1k likes | 2.36k Views
การมีส่วนร่วมทางการเมือง. Political Participation. หัวข้อการบรรยาย. ความหมาย : การมีส่วนร่วมทางการ เมือง ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ลักษณะของกิจกรรม ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย
E N D
การมีส่วนร่วมทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมือง Political Participation
หัวข้อการบรรยาย • ความหมาย : การมีส่วนร่วมทางการเมือง • ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง • ลักษณะของกิจกรรมทางการเมือง • การมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย • วิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) • Political Participation = การแสดงออกซึ่งกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคมซึ่งก่อให้เกิด • ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม • ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับองค์กรทางการเมือง • ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบอำนาจนิยมหรือระบอบเผด็จการ การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบอำนาจนิยมหรือระบอบเผด็จการการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบอำนาจนิยมหรือระบอบเผด็จการ ประชาชนจะแสดงบทบาททางการเมืองได้เฉพาะภายใต้กรอบที่ผู้ปกครองกำหนดให้เท่านั้น เป็นการแสดงออกทางการเมืองเพื่อสนับสนุนผู้ปกครองจากการระดมและการกำกับของผู้ปกครองโดยตรง เป็นไปในลักษณะของการระดมการมีส่วนร่วม (Mobilized Participation) ต้องเป็นไปในลักษณะของการสนับสนุนผู้นำเผด็จการเท่านั้น
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย • ประชาชนสามารถสนับสนุนหรือคัดค้านรัฐบาลได้ • เป็นการแสดงออกที่เป็นอิสระจากการควบคุมหรือการกำกับของรัฐบาล • อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
การกำหนดตัวผู้ปกครอง • เป็นการแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย • เพื่อยืนยันว่า รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน • ประชาชนมีสิทธิในการถอดถอนผู้นำทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบ
การผลักดันการตัดสินใจของรัฐบาลการผลักดันการตัดสินใจของรัฐบาล • สังคมประชาธิปไตยโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นสังคมพหุนิยม (Pluralist Society) • การดำเนินการของกลุ่มต่างๆจะมีผลต่อการผลักดันการตัดสินใจของรัฐบาลเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของกลุ่ม • การผลักดันของกลุ่มที่แสดงถึงบทบาทของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับองค์กรประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล • เป็นกลไกที่คอยควบคุม กำกับ และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล • ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานของระบบราชการให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างเสมอภาค • ทำให้เกิดประเด็นของการสนทนา/การถกเถียงกันทางการเมือง
การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง • เป็นการแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลได้รับรู้ว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือการกระทำของรัฐบาล • เพื่อแสดงการเรียกร้องให้รัฐบาลสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน • เกิดขึ้นเมื่อการต่อรองกับรัฐบาลด้วยการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ • ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายที่เป็นประชาธิปไตย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ปัจจัยอื่นๆ Other Factors
1. ระบบการเมือง (Political System) • ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยถือได้ว่าเป็นระบบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยระบบอื่นๆ เช่น เผด็จการ และ คอมมิวนิสต์ มักจะกีดกั้นและพยายามไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง • อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า ประเทศที่เป็นเผด็จการ ประชาชนจะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเลย เพราะ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม(Social-Economics) • ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ รายได้ ถิ่นที่อยู่ของบุคคล อันเป็นภูมิหลังของแต่ละคน ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อรูปแบบและระดับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แตกต่างกันออกไป
3. การกล่อมเกลาทางการเมือง (PoliticalSocialization) เป็นกระบวนการในการขัดเกลาให้แก่สมาชิกในสังคมได้เกิดการเรียนรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือแสดงพฤติกรรมทางการเมือง ยอมรับค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ การกล่อมเกลาทางการเมืองเกิดขึ้นกับบุคคลโดยเริ่มต้นจาก ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ระบบการศึกษาสื่อมวลชน
4.วัฒนธรรมทางการเมือง (PoliticalCulture) วัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึง ความเชื่อ ค่านิยมภายในสังคมซึ่งเป็นบรรทัดฐานในระบบการเมือง โดยที่ลักษณะสำคัญๆ ของวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละสังคม จะมีอิทธิพลต่อรูปแบบและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในสังคม รวมทั้งประสิทธิภาพของระบบการเมืองของสังคมนั้นๆ อีกด้วย 5. ปัจจัยอื่นๆ (Other Factors)
ลักษณะของกิจกรรมทางการเมือง(Characteristics of specific political acts) การรวมตัวกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์ การริเริ่มกฎหมาย การชุมนุมประท้วง การปฏิรูป การทำรัฐประหาร การปฏิวัติ กบฏ การมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนหรือประชาสังคม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง การดำรงตำแหน่งทางการเมือง มติมหาชน การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง การบริจาคเงินให้พรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ การนัดหยุดงาน การเลือกตั้ง การทำประชาพิจารณ์ การถอดถอน การลงประชามติ
หลักการของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยหลักการของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย 1. หลักทั่วไป (in general) 2. หลักอิสระ (freevoting) 3. หลักกำหนดระยะเวลา (periodicelection) 4. หลักการลงคะแนนลับ (secretvoting) 5. หลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง (onemanonevote) 6. หลักบริสุทธิ์ (fairelection) การเลือกตั้ง (Election) การเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการเมือง และเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ในเกือบทุกประเทศ ทั้งนี้ ไม่ว่าประเทศนั้นจะปกครองด้วยระบอบหรือลัทธิการเมืองใด โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง*** ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในขั้นแรก ซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมในการเลือกสรรและกำหนดตัวบุคคลที่จะเข้าไปทำหน้าที่แทนบุคคลทั่วประเทศในสภานิติบัญญัติและบริหาร
ระบบการเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้งตามเสียงข้างมาก (majority system) ระบบสัดส่วน (proportionalrepresentationsystems) ระบบที่ทุกพรรคมีโอกาสได้ที่นั่งในสภาตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้มาจากการออกเสียงของผู้เลือกตั้ง เป็นระบบที่ตัดสายใยระหว่างประชาชนผู้เลือกตั้งกับสมาชิกสภาเพราะพรรคการเมืองจะตรงกลางระหว่างทั้งสอง แต่ละพรรคมีโอกาสที่จะได้รับเลือกหรือได้ที่นั่งในสภาตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ประชาชนออกเสียงให้กับบัญชีรายชื่อของพรรค แม้จะไม่ได้เสียงข้างมากก็ตาม เป็นระบบที่นิยมใช้ทั่วโลกถึง 72 ประเทศ • หลักการ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” (one person, one vote) • ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ และได้ที่นั่งตำแหน่งนั้นไป โดยไม่คำนึงว่าจะได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่ • ผู้ชนะในการเลือกตั้งอาจชนะคู่แข่งขันด้วยคะแนนเสียงไม่มากนักในกรณีที่มีผู้สมัครจำนวนมากและคะแนนเสียงในการเลือกตั้งนั้นกระจายไปอย่างใกล้เคียงกัน • เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนนาดา อังกฤษ อินเดีย และญี่ปุ่น
ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (จำนวน 500) แบบแบ่งเขต แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน คือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน • มีจำนวน 375 คน คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 375 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ.2550เป็นการเลือกตั้งแบบ “เขตเดียวสามเบอร์” คือ มีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรในเขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3คนตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน ส่วนการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้มีการกำหนดรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ “เขตเดียวเบอร์เดียว” คือ การเลือกตั้งจะแบ่งเป็น 375 เขตโดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกันและผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว
การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 1.แต่ละพรรคส่งบัญชีรายชื่อได้ 1บัญชี ซึ่งมีสมาชิกได้ไม่เกิน 125 คน ทั้งนี้แต่ละพรรคการเมืองต้องมีสัดส่วนของสมาชิกจากภาคต่างๆในประเทศอย่างเป็นธรรม สมาชิกในบัญชีรายชื่อต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อของพรรคอื่นและไม่ซ้ำกับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 2.ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องไปเลือกบัญชีของพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งได้เพียงบัญชีเดียว (การเลือกพรรคไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคเดียวกันกับผู้สมัครในแบบแบ่งเขต) 3.หากพรรคใดได้คะแนนในแบบบัญชีรายชื่อนี้น้อยกว่า 5% ของจำนวนคะแนนทั้งหมดจะตัดทั้งพรรคและคะแนนออกไปไม่นำมาใช้ในคำนวณในการนับคะแนน 4.การนับคะแนนของส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีหลักการคำนวณสส.ตามการเลือกตั้งตามสัดส่วน ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้ ขั้นตอนที่ 1เรียงลำดับพรรคที่ได้คะแนนจากมากไปหาน้อยและรวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด พรรค ก. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 1 มีคะแนนรวม 1,200,000 คะแนน พรรค ข. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 2 มีคะแนนรวม 900,000 คะแนน พรรค ค. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 3 มีคะแนนรวม 800,000 คะแนน พรรค ง. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 4 มีคะแนนรวม 400,000 คะแนน พรรค จ. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 5 มีคะแนนรวม 200,000 คะแนน พรรค ฉ. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 6 มีคะแนนรวม 50,000 คะแนน พรรค ช. ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 7 มีคะแนนรวม 20,000 คะแนน ได้คะแนนรวม 3,570,000 คะแนน
การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ขั้นตอนที่ 2 ตัดพรรคการเมืองและคะแนนที่ได้คะแนนน้อยกว่า 5% ออกไปก่อนคือ 3,570,000x5%=178,500 ดังนั้นเราจะตัดพรรค ฉ และพรรค ช ออกไปก่อน ซึ่งทั้งสองพรรคมีคะแนนรวมกัน 70,000 คะแนน ดังนั้นคะแนนที่จะนำมาคำนวณในขั้นตอนที่ 3 จะมี 3,500,000 คะแนน ขั้นตอนที่ 3 นำจำนวนเสียงทั้งหมดที่ได้มาหาสัดส่วนว่าจำนวนสมาชิกสภา 1 คนจะมีคะแนนเสียงกี่คะแนน ในที่นี้คือนำคะแนนเสียงทั้งหมดมาหารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการสมมติว่าในที่นี้คือ 100คน 3,500,000/100=35,000 คะแนน ดังนั้นสมาชิกสภา 1 คน มีคะแนนเสียงเป็นสัดส่วน 35,000 คะแนน ขั้นตอนที่ 4 หาจำนวนสมาชิกสภารอบแรกโดยนำคะแนนที่ได้ไปหารกับคะแนนสัดส่วน หารได้เท่าใดคือจำนวนสมาชิกสภาที่ได้ เหลือเศษไว้คำนวณรอบ 2 พรรค ก. มีคะแนนรวม 1,200,000/35,000= ได้สมาชิก 34 คนเหลือเศษ 10,000 คะแนน พรรค ข. มีคะแนนรวม 90,000/35,000= ได้สมาชิก 25 คนเหลือเศษ 25,000 คะแนน พรรค ค. มีคะแนนรวม 800,000/35,000= ได้สมาชิก 22 คนเหลือเศษ 30,000 คะแนน พรรค ง. มีคะแนนรวม 400,000/35,000=ได้สมาชิก 11 คนเหลือเศษ 15,000 คะแนน พรรค จ. มีคะแนนรวม 200,000/35,000=ได้สมาชิก 5 คนเหลือเศษ 25,000 คะแนน ในขั้นตอนที่ 4 เราจะได้ส.ส.จำนวน 97 คน ขั้นตอนที่ 5 นำพรรคที่ได้เศษมากที่สุดเรียงไปหาพรรคที่ได้เศษน้อยที่สุด เพื่อหาสัดส่วนของจำนวนสมาชิกที่เหลือ พรรค ค. เหลือเศษ 30,000 พรรค จ. เหลือเศษ 25,000 พรรค ข. เหลือเศษ 25,000 พรรค ง. เหลือเศษ 15,000 พรรค ก. เหลือเศษ 10,000 เนื่องจากเราต้องการสมาชิกอีก 3 คน จึงเลือกจากพรรคการเมืองที่เหลือเศษ 3 อันดับแรกคือ พรรค ค. พรรค จ.และพรรค ข. พรรคละ 1 คน
การเลือกตั้งในประเทศไทยการเลือกตั้งในประเทศไทย ผลการเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 75.03 % ที่มา : http://www.ect.go.th/newweb/th/election/index4.php
ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว(จำนวน 150 คน) การเลือกตั้ง การสรรหา มีจำนวน 74 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจะดำเนินการสรรหา ส.ว. จำนวนดังกล่าวจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา • มีจำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัดๆ ละ 1 คน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้เพียงหมายเลขเดียว ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะได้รับเลือกเป็น ส.ว. ของแต่ละจังหวัด
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ที่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวต้องมีความสนใจทางการเมือง ในระดับที่สูงกว่าการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กล่าวคือ มีการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ จนเป็นกิจวัตรประจำวัน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการเมืองกับบุคคลอื่นได้จนกลายเป็นพฤติกรรม
การดำรงตำแหน่งทางการเมืองการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นการที่บุคคลได้เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง โดยผ่านกระบวนการการเมือง หรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้และได้รับการรับรองให้ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้ที่มีบทบาทในด้านนี้จะมีผลต่อความศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชน ในระยะยาว หากสามารถทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็จะทำให้พรรคได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้นและมีโอกาสได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ประชามติ (referendum) การที่รัฐบาลขอฟังเสียงจากประชาชนโดยรัฐสภาหรือผู้บริหารประเทศได้คืนสิทธิเสรีภาพในการออกเสียงรับรองหรือคัดค้านเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าต้องการดำเนินการอย่างไรในกรณีใดกรณีหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการออกกฎหมายธรรมดา
ประชาพิจารณ์ (Public hearing) เป็นการแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการจัดทำประชาพิจารณ์อาจจะทำโดยองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานอื่นๆเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกรณีประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
การชุมนุมประท้วง (protests) เป็นการซึ่งแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วย หรือการคัดค้านต่อปรากฏการณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น ด้วยการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมและวิธีการรูปแบบต่างๆ ทั้งอาจเป็นการใช้ความสงบ หรือด้วยวิธีการที่รุนแรง
การถอดถอน (recall) เป็นวิธีการในระบอบการปกครองประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยกำหนดให้ข้าราชการตำแหน่งสูงๆ ของรัฐทุกตำแหน่งหรือส่วนใหญ่ ต้องรับผิดชอบในงานของตนอย่างเต็มที่ และประชาชนอาจออกเสียงให้ออกจากตำแหน่งได้ ถ้าปฏิบัติงานบกพร่องหรือขัดต่อเจตนารมณ์ของราษฎร
การปฏิรูป (reformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ซึ่งมีขอบเขตค่อนข้างจำกัด ค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านกระบวนการบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้บริหาร ทั้งนี้โดยมีทิศทางที่ชัดเจนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นใดบ้าง เช่น การปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบสุขภาพ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา
การปฏิวัติ (revolution) การเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐานทางสังคมด้วยความรุนแรง(มิใช่กระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด) และรวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงค่านิยม ความเชื่อทางการเมืองของประชาชน การเปลี่ยนแปลงสถาบันต่างๆ การเปลี่ยนโครงสร้างผู้นำในทางการเมือง นโยบาย การปฏิบัติต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีและไม่ดี
รัฐประหาร (Coup d’ e tat) -การล้มอำนาจของรัฐบาล (การเปลี่ยนคณะผู้ปกครองประเทศ)โดยไม่ได้มีจุดประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง -คณะรัฐประหารส่วนใหญ่จะมีความใกล้ชิดกับสถาบันการปกครอง คนกลุ่มนี้จึงมักเป็นพวกทหาร -การทำรัฐประหารมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป -ปัจจัยที่นำไปสู่การทำรัฐประหารได้สำเร็จ
กบฏ (rebel) เป็นการแสดงออกถึงการไม่ให้การยอมรับอำนาจหรือการกระทำของรัฐบาล โดยนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจะหมายถึงการกระทำของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่การกระทำนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ
การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) เป็นการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้งในทางสนับสนุน คัดค้าน และหลากหลายวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การไปสิทธิเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การเสนอร่างกฎหมาย ประชาพิจารณ์ มติมหาชน การชุมนุมประท้วง การดำรงตำแหน่งทางการเมืองการถอดถอน การปฏิรูปการปฏิวัติ การรัฐประหารและกบฎ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย • ระบอบเผด็จการทหารและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบเปิดประเทศตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ (พ.ศ.2501-2516) • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 • การเข้ามามีบทบาทของสหรัฐฯ • การเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ • และสังคมแห่งชาติ • การต่อต้านคอมมิวนิสต์ • การให้การรับรองเวียดนามใต้ • การร่วมรบสงครามเกาหลี • สนธิสัญญา SEATO การต่อต้านคอมมิวนิสต์ สงครามอินโดจีน • การขยายตัวเศรษฐกิจ • การได้รับการสนับสนุนด้านการทหาร • ทุนนิยม • โครงสร้างพื้นฐาน • ระบบการศึกษา • กลุ่ม Technocrat • ปัญญาชนมีบทบาทในการต่อต้านอำนาจระบบราชการ/สถาบัน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย -ความไม่สมดุลของการกระจายรายได้ -เศรษฐกิจของประเทศเติบโต -ความแตกต่างระหว่างชนบท และเมือง -ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม -การเกิดชนชั้นกลาง / เกิดชนชั้นกระฏุมพีน้อย • -อำนาจนิยม -อำนาจทหาร –ทหารปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ • - ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ • อำนาจของนายกผ่านมาตรา 17 • ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง • ไม่มีพรรคการเมือง /ไม่มีสหพันธ์แรงงาน การลุกฮือขึ้นของนักศึกษา 14 ตุลา
สามทรราชย์: จอมพลถนอม กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี) จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจร กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาล :ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนนท.) เป็นผู้นำในการชี้ถึงปัญหาสังคม (การรณงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น หันมาให้ความสำคัญกับสินค้าไทย การคัดค้านจนท.รัฐที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ของราชการไปล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ จ.กาญจนบุรี) แกนนำที่สำคัญเช่น เสกสรร ประเสริฐกุล และ ธีรยุทธ บุญมี -การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศ : -จีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติแทนไต้หวัน (2515) -การถอนทหารอเมริกันออกจากเวียดนาม การมีนายพระราชทานคนแรก นายสัญญา ธรรมศักดิ์ -การเรียกร้องให้รัฐบาลคณาธิปไตย ปล่อยนักศึกษา อาจารย์และนักการเมืองที่ทำการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ -วันที่ 9-12ตุลาคม:ชุมนุมประท้วงโดยสันติวิธี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ -การปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง ในวันที่ 14-15 ตุลา -ประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดลุกฮือโค่นล้ม ผู้นำคณาธิปไตย
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 • คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ (23 กุมภาพันธ์ 2534) • ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี • การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากสุดคือ พรรคสามัคคีธรรม และมีพรรคร่วมรัฐบาลคือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคราษฎร มีการเสนอชื่อ นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ได้รับการคัดค้านจากสหรัฐ • การขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร
ผลจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 -การตื่นตัวทางการเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้น -การปฏิเสธอำนาจรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมและเผด็จการทหาร -เกิดกลุ่มธุรกิจและชนชั้นกลาง ซึ่งนำไปสู่ พหุภาวะทางการเมือง (political pluralism) -การวิเคราะห์การเมืองแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองแทนรัฐราชการ -พลังการเมืองนอกระบบราชการ โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ -การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง
เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 • การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน • การลดอำนาจรัฐแล้วหันมาเพิ่มอำนาจให้ประชาชน • การสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน • การปฏิรูปการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง • การปฏิรูปสื่อ
วิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยวิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย ยังไม่มีกระบวนการให้ความรู้ทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะสร้างความตระหนักถึงความสามารถทางการเมือง (Sense of Civic Competence or Sense of Political Efficiency) ระบบการศึกษาไทยยังมุ่งที่ปลูกฝังค่านิยมเก่าๆอันไม่เอื้ออำนวยหรือขัดแย้งกับพัฒนาการการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมือง -การบูชาอำนาจ -การสร้างความจงรักภักดีส่วนบุคล -การยินยอมอย่างราบคาบ -การเคารพนับถือต่อบุคคลที่มีอำนาจ -การไม่ชอบการรวมตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) เพื่อใช้อิทธิพลทางการเมือง
วิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยวิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย การตื่นตัวทางการเมืองส่วนใหญ่ยังขาดความสำนึกในความสามารถทางการเมือง (ขาดความสำนึกในสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบและในการคิดการปฏิบัติที่มีเหตุผลและเป็นระบบ) ระบบการเมืองไทยเป็น “ระบบการเมืองแบบนิ่งเฉยทางการเมือง (political passivity)” แก้ไขได้ด้วยการให้ความรู้ทางการเมือง (Political Socialization)+การแก้ไขเรื่องทัศนคติและความเชื่อที่ไม่ได้สร้างสำนึกในความสามารถทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
หนังสืออ้างอิง • นรนิติ เศรษฐบุตร .การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย .นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า,2551. • เสกสรร ประเสริฐกุล . การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : วิภาษา,2552. • ราม โชติคุต. เอกสารประกอบการสอนวิชา GOV127101 ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ Introduction to Political Science. • ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552. • ลิขิต ธีรเวคิณ.วิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553. • แหล่งออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/election/index4.php