240 likes | 376 Views
สาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช. ฉบับลงประชามติ. สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญ. ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
E N D
สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับลงประชามติ
สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญสาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญ ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ๓. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม ๔. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ • เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น • ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพ -ง่ายขึ้นกว่าเดิม -มีประสิทธิภาพ -มีมาตรการคุ้มครองชัดเจน • ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม • ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น
เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมเพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม • คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด • ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง • สื่อมวลชนได้รับการคุ้มครอง ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน ห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชนด้วย • ประชาชนได้รับการศึกษาฟรี ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ต้องได้รับการศึกษา โดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น • เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับสิทธิในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา • บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัย/ไม่มีรายได้เพียงพอ ได้รับช่วยเหลือจากรัฐเป็นครั้งแรก
เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมเพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม • คำนึงถึงสัดส่วนของชายหญิงที่ใกล้เคียงกัน • ขยายสิทธิชุมชน โครงการ/กิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน • ชุมชนมีสิทธิฟ้ององค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย • การทำสนธิสัญญา ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม • ประชาชน ๕๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เป็นครั้งแรก
การใช้สิทธิและเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจนการใช้สิทธิและเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน • ตัดคำว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออก เพื่อให้มีผลบังคับทันทีตามรัฐธรรมนูญ • กำหนดเวลาในการตรากฎหมายลูกอย่างชัดเจน (ส่วนใหญ่ ๑ ปี) • ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิมทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิม • สิทธิ เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้ แม้ยังไม่มีกฎหมายลูก ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นได้ทันที • ประชาชน ๑๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย • ประชาชน ๒๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองได้
ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม • แยกแยะหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้าน • กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในเรื่องที่สำคัญเพิ่มขึ้น เช่น รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม • ให้รัฐมีหน้าที่จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีการคุ้มครองสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เป็นของรัฐและป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดในกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยระดับประเทศ • อปท.มีอิสระในการบริหารงานทุกด้านและมีการจัดโครงสร้างที่คล่องตัว • เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น ลดจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นและการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น • อปท.ต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน ในการจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี
๒.การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม๒.การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม • เสริมอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน • จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • ให้ สส.และ สว. เป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนได้เต็มที่
เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชนเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน • ประชาชนและชุมชนมีอำนาจในการฟ้องร้องรัฐที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้ • ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้น เช่น การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองและการเสนอกฎหมายทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น • สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน ๘ ปี • การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบ โดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป • กำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการอย่างชัดเจน เพื่อมิให้รัฐบาลรักษาการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายประจำ และใช้กลไกของรัฐไปสนับสนุนพรรคการเมืองและผู้สมัครฝ่ายตนในการเลือกตั้ง • คณะรัฐมนตรีจะทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการลงนาม
จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • สส. ๑/๕ เปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ และ สส.๑/๖ เปิดอภิปรายรัฐมนตรีได้ • อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปราย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอื่น • ให้องค์กรอัยการเป็นอิสระ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เต็มที่
สส.เป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ฐานะผู้แทนปวงชนได้อย่างเต็มที่ • ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างที่อายุของสภายังไม่สิ้นสุด • สส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ • ห้ามสส.และสว.แทรกแซงข้าราชการประจำ
๓.การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม • บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจน • กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง • การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น • ให้สส. สว. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น
บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดเจนบัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดเจน • มีกลไกและระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการละเมิด • การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง • ให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ปปช.ทำหน้าที่ตรวจสอบจริยธรรมนักการเมือง
กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในการห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (ครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) • กำหนดหลักการ การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ สส. สว. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี • ห้ามประธานสภา รองประธานสภา ดำเนินการในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ในระหว่างการดำรงตำแหน่งจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมิได้ • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น
การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้นการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น • ขยายไปถึงทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอี่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม • สส.และ สว. ต้องแสดงทรัพย์สินและหนี้สินอย่างเปิดเผยแก่สาธารณชนเ ช่นเดียวกับของรัฐมนตรี
ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น • กรณีสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกแม้จะมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ประมาท ลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท • กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ประมาท ลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
๔.การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ๔.การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ • ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบดียิ่งขึ้น • จัดให้มีระบบตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ ให้ได้คนที่มีความเป็นอิสระและเหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง • กรรมการสรรหามาจากองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นกลางในทางการเมือง • ลดผู้มีส่วนได้เสีย ออกจากกรรมการสรรหา
ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้นปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น • ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้โดยตรง • ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาว่านักการเมืองจงไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ • ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อประชาชนโดยรวมขึ้นพิจารณาได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน
จัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ • การให้ใบเหลือง ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถอุทธรณ์ ต่อศาลฎีกาได้ ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น สามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคใต้ • ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมและติดตามผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ