310 likes | 543 Views
196-415 ความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เสนอ อาจารย์ ชิดชนก ราฮิม มูลา เรื่อง กลุ่ม ขบวนการอา เจะห์ จัดทำโดย นาย วสันต์ มะยี รหัส 5220410061 เอกตะวันออกกลางศึกษา คณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา. ขบวนการอา เจะห์ Gerakan Aceh Merdeka ; GAM. ที่ตั้งของขบวนการอา เจ๊ะ.
E N D
196-415ความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้196-415ความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสนอ อาจารย์ ชิดชนก ราฮิมมูลา เรื่อง กลุ่มขบวนการอาเจะห์ จัดทำโดย นาย วสันต์ มะยี รหัส 5220410061 เอกตะวันออกกลางศึกษา คณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา
ขบวนการอาเจะห์GerakanAceh Merdeka; GAM
ที่ตั้งของขบวนการอาเจ๊ะที่ตั้งของขบวนการอาเจ๊ะ • ขบวนการอาเจะห์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะห์ • ตั้งอยู่บริเวณทางตอนเหนือสุดของเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย มีฐานะเป็นเขตการปกครองพิเศษ เป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียที่กฎหมายอิสลามเรียกว่า Shariahเป็นรูปแบบหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของกลุ่มอาเจ๊ะและปฎิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอมา
ผู้ก่อตั้งขบวนการ "อาเจะห์เสรี"
ภูมิหลังของอาเจ๊ะ • ขบวนการอาเจ๊ะประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2492 อาเจะห์เลือกรวมเข้ากับสาธารณรัฐอินโดนีเซียเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยทางรัฐบาลกลางยอมให้อาเจะห์คงเอกลักษณ์ของตนเองที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม รวมทั้งการใช้กฎหมายอิสลาม • การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของซูฮาร์โต ทำให้ ฮะซัน ดี ติโร ซึ่งสืบเชื้อสายาจากสุลต่านองค์สุดท้ายของอาเจะห์ก่อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรี เมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2519
และประกาศเอกราชของอาเจะห์ โดยประกาศว่าอาเจะห์ถูกปกครองในฐานะอาณานิคมของชวาและได้ทำการรณรงค์เคลื่อนไหวปลดปล่อยอาเจะห์ • หลังจากต่อสู้กับรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นเวลายาวนานถึง 29 ปี จนมีผู้เสียชีวิตไปทั้งสิ้น 15,000 คน ขบวนการจีเอเอ็มก็ตกลงลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ.2548
บีบีซีรายงานว่า "ฮัสซันดิทิโร" ผู้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการแบ่งแยกดินแดนของจังหวัด "อาเจะห์" ได้เสียชีวิตลงแล้วในวัย 84 ปี ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด ณ โรงพยาบาลในเมืองบันดา อาเจะห์ หลังจากเขาเพิ่งได้รับการคืนสิทธิความเป็นพลเมืองอินโดนีเซียก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน
ความเป็นมา • นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางอาเจะห์เป็นแห่งแรก ศตวรรษที่ 17 อาเจะห์เป็นรัฐอิสระที่มีความเจริญรุ่งเรือง ปกครองโดยสุลต่านสืบต่อกันมา เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและศาสนาอิสลาม รวมถึงการค้าระหว่างประเทศ • แต่ต่อมาในปี 1873 ดัตช์ได้ส่งกำลังทหารเข้ามาเพื่อยึดครองอาเจะห์เป็นอาณานิคม ได้เกิดการสู้รบกันจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1949 ดัตช์ได้ลงนามในสัญญายกอาเจะห์ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียด้วยความช่วยเหลือจากประเทศอังกฤษ โดยไม่ได้ถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่
การต่อสู้เพื่อเอกราชเกิดขึ้นชัดเจนในปี 1953 ในนามของกลุ่มดารุล อิสลาม (Darul Islam) • ถึงแม้หกปีถัดมา ประธานาธิบดีซูการ์โนได้ยอมรับในหลักการให้อาเจะห์เป็นพื้นที่พิเศษ แต่คำสัญญาเหล่านี้ก็ไม่ได้มีผลเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ส่งผลทำให้ชาวอาเจะห์ขาดความไว้วางใจในรัฐบาลและ มองว่ารัฐบาลไม่จริงใจที่จะแก้ปัญหา
มุมมองของรัฐบาลอินโดนีเซียและประชาคมโลกมุมมองของรัฐบาลอินโดนีเซียและประชาคมโลก • ปี 1971 มีการค้นพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในจังหวัดอาเจะห์ บริษัทธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีคนชวาในจาการ์ตาและชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ได้เข้ามาขุดเจาะหาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งทำรายได้มหาศาลแก่รัฐบาล • แต่รายได้กลับตกถึงมือชาวอาเจะห์เพียงน้อยนิด ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจนี้เป็นเหตุผลหลักประการหนึ่ง นอกเหนือจากความต้องการที่จะรักษาอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของชาวอาเจะห์ที่แตกต่างจากของคนชวา อันนำไปสู่การก่อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรีในปี 1976 โดยฮาซันดิ ติโร (HasandiTiro) ผู้สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านองค์สุดท้ายที่ถือกันว่าเป็นวีรบุรุษต่อต้านการยึดครองจากชาวดัตช์
สาเหตุของความขัดแย้งในอาเจะห์สาเหตุของความขัดแย้งในอาเจะห์ • ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและรายได้จากน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่ขุดพบในอาเจะห์ โดยที่ทรัพยากรเป็นของคนในพื้นที่ แต่รายได้จำนวนมากกลับไปตกอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งสวนทางกับความเสื่อมโทรมทางสังคมอันเกิดจากอุตสาหกรรมและการอพยพเข้ามาในอาเจะห์ของคนต่างถิ่นที่คนในพื้นที่ต้องรับภาระ • สำนึกแห่งความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่เคยรุ่งเรืองของรัฐอาเจะห์ ในฐานะที่เคยเป็นรัฐอิสระ เป็นศูนย์กลางทางการค้าและทางวัฒนธรรมอิสลามในภูมิภาค ซึ่งขัดแย้งกับความรู้สึกของการถูกกดขี่บีบคั้นภายใต้การปกครองจากรัฐบาลกลาง
ปัญหาที่ตามมาหลังจากความขัดแย้งปัญหาที่ตามมาหลังจากความขัดแย้ง • การปะทะกันโดยกองกำลังของทั้งสองฝ่าย ทำให้ความรุนแรงและความหวาดกลัว (Terror) ขยายตัวเป็นวงกว้างในพื้นที่ • การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการตรวจค้นจับกุมที่รุนแรงและการใช้อำนาจนอกกฎหมาย ซึ่งทำให้แนวร่วมของกัมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก • ความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐบาลกลางและชาวอาเจะห์อันส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนอาเจะห์กับคนชวา
ความขัดแย้งในอาเจะห์แบ่งออกเป็น 2 ช่วง 1.ก่อนการปรากฏตัวของขบวนการอาเจะห์ • ศตวรรษที่ 17-18 ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก แผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐอาเจะห์ถูกคุกคามจากดัตช์ ทำให้ต้องยอมจำนนต่อดัตช์ จนในที่สุด เมื่อดัตช์ถูกเยอรมนียึดครองในสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวอาเจะห์ก็ได้ขับไล่ดัตช์ออกไปในปี ค.ศ.1942 • หลังการได้รับเอกราชของดัตช์ในปีค.ศ.1949 อำนาจทางการปกครองอินโดนีเซียในขณะนั้น ต้องประสบกับปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางการเมืองและความไม่มั่นคงทางการเมือง โดยมีซูการ์โนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ต่อมา รัฐบาลซูการ์โนจัดตั้งเขตปกครองอาเจะห์ขึ้น ซึ่งทำให้ชาวอาเจะห์ต่างมีความหวังว่าจะได้รับเสรีภาพในการปกครองตนเองมากขึ้น • ในปี 1959 ซูการ์โนยอมรับในหลักการประกาศให้อาเจะห์เป็นเขตการปกครองพิเศษ (Special Territory) ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา การศึกษาและใช้กฎหมายภายในของตนเอง
2.การเคลื่อนไหวของขบวนการอาเจะห์เสรี2.การเคลื่อนไหวของขบวนการอาเจะห์เสรี • คำมั่นสัญญาที่รัฐบาลประกาศให้อาเจะห์มีอิสระในการปกครองตนเองมิได้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ทำให้ชาวอาเจะห์ขาดความไว้วางใจในรัฐบาลและมองว่าไม่จริงใจที่จะแก้ปัญหา • ฮาซันดิ ติโร กล่าวว่ารัฐบาลอินโดนีเซียเข้ามาครอบครองอาเจะห์ต่อจากดัตช์ เพื่อต้องการกอบโกยประโยชน์จากอาเจะห์ไปจนหมดสิ้นไม่มีเหลือ หลังจากนั้นฮาซันดิ ติโร ก็ได้ประกาศเอกราชรัฐอาเจ๊ะ โดยมีประชาชนอาเจ๊ะที่นับถือศาสนาอิสลามให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
การต่อสู้ของขบวนการอาเจะห์เสรี • วิธีการของขบวนการอาเจะห์เสรี ดร.ฮาซัน ติโร ใช้วิธีการแทรกซึมเข้าไปในท้องถิ่นระดับหมู่บ้านและตำบลตั้งแต่ปี ค.ศ.1976จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในไม่ช้าผู้นำชุมชนทั้งหลายต่างตกอยู่ภายใต้การควบคุมของขบวนการอาเจะห์เสรีเกือบทั้งสิ้น • ขบวนการอาเจะห์เสรี ยังใช้วิธีการแบบสงครามจรยุทธ์ซุ่มโจมตีกองกำลังฝ่ายรัฐบาล แต่ก็ขาดการสนับสนุนหลักจากทางด้านกลุ่มผู้นำศาสนา
ต่อมา ค.ศ. 1978กลุ่มได้มีการปรับองค์กรใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากลิเบียและอิหร่าน แต่เนื่องจากกิจกรรมของกลุ่มไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง การดำเนินงานของกลุ่มเป็นเหตุให้รัฐบาลซูฮาร์โตส่งทหารเข้ามาปราบปรามอย่างรุนแรงจนเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอาเจะห์
ในปี ค.ศ. 1997รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศว่ากิจกรรมของขบวนการอาเจะห์เสรีสิ้นสุดลงแล้วแต่การปราบปรามอย่างรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป • รัฐบาลของเมการ์วาตีพยายามใช้นโยบายกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นอาเจะห์ให้มากขึ้นแต่ขบวนการอาเจะห์เสรีก็ยังไม่พอใจและต้องการแยกอาเจะห์เป็นรัฐอิสระเท่านั้น • ดังนั้นรัฐบาลอินโดนีเซียจึงใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002เป็นต้นมา
ในปี ค.ศ.2003 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างก็ยังคงคุมเชิงเพื่อเตรียมพร้อมรอการเผชิญหน้า ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจา • จนกระทั่งการเจรจาสันติภาพในกรุงโตเกียวต้องประสบความล้มเหลวเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2003 กองกำลังติดอาวุธของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มสู้รบกันอย่างกว้างขวางอีกครั้ง • สมัยรัฐบาลเมกาวาตี ทหารมีบทบาทสูงมาก งบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มลงไปที่ทหารและตำรวจเพื่อใช้ในงานด้านความมั่นคง มีการเผาโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษกันและกัน โดยรัฐบาลกล่าวหาขบวนการอาเจะห์เสรี ว่าต้องการล้มระบบการศึกษา ส่วนขบวนการอาเจะห์เสรีก็กล่าวหารัฐบาลว่าเป็นผู้เผาเนื่องจากต้องการสร้างสถานการณ์เพื่อโทษฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี
การเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้ง มีการเจรจาทั้งหมดห้าครั้งด้วยกัน สี่ครั้งที่ผ่านมา ไม่เป็นผลสำเร็จ จนมาถึงครั้งที่ห้า ก็สามารถเจรจาสันติภาพได้ • จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สึนามิส่งผลให้ผู้คนอาเจะห์ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดจากการเจรจาขึ้นอีกครั้งหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ และนำไปสู่ข้อตกลง Helsinki Accord ได้สำเร็จ
ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดการเจรจาสันติภาพปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดการเจรจาสันติภาพ • บรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยที่เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่กลุ่มต่างๆในสังคมมากขึ้น • ความรู้สึกเหนื่อยล้าของทั้งสองฝ่ายจากการต่อสู้ และตระหนักแล้วว่าแม้จะไม่แพ้ในเวลาอันใกล้ แต่ถึงอย่างไรก็จะไม่มีทางชนะอีกฝ่ายได้ • ทางออกที่ตกลงกันได้นั้น เป็นทางออกที่รักษาหน้าตา เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของทั้งสองฝ่าย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ทำให้ขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศสงบศึกเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอินโดนีเซีย • หลังจากนั้นได้มีการประชุมเจรจาสันติภาพเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ประเทศฟินแลนด์และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียยอมถอนกำลังทหารและตำรวจที่ไม่ใช่ของท้องถิ่นออกไปภายในสิ้นปี พ.ศ. 2548 และนิโทษกรรมให้สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีราว 500 คนที่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และปล่อยสมาชิกอีกราว 1,400 คนที่ถูกฝ่ายรัฐบาลคุมขัง ยอมให้มีการตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นขึ้นในอาเจะห์
ต่อมา 27 ธันวาคม พ.ศ. 2548. ผู้นำของขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศยกเลิกกองกำลังติดอาวุธ โดยประกาศจะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมเพื่อสร้างสันติภาพ
ข้อตกลงในการเจรจาสันติภาพข้อตกลงในการเจรจาสันติภาพ • อาเจะห์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียภายใต้รัฐธรรมนูญ • คณะผู้บริหารของอาเจะห์มีอำนาจในการบริหารจัดการกิจการสาธารณะภายในอาเจะห์ ยกเว้นกิจการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ ความมั่นคงแห่งชาติ การเงินการคลัง และการศาสนา ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง • ฝ่ายกัมจะยอมปลดอาวุธทั้งหมดที่ตนมีภายหลังจากการลงนาม การใช้อาวุธใดๆจากฝ่ายกัมถือเป็นการละเมิดข้อตกลงและจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย
อาเจะห์มีสิทธิที่จะใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวอาเจะห์ รวมถึงธงชาติของตนเองด้วย • ชาวอาเจะห์สามารถตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นของตนเองเพื่อรับสมัครเลือกตั้งในระดับชาติได้ • รัฐบาลจะนิรโทษกรรมแก่ผู้ร่วมขบวนการทุกคนและปล่อยนักโทษที่ถูกคุมขังไว้ภายใน 15 วันนับจากการลงนามข้อตกลงโดยปราศจากเงื่อนไข
รัฐบาลกลางและคณะผู้บริหารอาเจะห์จะร่วมกันจัดทำโครงการฟื้นฟูเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มขบวนการสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุขรัฐบาลกลางและคณะผู้บริหารอาเจะห์จะร่วมกันจัดทำโครงการฟื้นฟูเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มขบวนการสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข • สหภาพยุโรปและภาคีอาเซียนจะร่วมกันก่อตั้งหน่วยงานติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงใน อาเจะห์ (Aceh Monitoring Mission, AMM) เพื่อติดตามและผลักดันกระบวนการฟื้นฟูสันติภาพให้เป็นไปตามข้อตกลง
ความเป็นประชาธิปไตยที่มีมากขึ้นหลังจากที่ซูฮาร์โตพ้นจากอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการสันติภาพเติบโตและพัฒนา มีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐได้มีโอกาสแสดงออกมากขึ้น ประกอบกับผู้นำฝ่ายการเมืองยึดมั่นที่จะใช้สันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แต่การทำสนธิสัญญาสันติภาพใช่ว่าปัญหาจะจดสิ้น ปัญหาใหญ่ของอาเจะห์หลังกระบวนการสันติภาพคือทำอย่างไรให้นโยบายที่สวยหรู เป็นจริงให้ได้
ปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น ยังชี้ให้เห็นความขัดแย้งครั้งใหม่ที่กลุ่ม Aceh LeuserAntara (ALA) และ Aceh Barat-Selatan (ABAS) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยภายในที่เรียกร้องแยกตัวจากอาเจะห์อีกที นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณจากการที่ข้อตกลงเฮลซิงกิไม่ได้มีการระบุถึงกระบวนการผลักดันระบบศาลชะรีอะห์ ซึ่งเคยเป็นข้อเรียกร้องส่วนหนึ่งของความเป็น ‘รัฐอิสลาม' จากแกนนำปีกศาสนาของ GAM ว่าอาจจะเป็นชนวนของความขัดแย้งรอบใหม่