะมีอายุเกิน • 5 ปีจึงจะพ้นวัยที่มีอาการนี้ • 4. สังเกตอาการนำก่อนเกร็งกระตุกลักษณะการชักและอาการหลังชักประโยชน์ต่อ • การวินิจฉัยและการรักษา • 3.6 การรักษาภาวะชักจากไข้สูง จะรักษาตามอาการและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพร่องออกซิเจน และถ้าอาการชักเป็นแบบซ้ำๆ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักอาจจะต้องได้รับยากันชักต่อเนื่อง หรือชักจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะชักจากไข้สูงจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อค้นหาสาเหตุต่อไป • 3.7 การให้คำแนะนำญาติหรือผู้ดูแล เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
ปี 2562 การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
บทเรียนที่ได้รับ • เกิดนวัตกรรมใหม่ในการดูแลผู้ป่วยที่มาด้วยชักจากไข้สูง การเช็ดตัวลดไข้ในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติผู้ป่วยทุกคน และญาติผู้ป่วยเห็น ความสำคัญและเห็นว่าการเช็ดตัวมีส่วนช่วยทำให้ใช้ลดไข้จริง • พยาบาลได้เพิ่มพูนศักยภาพในการดูแลเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
จบแล้วนะคะขอบคุณมากๆค่ะจบแล้วนะคะขอบคุณมากๆค่ะ