661 likes | 1.47k Views
ฝากทรัพย์ ( deposit ). ฝากทรัพย์ : คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในอารักขาของตน แล้วจะคืนให้. ความหมาย (657). ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์. 1. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยด้วยการส่งมอบ.
E N D
ฝากทรัพย์ (deposit) • ฝากทรัพย์ : คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในอารักขาของตน แล้วจะคืนให้ • ความหมาย (657)
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • 1. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยด้วยการส่งมอบ
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • ก่อให้เกิดหนี้ฝ่ายเดียวแก่ผู้รับฝากโดยมีหน้าที่ในการดูแลสงวนดูแลทรัพย์สินที่ฝาก และจะต้องส่งคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ฝาก • ส่วนผู้ฝากไม่มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติ • 2. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนแต่อาจมี ค่าตอบแทนได้
คำถาม • สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จค่าฝาก จะกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนหรือไม่? • ฝ่ายหนึ่ง : เป็นสัญญาต่างตอบแทน (bilateral contract) • อีกฝ่ายหนึ่ง : ไม่เป็นมูลแห่งสัญญาฝากทรัพย์ ไม่ก่อให้เกิดหนี้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
คำถาม • สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จ เป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือเปล่า? • ฝ่ายแรก : ฝากทรัพย์ เป็นสัญญาซึ่งทำให้เปล่า เมื่อมีการตกลงให้ค่าตอบแทนในการตกลงรักษาทรัพย์ ย่อมมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน • ฝ่ายที่สอง : อาจมีการตกลงให้ค่าตอบแทนในการรับฝากได้ แต่ค่าตอบแทนจะต้องเป็นจำนวนเล็กน้อย
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • สัญญาฝากทรัพย์ จะต้องมีข้อตกลงโดยชัดแจ้งว่าจะเก็บรักษาทรัพย์ไว้ในอารักขาเป็นสำคัญ • 3. เป็นสัญญาที่ว่าด้วยการเก็บทรัพย์ไว้ในอารักขา
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • การที่ฝากทรัพย์ไว้เป็นแต่เพียงการมอบการครอบครอง • ผู้ฝากมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็สามารถทำสัญญาฝากทรัพย์ได้ • 4. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์
คำถาม • หากเกิดภัยพิบัติแก่ตัวทรัพย์สินที่ฝากไว้ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ? • การที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนมายังผู้รับฝาก เป็นผลให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ยังคงต้องรับผลในภัยฯ ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์นั้น ถ้าผู้รับฝากไม่ได้ทำผิดหน้าที่ และเป็นกรณีที่ผู้ฝากไม่อาจเรียกร้องให้ผู้รับฝากรับผิดชอบ
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • ทรัพย์สิน ทรัพย์ที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง • 5. วัตถุ
คำถาม • การฝากทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง สามารถทำได้หรือไม่? • ความเห็นแรก : ไม่ได้ เพราะโดยสภาพของทรัพย์สิน ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการเก็บรักษา (อ.จี๊ด เศรษฐบุตร) • ความเห็นที่สอง : การฝากนั้นรวมทั้งการดูแลระมัดระวังมิให้ทรัพย์สินนั้นเกิดความเสียหายอันจะทำให้เจ้าของหรือผู้ฝากนั้นได้รับความเสียหาย (ลิขสิทธิ์)
ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • 6. เป็นสัญญาที่ผู้ฝากสามารถเรียกเอาทรัพย์ที่ฝาก คืนได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการฝากทรัพย์ ที่มีกำหนดเวลาหรือไม่
สัญญาฝากทรัพย์ชนิดต่างๆสัญญาฝากทรัพย์ชนิดต่างๆ • การฝากเงิน (มาตรา 672-673) • วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม (มาตรา 674-679) • เก็บของในคลังสินค้า (มาตรา 770-796) • การวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ (มาตรา 313-318)
หน้าที่ของผู้รับฝาก • 1. การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก (ม. 659) • การใช้ความระมัดระวังในการสงวนรักษาทรัพย์ • การฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก ใช้ความระมัดระวังรักษาทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเคยประพฤติในกิจการของตน
หน้าที่ของผู้รับฝาก:การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝากหน้าที่ของผู้รับฝาก:การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก • ผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่ง จำต้องใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่ธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น กล่าวคือ ถือเอาตามระดับความระมัดระวังที่ผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ
หน้าที่ของผู้รับฝาก • 2. การคืนทรัพย์ซึ่งฝาก (ม. 662-664)
คำถาม • ถ้าในระหว่างเวลาที่รับฝากทรัพย์นั้นไว้ เกิดดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น ผู้รับฝากก็ต้องคืนด้วยหรือไม่? • ม. 666 เมื่อคืนทรัพย์ ถ้ามีดอกผลเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเท่าใด ผู้รับฝากจำต้องส่งมอบพร้อมไปกับทรัพย์สินนั้นด้วย • ฎีกา 689/2472 กระบือที่ฝากไว้ตกลูกๆ นั้น ต้องเป็นของผู้ฝาก เจ้าหนี้ของผู้รับฝากจะยึดใช้หนี้ไม่ได้
ผู้ฝาก หลัก: สัญญาฝากทรัพย์ ไม่ก่อให้เกิดหนี้แก่ผู้ฝาก การส่งมอบทรัพย์ เป็นส่วนที่จะทำให้สัญญาฝากทรัพย์สมบูรณ์ หรือ บริบูรณ์
มาตรา 667 • เสียค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก ข้อสังเกต : ค่าใช้จ่ายนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ฝากที่จะได้ทรัพย์คืน ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ฝากเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ย่อมเป็นการชอบแล้ว
มาตรา 668 การเสียค่าใช้จ่ายอันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งฝาก ข้อสังเกต : สัญญาฝากทรัพย์ ผู้ฝากเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมแล้วที่กำหนดให้ผู้ฝากเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายข้างต้น
มาตรา 669 การเสียค่าบำเหน็จ (ม.669) กรณีไม่ตกลงไว้ : ให้ถือเอาเวลาแห่งการคืนทรัพย์ กรณีตกลงไว้ : ต้องชำระเมื่อสิ้นระยะเวลานั้นเป็นคราวๆ ไป เช่น ชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือรายปี กรณีสัญญาฝากทรัพย์สิ้นสุดลงก่อนเวลาที่ได้กำหนด : ผู้ฝากต้องจ่ายค่าบำเหน็จเมื่อไหร่
ประเด็นที่ฝากไว้จาก รศ.สุธีร์ ศุภนิตย์ • การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับฝาก กรณี : ผู้รับฝากได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากทรัพย์ที่รับฝาก เช่น ทรัพย์อันตราย ; สัตว์ดุร้าย, วัตถุระเบิด ข้อสังเกต : ประมวลแพ่งของไทยไม่ได้กำหนดไว้ แต่ประมวลแพ่งของเยอรมัน และญี่ปุ่นได้กำหนด
สิทธิของผู้รับฝาก 1. มีสิทธิได้รับบำเหน็จค่าฝาก กรณีฝากทรัพย์มีบำเหน็จ (ม.659 วรรคสอง และสาม) 2. มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่าย 3. มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝาก (มาตรา 670)
ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์ • 1. ครบกำหนดตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ • 2. ได้มีการส่งคืนทรัพย์ซึ่งฝาก • 3. มีการบอกเลิกสัญญา • 4. ทรัพย์ซึ่งรับฝากเกิดสูญหายหรือวินาศทั้งหมด
อายุความฝากทรัพย์ 1. กรณีผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้รับฝาก ไม่มีอายุความ เป็นเรื่องเจ้าของใช้สิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์ 2. กรณีฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝากคืน หรือให้ใช้ราคาทรัพย์แทนตามสัญญาฝากทรัพย์ใช้อายุความ 10 ปี ตามปพพ. ม.193/30 3. ฟ้องเรียกค่าบำเหน็จฝากทรัพย์ ชดใช้ค่าใช้จ่าย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับการฝากทรัพย์ มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา (ม. 671)
คำถาม • การนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่สยามสแควร์เป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • ไม่ใช่เป็นการฝากทรัพย์ เพราะมิได้มีการตกลงว่าผู้รับฝากจะเก็บรักษารถยนต์ไว้แล้วจะคืนให้ (ฎีกา 1819/2527)
คำถาม • การนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่สวนสัตว์เขาดินถือว่าเป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • ไม่ใช่เป็นการฝากทรัพย์ เพราะมิได้มีการตกลง ที่จะเก็บรักษาทรัพย์สินที่ฝาก (ฎีกา 1538/2526)
คำถาม • การมอบรถยนต์แก่พนักงานของภัตตาคารเพื่อให้ดูแลระหว่างที่ลูกค้าไปรับประทานอาหารในภัตตาคาร? • การที่พนักงานของภัตตาคารรับรถยนต์และกุญแจรถมาจากเจ้าของ แล้วขับไปจอดในที่จอดรถซึ่งเป็นถนนสาธารณะหน้าร้าน แล้วเก็บกุญแจรถ มีใบรับฝากให้โจทก์... ถือเป็นการฝากทรัพย์ (ฎีกา 1861/2522 และ ฎีกา 925/2536)
คำถาม • การนำรถยนต์เข้าไปจอดในห้างฯ ซึ่งบริการให้แก่ลูกค้า โดยไม่คิดค่าจอด มีการออกบัตรให้เพื่อควบคุมความปลอดภัยเป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • อ.ไผทชิต เอกจริยากร เห็นว่า ไม่น่าจะถือว่าเป็นการฝากทรัพย์
วิธีเฉพาะการฝากเงิน (ม.672) ลักษณะพิเศษของการฝากเงิน 1. สัญญาฝากเงิน มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์นอกแบบ 2. ผู้รับฝากมีสิทธินำเงินที่ฝากออกใช้สอยได้ 3. หากเงินที่ฝากสูญหายไปแม้โดยเหตุสุดวิสัย ผู้รับฝากต้องรับผิดชอบคืนเงิน 4. ผู้ฝากเรียกถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ไม่ได้ และผู้รับฝากจะส่งเงินคืนก่อนครบกำหนดเวลาก็ไม่ได้ดุจกัน 5. กรณีฝากเงินและทำสัญญาจำนำโดยมอบสมุดคู่ฝากไว้ประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากเงินสิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากเงิน • 1. สิทธิที่จะไม่ต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ม. 672 วรรคแรก • 2. สิทธิที่จะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกไปใช้ได้ ม. 672 วรรคท้าย • 3.หน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้ครบจำนวน ม. 672 วรรคท้าย • 4. หน้าที่ไม่ต้องส่งเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ เฉพาะในกรณีที่จำต้องคืนเงินเพียงเท่าจำนวนที่ฝาก
สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากเงินสิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากเงิน • 1. หน้าที่รับคืนเงินตราอันอื่นที่ไม่ใช่อันเดียวกับที่ฝาก • 2. หน้าที่ไม่ขัดขวางในการที่ผู้รับฝากเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้สอย • 3. หน้าที่ไม่ถอนเงินคืนก่อนเวลาที่ตกลงกันไว้ เฉพาะในกรณีที่ผู้รับฝากจำต้องคืนเงินเพียงเท่าจำนวนที่ฝาก • 4. สิทธิเรียกคืนเงินที่ฝากจนครบจำนวน
วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมวิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม โรงแรม: บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่ หรือที่พักชั่วคราว เจ้าสำนัก: บุคคลผู้ควบคุมหรือจัดการโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น : บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งเพื่อรับสินจ้าง สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่ หรือที่พักชั่วคราว
ขอบเขตการรับผิดชอบของเจ้าสำนักขอบเขตการรับผิดชอบของเจ้าสำนัก 1. รับผิดไม่จำกัดจำนวน 2. รับผิดจำกัดจำนวน “ของมีค่าอื่น”(Other Valuables) : ทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับ เงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ฯลฯ
ข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าสำนักข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าสำนัก • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่สภาพแห่งทรัพย์นั้น (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดจากความผิดของคนเดินทาง แขกอาศัย บริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยไม่แจ้งให้เจ้าสำนักทราบโดยทันที (ม.676) • มีข้อตกลงยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดของเจ้าสำนัก
อายุความฟ้องเจ้าสำนักให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอายุความฟ้องเจ้าสำนักให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ม. 678: ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันที่คน เดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่
สิทธิของเจ้าสำนัก (ม.679) • ยึดหน่วงเครื่องเดินทาง หรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทาง หรือแขกอาศัยจนกว่าจะได้รับใช้เงินบรรดาที่ค้างชำระ • นำทรัพย์สินที่ยึดไว้ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้ • การขายทอดตลาดต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 509-517
ฝากทรัพย์สินอื่น VS ฝากเงิน
นายทองแท้ตกลงให้นายขัดสนยืมรถยนต์ของตนไปใช้เป็นเวลา 3 เดือน แต่เนื่องจากบ้านของนายขัดสนอยู่สุดซอยซึ่งรถยนต์ผ่านไม่ได้ ดังนั้น ตอนกลางคืนนายขัดสนจำเป็นต้องนำรถยนต์ไปฝากไว้กับนายรับโชค ซึ่งดำเนินกิจการรับฝากรถยนต์ โดยนายขัดสนต้องเสียค่าบำเหน็จคืนละ 50 บาท ต่อมาคืนหนึ่ง หลังจากที่นายขัดสนส่งมอบรถยนต์คันที่ยืมมาจากนายทองแท้ให้แก่นายรับโชคผู้รับฝากแล้ว ปรากฏว่านายหมูแฮมลูกจ้างของนายรับโชค แอบเอารถยนต์คันดังกล่าวไปขับเล่น และชนรถรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บอีกหลายคน รถพัง ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครบ้างจะต้องรับผิด