1 / 54

การตรวจวินิจฉัยโรคลิชมาเนีย โดย สวาท ชลพล

การตรวจวินิจฉัยโรคลิชมาเนีย โดย สวาท ชลพล. 1. ทางคลินิก Clinical diagnosis สอบประวัติ ดูตามผิวหนังรอยถูกริ้นฝอยทรายกัด ตุ่ม แผลหายยาก (CL) อาการไข้ หนาวสั่น เลือดออกตามไรฟัน ตับม้ามโต (VL) 2. ตรวจซีรั่มให้ผลบวกต่อเชื้อฯ (Serological diagnosis:Antibogy) หรือ Antigen)

beau-boyer
Download Presentation

การตรวจวินิจฉัยโรคลิชมาเนีย โดย สวาท ชลพล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจวินิจฉัยโรคลิชมาเนีย โดย สวาท ชลพล 1. ทางคลินิกClinical diagnosis สอบประวัติ ดูตามผิวหนังรอยถูกริ้นฝอยทรายกัด ตุ่ม แผลหายยาก(CL) อาการไข้ หนาวสั่น เลือดออกตามไรฟัน ตับม้ามโต(VL) 2.ตรวจซีรั่มให้ผลบวกต่อเชื้อฯ(Serological diagnosis:Antibogy) หรือAntigen) - Direct agglutination(DAT) - Indirect fluorescent antibody test(IFAT) - Enzyme-linked immunosorbent assay(ELISA) - Complement fixation test(CFT) - Indirect haemagglutination test (IHA) - Latex agglutination - Dipstick rK39 Ag. - Western-blot analysis ฯลฯ

  2. 3. ตัวเชื้อโรค(Parasitological diagnosis) ตรวจหา amastigote - ย้อมสี(Stained smear) - ฉีดเข้าสัตว์ทดลอง(Animal inoculation) - เพาะเลี้ยงเชื้อ(Culture) 4. ระดับโมเลกุล(Molecular diagnosis) หา DNA เช่น PCR ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และใช้แยกชนิดเชื้อลิชมาเนีย

  3. การตรวจวินิจฉัยCutaneous leishmaniasisด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตุ่ม พองใส แผลเปียก/แห้ง

  4. ตุ่มพองใส ใช้ใบมีด(blade) กรีดเป็นแผลเล็กน้อย เขี่ย/ขูดเนื้อ เยื่อหรือดูดน้ำเหลืองก้นแผล :ขูดน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อก้นแผล : เข็มเบอร์ 20 แทงผิวหนังข้างแผล ดูดน้ำเหลืองที่ก้นแผล เกลี่ยบนสไลด์ ย้อมสียิมซ่าตรวจหา amasigote กำลังขยาย 100x ศตม./นคม./สอ./อปท. ดำเนินการในภาคสนามได้

  5. กลุ่มเป้าหมายที่ควรสำรวจ CL • คนไทยในพื้นที่มีปัจจัยเสี่ยง • แรงงานไทยกลับจากประเทศที่เป็นแหล่งแพร่โรค • แรงงานพม่า • มุสลิมที่กลับจากร่วมพิธีฮัจจ์

  6. การตรวจวินิจฉัยโรคริชมาเนียด้วย DipstickTest โดย สวาท ชลพล -เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากโปรตัวซัว(สัตว์เซลเดียว)ในสกุลริชมาเนีย -อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของสัตวเลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด -ติดต่อระหว่างสัตว์กับคนโดยผ่านการถูกแมลงริ้นฝอยทรายกัด

  7. -เชื้อโรคเมื่ออยู่ในคนสามารถก่อให้เกิดโรคอาจทำให้ถึงตาย-เชื้อโรคเมื่ออยู่ในคนสามารถก่อให้เกิดโรคอาจทำให้ถึงตาย -แต่อยู่ ในสัตว์ไม่แสดงอาการของโรคเป็นสัตว์รังโรค (Carrier) สัตว์รังโรคเป็นสัตว์กัดแทะจำพวก กระรอก กระแต gerbils และสุนัขเป็นโรคของสัตว์แต่แพร่สู่คนได้ (zoonosis)

  8. เชื้อ leishmaniaในคน แบ่งเป็น 3 ชนิด • 1.ก่อให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เช่น แขน ขา Cutaneous leishmaniais:CL :ชนิดเชื้อ L.aethiopica, L.mexicana complex • 2.ก่อให้เกิดแผลตามปากและจมูก Mucocutaneous leishmaniais:ML ชนิดเชื้อ L.brazilliensis complex)

  9. 3.ก่อให้เกิดพยาธิอวัยวะภายใน ตับ ม้าม อักเสบ บวมโต Visceral leishmaniasis:VL :ชนิดเชื้อ L.donovani complex, L.d.infantum, L.d.chagasi ในไทย พบ L.donovani และ L.d.infantum ส่วนเชื้อชนิดใหม่ อยู่ระหว่างตั้งชื่อว่า L.siamensis

  10. การตรวจและวินิจฉัยโรคริชมาเนียการตรวจและวินิจฉัยโรคริชมาเนีย • 1.แผลตามผิวหนังและเยื่อบุ โดยวิธี • 1.1 Clinical Diagnosis ตรวจดูแผลตามร่างกาย ดูตุ่มพองใส หรือ แผล (sore)มักมีขนาดใหญ่ ขอบนูนแข็ง ตรงกลางแผลอาจแห้งหรือเป็นหนองมีน้ำเหลืองเยิ้ม จำนวนตุ่มหรือแผลขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ถูกกัดหรือระบบภูมิคุ้มกัน

  11. 1.2ตรวจหาเชื้อจากแผล(Parasitological diagnosis) โดยขูดหรือตัดเนื้อเยื่อก้นแผลป้ายบนสไลด์(smear)ทิ้งไว้ให้แห้งแล้ว fixed ด้วย methanal และย้อมด้วยสี Giemsaหรือ สี Wright ใช้ตรวจหา amastigote ในเม็ดเลือดขาว ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 100x

  12. กรณีเป็นตุ่มพองใส อาจใช้เข็ม เบอร์ 20 แทงและดูดเอาน้ำเหลืองหรือใช้มีดกรีดเปิดตุ่ม แล้วดูดน้ำเหลืองจากก้นแผลนำไปตรวจ

  13. 2.อวัยวะภายใน(ตับ ม้าม) • 2.1 ดูลักษณะภายนอกทั่วไป • อ่อนเพลีย ผอม ท้องป่อง หลอดเลือดดำโป่งหน้าท้อง ผิวหน้าคล้ำ บวมตามมือ เท้า ตับโต ไข้ค่อย ๆ เย็นขึ้น หรืออาจเป็นกะทันหันและมักสะท้านหรือสั่นคล้ายมาลาเรีย คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีไข้ขึ้นวันละ 2 ครั้ง ไข้สูงนายหลายสัปดาห์ (ไข้เรื้อรัง) เหงื่อซึม ปวดตามข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ โลหิตจาง นับจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 2,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

  14. อาจมีไข้ขึ้นวันละ 2 ครั้ง ไข้สูงนานหลายสัปดาห์ (ไข้เรื้อรัง) เหงื่อซึม ปวดตามข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ โลหิตจาง นับจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 2,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร • ชาย/หญิง ปกติ ประมาณ 5,000-10,000 Cell/ลบ.มม.ส่วนเด็ก 10,000-12,000 Cell

  15. 2 .2 ตรวจทางน้ำเหลือง(Serological diagnosis) • คนไข้มักมี IgG ในน้ำเหลืองสูง สามารถตรวจได้ง่าย มีความไวและความจำเพาะสูง เหมาะต่อการใช้ตรวจหาโรคในกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค วิธีที่นิยมคือ ELISA dot – ELISA, IFAT, DAT, Formal – gel reaction (ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว)

  16. 2.3 ตรวจหาเชื้อฯ จากอวัยวะภายใน • โดยเจาะไขกระดูก (bone marrow) หรือดูดของเหลวจากตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ป้ายบนสไลด์ นำไปย้อมสี และตรวจหา amastigote ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่วิธีนี้ตรวจพบเชื้อได้ยากในระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อ

  17. เกิดจากที่ริ้นฝอยทรายเพศเมียที่มีเชื้อโปรโตซัวในสกุล ลิชมาเนีย (Leishmania spp.) ที่มีเชื้ออยู่ในน้ำลายตามปากดูดและทางเดินอาหาร กัดดูดเลือดของสัตว์หรือมนุษย์เพื่อการวางไข่ ลักษณะเหมือนการดำรงชีพของยุง ชอบกัดนอกบ้าน ริ้นฝอยทรายจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ที่มีความชื้น มืดครึ้ม ทำรังอยู่ตามพื้นดิน ไม้ผุ จอมปลวกเก่า ตามรอยแตกแยกของสิ่งก่อสร้าง ปกติจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 60 วัน ออกหากินตอนพลบค่ำหรือใกล้มืด ริ้นฝอยจะบินในระดับต่ำกว่าระดับเอว และหากินห่างจากรังของมันประมาณ100-300เมตรเท่านั้น

  18. ยังมีการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ อีก อาทิ การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหาร (culture) กับการฉีดเข้าสัตว์ทดลอง (Animal inoculation) แต่วิธีเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลานาน เหมาะสมกับการสอนและศึกษาวิจัยมากกว่า

  19. วิธี PCR – based DNA มีความแม่นยำสูงสามารถใช้แยกชนิดเชื้อลิชมาเนียและดูความหลากหลายของ strain เชื้อโรคได้

  20. ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีชุดตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว “rK39 Dipstick Test” ตรวจซีรั่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพอวัยวะภายใน (VL) หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นแหล่งแพร่โรคได้ทดสอบประสิทธิภาพชุดตรวจนี้กับผู้ป่วยและสัตว์รังโรคปรากฏทั้งความไว และความจำเพาะเป็นร้อยละ 100 เท่ากัน

  21. ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเนปาล ได้ใช้ชุดตรวจนี้ประเมินผลการควบคุมโรคในโครงการกำจัดโรคลิชมาเนียให้หมดไปภายในปี 2015 ตามการลงนามร่วมกันกับ WHO

  22. บางประเทศได้ประยุกต์ rK39 dipstick ตรวจค้นผู้ป่วย Visceral leishmaniasis ที่ไม่ปรากฏอาการเพื่อทำนายแนวโน้มการแพร่ระบาดโรคลิชมาเนียในแต่ละพื้นที่

  23. ประเทศไทย ยังไม่เคยนำเครื่องมือนี้มาทดสอบและใช้ตรวจค้นหาผู้ป่วย Visceral leishmaniasis ในที่นี้ จึงเป็นเพียงการเสนอคุณลักษณะของชุดตรวจ เพื่อประกอบการพิจารณาการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคลิชมาเนียในอนาคต

  24. ชุดตรวจอย่างรวดเร็ว rK39 dipstick test เป็นเครื่องมือใหม่ (New tool) ใช้ตรวจหาผู้ป่วยโรค • ลิชมาเนีย โดยเฉพาะผู้ที่เป็น Visceral leishmaniasis เครื่องมือนี้ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และราคาไม่แพงมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

  25. dipstick test เป็นแผ่นเยื่อบาง (membrane) ที่เคลือบด้วย recombinant VL antibody (rK 39) ตรงตำแหน่งทดสอบ (Test :T) และ chicken anti – protein A ที่ตำแหน่งควบคุม(Control :C)

  26. แผ่น dipstick test บรรจุในซองพลาสติกที่ปิดแน่นสนิท(sealed)

  27. ภาพ 1 แผ่น rK39 dipstick Test

  28. ภาพที่ 2 ซองพลาสติกที่ภายในบรรจุ dipstick test 1 ชิ้น

  29. ข้อควรปฏิบัติและพึงระวัง(Precaution)ในการใช้ชุดตรวจdipstick test • 1. ห้ามใช้ชุดตรวจฯ ที่หมดอายุค้นหาผู้มีเชื้อโรคลิชมาเนีย • 2.อ่านรายละเอียดวิธีการใช้ชุดตรวจในคู่มือให้เข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด • 3.สวมเสื้อผ้าปกปิดส่วนต่างๆของร่างกายมิดชิด สวมถุงมือและแว่นตา รวมทั้งล้างมือทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

  30. 4.หลีกเลี่ยงการให้มือสัมผัสตาและเยื่อบุบาง ๆ • 5. ห้ามรับประทาน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ ระหว่างปฏิบัติงาน • 6. ระมัดระวังอย่าให้น้ำยา buffer โดนร่างกาย

  31. การเก็บรักษา dipstick test • ควรเก็บ dipstick testไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 20-28ºซ (ไม่เก็บในช่องแข็ง) ส่วนขวด Chase buffer เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8º ซ ทุกครั้งที่ฉีกซองพลาสติกแล้ว ควรใช้ dipstick ตรวจซีรั่มผู้ป่วยภายใน 1 ชม.

  32. การเก็บตัวอย่างซีรั่มการเก็บตัวอย่างซีรั่ม • 1. dipstick test ใช้ตรวจเฉพาะกับซีรั่มเท่านั้น ไม่ใช่เลือดโดยตรง • 2. เก็บซีรั่มอย่างรวดเร็วหลังจากแยกส่วนกับเซลเม็ดเลือดแดง กรณีเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) จะทำให้การตรวจวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้

  33. 3. ควรตรวจซีรั่มหลังจากแยกเก็บจากเซลเม็ดเลือดแดงทันที กรณีไม่อาจทำได้สามารถเก็บไว้ในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ 2-8º ซ ไม่เกิน 3 วัน และก่อนทดสอบ ต้องละลายความเย็นให้หมดโดยวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง หลังใช้ทดสอบกับชุดตรวจแล้วต้องทิ้งไม่ควรเก็บซีรั่มแช่แข็งซ้ำ

  34. ขั้นตอนการใช้ dipstick test ตรวจซีรั่ม • 1.วางขวด Chase Buffer ไว้ที่อุณหภูมิห้องให้คลายความเย็นจากการเก็บไว้ในช่องแข็งของตู้เย็น • 2.ฉีกซองพลาสติก ดึงแผ่น dipstick test วางบนพื้นราบ • 3. หยดซีรั่ม 20 µl บริเวณปลายศรชี้ของแผ่น dipstick test

  35. 4. เติม Chase Buffer 2-3 หยด (150 µl) บริเวณเดียวกันกับหยดซีรั่ม • 5. กรณีซีรั่มมีเชื้อลิชมาเนียจะปรากฏแถบสีแดงตำแหน่ง T ภายใน 10 นาที หลังจากผ่านเวลา 10 นาทีไปแล้ว ผลที่อ่านได้จะคลาดเลื่อน

  36. หมายเหตุ : ต้องหยดซีรั่มก่อน Chase Buffer ทุกครั้ง

  37. การอ่านผล • 1. ผลบวก (Positive result) • แผ่น dipstick test ที่มีผลบวกต่อเชื้อ L.donovani complex จะปรากฏแถบสีแดง ทั้งตำแหน่ง T กับ C ดังภาพ 3 ขนาดของแถบสีแดงอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการมีจำนวนเชื้อลิชมาเนียมากหรือน้อย แม้ว่าแถบสีอาจแดงเรื่อเล็กน้อย (weakly positive) ก็ให้ระบุเป็นผลบวกเช่นเดียวกัน

  38. Test line (T) Control line (C) • ภาพ 3 dipstick test แสดงผลบวก

  39. 2. ผลลบ (Negative result) ปรากฏแถบสีแดงเฉพาะตำแหน่ง C เท่านั้น ดังภาพ 4 • No Test line is visible Control line (C) • ภาพ 4 dipstick test แสดงผลลบ

  40. 3. ผลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid result) • กรณีไม่ปรากฏแถบสีแดง ที่ตำแหน่ง T และ C หรือปรากฏเพียงเฉพาะแถบ T อย่างเดียว จะต้องตรวจซ้ำด้วย dipstick test ชิ้นใหม่ • พื้นที่ที่เป็นแหล่งแพร่โรค(endemic areas) ชุดตรวจมักมี ความไวส่วนใหญ่มากกว่า 90% ส่วนความจำเพาะขึ้นอยู่กับแหล่งระบาดของโรค (geographic location)

More Related