510 likes | 1.18k Views
บทที่ 10. พฤติกรรมของสัตว์. กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตนั้น อาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเกิดขึ้นช้า ๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงพฤติกรรม( behavior ) ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
E N D
บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์
กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์
การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตนั้น อาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเกิดขึ้นช้า ๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงพฤติกรรม(behavior) ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการรักษาดุลยภาพของร่างกาย การศึกษาพฤติกรรม เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพื้นฐานทางสรีรวิทยาที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมสัตว์ การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตทำได้ 2 วิธี คือ 1. วิธีการทางสรีรวิทยา (physiological approach) มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายพฤติกรรมในรูปของกลไกการทำงานของระบบประสาท 2. วิธีการทางจิตวิทยา (psychological approach) เป็นการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่าง ๆ รอบตัวและปัจจัยภายในร่างกายที่มีต่อการพัฒนาและการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาท ทั้งหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติงาน
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ พฤติกรรมของสัตว์เป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่หน่วยพันธุกรรมจะควบคุมระดับการเจริญของส่วนต่างๆ ของสัตว์ เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ และอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดพฤติกรรมขณะที่สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่สัตว์ได้รับในภายหลังทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้มากบ้างน้อยบาง เป็นการยากที่จะตัดสินว่าพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่ากัน อิทธิพลของพันธุกรรมจะเห็นได้ชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำมากกว่าสัตว์ชั้นสูง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการจะศึกษาพื้นฐานทางธรรมชาติที่แท้จริง ของพฤติกรรมจึงนิยมศึกษาในสัตว์ชั้นต่ำ โดยทั่วไปแล้วการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติมักเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการอยู่รอด ตลอดจนเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง พฤติกรรมที่ถูกจัดว่ามีแบบแผนที่ง่ายที่สุดและทำให้สัตว์อยู่รอดได้คือ การหลีกเลี่ยงที่จะถูกฆ่า ดังนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหลบหลีกหนีศัตรูจึงแสดงออกได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดีเพื่อง่ายแก่การศึกษาและทำความเข้าใจในที่นี้จะแบ่งประเภทของ พฤติกรรมออกเป็น 2 แบบคือ พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (inherited behavior) และ พฤติกรรมการเรียนรู้ (learned behavior)
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็น พฤติกรรมแบบง่ายๆ และเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงของฤดูกาล จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวเพื่อปรับตำแหน่งให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม หรือหลีกเลี่ยงสภาพที่ไม่เหมาะสม ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมนี้ได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน จึงมักมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ได้แก่ พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์(reflex)และพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง(chain of reflexes)
รีเฟล็กซ์ รีเฟล็กซ์ หรือ ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary)ที่เกิดขึ้นอย่างแทบฉับพลันทันที (instantaneous)เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น(stimulus) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์ชั้นต่ำ ระบบประสาทยังไม่เจริญดีหรือในโพรทิสซึ่งไม่มีระบบประสาท สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมโดยแสดงพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ กล่าวคือ เป็นไปในลักษณะกระตุ้นและตอบสนองนั่นเอง เช่น พฤติกรรมที่เรียกว่า โอเรียนเตชัน (orientation) ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่สัตว์ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพทำให้เกิดการวางตัว ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น ปลาว่ายน้ำในลักษณะที่ตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ทำให้ศัตรูที่อยู่ในระดับต่ำกว่า มองไม่เห็นนั้นจึงเป็นการหลีกเลี่ยงศัตรูวิธีหนึ่ง นอกจากนี้พฤติกรรมแบบโอเรียนเตชันยังจะทำให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์ในบริเวณที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์นั้นๆ อีกด้วยทำให้เราสามารถพบสัตว์ต่างๆในต่างบริเวณ
มีการศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นๆของพารามีเซียม คือ การทดลองปล่อยแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำบนสไลด์ที่มีพารามีเซียม พบว่าพารามีเซียมจะถอยห่างออกจากฟองแก็สคาร์บอนไดออกไซด์โดยเบี่ยงตัวด้านท้ายของลำตัวไปเล็กน้อยแล้วจึงค่อยเคลื่อนที่ต่อไปอีกข้างหน้า ถ้าพบฟองแก็สคาร์บอนไดออกไซด์อีกพารามีเซียมก็จะถอยหนีไปในลักษณะเดิมเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพ้นจากฟองแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยหนึ่งคือ อุณหภูมิ ถ้าพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงมันจะถอยหลังกลับโดยอาจขยับส่วนท้ายของเซลล์ไปจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย แล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในทิศทางที่เปลี่ยนไป มันจะทำเช่นนี้จนกว่าจะพบตำแหน่งที่อุณหภูมิเหมาะสมดังรูป
จะเห็นว่าทิศทางที่พารามีเซียมเคลื่อนที่ไปแต่ละครั้งเพื่อหลบจากสิ่งเร้า มิได้สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าเลย จึงจัดได้ว่าไม่มีทิศทางที่แน่นอนเรียกพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วย การเคลื่อนที่แบบมีทิศทางไม่แน่นอนว่า ไคนีซิส (kinesis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโอเรียนเตชัน พฤติกรรมนี้มักพบในโพรโทซัวหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำที่ระบบประสาทไม่เจริญดี หน่วยรับความรู้สึกดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่ไกลๆ จะมีการตอบสนองโดยเคลื่อนที่หาหรือออกจากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ๆเท่านั้น พฤติกรรมไคนีซิสที่พบในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น แมลงสาบ จะพบว่าเมื่ออยู่ในที่โล่ง มันจะวิ่งไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวของร่างกายไม่สัมผัสกับของแข็ง แต่เมื่อเคลื่อนที่ไปโดนหรือสัมผัสของแข็ง เช่นขอบตู้ แมลงสาบจะอยู่นิ่ง
เมื่อนำครอบแก้วใสที่ขังจิ้งหรีดเพศผู้มาตั้งให้ห่างในระยะที่จิ้งหรีดเพศเมียสามารถมองเห็นแต่ไม่ได้ยินเสียง จิ้งหรีดเพศเมียจะไม่เคลื่อนที่เข้าหาจิ้งหรีดเพศผู้ แต่เมื่อเปิดเทปให้มีเสียงจิ้งหรีดเพศผู้ออกมาทางลำโพง ปรากฏว่าจิ้งหรีดเพศเมียจะเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง
จากการทดลองกับผีเสื้อกลางคืนพบว่าทิศทางการบินของผีเสื้อกลางคืนจะทำมุม 80 องศา กับลำแสงของเทียนไขตลอดเวลา ทำให้ตัวมันบินใกล้เปลวเทียนจนถูกไฟไหม้
จากกรณีตัวอย่างจะเห็นได้ว่าลักษณะการเคลื่อนที่ของจิ้งหรีดและผีเสื้อกลางคืนจะสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เรียกพฤติกรรมของการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า แทกซิส (taxis) ซึ่งมักจะเกิดกับสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกเจริญดี สามารถรับรู้สิ่งเร้าที่อยู่ไกลจากตัวได้ ทำให้สัตว์เหล่านี้มีการรวมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง การดูดน้ำนม ของเด็กอ่อนที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้นจากสิ่งเร้าคือ ความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม เป็นการกระตุ้นให้เด็กดูดนม และจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ เมื่อเด็กยังไม่อิ่มก็จะกระตุ้นให้ดูดต่อไปอีกเด็กจึงแสดงพฤติกรรมการดูดนม ต่อไปจนอิ่มจึงหยุดพฤติกรรมย่อย ๆซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไปกระตุ้น รีเฟล็กซ์อื่น ๆ ของระบบประสาทให้ทำงานต่อเนื่องกัน เรียกพฤติกรรมประเภทนี้ว่า รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ตัวอย่างอื่น ๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ เช่น การสร้างรังของนก คือประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย ๆ หลายพฤติกรรม เป็นวงจรอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รังที่สมบูรณ์ หรือ การชักใยของแมงมุม การฟักไข่และการเลี้ยงลูกอ่อนของไก่
พฤติกรรม แบบรีเฟล็กซ์ และรีเฟล็กซ์ต่อเนื่องเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งสามารถแสดงได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน และการกระตุ้นที่เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยสิ่งเร้าที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ เช่น ปัจจัยทางกายภาพ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมบางอย่างจะแสดงออกต่อเมื่อมีความพร้อมทางกายเสียก่อน เช่น การบินของนก นกแรกเกิดไม่สามารถบินได้ จนกว่าเติบโตแข็งแรง จึงพร้อมจะบินได้ เป็นต้น
พฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวอย่างเช่น เมื่อนำรอบเบอร์มาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับรอบเบอร์กินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำผึ้ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรอบเบอร์มาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฏว่าคางคกไม่กินรอบเบอร์ และผึ้งอีกเลย
การที่คางคกใช้ลิ้นตวัดจับแมลงกินเป็นอาหาร เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ส่วนการที่คางคกไม่กินผึ้งและแมลงที่มีลักษณะคล้ายผึ้งเนื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับ พฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์นี้เรียกว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี สัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงสามารถมีพฤติกรรมการเรียนรู้ได้มากขึ้น พฤติกรรมการเรียนรู้แบ่งเป็นพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ดังนี้
แฮบบิชูเอชัน จากการทดลอง นำหอยทากมาไต่บนแผ่นกระจก แล้วเคาะที่กระจก หอยทากจะหยุดการเคลื่อนที่ และหลบซ่อนเข้าไปในเปลือก สักครู่หนึ่งจะโผล่ออกมาและไต่ตามแผ่นกระจกต่อไป เมื่อเคาะอีก ก็จะหลบเข้าไปอีก แต่ถ้าเคาะกระจกบ่อย ๆ ครั้ง จะพบว่าระยะเวลาที่หอยทากหลบเข้าไปในเปลือกจะค่อย ๆ สั้นลงในที่สุดจะไต่ตามแผ่นกระจกไปเรื่อยโดยไม่สนใจเสียงเคาะกระจกอีกต่อไป ในธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ลูกสัตว์ทุกชนิดจะกลัวและหนีสิ่งแปลกใหม่ เช่น ลูกนกแรกเกิดจะตกใจกลัวนกทุกชนิดที่บินผ่านมาเหนือรัง หรือแม้แต่ใบไม้ที่ร่วงลงมา เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้ง ลูกนกจะเกิดการเรียนรู้ทำให้ลูกนกลดพฤติกรรมนี้ลงไป เรียกพฤติกรรมดังกล่าวนี้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้น ๆ ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต
การฝังใจ พ.ศ. 2478 ดร.คอนราด ลอเรนซ์ (Konrad Lorenz) สังเกตว่าธรรมชาติ ลูกห่านจะเดินตามแม่ทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ แต่ถาฟักไข่ในห้องปฏิบัติการ เมื่อลูกห่านพบเขาเป็นสิ่งแรก มันจะติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง
เมื่อ เขาใช้วัตถุอื่นแทนตัวเขา เช่น กล่องสี่เหลี่ยมที่มีล้อเลื่อนหรือหุ่นเป็ดที่มีล้อเลื่อนลูกห่านที่ฟักออก จากไข่เมื่อเห็นวัตถุดังกล่าวก็จะเดินตามเช่นเดียวกัน เรียกพฤติกรรมของสัตว์ที่ติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่และทำเสียง ซึ่งเห็นในครั้งแรกหลังจากฟักจากไข่ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (imprinting) พฤติกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นมากคือ ระยะเวลา 36 ชั่วโมง หลังจากฟักออกจากไข่ของห่าน ในธรรมชาตินั้นวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ ทำเสียงได้ของลูกห่านคือแม่นั่นเองทำให้เกิดความผูกพันกับแม่
การมีเงื่อนไข การศึกษาทดลองของอีวาน พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวรัสเซีย ประมาณปี พ.ศ.2400 เขาได้ทำการทดลอง
ก.เมื่อเห็นอาหาร สุนัขน้ำลายไหล ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล ค.เมื่อสั่นกระดิ่งแต่ไม่ให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล พาฟลอฟพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้ สิ่งเร้าคืออาหารซึ่งเป็น สิ่งเร้าแท้จริง หรือสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข(unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus)
การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงแม้ว่าจะไม่มีสิ่งเร้า ที่แท้จริงอยู่ด้วย ลำพังสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงเพียงอย่างเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นตอบ สนองได้เช่นเดียวกับกรณีที่มีสิ่งเร้าแท้จริงอย่างเดียว พาฟลอฟเรียกพฤติกรรมนี้ว่าการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข(conditioning) นักพฤติกรรมพบว่า พฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขสามารถพบได้ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การลองผิดลองถูก การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมของสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ไส้เดือนดินเพื่อดูว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำไปใส่กล่องพลาสติกรูปตัว T มีด้านหนึ่งมืดและชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ปรากฏว่าเมื่อทำการทดลองซ้ำ ๆ กันไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วจะเลือกทางถูก คือเคลื่อนที่ไปทางมืดและชื้นประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึก โอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกทางถูก หรือผิดร้อยละ 50 เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า การลองผิดลองถูก (trail and error) เป็นพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการทดลองซ้ำ ๆ จนมีประสบการณ์ว่าการกระทำแบบใดจะเกิดผลดี แบบใดจะเกิดผลเสีย แล้วเลือกกระทำแต่สิ่งที่เกิดผลดี หรือให้ประโยชน์ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โทษ
การใช้เหตุผล ชิมแปนซี เป็นสัตว์ทดลองที่ดีสำหรับการแสดงความสามารถในการแก้ปัญหา เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วย
หากนำผลไม้ไปวางไว้ห่างจากกรง ชิมแปนซีจะนำไม้มาต่อกันเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เขี่ยของที่อยู่ห่างจากกรง
พฤติกรรมการใช้เหตุผล (reasoning) พบเฉพาะในสัตว์ที่มีสมองเซรีบรัมพัฒนาดี เพราะความสามารถในการใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้และจดจำ ตลอดจนนำเอาประสบการณ์มาผสมผสานกัน หรือประยุกต์ร่วมกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอาจกล่าวว่าการใช้เหตุผลเป็นพฤติกรรมที่พัฒนามาจากการลองผิดลองถูก การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ขั้นสูงสุด
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับ พัฒนาการของระบบประสาท พฤติกรรมแต่ละแบบของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมา จะมีความสัมพันธ์กับระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น สิ่งมีชีวิตระดับแรกๆ เช่น พวกโพรทิสต์ จะมีพฤติกรรมเป็นแบบไคนิซิสและแทกซิสเท่านั้น ส่วนในสัตว์ชั้นสูง เช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่า มีทั้งพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง และพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมชั้นสูง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม และระบบประสาทเป็นดังนี้
จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนามากขึ้น จะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น ถ้านำพฤติกรรมต่าง ๆที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ ไปจนถึงชั้นสูงมาเปรียบเทียบกันในรูปของกราฟ จะได้กราฟ ดังนี้
การสื่อสารระหว่างสัตว์การสื่อสารระหว่างสัตว์ การสื่อสาร เป็นพฤติกรรมทางสังคมของสัตว์ เพราะมีการส่งสัญญาณทำให้สัตว์ซึ่งได้รับสัญญาณ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ทุกชนิดต้องมีการสื่อสารอย่างน้อยในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตโดยเฉพาะ ช่วงที่มีการสืบพันธุ์ การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึงมักจะกระทำกับสัตว์ที่มีพฤติกรรมทางสังคมซับซ้อน เช่น ผึ้ง ปลวก มด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้เพราะ เมื่อสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันมากจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน จึงต้องมีการสื่อสารกันตลอดเวลา การสื่อสาร แบ่งได้ดังนี้ 1.การสื่อสารด้วยท่าทาง 2.การสื่อสารด้วยเสียง 3.การสื่อสารด้วยการสัมผัส 4.การสื่อสารด้วยสารเคมี
การสื่อสารด้วยเสียง (Sound Signal) การสื่อสารด้วยเสียง จัดเป็นวิธีการที่คนคุ้นเคยมาก เพราะ คนใช้เสียงในการสื่อความหมายมากที่สุด สัตว์หลายชนิดก็ใช้เสียงในการสื่อสารเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มีสัตว์ชนิดใดที่ใช้ภาษาพูดแบบคน นิโก ทินเบอร์แกน (Niko Tinbergen) ได้ทำการทดลองกับแม่ไก่และลูกไก่
ก.ขณะที่ลูกไก่อยู่ในครอบแก้วก.ขณะที่ลูกไก่อยู่ในครอบแก้ว ข.ขณะลูกไก่อยู่นอกครอบแก้วแต่มีฉากมาบัง ก. ลูกไก่อยู่ในครอบแก้วและส่งเสียงร้อง แม่ไก่ที่อยู่ข้างนอกไม่ได้ยินเสียงจึงไม่แสดงพฤติกรรมใด ๆ ข. แม่ไก่แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกไก่ แม้จะไม่เห็นลูกไก่ การใช้เสียงทำให้เกิดการสื่อสารได้หลายลักษณะ เช่น การใช้เสียงเพื่อติดต่อกันของสิงโตทะเล แกะใช้เสียงเรียกเพื่อเตือนภัยให้รู้ว่ามีศัตรูเข้ามา กระรอกและนกใช้เสียงเตือนภัยเมื่อเกิดไฟป่า หรือ แผ่นดินไหว สัตว์หลายชนิดอาจใช้เสียงเรียกคู่เพื่อให้มาผสมพันธุ์ เช่น เสียงสีปีกของจิ้งหรีดเพศผู้ เสียงขยับปีกของยุงเพศเมีย เสียงร้องของกบเพศผู้ เสียงร้องโหยหวนของชะนีเพศเมีย เสียงเหล่านี้เป็นสิ่งเร้าให้เพศตรงข้ามได้ยิน และเกิดพฤติกรรมการสืบพันธุ์ นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาจใช้เสียงเพื่อแสดงความโกรธ ความกลัว การขู่ การแสดงความเป็นเจ้าของอาณาบริเวณที่อยู่อาศัย
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับวาฬ พบว่ามีหลายชนิดทำเสียงได้ เนื่องจากเสียงสามารถถ่ายทอดไปได้ไกลในน้ำ และเสียงทำหน้าที่สื่อสารระหว่างพวกเดียวกันได้
การสื่อสารด้วยท่าทาง (Visual Signal) การสื่อสารด้วยภาพหรือท่าทาง เป็นวิธีการสื่อสารที่ใช้อย่างกว้างขวางในสัตว์นับตั้งแต่แมลงจนถึงคน เช่น คนหูหนวก จะใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ และริมฝีปากประกอบกัน การสื่อสารด้วยท่าทางจะได้ผลดีมากขึ้น ถ้าโครงสร้างที่ใช้ประกอบด้วยท่าทางเห็นได้เด่นชัด เช่น ครีบ ขน และแผงคอ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเป็นสัญญาณ เรียกว่า การแสดงออกโดยการเคลื่อนไหว ซึ่งมีวิวัฒนาการเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคม การสื่อสารอาจประกอบด้วยกิจกรรมหลายขั้นตอน เช่น การรำแพนของนกยูง การเกี้ยวพาราสีของปลากัด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. ปลากัดที่จับคู่กันจะว่ายน้ำมาอยู่ใต้หวอด โบกพัดหางไปมาและเมื่อได้จังหวะ เพศผู้และเพศเมียจะหันหัวและหางสลับทิศทางกัน
2. เพศผู้ค่อย ๆ งอตัวเข้าโอบรัดเพศเมีย และโอบรัดแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนมีลักษณะเป็นวงแหวน เป็นการกระตุ้นให้เพศเมียรู้ว่าเพศผู้พร้อมที่จะปล่อยน้ำเชื่อผสมกับไข่
3. เมื่อเพศผู้คลายการโอบรัด เพศเมียจะตะแคงตัวลอยสู่ผิวน้ำ ทำให้ไข่ที่ติดอยู่ตามท้อง ครีบอก และครีบท้องหลุดร่วงลงสู่ก้นบ่อ
การสื่อสารด้วยสารเคมี (Chemical Signal) สัตว์หลายชนิดสามารถสร้างสารที่มีอิทธิพลต่อสรีระและพฤติกรรมของสัตว์ชนิดเดียวกัน เรียกว่า ฟีโรโมน ซึ่งจัดเป็นการสื่อสารด้วยสารเคมี สัตว์ได้รับฟีโรโมน 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ การดมกลิ่น การกิน และการดูดซึม การได้รับฟีโรโมนทางกลิ่นส่วนมากเพื่อการดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งผลิตได้ทั้งเพศผู้และเพศเมียขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น การปล่อยฟีโรโมนของผีเสื้อไหมเพศเมีย หรือเพื่อบอกตำแหน่งให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน เช่น การปล่อยฟีโรโมนของมด นอกจากนี้ ฟีโรโมนยังใช้เตือนภัยได้ เช่น ผึ้งที่อยู่ปากรังจะคอยระวังอันตรายเมื่อมีศัตรูแปลกปลอมเข้ามาจะปล่อยฟีโรโมนเตือนภัยให้พวกรู้ และบินออกมารุมต่อยศัตรูทันที อย่างไรก็ดีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ชะมดที่มีกลิ่นตัวแรง กลิ่นนี้สร้างจากต่อมใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ที่ปล่อยออกมาทั้งเพศผู้และเพศเมีย มนุษย์สามารถสกัดสารจากต่อมของสัตว์พวกนี้มาทำเป็นหัวน้ำหอมได้
การรับฟีโรโมนโดยการกิน เช่น ผึ้งราชินีจะผลิตสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต่อมบริเวณรยางค์ปาก เมื่อผึ้งงานซึ่งเป็นเพศเมียกินเข้าไป สารนี้จะไปยับยั้งการเจริญและการผลิตไข่ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน การรับฟีโรโมนโดยการดูดซึม พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงสาบและแมงมุมบางชนิด เพศเมียจะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้ เมื่อเพศผู้มาสัมผัสเข้า สารนี้จะซึมผ่านเข้าไปกระตุ้นให้เพศผู้เกิดความต้องการทางเพศ และติดตามเพศเมียไปเพื่อผสมพันธุ์ ในตั๊กแตนเพศผู้ จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนของตั๊กแตนมาสัมผัสเข้าก็จะกระตุ้นให้ตัวอ่อนเติบโตและสืบพันธุ์ได้
การสื่อสารด้วยการสัมผัส (Physical Contract) โดยธรรมชาติแล้วการสื่อสารโดยการสัมผัสนี้จะใช้ได้ผลในระยะใกล้เท่านั้น ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การสัมผัสจะเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการรับรู้สารเคมีของอวัยวะที่ใช้ในการสัมผัสแบบพิเศษ เช่น หนวดของแมลงสาบจะใช้ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเท่านั้น อย่างไรก็ตามการสื่อสารโดยการสัมผัสยังมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข จะเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่เหนือกว่า หรือชิมแปนซีจะยื่นมือให้ชิมแปนซีตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ แฮร์รี เอฟฮาร์โลว์ (Harry F. Harlow) ได้ศึกษาพฤติกรรมของลิงรีซัส โดยการสร้างหุ่นแม่ลิงขึ้น 2 ตัว ซึ่งทำด้วยไม้และลวดตาข่าย หุ่นตัวหนึ่งมีผ้าหนานุ่มห่อหุ้มไว้ ส่วนหุ่นอีกตัวหนึ่งไม่มีผ้าห่อหุ้ม หุ่นแต่ละตัวมีขวดนมวางไว้ตรงบริเวณหน้าอก จากการทดลองพบว่า ลูกลิงชอบเข้าไปซบและคลุกคลีกับหุ่นตัวที่มีผ้าหนานุ่มห่อหุ้มซึ่งมีความอ่อนนุ่ม และให้ความรู้สึกอบอุ่นกว่า
การสื่อสารโดยการสัมผัสมีความจำเป็นสำหรับทารกมาก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งหนึ่ง มีเด็กเสียชีวิตจำนวนมาก โดยไม่ได้เป็นโรคหรือขาดสารอาหาร แต่พบว่า มีพี่เลี้ยงไม่เพียงพอต่อการดูแล เด็กที่ไม่ได้รับการโอบอุ้มจึงเสียชีวิตได้ง่าย นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการสัมผัสโดยการโอบกอดทารกจะทำให้ร่างกายของทารกมีการสูบฉีดเลือดในหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์รับออกซิเจนได้ดีและมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อจุดมุ่งหมายให้ชีวิตอยู่รอดได้และดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ พฤติกรรมบางพฤติกรรมจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นการปรับสัดส่วนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม พฤติกรรมบางพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิตยังไม่ได้ศึกษาค้นคว้าและความมหัศจรรย์ของการแสดงออกของพฤติกรรมยังเป็นสิ่งที่ท้าทายให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไป