1 / 47

นายกิตติ ดุษิยามี นายตรวจศุลกากร 6 ว. ด่านศุลกากรแม่สอด danmaesot

การค้าชายแดน. นายกิตติ ดุษิยามี นายตรวจศุลกากร 6 ว. ด่านศุลกากรแม่สอด www.danmaesot.com. สถิติมูลค่าสินค้านำเข้า ด่านศุลกากรแม่สอด ปีงบประมาณ 2543 - 2549 (หน่วย : ล้านบาท). สถิติมูลค่าสินค้าส่งออก ด่านศุลกากรแม่สอด ปีงบประมาณ 2543 - 2549 (หน่วย : ล้านบาท). ดุลการค้า.

bat
Download Presentation

นายกิตติ ดุษิยามี นายตรวจศุลกากร 6 ว. ด่านศุลกากรแม่สอด danmaesot

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การค้าชายแดน นายกิตติ ดุษิยามี นายตรวจศุลกากร 6 ว. ด่านศุลกากรแม่สอด www.danmaesot.com

  2. สถิติมูลค่าสินค้านำเข้า ด่านศุลกากรแม่สอด ปีงบประมาณ 2543 - 2549 (หน่วย : ล้านบาท)

  3. สถิติมูลค่าสินค้าส่งออก ด่านศุลกากรแม่สอด ปีงบประมาณ 2543 - 2549 (หน่วย : ล้านบาท)

  4. ดุลการค้า

  5. 15 อันดับแรกสินค้าส่งออก

  6. 15 อันดับแรกสินค้านำเข้า

  7. สินค้าส่งออกที่น่าสนใจสินค้าส่งออกที่น่าสนใจ

  8. 1.น้ำมันพืช                สินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสินค้าที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของสินค้าทุกประเภทที่มีการส่งออก แต่ที่น่าสนใจคือน้ำมันพืชกับผงชูรส น้ำมันพืชที่ส่งออกเป็นน้ำมันปาล์มที่ใช้ในการบริโภคมีทั้งการส่งออกจากภายในประเทศและส่งผ่านประเทศไทยจากประเทศมาเลเซียโดยทำพิธีการใบขนถ่ายลำ        เหตุที่ประเทศพม่ามีการนำเข้าน้ำมันพืชสูงอาจเป็นเพราะ วัฒนธรรมการบริโภคที่คล้ายๆกับประเทศอินเดียคือบริโภคอาหารที่เกิดจากการทอดสูง ซึ่งพม่ามีชายแดนติดกับอินเดียค่อนข้างยาว ทำให้เกิดการซึมซับวัฒนธรรมของกันและกัน อนึ่ง มีการจำหน่ายต่อไปยังบังคลาเทศและอินเดียด้วย เพราะน้ำมันพืชจากไทยและมาเลเซียมีคุณภาพที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด              ปีงบประมาณ 2546   ส่งออกมูลค่า 614.443  ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547   ส่งออกมูลค่า    2,099.653   ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548   ส่งออกมูลค่า    694.747  ล้านบาท  ปีงบประมาณ 2549   ส่งออกมูลค่า   205.565  ล้านบาท (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  9. น้ำมันพืช(น้ำมันปาล์ม)รอการส่งออกน้ำมันพืช(น้ำมันปาล์ม)รอการส่งออก

  10. 2.ผงชูรส                                 พม่ามีการนำเข้าผงชูรสจากไทยเป็นมูลค่าที่สูงมากและนำเข้าทุกยี่ห้อ     ต่างกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่จะนำเข้าผงชูรสจากไทยเพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้นคือ     “ตราช้อน”       ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าพม่านำเข้าผงชูรสไปเพื่อทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากบริโภคหรือไม่  แต่อย่างไรก็ดีชาวพม่าติดผงชูรสกันมากมักจะใส่ลงในอาหารแทบทุกชนิด     และบางครั้งก็คลุกกับข้าวรับประทานเปล่าๆ     เดิมทีในสถานการณ์ที่มีการสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย     มีการนำผงชูรสไปเป็นยาห้ามเลือด     แต่ปัจจุบันมีการนำเข้ายารักษาโรคจากประเทศไทยได้สะดวก     การนำไปใช้ในสาเหตุดังกล่าวจึงน่าจะหมดไปหรือหากมีก็น่าจะลดน้อยลง     แต่ก็มีข้อน่าสังเกตว่ากระทรวงพาณิชย์ของพม่าได้ออกประกาศ ฉบับที่ 9/99     ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ห้ามนำเข้าสินค้า 15 รายการ ผ่านทางด่านชายแดน     และผงชูรสก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่ถูกห้ามนั้น     โดยอ้างว่าเพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศและคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน     ปัจจุบันการส่งออกสินค้าผงชูรสทางด่านศุลกากรแม่สอด     จึงไม่สามารถส่งออกทางด้านสะพานมิตรภาพไทย-พม่าได้     ต้องส่งออกทางคลังสินค้าอนุมัติซึ่งเป็นทางอนุมัติเฉพาะคราวในการส่งออก     ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจตราจากทางการพม่า –     ดังในภาพผู้ส่งออกต้องใส่ถุงดำสองชั้นเพื่อไม่ให้ทราบว่าเป็น “ผงชูรส”             

  11. การส่งออกผงชูรส • ปีงบประมาณ 2546   ส่งออกมูลค่า 587.117  ล้านบาท • ปีงบประมาณ 2547   ส่งออกมูลค่า    1,030.567  ล้านบาท • ปีงบประมาณ 2548   ส่งออกมูลค่า    1,003.068  ล้านบาท  • ปีงบประมาณ 2549   ส่งออกมูลค่า   467.181 ล้านบาท • (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  12. 3.ผ้าฝ้ายพิมพ์100%                             วัฒนธรรมการแต่งกายของพม่านั้นยังสามารถอนุรักษ์การแต่งกายแบบท้องถิ่นเอาไว้ได้เป็นอย่างดี คือมีการนุ่งโสร่งกันทั้งชายหญิง จึงไม่น่าแปลกใจที่มีการนำเข้าผ้าพิมพ์ฝ้าย 100% จากไทย เข้าไปเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ปีงบประมาณ 2546   ส่งออกมูลค่า 195.388     ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547   ส่งออกมูลค่า    350.335    ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548   ส่งออกมูลค่า    303.915     ล้านบาท  ปีงบประมาณ 2549   ส่งออกมูลค่า   186.954   ล้านบาท (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  13. 4.รองเท้าแตะฟองน้ำ              ด้วยสภาพการคมนาคมที่ยังทุรกันดารเสียส่วนมากรวมทั้งมีราคาถูกและเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก รองเท้าแตะฟองน้ำจึงเป็นที่นิยมใช้ในประเทศพม่า ปีงบประมาณ 2546  ส่งออกมูลค่า 193.710  ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547   ส่งออกมูลค่า    207.607  ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548   ส่งออกมูลค่า  166.000 ล้านบาท  ปีงบประมาณ 2549   ส่งออกมูลค่า   126.035 ล้านบาท (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  14. 5.รถจักรยานยนต์         รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซด์ของไทยได้รับความนิยมมากในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม, ลาว, กัมพูชาและพม่า แม้ว่าในระยะหลังจะมีรถจักรยานยนต์จากจีนเข้ามาแย่งตลาด แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพความทนทานและการใช้งานได้ดีกว่าแล้ว รถจักรยานยนต์ของไทยก็จะได้รับความนิยมมากกว่า         และประเทศพม่าก็เช่นกันที่นิยมนำเข้ารถจักรยานยนต์จากไทย แต่ที่น่าสนใจก็คือการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของพม่านิยมนำเข้ารถจักรยานยนต์ยี่ห้อ “ฮอนด้า” มากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นเพราะมีคุณสมบัติใดต้องใจผู้ใช้ชาวพม่ามากกว่ายี่ห้ออื่น หรือเป็นเพราะมีการทำตลาดได้ดีกว่ายี่ห้ออื่น ปีงบประมาณ 2546   ส่งออกมูลค่า 60.209  ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547   ส่งออกมูลค่า    400.151  ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548   ส่งออกมูลค่า    107.229 ล้านบาท  ปีงบประมาณ 2549   ส่งออกมูลค่า   209.953  ล้านบาท (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  15. 6.รถยนต์                   มีการส่งออกรถยนต์ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์บรรทุก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก แต่ทั้งหมดเป็นการส่งออกโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน คือมีการนำเข้ารถยนต์ประเภทเก่าใช้แล้วจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นเข้ามาในคลังสินค้าทัณฑ์บน, เขตอุตสาหกรรมส่งออกและเขตปลอดอากรของไทย จากนั้นจะมีการซ่อมแซมและตบแต่งให้สามารถใช้งานได้ดี  จึงนำมาจำหน่ายโดยส่งออกผ่านด่านศุลกากรแม่สอด โดยด่านศุลกากรแม่สอดทำหน้าที่เพียงรับบรรทุก คือ ตรวจตราสภาพภายนอกแล้วส่งออกไปตามทางอนุมัติและทางอนุมัติชั่วคราว       ที่น่าสนใจคือรถยนต์เหล่านี้มีราคาถูก และที่นิยมนำเข้ามากคือ Toyota Townace, Toyota Liteace และ Mitsubishi Pajero จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมพม่าจึงไม่นำเข้ารถยนต์กระบะจากไทย ซึ่งเพราะมีราคาแพงกว่ามากนั่นเอง แต่ที่น่าแปลกใจคือรถเหล่านี้ใช้พวงมาลัยบังคับด้านขวาทั้งๆที่ประเทศพม่ามีการกฎหมายเรื่องจราจรให้ขับชิดขวา        ซึ่งก็ทำให้น่าสงสัยว่าการนำเข้ารถยนต์ของพม่าจะมีการลักลอบนำกลับมาใช้ฝั่งไทยโดยไม่ต้องเสียภาษีหรือไม่ และด่านศุลกากรแม่สอดก็เฝ้าระวังอยู่ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีข่าวในเรื่องนี้       จากการเก็บสถิติตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2547 – 28 เม.ย. 2549 มีรถยนต์จากคลังสินค้าทัณฑ์บน, เขตอุตสาหกรรมส่งออกและเขตปลอดอากร ส่งออกผ่านด่านศุลกากรแม่สอด จำนวน 2,920 คัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท และยี่ห้อที่ส่งออกมากที่สุดคือ Toyota จำนวน 1,932 คัน (Corolla 634 คัน)และ Mitsubishi จำนวน 589 คัน (Pajero 511 คัน)

  16. สินค้าส่งออกอื่นที่น่าสนใจสินค้าส่งออกอื่นที่น่าสนใจ

  17. สินค้านำเข้าที่น่าสนใจสินค้านำเข้าที่น่าสนใจ

  18. 1.โค-กระบือมีชีวิต          ในพื้นที่จังหวัดตากมีการค้าขายโค-กระบือกันมาก   ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนให้เกิดตลาดนัด โค-กระบือในหลายท้องที่ของจังหวัด  และส่วนหนึ่งเกิดจากการค้าขายโคกระบือจากประเทศพม่า ซึ่งมีราคาถูกและสามารถขนย้ายข้ามประเทศเข้ามาโดยง่าย ด่านศุลกากรแม่สอดได้อำนวยความสะดวก    เปิดให้มีการนำเข้าโค-กระบือผ่านแดนเข้ามาทางจุดผ่อนปรนต่างๆ เช่นที่ บ้านเปิ่งเคลิ่ง อ.อุ้มผาง, บ้านวังตะเคียน บ้านไร่ บ้านวังแก้ว อ.แม่สอด, จุดผ่อนปรน อ.แม่ระมาดและ อ.ท่าสองยาง โดยจัดเก็บอากรโค-กระบือ ตัวละ 200 บาท                           ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมามีการนำเข้าโค-กระบือ เข้ามาผ่านด่านศุลกากรแม่สอด ดังนี้ ปีงบประมาณ 2546 นำเข้า       จำนวน 31,122 ตัว      มูลค่า    124,488      ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2547 นำเข้า       จำนวน 26,722 ตัว      มูลค่า    106,888      ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2548 นำเข้า       จำนวน 51,471 ตัว      มูลค่า    205,884      ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2549 นำเข้า       จำนวน 12,789 ตัว      มูลค่า      51,156     ล้านบาท (ถึงเดือน พ.ค.49)

  19. 2.อาหารทะเล         อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีพรมแดนที่ติดกับจังหวัดเมียวดีของประเทศพม่า  ซึ่งห่างจากย่างกุ้งประมาณ 420 กิโลเมตร จึงมีการนำเข้าอาหารทะเล เช่น ปูทะเลมีชีวิต ปลาเบญจพรรณ และกุ้งสด จากย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงของพม่าที่อยู่ใกล้กับเมืองท่ามะละแหม่ง  เข้ามาเสียภาษีอากรทางด่านศุลกากรแม่สอดเป็นจำนวนมาก  โดยจะมีผู้รับซื้อจากมหาชัยและระนองนำรถห้องเย็นไปรับซื้อที่จังหวัดเมียวดี ซึ่งจะมีพ่อค้าของพม่านำอาหารทะลมาจากย่างกุ้งมาขนถ่ายให้ที่สถานีขนถ่ายสินค้า  และยังมีการนำเข้าปูทะเลมีชีวิตเพื่อส่งออกทางด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด (Re-export)  ทั้งนี้การนำเข้าอาหารทะเลจากย่างกุ้งมีอุปสรรคอันเกิดจากเส้นทางการคมนาคม ทำให้ต้องสลับกันวิ่งระหว่างรถจากเมียวดีไปย่างกุ้งวันหนึ่ง และรถจากย่างกุ้งมาเมียวดีวิ่งอีกวันหนึ่ง ทำให้การนำเข้าอาหารทะเลผ่านด่านศุลกากรแม่สอดจึงเกิดขึ้นวันเว้นวัน        สถิติการนำเข้าอาหารทะเล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 มีดังนี้    ปีงบประมาณ 2546 นำเข้ามูลค่า      168.425       ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2547 นำเข้ามูลค่า      305.545       ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2548 นำเข้ามูลค่า     336.591       ล้านบาท    ปีงบประมาณ 2549 นำเข้ามูลค่า      348.760       ล้านบาท (ถึงเดือน พ.ค. 49)

  20. อาหารทะเล จากสถิติการนำเข้าอาหารทะเล ในรอบ 4 ปี ที่ผ่านมามีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ  ทั้งนี้อาจเกิดจากปัญหาทรัพยากรอาหารทะเลของไทยที่มีน้อยลงทุกวัน ทำให้ชาวประมงไทยต้องออกไปจับในน่านน้ำลึกไกลออกไปทำให้เกิดต้นทุนสูง โดยเฉพาะในสภาวะที่น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นมาก ต่างกับประเทศพม่าที่ยังมีทรัพยากรทางทะเลอยู่อีกมาก การทำประมงไม่ต้องออกไปไกล จึงทำให้การค้าขายอาหารทะเลเปลี่ยนเส้นทางมานำเข้าจากพม่ามากขึ้น ปัจจุบันอาหารทะเลสามารถนำเข้าทางด่านศุลกากรแม่สอดได้ในอัตราภาษีอากร 5%

  21. 3.สิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้            เดิมสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ที่เป็นไม้สักไม่สามารถนำเข้าได้ทางด่านศุลกากรแม่สอด ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อชำระอากรได้ เมื่อเดือนธันวาคม 2548 นี้เอง จึงทำให้มีการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้จำนวนมาก เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ตั่ง ชุดเฟอร์นิเจอร์ ไม้คิ้วบัว ไม้แกะสลัก วงกบ บานประตู หน้าต่าง เป็นต้น เข้ามาทางด่านศุลกากรแม่สอด แต่การที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ถึง 6 หน่วยงานร่วมกันตรวจสอบ จึงทำให้มีอุปสรรคในการจัดทำเอกสาร, การประสานงานและการตรวจปล่อยพอสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลการนำเข้าได้อย่างทั่วถึง ด่านศุลกากรแม่สอดได้อนุญาตให้นำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้เข้ามาได้ 3ทาง คือ ทางคลังสินค้าอนุมัติที่ 1, 2, 13 บ้านห้วยม่วงที่หนึ่ง ทางด่านพรมแดนท่าสายลวดซึ่งมีศูนย์ One Stop Service อยู่ที่หนึ่ง      และทางคลังอนุมัติที่ 14 บ้านวังผาอีกที่หนึ่ง และอนุญาตให้นำเข้าได้ในวันอังคาร-พุธ-พฤหัส

  22. สิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้สิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ สถิติการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 มีดังนี้   ปีงบประมาณ 2546      นำเข้ามูลค่า           48.064      ล้านบาท   ปีงบประมาณ 2547      นำเข้ามูลค่า           10.797      ล้านบาท   ปีงบประมาณ 2548      นำเข้ามูลค่า           17.691      ล้านบาท   ปีงบประมาณ 2549      นำเข้ามูลค่า         180.075       ล้านบาท (ถึงเดือน พ.ค. 49)         ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อมีมติ ครม.อนุญาตให้นำเข้าได้ เพียง 7 เดือนของปีงบประมาณ 2549 ก็มีผู้ประกอบการจำนวนมากนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ ทำให้ยอดจัดเก็บค่าภาษีอากรของด่านศุลกากรแม่สอดสูงถึง 61 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการมากและสูงกว่าการจัดเก็บภาษีอากรทั้งปีของปีงบประมาณ 2548 ซึ่งเก็บได้เพียง 57 ล้านบาท

  23. ไม้ไผ่ 4.ไม้ไผ่                ไม้ไผ่สดเป็นสินค้าเชิงวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ทำตะเกียบ ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ และบางส่วนก็นำมาสร้างศูนย์อพยพสำหรับผู้อพยพที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ว่า ห้ามสร้างด้วยถาวรวัตถุ อัตราอากรในการนำเข้า-ยกเว้นอากร ปีงบประมาณ 2546 นำเข้ามูลค่า   8.549     ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547 นำเข้ามูลค่า  13.904     ล้านบาท     ปีงบประมาณ 2548 นำเข้ามูลค่า  19.766     ล้านบาท     ปีงบประมาณ 2549 นำเข้ามูลค่า 14.725     ล้านบาท (ถึงเดือนพฤษภาคม 2549)

  24. ด่านศุลกากรแม่สอด • กิตติ ดุษิยามี • ด่านศุลกากรแม่สอด โทร 055-563095 • Mobile 01-8396320 • E-mail : pepsi8@ksc.th.com • Website : www.danmaesot.com

  25. ขอขอบคุณทุกท่าน

More Related