600 likes | 832 Views
การสำรวจเว็บไซต์ที่นำเสนอความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. นางสาวชุติกาญจน์ บุตรพรม 525080069-8 นางสาวนิภาภรณ์ โพธิ์ศรี 525080071-1 นายคมสัน พันธุ์ชัยเพชร 525080110-7 นางสาววิลาวัณย์ ศรีโยธี 525080116-5. CONNECT-WORLD. 1. URL: http://www.connect-world.com
E N D
การสำรวจเว็บไซต์ที่นำเสนอความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการสำรวจเว็บไซต์ที่นำเสนอความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางสาวชุติกาญจน์ บุตรพรม 525080069-8 นางสาวนิภาภรณ์ โพธิ์ศรี 525080071-1นายคมสัน พันธุ์ชัยเพชร 525080110-7 นางสาววิลาวัณย์ ศรีโยธี 525080116-5
CONNECT-WORLD 1. URL: http://www.connect-world.com 2. ผู้จัดทำเว็บไซต์: World InfoComms Ltd., London
CONNECT-WORLD 3. เนื้อหาสาระความรู้ • บทความด้าน ICT จากทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยแบ่งเป็นภูมิภาคเช่น ยุโรป เอเชีย-แปซิฟิก แอฟริกา และมีนิตยสารเกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูลต่างๆ ในอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา อินเดีย • ตารางแสดงช่วงเวลางานประชุมนานาชาติ หรือ ระดับชาติ หรืองานนิทรรศการทั่วโลกเกี่ยวกับ ICT • รวมข่าวด้าน ICT จาก สำนักข่าว Reuters, BBC, CNN, NY Times, Yahoo, Blogs ต่างๆ, CNET
CONNECT-WORLD 3. เนื้อหาสาระความรู้ • ข่าวประชาสัมพันธ์รายวันจาก บริษัท หน่วยงานทางด้าน ICT เช่นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ใหม่ ของ Ericson Motorora เป็นต้น • ระบบ Feed ข่าวสารต่างๆ • White paper – เป็นบทความวิชาการประเภทหนึ่ง • เป็นนิตยสารออนไลน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับด้าน ICT โดยเฉพาะ มีทั้งนิตยสารแบบรูปเล่มและแบบออนไลน์ ซึ่งบทความในนิตยสารออนไลน์นี้นำมาจากนิตยสารฉบับพิมพ์
CONNECT-WORLD 4. ความทันสมัยของข้อมูล • บทความด้าน ICT จากทุกภูมิภาคทั่วโลก มีบทความจนถึงปีปัจจุบัน ยกเว้นนิตยสารบางรายการ มีบทความถึงปี 2008 • ตารางแสดงช่วงเวลางานประชุมนานาชาติ หรือ ระดับชาติ หรืองานนิทรรศการทั่วโลกเกี่ยวกับ ICT มีข้อมูลจนถึงปี 2010 • รวมข่าวด้าน ICT จาก สำนักข่าว Reuters, BBC, CNN, NY Times, Yahoo, Blogs ต่างๆ, CNET เนื่องจากเป็นข่าวที่ FEED มาจากเว็บไซต์ต่างๆ เป็นรายวัน จึงเป็นข้อมูลที่ทันสมัย • ข่าวประชาสัมพันธ์รายวันจาก บริษัท หน่วยงานทางด้าน ICT เช่น Ericson Motorora เป็นต้น เช่นงานเปิดตัวระบบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทาง ICT
CONNECT-WORLD 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • ผู้เขียนบทความล้วนเป็นผู้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในวงการ ICT หรือมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กร บริษัท ICT รายใหญ่ ทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น หน้าของ Magazine Global-ICT ปี 2008 Bill Gates เขียนเรื่อง Adoption - and prosperity - through public-private partnerships, หน้า Magazine Connect-World African และ the Middle East ปี 2007 Dr. Abdul Waheed Khan (Unesco’s Assistant Director-General for Communication and Information) เขียนเรื่อง Re-engineering education through ICTs
CONNECT-WORLD 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • สำหรับผู้เขียนชาวไทยมี 1 บทความคือในหน้า Article ของ วารสาร - Asia-Pacific II ปี 2003 Don Sambandaraksa เขียนร่วมกับ Arthur Morse ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ Special Advisor to the Permanent Secretary and Systems Analyst จากกระทรวง ICT โดยเขียนเรื่อง The Growth of Telecommunications in Thailand เป็นต้น
CONNECT-WORLD 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • มีระบบ Feed ข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติบางส่วนของ Web 2.0 • หน้า Home จะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับงานนิทรรศการหรืองานประชุมด้าน ICT (Event) และ บทความ (Article) ซึ่งเป็นจุดหลักของวารสารนี้ ส่วน About us ที่บอกรายละเอียดผู้จัดทำจะวางไว้ขวาสุด (เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะจัดวาง About us ไว้อันดับแรก) แสดงให้เห็นว่าผู้จัดทำให้ความสำคัญสาระของเว็บไซต์จึงจัดไว้ทางซ้ายมือลำดับแรกซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดึงดูดผู้อ่าน • มีคำศัพท์อธิบายความหมาย (Glossary) อักษรย่อทาง ICT ที่ระบุในนิตยสาร
CONNECT-WORLD 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • การออกแบบ Websiteไม่ดึงดูดความสนใจ ควรจัดหรือใช้พื้นที่ว่างหน้า Websiteให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ • บทความบางส่วนต้องชำระเงินจึงจะสามารถอ่านเนื้อหาได้ • นิตยสารบางรายการมีข้อมูลล่าสุดถึงปี 2009 บางรายการมีข้อมูลล่าสุดถึงปี 2008 ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านอาจสงสัยว่าข้อมูลปี 2008 ของนิตยสารบางรายการเป็นข้อมูลล่าสุดหรือไม่ ผู้จัดทำควรระบุข้อความแจ้งให้ทราบ ทั้งนี้จากการสำรวจด้วยตนเองพบว่าหากต้องการทราบว่าเป็นฉบับล่าสุดหรือไม่ ต้องเข้าไปตรวจสอบที่ Publishing Calendar จึงจะทราบวันที่พิมพ์ นิตยสารบางรายการมีข้อมูลล่าสุดปี 2008 เนื่องจากเป็นนิตยสารรายปี และยังไม่ได้จัดพิมพ์ฉบับปี 2009
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 1. URL: http://www.rlc.nrct.go.th/ 2. ผู้จัดทำเว็บไซต์: สำนักงานคณะกรรมการ การวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • นำเสนอความรู้จากการวิจัยของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ • นำเสนอกิจกรรมที่มีส่วนร่วมจากเครือข่ายการวิจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงมาจากงาน Thailand Research Expo • เป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมและสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัย เช่น ทุนวิจัยนวมินทร์ ทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาโครงการวิจัย ที่มีการต่อยอดประเด็นการศึกษาจากองค์ความรู้เดิม ที่ได้ดำเนินการวิจัยมาแล้ว เพื่อนำสู่การทำงานเพื่อให้ได้ข้อสรุปจากการวิจัยนโยบาย ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของประเทศ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมการบริการทางการวิจัยของศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ว่าด้วยเรื่อง 1. การถ่ายทอดความรู้เชิงนโยบายวิจัย งานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยที่เพิ่มผลผลิต ให้แก่นักวิจัย 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการวิจัย 3. การให้คำปรึกษาทางด้านการวิจัย
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • นำเสนอพิพิธภัณฑ์ระบบเสมือนต้นแบบการเรียนรู้โครงการวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากงาน Thailand Research Expo และระบบเสมือนต้นแบบเรียนรู้ของผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และได้รับการเชิดชูเกียรติ • นำเสนอนิทรรศการหมุนเวียนต่างๆ เช่น - ต้นแบบการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - ต้นแบบผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ - ผลงานวิจัยและกิจกรรมที่ได้รับรางวัล และมีคุณภาพจากหน่วยงาน เครือข่ายในระบบวิจัย
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 4. ความทันสมัยของข้อมูล • การนำเสนอข่าวสารและแผนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย จะรวดเร็ว และทันเวลา เนื่องจากมีการมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ และส่งข้อมูลถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิก กลุ่มเป้าหมายที่สนใจและได้สมัครรับข่าวสารไว้ในระบบ • ข้อมูลความรู้จากการวิจัยของหน่วยงานเครือข่ายที่เชื่อมโยงในระบบ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแต่ละหน่วยงานที่สร้างงานวิจัยเรื่องใหม่ๆ ก็จะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานตนเอง
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยของประเทศไทย • เป็นศูนย์กลางเครือข่ายในระบบวิจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้” • เป็นศูนย์กลางในการขยายผลความรู้จากการวิจัยในรูปของกิจกรรมที่มีส่วนร่วมจากเครือข่ายการวิจัยต่างๆ ทั่วประเทศ • พิพิธภัณฑ์เสมือน (Virtual Tour) ที่นำเสนอในเว็บไซต์ เป็นนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ แบบเสมือน โดยใช้ชื่อ “หอแห่งพระภูมิปัญญา”
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • มีจุดเด่นที่น่าสนใจตรงที่สามารถชมสื่อต่างๆ ภายในนิทรรศการได้แบบ 360 องศา โดยใช้กดเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนไปทิศทางซ้าย ขวาได้ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ แสดงไว้ตามจุดที่ต้องการอธิบาย ขยายความเพิ่มหรือแสดงภาพเสมือนจริง เช่น - สัญลักษณ์แทนภาพเคลื่อนไหว - สัญลักษณ์แทนสื่อ Interactive - สัญลักษณ์แทนสื่อภาพหรือเอกสารประกอบ - สัญลักษณ์แทนการเลื่อนไปห้องถัดไป - สัญลักษณ์แทนตัวผู้ชมนิทรรศการแสดงถึงจุดที่อยู่
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) ตัวอย่าง ภายในห้องนิทรรศการที่จัดแสดงจะแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) ตัวอย่าง ภายในห้องนิทรรศการที่จัดแสดงจะแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ โซนพระผู้สร้างกระแสธารแห่งปัญญา โซนโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรดา ตัวอย่างสื่อ Interactive ที่อยู่ภายในห้องนิทรรศการ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • การเชื่อมโยงข้อมูล (Link) ไปยังหน่วยงานเครือข่ายของศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงไปยังหน้าหลักของเว็บไซต์หน่วยงาน ซึ่งไม่สะดวกในการสืบค้นข้อมูล ดังนั้นหากต้องการส่งเสริมให้เข้าใช้ข้อมูลทางด้านการวิจัยจากหน่วยงานเครือข่ายควรปรับปรุงให้มีจุดเข้าถึงเพียงจุดเดียว และสามารถเชื่อมโยงไปถึงเอกสารงานวิจัยได้เลย • เว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2552 การเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆ บางเว็บไซต์ยังพบว่าเชื่อมโยงไม่ได้ อาจเป็นเพราะเว็บไซต์นั้นปิดตัวลงหรือเปลี่ยน URL ใหม่ ผู้ดูแลระบบควรตรวจสอบอยู่เสมอ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • เทคนิคการจัดทำพิพิธภัณฑ์ระบบเสมือน ทั้งรูปแบบและกระบวนการนำเสนอสวยงามและน่าสนใจมาก ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าได้เข้าชมสถานที่จริง • การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการมีส่วนร่วมในศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย และการเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนการวิจัย มีความชัดเจน และแต่ละหัวข้อมีความน่าสนใจมาก
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 1. URL: http://www.eldc.go.th/ 2. ผู้จัดทำเว็บไซต์: ศูนย์พัฒนาความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • นำเสนอสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร มาช่วยให้การดำเนินงาน มีความคล่องตัว และ ตอบรับ การบริการ ในรูปแบบ ที่ หลากหลาย • เป็นศูนย์กลางประสานงานเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชน รวมทั้งองค์กรต่างประเทศ จำนวน 163 สถาบัน ในการให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ แก่หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • เนื้อหาความรู้ในบทเรียนออนไลน์เน้นการเรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพต่างๆ ของบุคลากร ในกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 8 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง และมีผลต่อเศรษฐกิจของชาติ ได้แก่ ท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาหาร แฟชั่น ยานยนต์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปิโตรเคมี เหล็ก และเหล็กกล้า
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • รูปแบบการบริการสำหรับผู้เรียน ประกอบด้วย 1. E-Learningเป็นบทเรียนออนไลน์ที่หน่วยงานในเครือข่าย ร่วมมือกัน จัดทำเป็นหลักสูตรต่างๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น หลักสูตรสื่อเรียนรู้ตัวเอง 6 อุตสาหกรรม
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ 2.แบบทดสอบ บริการทดสอบภาษาอังกฤษออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์ 3. การ์ตูน พร้อมเสียงนำเสนอภาษาอังกฤษ โดยเจ้าของภาษาเป็นผู้บรรยาย
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ 4.เกมส์ ส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับ 8 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์หลักของประเทศ 5.รายการวิทยุ OK I get itที่นำเสนอการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ 6.รายการโทรทัศน์ รายการสอนภาษาอังกฤษ Yes you can ที่แพร่ภาพทางช่อง TPBS เนื้อหารายการแบ่งออกเป็น 6 หมวดอุตสาหกรรม
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • นำเสนอรูปแบบการบริการสำหรับผู้สอน ว่าด้วยเรื่องการกำหนดสิทธิ์ในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของสถาบัน การค้นหาความต้องการหลักสูตรในการเรียน โดยวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจากคำตอบในแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษสร้างขึ้น การกำหนดหลักสูตรสำเร็จรูปให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้จากการประสานงานกับคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับความต้องการด้านภาษาอังกฤษของบุคคลระดับต่างๆ ในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 8 กลุ่ม
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • นำเสนอการบริการอื่นๆ เช่น รวมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสาระความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทั้งเว็บไซต์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จัดทำเว็บบอร์ดสำหรับกิจกรรมถามตอบภาษาอังกฤษผ่านทางระบบออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ข่าวความก้าวหน้า ความเคลื่อนไหว และกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการ
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 4. ความทันสมัยของข้อมูล • โดยภาพรวมเนื้อหาสาระรวมถึงรูปแบบการนำเสนอความรู้มีความทันสมัย และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ดังจะเห็นได้จากคำคมภาษาอังกฤษที่อยู่หน้าเว็บไซต์จะเปลี่ยนทุกวัน ข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตรในการอบรมการใช้ภาษาอังกฤษมีการแจ้งประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารทางด้านภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายน่าสนใจ • บทเรียนออนไลน์ที่นำเสนอ เป็นบทเรียนที่ได้มาตรฐานเนื่องจากผ่านการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ • เกมส์เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษออนไลน์ แต่ละเกมส์ผ่านการชนะเลิศการแข่งขันพัฒนาเกมส์ Flash • แหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ได้รวบรวมไว้บริการ มีให้เลือกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีจำนวน 707 เว็บไซต์ การจัดการข้อมูลมีการแบ่งกลุ่มชื่อเว็บไซต์ตามเนื้อหาความรู้ ทำให้การค้นหาสะดวกรวดเร็ว สามารถเลือกเว็บไซต์ที่สนใจได้เร็วขึ้น
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • การออกแบบเว็บไซต์ไม่น่าสนใจ ภาพไม่คมชัด ตัวอักษรมีขนาดเล็กมากเกินไป แต่เนื้อหาสาระ และรูปแบบการนำเสนอความรู้ภายในเว็บไซต์มีประโยชน์เป็นอย่างมาก • การเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ บางเว็บไซต์อาจเปลี่ยน URL ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงได้ ผู้ดูแลระบบควรตรวจสอบ และปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอ
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ)English Language Development Center (ELDC) 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • การกำหนดมาตรฐานหลักสูตร และการวางแผนการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษ มีการวางแผนที่ดี ดังจะเห็นได้จากมีการกล่าวอ้างถึงความร่วมมือในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อค้นหาความต้องการฝึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ของกลุ่มเป้าหมาย ผ่านทางแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ และนักวิจัยในเครือข่ายความร่วมมือ • สื่อผสมบางรายการ (Multimedia) มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่น
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 1. URL: http://traffy.nectec.or.th/ 2. ผู้จัดทำเว็บไซต์: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ Traffy โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจรแบบ Real Time เป็นโครงการความร่วมมือของกรุงเทพมหานครและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร โดยระบบ Traffy จะรายงานสภาพจราจรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลบนแผนที่ Google Mapผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ผู้ใช้สามารถการวางแผนก่อนออกเดินทางและตรวจสอบสภาพจราจรขณะเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีความติดขัดช่วยให้ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ระบบ Traffy ประกอบด้วยระบบย่อย 2 ระบบคือ1) ระบบ Traffy ผ่าน WebBrowser2) ระบบ Traffy ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (J2ME, Symbian OS และ Windows Mobile)
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ Trafffy 1.แสดงระดับความคับคั่งของการจราจรบนถนนสายต่างๆ แบบ Real Time บนแผนที่ Google Map ซึ่งระดับความติดขัดจะแสดงไว้ 3 ระดับ ได้แก่ ติดขัดมาก ติดขัดปานกลาง และคล่องตัว สังเกตได้จากเส้นสีที่แสดงบนแผนที่ โดยเส้นสีส้ม สีโทนแดงแสดงว่ารถติด สีน้ำตาลแสดงถึงหนาแน่นปานกลาง สีเขียวหมายถึงสภาพจราจรคล่องตัวเดินทางสะดวก
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ Trafffy 2.ภาพเคลื่อนไหวแสดงสภาพจราจรจากกล้อง CCTV ในถนนที่ได้ติดตั้งกล้องไว้ พร้อมๆ กับข้อมูลความเร็วและจำนวนรถ ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายดังกล่าว 3.แสดงข้อมูลระดับความติดขัดให้ดูง่ายขึ้นโดยแสดงในลักษณะป้ายจราจรอัจฉริยะเช่นเดียวกับป้ายอัจฉริยะตามสี่แยก
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ Trafffy 4.ทำนายระดับความติดขัดของการจราจรในอนาคตได้ล่วงหน้า 10 และ 30 นาที จากเครื่องมือที่เรียกว่า Traffic Time Machine โดยวิธีการ ทำนายจะใช้หลักการทาง Machine Learning และสถิติของข้อมูลระดับ ความติดขัดในอดีต และผลของการ ทำนายจะแสดงบนเส้นสี เขียว น้ำตาล ส้ม บนแผนที่
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ Trafffy 5.แสดงข้อมูลจราจรอื่นๆ เช่น จุดที่เกิดอุบัติเหตุ จุดเสี่ยง จุดก่อสร้าง ระดับความติดขัด โดยอาสาสมัครและตำรวจทางหลวง โดยใช้ โทรศัพท์มือถือแบบ Symbian และ Windows Mobile โดยข้อมูลที่อาสาสมัครรายงานเข้ามาจะแสดงเป็น Icon บนแผนที่ เมื่อคลิกเข้าไปจะเห็นรายละเอียดของข้อมูล เช่น วัน เวลา สถานที่ ภาพถ่าย ความเร็ว ท่านสามารถความเห็นเหมือนหรือความเห็นต่างกับข้อมูลที่อาสาสมัครส่งเข้ามาได้ผ่านเว็บได้เช่นกัน
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 3. เนื้อหาสาระความรู้ ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ Trafffy 6.แนะนำเส้นทางการเดินทาง โดยกำหนด ต้นทาง และปลายทาง ลงบนแผนที่ ก็จะสามารถบอกเส้นทางการเดินทางที่เหมาะสม ว่าต้องผ่านถนนใดบ้าง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตรงไหนอย่างไรและสภาพจราจรในปัจจุบันและอนาคต 30 นาที ของเส้นทางนั้นเป็นอย่างไร
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 4. ความทันสมัยของข้อมูล • ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นข้อมูลแบบ Real Time ข้อมูลในเว็บจึงมีปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลมีความใหม่อยู่ตลอดเวลา
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 5. จุดเด่นและความหน้าสนใจของเว็บไซต์ • การรายงานสภาพการจราจรแบบ Real Time ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการเดินทางได้ และผู้ใช้สามารถเข้าดูข้อมูลได้ทั้งจากหลากหลายช่องทาง ทั้งผ่านทาง Web Browser และผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (J2ME, Symbian OS และ Windows Mobile) ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเข้าใช้ และสามารถตรวจสอบสภาพการจราจรได้แม้ขณะอยู่ในรถ
โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy)โครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร(traffy) 6. ข้อคิดเห็นต่อเว็บไซต์ • โดยภาพรวมของระบบ ถือได้ว่าค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว แต่ในส่วนที่แสดงภาพจากกล้อง CCTV มีให้ดูได้เพียงไม่กี่จุด ซึ่งจากสภาพจริง กล้อง CCTV ที่ติดตั้งจริงน่าจะมีมากกว่าที่ปรากฏในระบบ และถ้าสามารถมองเห็นแบบ Real Time ได้จากทุกจุดน่าจะช่วยให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น
ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ(Thailand Knowledge Center) 1. URL: http://www.tkc.go.th/ 2. ผู้จัดทำเว็บไซต์: กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและ การสื่อสาร
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติที่รวบรวม ข้อมูล ข่าวสารความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมบนระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีความสำคัญในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้)
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • บริการเว็บที่เป็นศูนย์รวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ คลังความรู้ด้านเกษตร กฎหมาย กีฬา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ท่องเที่ยว การศึกษา ความรู้ทั่วไป ภาษาวรรณกรรม ปรัชญาวิศวกรรมเทคโนโลยี สาขาธุรกิจศิลปวัฒนธรรม สุขภาพ หน่วยงานราชการ และองค์กร เว็บไซต์ภายใต้กระทรวง ICT ข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆของกระทรวง ทั้งของไทยและต่างประเทศ ที่มีให้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ต โดยได้รวบรวมลิงค์ ของความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ของประเทศไทย ที่มีให้บริการอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต มาให้บริการในเว็บ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • มีบริการพื้นที่แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีความรู้ในรูปแบบดิจิทัล แต่ไม่มีอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่ายและระบบค้นหาที่มีประสิทธิภาพ และต้องการเผยแพร่ความรู้นั้นๆ ให้มาเผยแพร่บนระบบของ TKC ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศ
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ • มีเวทีในการแลกเปลี่ยน และเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มคน ในเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้ และประสบการณ์ในสาขาวิชาต่างๆ โดยให้บริการต่างๆ เช่น 1. บริการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิชาต่างๆ หรือ ที่เรียกว่าชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน อันจะเป็นการพัฒนาความรู้ และประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มให้มีความรู้ในระดับใกล้เคียงกัน
ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย(Research Learning Center) 3. เนื้อหาสาระความรู้ 2. เป็นเวทีสนทนาวิชาการออนไลน์กับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ เป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ สร้างเนื้อหาในรูปอิเล็กทรอนิกส์ หรือบันทึกความรู้ ในสาขาที่เขามีความเชี่ยวชาญในรูปแบบต่างๆ เช่น Text File, PDF File, PPT File, Image File และ Multimedia ผ่านเว็บของศูนย์ฯได้ทันที โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่