1 / 13

นโยบายสหรัฐอเมริกา : ผลกระทบต่อเอเชีย ประชาคมอาเซียน และประเทศไทย

นโยบายสหรัฐอเมริกา : ผลกระทบต่อเอเชีย ประชาคมอาเซียน และประเทศไทย. โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. www.tanitsorat.com. ประธานาธิบดีโอบามาสมัย 2 จะส่งผลอย่างไรต่อนโยบายที่มีต่ออาเซียนและต่อประเทศไทย. แนวทางการพิจารณาในกรอบ 7 มิติ

Download Presentation

นโยบายสหรัฐอเมริกา : ผลกระทบต่อเอเชีย ประชาคมอาเซียน และประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายสหรัฐอเมริกา : ผลกระทบต่อเอเชีย ประชาคมอาเซียน และประเทศไทย โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย www.tanitsorat.com

  2. ประธานาธิบดีโอบามาสมัย 2 จะส่งผลอย่างไรต่อนโยบายที่มีต่ออาเซียนและต่อประเทศไทย แนวทางการพิจารณาในกรอบ 7 มิติ • การกลับมาของนายโอบามา ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก • แนวโน้มนโยบายลดการเผชิญหน้าและลดการขัดแย้งในภูมิภาค • สหรัฐฯ ภายใต้นายโอบามาให้ความสำคัญต่อ เอเชีย • โอบามาให้ความสำคัญอาเซียนมากกว่ารอมนีย์ • ผลประโยชน์แห่งชาติของไทยภายใต้นโยบายของโอบามา • ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีฯ สหรัฐฯจะยังคงนโยบายรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ • ความท้าทายของไทยและอาเซียน จะวางกลยุทธ์อย่างไรภายใต้การแข่งขันของ 2 ขั้วมหาอำนาจ www.tanitsorat.com

  3. การกลับมาของนายโอบามา ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก • นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่ถดถอยจะมีความต่อเนื่องส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก • FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังสามารถเดินหน้าโครงการ QE3 ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทำให้เกิดการฟื้นตัวในด้านการลงทุนและการบริโภค • การผลักดันนโยบายของโอบามา ซึ่งเริ่มเห็นผลจากการลดการว่างงานจากร้อยละ 9.5 เหลือ 7.2 ในเดือนตุลาคม 55 และอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวทำให้ GDP ขยายตัวได้ร้อยละ 3.5 • นโยบายลดการเผชิญหน้าของโอบามา ส่งผลไม่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ผันผวนเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก www.tanitsorat.com

  4. โอบามาจะผ่านพ้นหน้าผาการคลังได้หรือไม่ (FISCAL CLIFF AHEAD) FISCAL CLIFF นโยบายหน้าผาการคลังด้วยการปรับขึ้นภาษีรายได้และภาษีขายทรัพย์สิน ขณะเดียวกันจะต้องปรับลดงบประมาณรายจ่าย 6 แสนล้านเหรียญ ซึ่งจะต้องมีการเจรจากับสภาคองเกรส หากไม่สามารถเจรจาได้จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจ EU และเศรษฐกิจโลก และภาคการส่งออกของไทย มาตรการที่จะมีผล 1 ม.ค. 2013 • ยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ ยกเลิกภาษีมรดก • ผ่อนปรน Payroll Tax 2 % ลดสวัสดิการคนว่างงาน 43,000 ล้านเหรียญ • ลดงบประมาณครึ่งปี 2013 (Sequestration)  Budget Control ตัดลดงบประมาณคลัง • เพิ่มภาษีรายได้/ขายทรัพย์สินจาก 10% เป็น 15% 15 % เป็น 28% 33% เป็น 39.6% www.tanitsorat.com

  5. แนวโน้มนโยบายลดการเผชิญหน้าและลดการขัดแย้งในภูมิภาคแนวโน้มนโยบายลดการเผชิญหน้าและลดการขัดแย้งในภูมิภาค • นโยบายของนายโอบามา และพรรเดโมแครต มีความรอมชอมมากกว่ารอมนีย์ จากพรรคริพับลิกันซึ่งมีความแข็งกร้าว ซึ่งจะช่วยลดแรงเสียดทานการเผชิญหน้ากับจีน • นายโอบามาเป็นมุสลิมมีความเข้าใจโลกอาหรับ ได้ดีกว่านายรอมนีย์ ปัญหาอีหร่านและซีเรียและที่อื่นๆ น่าจะแก้ไขได้โดยวิธีสันติ • นายโอบามาประกาศนโยบายชัดเจนถอยกำลังรบออกจากอัฟกานิสถานและอิรัก จะลดความขัดแย้งในภูมิภาคได้มาก • เสถียรภาพระดับราคาน้ำมันจะไม่ผันผวนมาก www.tanitsorat.com

  6. Look to Asia Policy นโยบายเข้าถึงเอเชียของสหรัฐฯ • สหรัฐฯ ภายใต้นายโอบามา จะกลับมาให้ความสำคัญกับเอเชีย ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก โดยจะใช้ยุทธศาสตร์เข้าหาอินเดียและอาเซียนเพื่อลดบทบาทของจีน ทั้งด้านเศรษฐกิจและอิทธิพลในภูมิภาค • สหรัฐฯ จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการหาโอกาสลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน • นโยบายการเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซ ทั้งชายฝั่งทะเลจีนใต้ อันดามัน และหมู่เกาะสแปรตลีย์ จะเป็นแรงเสริมให้ภาคการเมืองของสหรัฐฯ กลับมาให้ความสำคัญต่อเอเชีย • สหรัฐกลับมาให้ความสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นและการแทรกแซงกรณีพิพาทเกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และจีน ร่วมถึงคาดว่าจะเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ www.tanitsorat.com

  7. โอบามาให้ความสำคัญกับอาเซียนมากกว่ารอมนีย์โอบามาให้ความสำคัญกับอาเซียนมากกว่ารอมนีย์ • เห็นได้จากการเข้าประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก EAS : East Asia Summit ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาระหว่าง 18 – 20 พ.ย. 55 หากเป็นนายรอมนีย์ก็คงจะไม่เข้าร่วมหรือส่งระดับ รมต.ต่างประเทศมาแทน • การเดินหน้าเจราจา FTA อาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งมีการเจรจาไปมากแล้ว จะเดินหน้าต่อไป ซึ่ง นโยบายของพรรคเดโมแครต เน้นการเจรจาแบบพหุภาคีมากกว่า รีพับลิกันซึ่งเน้นเจรจาทวิภาคี (ซึ่งไทยเสียเปรียบ) • การเดินหน้าโครงการหุ้นส่วนร่วมเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (TPP) ซึ่งมีสมาชิก 11 ประเทศ ถึงไทยยังไม่ได้เป็นสมาชิกแต่ก็มีอาเซียน 4 ประเทศที่เป็นสมาชิก • ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ คือการเป็นพันธมิตรและการกลับคือสู่เอเชีย รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในฐานะผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในลุ่มน้ำโขงภายใต้โครงการ US-Lower Mekong Initiative (US-LMI) www.tanitsorat.com

  8. ผลประโยชน์แห่งชาติของไทยภายใต้โอบามา 2 (I) • สหรัฐฯเป็นคู่ค้าส่งออกของไทยในระดับ TOP 5 ด้วยมูลค่าปีละ 21,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • การกลับเข้ามาของนายโอบามา ซึ่งมีนโยบายผ่อนปรนเงื่อนไขทางการค้าและ NTB มากกว่า นายรอมนีย์จาก รีพับลิกัน ซึ่งมีฐานเสียงจากอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งเน้นปกป้องธุรกิจภายใน • ประธานาธิบดีโอบามา จะมาเยือนไทยระหว่าง 18 – 19 พ.ย.55 แสดงว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับประเทศไทย • การมาเยือนของประธานาธิบดีโอบามาน่าจะเป็นโอกาสเจรจาลดระดับบัญชีการค้ามนุษย์ ซึ่งไทยอยู่ในบัญชีระดับ Tier 2 Watch List (ระดับเฝ้าระวัง) ซึ่งไทยมีโอกาสเสียงสูงในปี 2556 จะถูกปรับเป็น Tier 3 คือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำและไม่พยายามแก้ปัญหาด้านแรงงานที่ผ่านมาสหรัฐฯ กล่าวหาไทยในการใช้แรงงานเด็ก สตรี และแรงงานต่างด้าว ส่งผลต่ออุตสาหกรรมกุ้งแช่เยือกแข็งของไทย www.tanitsorat.com

  9. ผลประโยชน์แห่งชาติของไทยภายใต้โอบามา 2 (II) • การเดินหน้าโครงการความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก TPP: Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement ปัจจุบัน • มีสมาชิก 11 ประเทศ และขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจ APEC • หากไทยเข้าร่วมเจรจาได้สำเร็จ จะทำให้ได้รับสิทธิ GSP ภาษี 0 แบบถาวรในตลาดสหรัฐฯ • ปัจจุบันไทยเป็นสมาชิก APEC แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก TPP จะเสียเปรียบ มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม • ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินโดนีเซีย แสดงท่าทีที่จะเข้าเป็นสมาชิก ประเด็น TPP ที่ต้องพิจารณา • ไทยต้องปรับปรุงกฎหมายแรงงาน, แรงงานต่างด้าว, ทรัพย์สินทางปัญญา, กฏหมายป้องกันการฟอกเงิน ฯลฯ • นโยบายเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี แบบ Full Online Licenses • การเปิดเสรีแบบ Negative List www.tanitsorat.com

  10. ผลประโยชน์แห่งชาติของไทยภายใต้โอบามา 2 (III) • การรื้อฟื้นคณะมนตรีภายใต้กรอบการตกลงการค้าการลงทุนไทย-สหรัฐ (TIFA JC) เพื่อเป็นเวทีในการขจัดปัญหาอุปสรรคในด้านการส่งออกที่ได้ลงนามตั้งแต่ 2545 แต่ขาดความก้าวหน้า • สหรัฐฯ จะกลับเข้ามาร่วมมือด้านความมั่นคงทางทหารกับไทยการเยือนของประธานาธิบดีโอบามา 18 -19 พ.ย. 2555 ภายใต้มติ ครม. 12 พ.ย. 2555 จะมีการแถลงการณ์ร่วมพันธมิตรป้องกันประเทศระหว่างไทย-สหรัฐฯ (Vision Statement for Thai-US 2012 Defense Alliance) ประกอบด้วย :- • ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนในการสร้างความมั่นคงใมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • สนับสนุนความมีเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก • การพัฒนาความพร้อมและขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วม ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี(ทางทหาร) • การพัฒนาความสัมพันธ์ การประสานงาน และการสร้างความร่วมมือในทุกระดับ www.tanitsorat.com

  11. US-NATION INTEREST POLICYไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีฯ สหรัฐฯจะยังคงนโยบายรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ • ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ก็ยังคงรักษาผลประโยชน์ของประเทศเ และประชาชนอเมริกันยังคงต้องการให้ประเทศเป็นอภิมหาอำนาจโลก • นายโอบามาประกาศยุทธศาสตร์กลับคืนเอเชียและอาเซียน (รวมทั้งไทย) และถือว่าจีนเป็นภัยต่อสหรัฐ • การเผชิญหน้าของ 2 อภิมหาอำนาจสหรัฐฯ และจีน ในการแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอิทธิพลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งเวทีอาเซียน • ประเทศอาเซียนอาจมีความเห็นไม่ตรงกันและนำไปสู่การขาดเอกภาพเป็นผลจาก การชิงไหวชิงพริบรวมทั้งการดึงแต่ละประเทศเข้าไปเป็นพันธมิตร • การเข้ามาของโอบามาอยู่ในจังหวะเดียวกันกับการปรับเปลี่ยนผู้นำยุคที่ 5 ของจีน โดยนายสีจิ้นผิงอาจจะเป็นประธานาธิบดี แทนนายหูจิ่นเทา นายหลีเค่อเฉียงอาจจะเป็นนายกฯ แทนนายเวินเจียเป่า • การปลุกกระแสชาตินิยมในจีนมีแนวโน้มสูงขึ้นรวมถึงการเสริมสร้างกำลังทหาร เช่นการพัฒนากองเรือบรรทุกเครื่องบิน สหรัฐฯถือเป็นภัยคุกคามต่อเอเชียแปซิฟิก และเป็นภัยต่อพันธมิตรสหรัฐ อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี • นโยบายป้องกันอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงหรือ PSI สหรัฐฯ จะใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความมั่นคงทางทหารและไทยอาจจำเป็นต้องเข้าไปเป็นสมาชิก ซึ่งจะนำให้สหรัฐเข้ามามีบทบาทในเอเชียได้มากขึ้น www.tanitsorat.com

  12. Re - Balancing Policyไทยจะวางกลยุทธ์อย่างไรภายใต้การแข่งขันของ 2 ขั้วมหาอำนาจ • ภายใต้การแข่งขันของสหรัฐ-จีน ที่จะเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยจะสามารถรักษาความสมดุลได้อย่างไรเพราะทั้ง 2 ประเทศต่างมุ่งหมายที่จะใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ด ไปสู่ประเทศอาเซียน • การเยือนของโอบามาในช่วง 18 – 19 พ.ย. 55 ซึ่งตรงกับการมาเยือนของนายเวินเจียเป่า แสดงให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทย จะต้องดำเนิน นโยบายไม่เอียงไปฝ่ายไดฝ่ายหนึ่ง เพราะจีนเป็นคู่ค้าส่งออกของไทยอันดับ 1 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าในลำดับที่ 2 (ไม่นับอาเซียน) • การลงนามความตกลงด้านการทหารใดๆ กับ สหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจที่มีพรมแดนใกล้กับไทย • เป็นความท้าทายของไทยและอาเซียนจะมีวิธีถ่วงดุลอย่างไรกับประเทศจีนและสหรัฐ อย่างไร และจะใช้ประโยชน์กับการเป็นหุ้นส่วนทั้งด้านเศรษฐกิจและความั่งคงของภูมิภาค www.tanitsorat.com

  13. END ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tanitsorat.com www.tanitsorat.com

More Related