10 likes | 157 Views
เพิ่มคุณภาพคน วางแผนกลยุทธ์งาน เกิดความปลอดภัยให้ผู้รับบริการ. เจ้าของผลงาน : กชกร พลาชีวะ , จันทร์จิราภรณ์ บำรุง , วินิตา จีราระรื่นศักดิ์ , พุ่มพวง สาระพาณิชย์ , วิริยา ถิ่นชีลอง ,
E N D
เพิ่มคุณภาพคน วางแผนกลยุทธ์งาน เกิดความปลอดภัยให้ผู้รับบริการ เจ้าของผลงาน : กชกร พลาชีวะ, จันทร์จิราภรณ์ บำรุง, วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, พุ่มพวง สาระพาณิชย์, วิริยา ถิ่นชีลอง, วัฒนา ตันทนะเทวินทร์, สุธันนี สิมะจารึก, ปริณดา พรหมโคตร์, ดารณี ปราการกมานันท์, กาญจนา อุปปัญ ที่ปรึกษา : รศ.วราภรณ์ เชื้ออินทร์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทผลงานตามพันธกิจ :การบริหารจัดการองค์กรที่ดี ความเป็นมาและแนวคิด ภาควิชาวิสัญญีวิทยาให้บริการระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับเหนือตติยภูมิที่การผ่าตัดโรครุนแรงและซับซ้อน ทั้งยังเป็นสถานที่เรียน ฝึกอบรมวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล ของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีการขยายการบริการ มีผู้รับบริการเพิ่มขึ้น มีการรับบุคลากรใหม่เข้ามาปฏิบัติงานในภาควิชาฯ ตั้งแต่ระดับวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล ที่เพิ่งจบการฝึกอบรม หรือโอนย้ายมาจากหน่วยงานอื่นและเข้าเริ่มปฏิบัติงานเป็น staff ใหม่ วิสัญญีพยาบาลใหม่มีการจัดให้ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับ staff วิสัญญีพยาบาลที่มีประสบการณ์มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี เนื่องจากบุคลากรมีน้อย จากการติดตามและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในปี 2553 พบว่า บุคลากรใหม่ทียังขาดประสบการณ์ ขาดความรู้ ทำให้เกิดอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยผู้ป่วยร้อยละ 9.1มีหนึ่งอุบัติการณ์เป็นปัญหาที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิต และปัญหาที่เกิดสามารถป้องกันได้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้บริหารได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารบุคลากร มีการพัฒนาความรู้ ปรับปรุงระบบการจัดการทำงานให้กับบุคลากรใหม่ โดยจัดระบบพี่สอนน้องและจัดกระบวนการทำงานใหม่ในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรที่เข้าทำงานใหม่เกิดความมั่นใจในการทำงานและเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้รับบริการให้ปลอดภัยและเกิดวัฒนธรรมในการพัฒนาคนในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ วิธีการดำเนินงาน (How to) 1 ประชุมกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มงาน คือทีมงานบริหารงานพยาบาล กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกลุ่มงานบริหารความเสี่ยงในหน่วยงาน ร่วมกันระดมสมองหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 2 จัดกลุ่มพี่เลี้ยง (ระบบ Coaching) โดยบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละห้องผ่าตัดที่มีประสบการณ์มากกว่า 5 ปีเข้าปฏิบัติงานคู่กับ staff ใหม่ ถ่ายถอดความรู้และประสบการณ์อย่างใกล้ชิด ให้คำปรึกษา แนะนำในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนดูแลอย่างใกล้ชิด โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย 3 จัดทำแนวทางการสอนและแบบประเมินวิสัญญีพยาบาล staff ใหม่ เฉพาะพื้นที่5ห้องผ่าตัดทีสำคัญในปี 2554 ต่อมาในปี 2555 และในปี 2556 เพิ่มกลุ่มพี่เลี้ยงเป็น10 พื้นที่ห้องผ่าตัด จัดทำแนวเพิ่มความรู้ฉบับย่อในแต่ละพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน (quick guide) รวมทั้งการประเมินความพร้อมของพยาบาล staff ใหม่ในการขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 4 กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง ติดตามรวบรวมอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและนำเสนอกับทีมงานทุกไตรมาส 5 ติดตามและประเมินผลงานระบบ Coaching โดยกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลและประเมินความพึงพอใจจากทีมวิสัญญีพยาบาล staff ใหม่ 6 สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะปรับปรุงงานในปีถัดไป ผลการดำเนินงาน/ลักษณะของผลงาน 1. มีระบบการ coaching โดยจัดทำแนวทางการประเมินวิสัญญีพยาบาลจบใหม่ 5พื้นที่ห้องผ่าตัดที่ ปฏิบัติงานในปี 2554 - 2555 คือ 1) ผ่าตัด หู คอ จมูก 2) ศัลยกรรมสมอง 3) ศัลยกรรมเด็ก 4) ศัลยกรรมช่องท้อง 5) ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ และในปี 2556 จัดทำแนวทางการประเมินวิสัญญี พยาบาลจบใหม่ร่วมกับเพิ่มความรู้ฉบับย่อในแต่ละพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน (quick guide) 10 พื้นที่ห้อง ผ่าตัดที่ปฏิบัติงาน 1)ผ่าตัด หู คอ จมูก 2)ผ่าตัดตา 3) ผ่าตัดนรีเวช 4)ศัลยกรรมเด็ก 5) ศัลยกรรมสมอง 6) ศัลยกรรมหัวใจ 7) ศัลยกรรมกระดูก 8) ศัลยกรรมช่องท้อง 9)ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ 10)ศัลยกรรมฉุกเฉิน 2. ทีมงานบริหารปรับรูปแบบการจัดบุคลากรเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานใหม่ โดยเน้นพี่ที่มีประสบการณ์ดูแล สอนน้องใหม่ช่วง 1 ปีแรก และการปฏิบัติงานดมยานอกหน่วยงานให้เพิ่มประสบการณ์ทำงานอย่าง น้อย 2 ปี 6.3 สถิติอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยผู้ป่วยในแต่ละปีลดลงดังนี้ - ในปี 2554มีระบบ coaching โดยจัดทำแนวทางการประเมินวิสัญญีพยาบาลจบใหม่ 5พื้นที่ห้อง ผ่าตัดที่ปฏิบัติงาน ไม่พบอุบัติการณ์รุนแรง - ในปี 2555จัดทำแนวทางการประเมินวิสัญญีพยาบาลจบใหม่ 5พื้นที่ห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงานและ เพิ่มความรู้ฉบับย่อในแต่ละพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน (quick guide) ไม่พบอุบัติการณ์รุนแรง แต่มีอุบัติการณ์ เพิ่มขึ้นในพื้นที่การบริการ นอกเหนือการ coaching - ในปี 2556จัดทำแนวทางการประเมินวิสัญญีพยาบาลจบใหม่ 10พื้นที่ห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงาน เพิ่ม ความรู้ฉบับย่อในแต่ละพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน (quick guide) และปรับรูปแบบการจัดบุคลากรเข้าพื้นที่ ปฏิบัติงานใหม่ โดยเน้นพี่ที่มีประสบการณ์ดูแลสอนน้องใหม่ช่วง 1 ปีแรก พบว่า ไม่พบอุบัติการณ์ รุนแรงใน 6 เดือนแรกของปี 3. ความพึงพอใจต่อระบบ Coaching ประจำ zone ของทีมวิสัญญีพยาบาล staff ใหม่ พบร้อยละ 67 การเรียนรู้หรือการนำไปใช้ประโยชน์ 1. หน่วยงานมีระบบ coaching ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีระบบการบริหารจัดการโดยเน้นการจัดบุคลากรรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องและมีการวิเคราะห์และติดตามการเกิดอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยผู้ป่วย 2. เกิดการพัฒนาคุณภาพทั้งงานและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร ข้อเสนอแนะอื่น ๆ การบริหารจัดการองค์กรที่ดี ควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีผลกระทบรุนแรงนำมาแก้ไขร่วมกันและกำหนดเป็นนโยบายการปฏิบัติให้ชัดเจน วันที่ 25 กรกฎาคม 2556