1 / 28

หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้

File : 269_U4_obj.swf. หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้. ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 4 บ่อเกิด ( Sources ) ลำดับชั้น และขอบเขตของกฎหมาย. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบอกบ่อเกิด ( Sources ) ลำดับชั้น และขอบเขตของกฎหมายได้อย่างถูกต้อง.

Download Presentation

หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. File : 269_U4_obj.swf หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 4 บ่อเกิด (Sources) ลำดับชั้น และขอบเขตของกฎหมาย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบอกบ่อเกิด (Sources) ลำดับชั้น และขอบเขตของกฎหมายได้อย่างถูกต้อง • แสดงข้อความ และ Mascot พร้อมเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_home.swf สวัสดีครับนักศึกษา ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทที่ 4 กันแล้วนะครับ ซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ บ่อเกิด ลำดับชั้น และขอบเขตของกฎหมายครับ สำหรับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของบทนี้มีดังต่อไปนี้

  2. File : 269_U4_home.swf หัวเรื่อง : หน้าสารบัญบทที่ 4 สารบัญบท บ่อเกิดของกฎหมาย ลำดับชั้นของกฎหมาย ขอบเขตของกฎหมาย  คลิกบทเรียนที่ต้องการศึกษา • Mouse over ที่ปุ่ม แสดง active bottom • คลิก บ่อเกิดของกฎหมาย ลิงค์ไป File : 269_U4_01.swf • คลิก ลำดับชั้นของกฎหมาย ลิงค์ไป File : 269_U4_06.sw • คลิก ขอบเขตของกฎหมาย ลิงค์ไป File : 269_U4_11.swf เสียง music background

  3. บ่อเกิดของกฎหมาย 3 File : 269_U4_01.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ความหมายของ “บ่อเกิดของกฎหมาย” • คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ (Norm) ที่นักกฎหมายสามารถนำไปใช้ ปรับแก่คดีที่เกิดขึ้น • เป็นการตอบคำถามว่า “ใครมีอำนาจที่จะบัญญัติกฎหมายได้” • ไม่ใช่ปัญหาเรื่อง “ที่มาของกฎหมาย” ว่า มาตรานั้นมาตรานี้ ร่างขึ้นโดยเทียบหลักกฎหมายเก่าตรงไหน หรือกฎหมาย ต่างประเทศของประเทศใด มาตราใด • แสดง Mascot และปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_02.swf หัวข้อแรกที่เราจะศึกษากันคือ เรื่อง บ่อเกิดของกฎหมาย หรือ Sources of Law นะครับ ก่อนอื่นเรามาทราบถึงความหมายกันก่อนนะครับ บ่อเกิดของกฎหมาย คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ที่นักกฎหมายสามารถนำไปใช้ปรับแก่คดีที่เกิดขึ้น และเป็นการตอบคำถามว่า “ใครมีอำนาจที่จะบัญญัติกฎหมายได้” ไม่ใช่ปัญหาเรื่อง “ที่มาของกฎหมาย” ว่า มาตรานั้นมาตรานี้ ร่างขึ้นโดยเทียบหลักกฎหมายเก่าตรงไหน หรือกฎหมายต่างประเทศของประเทศใด มาตราใดครับ

  4. บ่อเกิดของกฎหมาย 4 File : 269_U4_02.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ประเภทบ่อเกิดของกฎหมาย 1) กฎหมายที่บัญญัติขึ้น (กฎหมายลายลักษณ์อักษร) 2) กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิกหัวข้อ แสดง pop up ข้อความ • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_05.swf • คลิก (1) ลิงค์ไป File : 269_U4_03.swf • คลิก (2) ลิงค์ไป File : 269_U4_04.swf เราแบ่งประเภทบ่อเกิดของกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) กฎหมายที่บัญญัติขึ้น หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร และ 2) กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น ครับ ให้นักศึกษาคลิกเพื่อศึกษารายละเอียดด้วยตนเองเลยนะครับ

  5. บ่อเกิดของกฎหมาย 5 File : 269_U4_03.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ประเภทบ่อเกิดของกฎหมาย กฎหมายที่บัญญัติขึ้น ปิดหน้าต่าง  • รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ • กฎหมายนิติบัญญัติ : พระราชบัญญัติและกฎหมายซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ • กฎหมายบริหารบัญญัติ : กฎหมายลำดับรอง • กฎหมายองค์การบัญญัติ : ข้อบัญญัติขององค์กรปกครองตนเองของท้องถิ่น, องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • แสดงกรอบข้อความพร้อมเสียงบรรยาย • โดยให้แสดงข้อความทีละ Bullet จนครบ • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_02.swf กฎหมายที่บัญญัติขึ้น หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ - รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ - กฎหมายนิติบัญญัติ : พระราชบัญญัติและกฎหมายซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ - กฎหมายบริหารบัญญัติ : กฎหมายลำดับรอง และกฎหมายองค์การบัญญัติ : ข้อบัญญัติขององค์กรปกครองตนเองของท้องถิ่น, องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

  6. บ่อเกิดของกฎหมาย 6 File : 269_U4_04.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ประเภทบ่อเกิดของกฎหมาย กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น ปิดหน้าต่าง  • กฎหมายประเพณี • หลักกฎหมายทั่วไป • คำพิพากษาบรรทัดฐานที่รับกันมานาน  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • แสดงกรอบข้อความพร้อมเสียงบรรยาย • โดยให้แสดงข้อความทีละ Bullet จนครบ • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_02.swf กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น ได้แก่ กฎหมายประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาบรรทัดฐานที่รับกันมานานครับ

  7. บ่อเกิดของกฎหมาย 7 File : 269_U4_05.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ประเภทบ่อเกิดของกฎหมาย แสดงเนื้อหาเลย  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฎข้อความและภาพประกอบ • เมื่อคลิกปุ่มใด แสดง pop up ข้อความ • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_05.swf • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_06.swf จากประเภทบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าว เรามีตัวอย่างให้นักศึกษาได้ทราบกัน รายละเอียดเหล่านี้ นักศึกษาคลิกเลือกศึกษาด้วยตนเองเลยครับ คลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 แสดงข้อความ ปิดหน้าต่าง  กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป คลิกคำพิพากษาบรรทัดฐานที่รับกันมานาน แสดงข้อความ ปิดหน้าต่าง  • ฎีกาที่  1209/2491 • บุตรซึ่งเกิดกับบิดาที่อยู่กินด้วยกันอย่างสามีภรรยาโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น เมื่อบิดาได้ไปแจ้งการเกิดของเด็กต่อผู้ใหญ่บ้านว่าเป็นบุตรของตน ก็มีเหตุพอถือได้ว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของบิดาได้ตามนัยแห่งมาตรา 1627 ป.ม. แพ่ง ฯ

  8. 8 File : 269_U4_06.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ลำดับชั้นของกฎหมาย • พิจารณาในแง่เนื้อหา มุ่งกำหนดเรื่องอะไร • พิจารณาในแง่รูปแบบ มุ่งองค์กรผู้ตราหรือแหล่งที่มา • พิจารณาลำดับชั้นต้องพิจารณาจาก “รูปแบบ” จึงจะรู้ว่า กฎหมายใดสูงต่ำกว่ากัน P01 : ภาพหนังสือกฎหมาย ภาพผู้พิพาษา/ทนายความ • ปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยายพร้อมภาพประกอบ • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_07.swf ต่อไปเป็นเรื่องของลำดับชั้นของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ การจัดลำดับชั้นจะพิจารณาได้จาก - พิจารณาในแง่เนื้อหา มุ่งกำหนดเรื่องอะไร - พิจารณาในแง่รูปแบบ มุ่งองค์กรผู้ตราหรือแหล่งที่มา ซึ่งการพิจารณาลำดับชั้นต้องพิจารณาจาก “รูปแบบ” จึงจะรู้ว่ากฎหมายใดสูงต่ำกว่ากัน

  9. 9 File : 269_U4_07.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ลำดับชั้นของกฎหมาย ลำดับชั้นของกฎหมาย หลักตามรัฐธรรมนูญเดิม ผลทางกฎหมายของการที่กฎหมายอื่นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฎ Mascot และข้อความ • เมื่อบรรยายถึง “มาตรา 6 .....” ให้แสดงกรอบข้อความขึ้นมา • เมื่อบรรยายถึง “สำหรับรายละเอียดของ.....” แสดงภาพแผ่นกระดาษมีข้อความ “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ” • เมื่อคลิกที่ภาพ แสดง pop up ข้อความ • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_09.swf ตามหลักรัฐธรรมนูญเดิมนะครับ กล่าวถึงผลทางกฎหมายของการที่กฎหมายอื่นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 6 รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กล่าวว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” สำหรับรายละเอียดของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ นักศึกษาคลิกเลือกศึกษาด้วยตนเองเลยครับ

  10. 10 File : 269_U4_08.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ลำดับชั้นของกฎหมาย ลำดับชั้นของกฎหมาย หลักตามรัฐธรรมนูญเดิม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ปิดหน้าต่าง  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ • กรณีฝรั่งเศส : มีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติธรรมดา • เหตุผลด้านรูปแบบ ไม่แตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป • เหตุผลด้านเนื้อหา แตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป • - ใช้บังคับแก่กิจการหรือการจัดตั้งองค์การที่มีความสำคัญ • - มีกระบวนการพิจารณาที่พิเศษเคร่งครัดกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป • - ทุกฉบับต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน จึงใช้บังคับได้  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_07.swf กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในกรณีฝรั่งเศส จะมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติธรรมดา เหตุผลด้านรูปแบบ ไม่แตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป แต่เหตุผลด้านเนื้อหานี้จะแตกต่าง คือ - ใช้บังคับแก่กิจการหรือการจัดตั้งองค์การที่มีความสำคัญ และมีกระบวนการพิจารณาที่พิเศษเคร่งครัดกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป ซึ่งกฎหมายทุกฉบับต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน จึงใช้บังคับได้ รัฐบัญญัติทั่วไปจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ

  11. 11 File : 269_U4_09.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ลำดับชั้นของกฎหมาย ลำดับชั้นของกฎหมาย หลักตามรัฐธรรมนูญเดิม ผลทางกฎหมายของการที่พระราชบัญญัติทั่วไปขัดหรือแย้งกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ • กรณีของประเทศไทย : ลำดับศักดิ์เท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป • ใช้หลัก • กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า • กฎหมายพิเศษมาก่อนกฎหมายทั่วไป  คลิกพระราชบัญญัติเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฎข้อความพร้อมเสียงบรรยาย • โดยปรากฎข้อความทีละวรรค และใน Bullet ให้ปรากฎทีละ Bullet จนครบ • เมื่อบรรยายถึง “นักศึกษาสามารถ.....” แสดงภาพแผ่นกระดาษมีข้อความพระราชบัญญัติ • คลิกที่ภาพ แสดง pop up ข้อความ • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_11.swf ส่วนผลทางกฎหมายของการที่พระราชบัญญัติทั่วไปขัดหรือแย้งกับกฎหมายปนะกอบรัฐธรรมนูญ ในกรณีของประเทศไทยนี้นะครับ ลำดับศักดิ์จะเท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป โดยใช้หลักที่ว่า กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า และกฎหมายพิเศษมาก่อนกฎหมายทั่วไปครับ นักศึกษาสามารถคลิกพระราชบัญญัติเพื่อศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติ ได้เลยนะครับ

  12. 12 File : 269_U4_10.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ลำดับชั้นของกฎหมาย ลำดับชั้นของกฎหมาย หลักตามรัฐธรรมนูญเดิม พระราชบัญญัติ ปิดหน้าต่าง  พระราชบัญญัติ • เป็นกฎหมายโดยแท้ เพราะตราโดยองค์กรผู้แทนปวงชน • อำนาจตรากฎหมายไม่ใช่การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น • - บางกรณีบางสถานการณ์ถูกตราโดยฝ่ายบริหาร ในกรณีพระราชกำหนดธรรมดา (มาตรา 218) • - กรณีมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ถูกตราโดยฝ่ายบริหารในกรณีพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา (มาตรา 220)  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • แสดงข้อความให้ตรงกับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายถึง “นักศึกษาสามารถ.....” แสดงภาพแผ่นกระดาษมีข้อความ • เมื่อคลิกที่ภาพ แสดง pop up ข้อความ • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_09.swf พระราชบัญญัติ ถือได้ว่าเป็นกฎหมายโดยแท้ เพราะตราโดยองค์กรผู้แทนปวงชน ซึ่งอำนาจตรากฎหมายไม่ใช่การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น บางกรณีบางสถานการณ์ถูกตราโดยฝ่ายบริหาร ในกรณีพระราชกำหนดธรรมดา ตามมาตรา 218 แต่ถ้ากรณีมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ จะถูกตราโดยฝ่ายบริหารในกรณีพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา มาตรา 220 ครับ

  13. 13 File : 269_U4_11.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย 1) ขอบเขตในแง่เวลา (หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง) 2) ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) 3) ขอบเขตในแง่ดินแดน (หลักดินแดน) P01 : ภาพนาฬิกาหมุนวนไปเรื่อยๆ, ภาพคนเดินไปมาบนถนน,ภาพแผนที่ • ปรากฏข้อความทีละข้อและภาพประกอบ ให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_12.swf ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมายกฎหมายนั้นจะมีขอบเขตการใช้บังคับแยกพิจารณาได้เป็น 3 แง่ คือ 1) ในแง่เวลา 2) ในแง่บุคคล และ 3) ในแง่ดินแดนครับ เรามาทำความเข้าใจขอบเขตการใช้ในแต่ละแง่กันนะครับ

  14. 14 File : 269_U4_12.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา กรณีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ต้องมีการประกาศตามวิธีการในกฎหมาย เช่น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา • ประกาศเมื่อใดก็มีผลเมื่อนั้น โดยทั่วไปมักกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป • ในบางกรณี อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในอนาคตโดยกำหนดวันที่แน่นอน หรือกำหนดให้ใช้เมื่อกำหนดระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป เพื่อให้มีความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมาย • ในกรณีรีบด่วน อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลยในทันทีก็ได้ P01 : ภาพนักกฎหมายอ่านเอกสาร มีกรอบข้อความกระพริบอยู่ข้างๆ กฎหมายจะใช้บังคับเมื่อใด • ปรากฎภาพพร้อมกรอบข้อความ • ปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_14.swf ขอบเขตการใช้บังคับในแง่เวลา จะมีปัญหาที่ว่า กฎหมายจะใช้บังคับเมื่อใด กรณีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ต้องมีการประกาศตามวิธีการในกฎหมาย เช่น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามหลักแล้วประกาศเมื่อใดก็มีผลเมื่อนั้น โดยทั่วไปมักกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่ในบางกรณี อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในอนาคตโดยกำหนดวันที่แน่นอน หรือกำหนดให้ใช้เมื่อกำหนดระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป เพื่อให้มีความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมาย ในกรณีรีบด่วน (เช่น กรณีพระราชกำหนดบางเรื่อง) อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลยในทันทีก็ได้ครับ

  15. 15 File : 269_U4_12(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย กรณีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ต้องมีการประกาศตามวิธีการในกฎหมาย เช่น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา • ประกาศเมื่อใดก็มีผลเมื่อนั้น โดยทั่วไปมักกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป • ในบางกรณี อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในอนาคตโดยกำหนดวันที่แน่นอน หรือกำหนดให้ใช้เมื่อกำหนดระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป เพื่อให้มีความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมาย • ในกรณีรีบด่วน อาจกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลยในทันทีก็ได้ ขอบเขตในแง่เวลา P01 : ภาพนักกฎหมายอ่านเอกสาร มีกรอบข้อความกระพริบอยู่ข้างๆ ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว กฎหมายจะใช้บังคับเมื่อใด • ปรากฎ Mascot และบอลลูนข้อความซ้อนขึ้นมา พร้อมเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_14.swf แต่โดยหลักแล้วนะครับ จะไม่มีการใช้กฎหมายย้อนหลัง เพราะขัดกับสภาพของกฎหมายเองที่ต้องการความชัดเจนแน่นอน ประชาชนต้องการความมั่นคงปลอดภัยในทางกฎหมาย และมีหลักว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” ครับ

  16. 16 File : 269_U4_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา • ข้อยกเว้นของหลัก “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” • ต้องระบุให้ชัดเจนในกฎหมายนั้นเองว่าให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง • ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว • เริ่มพูด แสดงภาพพร้อมกรอบข้อความ • ปรากฏข้อความทีละ bullet ให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_15.swf สำหรับข้อยกเว้นของหลัก “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” จะสร้างข้อยกเว้นได้ต้องเข้าเงื่อนไขครบถ้วน 2 ประการด้วยกัน คือ - ต้องระบุให้ชัดเจนในกฎหมายนั้นเองว่าให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง - และต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

  17. 17 File : 269_U4_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา ตัวอย่างกรณีรัฐธรรมนูญห้ามออกกฎหมายย้อนหลัง มาตรา ๓๒ “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ ความผิดมิได้ • ในกฎหมายอาญา ย้อนหลังเป็นโทษไม่ได้ แต่ย้อนหลังเป็นคุณได้ เช่น ทำให้ไม่เป็นความผิด หรือกำหนดระวางโทษน้อยลง • ในทางตรงกันข้าม จะเพิ่มโทษอาญา หรือกำหนดฐานความผิดใหม่ให้มีผลย้อนหลังไม่ได้ • ปรากฎข้อความในกรอบและข้อความใน Bullet ทีละ Bullet ตามลำดับ พร้อมเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_16.swf ตัวอย่างกรณีรัฐธรรมนูญห้ามออกกฎหมายย้อนหลัง ตามมาตรา ๓๒ บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ซึ่งความหมายของการห้ามย้อนหลังตามมาตรา ๓๒ นี้ก็คือ - ในกฎหมายอาญา ย้อนหลังเป็นโทษไม่ได้ แต่ย้อนหลังเป็นคุณได้ เช่น ทำให้ไม่เป็นความผิด หรือกำหนดระวางโทษน้อยลง - ในทางตรงกันข้าม จะเพิ่มโทษอาญา หรือกำหนดฐานความผิดใหม่ให้มีผลย้อนหลังไม่ได้ครับ

  18. 18 File : 269_U4_15.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา กฎหมายไม่พึงย้อนหลังไปกระทบสิทธิ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษอย่างแท้จริง เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มีผลบังคับทันทีกับคดีความที่ฟ้องร้องกันไว้ก่อนออกกฎหมายแต่คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เพราะถือว่าให้ความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น กฎหมายใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิก • การยกเลิกกฎหมายโดยตรง • การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฏข้อความให้ตรงกับเสียงบรรยาย • โดยปรากฎหัวข้อรายละเอียด และแสดงทีละ Bullet ตามลำดับ • คลิกหัวข้อ แสดง pop up ข้อความ • คลิก การยกเลิกกฎหมายโดยตรง ลิงค์ไป • File : 269_U4_317.swf • คลิก การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย ลิงค์ไป • File : 269_U4_18.swf • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_19.swf ตัวอย่างของกฎหมายไม่พึงย้อนหลังไปกระทบสิทธิ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษอย่างแท้จริง เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มีผลบังคับทันทีกับคดีความที่ฟ้องร้องกันไว้ก่อนออกกฎหมายแต่คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เพราะถือว่าให้ความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น และสำหรับการยกเลิกกฎหมาย กฎหมายจะใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกนั้น แยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การยกเลิกโดยตรง และการยกเลิกโดยปริยายครับ รายละเอียดให้นักศึกษาคลิกดูเพิ่มเติมได้เลยนะครับ

  19. 19 File : 269_U4_15(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา กฎหมายไม่พึงย้อนหลังไปกระทบสิทธิ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษอย่างแท้จริง เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มีผลบังคับทันทีกับคดีความที่ฟ้องร้องกันไว้ก่อนออกกฎหมายแต่คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เพราะถือว่าให้ความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น การยกเลิกกฎหมายโดยตรง ปิดหน้าต่าง  1) กฎหมายกำหนดยกเลิกกฎหมายไว้โดยกฎหมายนั้นเอง เช่น ให้ใช้ ๒ ปี 2) กฎหมายใหม่ระบุชัดแจ้งให้ยกเลิก 3) กรณีพระราชกำหนดตกไปเพราะรัฐสภาไม่อนุมัติ (แต่ไม่กระทบกิจการที่ทำไปแล้ว) กฎหมายใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิก • การยกเลิกกฎหมายโดยตรง • การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฏข้อความทีละข้อพร้อมเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_16.swf การยกเลิกกฎหมายโดยตรง ทำได้ 3 กรณี คือ 1) กฎหมายกำหนดยกเลิกกฎหมายไว้โดยกฎหมายนั้นเอง เช่น ให้ใช้ ๒ ปี 2) กฎหมายใหม่ระบุชัดแจ้งให้ยกเลิก และ 3) กรณีพระราชกำหนดตกไปเพราะรัฐสภาไม่อนุมัติ (แต่ไม่กระทบกิจการที่ทำไปแล้ว)

  20. 20 File : 269_U4_15(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่เวลา กฎหมายไม่พึงย้อนหลังไปกระทบสิทธิ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษอย่างแท้จริง เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มีผลบังคับทันทีกับคดีความที่ฟ้องร้องกันไว้ก่อนออกกฎหมายแต่คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เพราะถือว่าให้ความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย ปิดหน้าต่าง  ถ้าเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกันและประเภทเดียวกัน เป็นไปตามหลักกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า กฎหมายใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิก • การยกเลิกกฎหมายโดยตรง • การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย  คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม • ปรากฏข้อความทีละข้อพร้อมเสียงบรรยาย • วางเมาส์ (เมาส์โอเวอร์) ที่“เรื่อง” และ “ประเภท” ปรากฎกรอบข้อความ Popup • เมื่อคลิกปุ่มปิดหน้าต่างจะไปยังสไลด์ 269_U4_16.swf สำหรับการยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย ถ้าเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกันและประเภทเดียวกัน เป็นไปตามหลักกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าครับ Mouse Over เรื่อง แสดงข้อความ • กรณีไม่ใช่กฎหมายเรื่องเดียวกัน • อันหนึ่งเป็นกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา • อีกอันหนึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการขายฝาก Mouse Overประเภท แสดงข้อความ • กรณีไม่ใช่กฎหมายประเภทเดียวกัน • อันหนึ่งเป็นประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายทั่วไป) • อีกอันหนึ่งเป็น พรบ. การพนันฯ (กฎหมายพิเศษ)

  21. 21 File : 269_U4_16.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) (Equality before the Law = บุคคลย่อมมีสิทธิหน้าที่เสมอหน้ากันตามกฎหมาย) ข้อยกเว้นของหลักการใช้กฎหมายกับทุกคนในรัฐ 1. ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน 2. ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ P01 : ภาพคนเดินไปมาบนถนน ซ้อนด้วยภาพตรากฎหมาย • ปรากฎกรอบข้อความและภาพประกอบ โดยแสดงภาพประกอบทีละภาพจนครบ • เมื่อบรรยายถึง “สำหรับหลักการ.....” ปรากฏข้อความทีละ หัวข้อให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_20.swf ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายในแง่บุคคล หรือหลักความเสมอภาค กฎหมายย่อมใช้บังคับกับทุกคนในประเทศ ตามคำกล่าวที่ว่า Equality before the Law บุคคลย่อมมีสิทธิหน้าที่เสมอหน้ากันตามกฎหมาย สำหรับหลักการใช้กฎหมายกับทุกคนในรัฐนี้จะมีข้อยกเว้น คือ ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน และข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศครับ

  22. 22 File : 269_U4_17.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน A. หลัก The King can do no wrong รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ • ปรากฎข้อความที่เป็นหัวข้อตามเสียงบรรยาย • ปรากฎกรอบข้อความโดยค่อยๆปรากฎ เมื่อเสียงบรรยายได้บรรยายถึง • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_21.swf ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน ตามหลัก The King can do no wrong ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ กล่าวว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้

  23. มาตรา ๑๕๗ 23 มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๘๙ File : 269_U4_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา มาตรา ๑๖๕ ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน B. หลักคุ้มครองระบบประชาธิปไตย  คลิกมาตราที่ต้องการศึกษา • เริ่มพูด พร้อมแสดงข้อความและภาพ • เมื่อคลิกปุ่มใด แสดง pop up ข้อความ • คลิก Back ปรากฎสไลด์ 269_U4_25.swf และอีกหลักหนึ่งคือ หลักคุ้มครองระบบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗, ๑๕๘, ๑๘๙, ๑๖๕ ครับ ให้นักศึกษาคลิกเลือกมาตราที่ต้องการศึกษาเลยนะครับ

  24. มาตรา ๑๕๗ 24 มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๘๙ File : 269_U4_18(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา มาตรา ๑๖๕ ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ขอบเขตของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ (วรรคสอง) รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ (วรรคแรก) B. หลักคุ้มครองระบบประชาธิปไตย ทำเป็นภาพหนังสือ มีข้อความเนื้อหาแต่ละมาตรา (มีปุ่มเพื่อเปิดดูหน้าถัดไปเรื่อย ๆ ได้) คลิกมาตรา ๑๕๗ แสดงข้อความ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ (วรรคแรก) ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ (วรรคสอง) เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๗ (วรรคสาม) ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล คลิกมาตรา ๑๕๘แสดงข้อความ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๗ ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี และคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม

  25. มาตรา ๑๕๗ 25 มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๘๙ File : 269_U4_18(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา มาตรา ๑๖๕ ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ขอบเขตของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคสอง) รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคแรก) B. หลักคุ้มครองระบบประชาธิปไตย ทำเป็นภาพหนังสือ มีข้อความเนื้อหาแต่ละมาตรา (มีปุ่มเพื่อเปิดดูหน้าถัดไปเรื่อย ๆ ได้) คลิกมาตรา ๑๘๙ แสดงข้อความ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคแรก) สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคสอง) คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใด มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคสาม) ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ให้ถือว่าเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามวรรคสอง รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ (วรรคสี่) เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๑๕๘ นั้น ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย

  26. มาตรา ๑๕๗ 26 มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๘๙ File : 269_U4_18(ต่อ).swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา มาตรา ๑๖๕ ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ขอบเขตของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๕(วรรคสอง) รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๕ (วรรคแรก) B. หลักคุ้มครองระบบประชาธิปไตย ทำเป็นภาพหนังสือ มีข้อความเนื้อหาแต่ละมาตรา คลิกมาตรา ๑๖๕ แสดงข้อความ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๕ (วรรคแรก) ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๕ (วรรคสอง) ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้

  27. 27 File : 269_U4_19.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตของกฎหมาย ขอบเขตในแง่บุคคล (หลักความเสมอภาค) ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ • หลักเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต • กองทัพต่างประเทศที่เข้ามายึดครองประเทศตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศภาคสงคราม P01 : ภาพคนไทยกับคนต่างชาติคุยกัน/ จับมือกัน • ปรากฎข้อความทีละ Bullet พร้อมภาพประกอบให้ตรงกับเสียงบรรยาย • คลิก Next ปรากฎสไลด์ 269_U4_26.swf ข้อยกเว้นสำหรับหลักการใช้กฎหมายกับทุกคนในรัฐ อีกเรื่องนึงก็คือ ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยใช้หลักเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต และกองทัพต่างประเทศที่เข้ามายึดครองประเทศตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศภาคสงครามครับ

  28. 28 File : 269_U4_20.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ขอบเขตในแง่สถานที่ (หลักดินแดน) ขอบเขตของกฎหมาย หลัก : กฎหมายให้ใช้บังคับในประเทศเท่านั้น ไม่ใช้นอกดินแดนของรัฐนั้น (ไม่ว่าสัญชาติใด) • ข้อยกเว้น • หลักป้องกันสากล (ความผิดเกิดในทะเลหลวง) • หลักป้องกันตัวเอง (คุ้มครองความมั่นคงของรัฐ) • หลักคุ้มครอง/ลงโทษคนของรัฐตนเอง (ป.อ. มาตรา ๘, ๙, ๑๐) P01 : ภาพแผนที่กว้างๆ แล้วทำเป็นเส้นเน้น เฉพาะพื้นที่ประเทศไทย • ปรากฏข้อความและภาพประกอบพร้อมเสียงบรรยาย • โดยให้แสดงข้อความวรรคแรก และตามด้วยวรรคที่สอง ให้ข้อความใน Bullet แสดงทีละบรรทัดตามลำดับ • เมื่อพูด “จบเนื้อหาในบทนี้...” ให้เน้นที่ Mascot เด่นขึ้นมาอยู่ตรงกลาง • คลิก Back ปรากฎสไลด์ 269_U4_25.swf ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายในแง่คือ ขอบเขตในแง่สถานที่ หรือหลักดินแดน ซึ่งมีหลักคือ ไม่ว่าสัญชาติใด จะใช้กฎหมายบังคับในประเทศเท่านั้น ไม่ใช้นอกดินแดนของรัฐนั้นนะครับ โดยมีข้อยกเว้น ได้แก่ - หลักป้องกันสากล (ความผิดเกิดในทะเลหลวง) - หลักป้องกันตัวเอง (คุ้มครองความมั่นคงของรัฐ) และหลักคุ้มครอง/ลงโทษคนของรัฐตนเอง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘, ๙, ๑๐) จบเนื้อหาในบทนี้กันแล้วนะครับ ต่อไปให้นักศึกษาลองทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ

More Related