620 likes | 1.7k Views
โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3. โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง การออกแบบลวดลายตกแต่งโคมไฟด้วยโปรแกรม GSP Design patterns decorate lamp with program GSP. (The Geometer’s Sketchpad) จัดทำโดย 1. เด็กชายปฏิภาณ นาค รินทร์ 2. เด็ก หญิงพิชญา วาดสูงเนิน
E N D
โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง การออกแบบลวดลายตกแต่งโคมไฟด้วยโปรแกรม GSP Design patterns decorate lamp with program GSP. (The Geometer’s Sketchpad) จัดทำโดย 1. เด็กชายปฏิภาณ นาครินทร์ 2. เด็กหญิงพิชญา วาดสูงเนิน 3. เด็กหญิงปภาวดี สานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษา นางนรีรัตน์ นาครินทร์ โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1 อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ชื่อโครงงาน การออกแบบลายโคมไฟ • โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad • (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) • ชื่อผู้จัดทำโครงงาน • 1. เด็กชายปฏิภาณ นาครินทร์ • 2. เด็กหญิงพิชญา วาดสูงเนิน • 3. เด็กหญิงปภาวดี สานนท์ • อาจารย์ที่ปรึกษา • นางนรีรัตน์ นาครินทร์ • โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ • ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ • จากกระแสนิยมของผู้คน ของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการตกแต่งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยให้มีความสวยงาม แปลกตา ทันสมัย และต้องการจับจ่ายได้ในท้องตลาดราคาย่อมเยามีความทนทาน ถาวร สวยงาม รวมทั้งไม่ทำลายทรัพยากรป่าไม้ของชาติอีกทางหนึ่งด้วย ทำให้เกิดสินค้าชนิดหนึ่งที่ใช้ควบคู่กับการตกแต่งนั่นคือ การโคมไฟหลากสี หลายรูปแบบ ซึ่งจะเห็นว่าจากรูปแบบและลายโคมไฟ มีกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาเป็นอาชีพหารายได้ให้กับตนเองในหลายรูปแบบ อาทิเช่น การเป็นตัวแทนจำหน่ายโคมไฟ การเป็นผู้ผลิตโคมไฟ เป็นช่างตกแต่งออกแบบลวดลาย ดีไซค์แบบให้เข้าสมัยกับบ้านที่หรูหรา และการเป็นผู้ออกแบบโคมไฟ เหล่านี้ล้วนสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ทั้งนั้น • ด้วยความรู้ความสามารถในเรื่องการใช้โปรแกรม คณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) เพื่อเป็นการฝึกการออกThe Geometer’sSketchpad (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) ที่มีอยู่ทำให้สมาชิกในกลุ่มตัดสินใจเลือกศึกษาการออกแบบลวดลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’sSketchpad (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงแบบความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะออกแบบลวดลายโคมไฟแบบใหม่ ๆ ต่อไปด้วยการสำรวจความนิยมที่มีต่อลวดลายโคมไฟที่ออกแบบไปแล้ว • จากการสำรวจลายโคมไฟความนิยมจากบุคคลต่างๆ ได้แก่ • โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ข้าราชการในอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
กิตติกรรมประกาศ • การจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทประดิษฐ์เรื่อง การออกแบบลวดลายโคมไฟ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) ในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ลงได้ด้วยดี เพราะได้รับคำแนะนำช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากนางนรีรัตน์ นาครินทร์ อาจารย์ที่ให้คำแนะนำปรึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เสียสละเวลาตอบแบบสำรวจความนิยมลวดลายโคมไฟของเรา • ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และบุคลากรในโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ทุกท่านที่ได้รับฟัง และให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอโครงงานของเรา
บทที่ 1สาระสำคัญและความเป็นมา จากการที่ได้ระดมความคิดเกี่ยวกับการ นำรูปเรขาคณิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือนำไปสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริมให้กับตนเองในอนาคต ทำให้เกิดทางเลือกที่หลากหลาย เช่น การนำกล่องบรรจุสินค้า การตัดกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตแล้วนำมาทำเป็นโมบายการพับกระดาษให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต การทำโคมไฟด้วยรูปเรขาคณิต เป็นต้น
กลุ่มได้ร่วมกันพิจารณาทุกทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจเลือกการทำกระเบื้องด้วยรูปเรขาคณิต และเราได้ระดมความคิดอีกครั้งเกี่ยวกับอาชีพที่เป็นได้ในงานออกแบบโคมไฟซึ่งมีการเป็นผู้จำหน่าย การเป็นผู้ผลิต การวาดลวดลายเพ้นท์สี และการเป็นผู้ออกแบบลายโคมไฟ เราได้ร่วมกันคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ กอปรกับความรู้ความสามารถและความถนัดส่วนตัวของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม จึงได้ตัดสินใจเลือกที่จะศึกษาการออกแบบลายโคมไฟโดยใช้รูปเรขาคณิตในการศึกษาครั้งนี้ • เราสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปฝึกปฏิบัติต่อจนเชี่ยวชาญ ก็จะสามารถสร้างงานให้กับอนาคตได้เหมือนกัน
บทที่ 2วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน • ในการทำโครงงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ • 1. เพื่อเรียนรู้วิธีการในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง • 2. เพื่อฝึกการเก็บรวบรวมข้อมูล • 3. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสาร ซึ่งมีการสัมภาษณ์ การสอบถาม • 4. เพื่อฝึกการออกแบบบันทึกข้อมูล และรู้จักการบันทึกข้อมูลดังกล่าว • 5. เพื่อฝึกการออกแบบลวดลายโคมไฟโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • 6. เพื่อฝึกการรายงานและการนำเสนอข้อมูล • 7. เพื่อให้รู้จักนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ได้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน • 8. เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดกล้าตัดสินใจ และกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง • 9. เพื่อปลูกฝังนิสัยในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ • 10. เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต
ความรู้ / ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องศึกษา • 1. ขนาดของโคมไฟ หลาย ๆ แบบ หลาย ๆ ขนาดที่แตกต่างกัน • 2. ความรู้ทางศิลปะ เช่น การเลือกใช้เฉดสี,เทคนิคการระบายสี,การเลือกสี ลวดลาย ที่จะทำให้ชิ้นงานโดดเด่น เป็นต้น • 3. ความรู้เรื่องมาตราส่วนเพื่อช่วยในการย่อ/ขยายขนาดของลวดลายโคมไฟ • 4. ความรู้เรื่องการหาผลรวมของข้อมูล • 5. การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจากพื้นห้องจำลอง • 6. การคิดคำนวณหาจำนวนโคมไฟที่จะต้องใช้ในการตกแต่งบ้านแต่ละหลัง • 7. ความรู้เรื่องร้อยละ และกำไรขาดทุน • 8. ความรู้เรื่องการสร้างแผนภูมิรูปวงกลม • 9. การอ่านข้อมูลจากแผนภูมิรูปวงกลม • 10. เทคนิคการนำเสนอข้อมูลให้บุคคลทั่วไปสนใจรับฟัง และเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ
บทที่ 3วิธีการดำเนินงาน • ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ได้ศึกษาและจัดทำโครงงานนี้ มีกิจกรรมเละขั้นตอนในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ • 1. ปรึกษาหารือในกลุ่ม ร่วมกันวางแผนทำงาน • 2. ร่วมกันออกแบบวิธีการหาความรู้ ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน • 3. มอบหมายหน้าที่ให้แก่สมาชิกแต่ละคน • 4. นัดหมาย วัน เวลา การออกหาข้อมูล • 5. ร่วมกันออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) โดยให้มีความแปลกใหม่ สวยงาม และสีสันกลมกลืนกันมากที่สุด • 6. คัดเลือกแบบที่มีความสมบูรณ์ และบกพร่องน้อยที่สุด 5 แบบ (ออกแบบไว้ 9 ลวดลาย)
7. นำแบบที่ได้ออกสำรวจความนิยมจากกลุ่ม ประชากรตัวอย่างซึ่งมี • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 50 คน • - ข้าราชการครู-บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 40 คน • - ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 20 คน • - ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร จำนวน 140 คน • 8. นำข้อมูลมาเสนอในรูปแบบแผนภูมิรูปวงกลมบนป้ายโครงงาน
แบบสำรวจความนิยมการออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) ของนักเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์
แบบสำรวจความนิยมการออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad(ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต) ของกลุ่มข้าราชการ ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป (จำนวนความนิยม)
แผนภูมิรูปวงกลมแสดงความนิยมต่อการออกแบบลายโคมไฟ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ของนักเรียนโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ โคมไฟรูปภาพที่ 1สี โคมไฟรูปภาพที่ 2 สี โคมไฟรูปภาพที่ 3 สี โคมไฟรูปภาพที่ 4 สี โคมไฟรูปภาพที่ 5 สี
แผนภูมิรูปวงกลมแสดงความนิยมการออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ของกลุ่มข้าราชการ ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป โคมไฟลายที่ 1 โคมไฟลายที่ 2 โคมไฟลายที่ 3 โคมไฟลายที่ 4 โคมไฟลายที่ 5
แผนภูมิรูปวงกลมแสดงความนิยมต่อการออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ของกลุ่มประชากรตัวอย่างทั้งหมด โคมไฟลายที่ 1 สี โคมไฟลายที่ 2 สี โคมไฟลายที่ 3 สี โคมไฟลายที่ 4 สี โคมไฟลายที่ 5 สี
การย่อขนาดลวดลายโคมไฟ เพื่อใช้ในการนำเสนอโครงงาน โดยใช้มาตราส่วนเข้ามาช่วยในการย่อขยายลวดลายโคมไฟ ดังนี้
บทที่ 4สรุปผลการศึกษา • ข้อมูลพื้นฐาน • 1. ขนาดของโคมไฟ มีหลายขนาด แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มี 3 ขนาด • 1.1 ขนาดใหญ่สุด กว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร • 1.2 ขนาดกลาง กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร • 1.3 ขนาดเล็ก กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร • จากการสอบถามร้านจำหน่ายโคมไฟ หลาย ๆ แห่ง ทราบว่า โคมไฟมีหลายขนาด ทั้งเป็นแบบวงกลม สามเหลี่ยม ทรงกรวย สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และหลาย ๆ ขนาด แต่ที่ขายดีมากที่สุดจะเป็นขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เรียงตามลำดับ
2. ผลการสำรวจความนิยมที่มีต่อการออกแบบลายโคมไฟ จากกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นดังนี้
จากตาราง พบว่า • โคมไฟลายที่ 3 ได้รับความนิยมสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 47 ส่วนโคมไฟลายที่ 5,2,4,1 ได้รับความนิยมรองมาเป็นลำดับ • นักเรียนที่มีอายุในช่วง 14-15 ปี มีความนิยมลายโคมไฟที่มีความแปลกใหม่ รูปทรงอิสระไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ เหมือนกับลายที่ 3 • นักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 16-17 ปี มีความนิยมโคมไฟลายที่ 2 สูงสุดซึ่งเป็นลายที่มีสีสันกลมกลืน มีความสมดุล การระบายสีมีความประณีต สวยงาม • กลุ่มข้าราชการ และประชาชนทั่วไป จะมีความนิยมในโคมไฟลายที่ 2 ลายที่ 3 และลายที่ 1 ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งทั้ง 3 ลายเป็นการออกแบบที่มีความแปลกใหม่ มีความประณีต ให้เฉดสีกลมกลืน ดูโปร่งสบายตา ทันยุคสมัย
แนวทางการนำข้อมูลไปใช้แนวทางการนำข้อมูลไปใช้ • จากผลสำรวจเห็นว่า กลุ่มประชากรตัวอย่างมีกำลังในการซื้อโคมไฟ คือกลุ่มข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ดังนั้นแนวโน้มในการออกแบบลายโคมไฟจึงควรเป็นการผสมผสานกันระหว่าง 3 ลาย คือ ลายที่ 2 ลายที่ 3 และลายที่ 1 ควรมีความแปลกใหม่ ความประณีต สวยงาม ลงสีกลมกลืน ลวดลายดูโปร่งสบายคา ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย • นอกจากจะศึกษารูปแบบที่ได้รับความนิยมแล้ว จะต้องเก็บข้อมูลขนาดของโคมไฟที่ได้รับความนิยมด้วยเหมือนกัน ซึ่งควรนำลายที่ได้รับความนิยมสูงสุด ลงมาในขนาด โคมไฟ ที่ได้รับความนิยมสูงด้วยเช่นกัน หรือ นำลายที่ได้รับความนิยมรองลงมา มาลงในขนาดที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็สามารถทำได้ เพื่อเป็นเทคนิคทางการขาย
บทที่ 5อภิปรายและข้อเสนอแนะ • การออกแบบลายโคมไฟโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad(GSP) เป็นการออกแบบที่อิสระ ต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องใช้ความสามารถทางด้านศิลปะ คือ การเลือกใช้เฉดสี การวางรูปแบบเข้ามาช่วยเป็นอย่างมาก และก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานยังต้องศึกษาหาความรู้ข้อมูลพื้นฐานในหลาย ๆ ด้าน ให้ครอบคลุมกับการที่จะทำทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ที่สุด หลังจากออกแบบแล้วต้องศึกษาหาแนวทางของตลาดในอนาคตโดยการนำมาสำรวจความนิยม และข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจมาช่วยประกอบการเลือกแนวทางการทำงานต่อไป
ข้อเสนอแนะ • จุดเด่น/จุดที่ภูมิใจ • การที่ได้ออกแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชนเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทายทำให้เกิดความรับผิดชอบ เกิดความคิดแปลกใหม่ กล้าคิดกล้าทำและกล้าตัดสินใจในเหตุการณ์รอบตัวมากขึ้น รวมทั้งภูมิใจที่มีผลงานมาจากการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องมีครูมาคอยบอก สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงเหมาะกับยุคเศรษฐกิจพอเพียงในขณะนี้ • จุดด้อย/จุดที่ไม่ภูมิใจ • ลายโคมไฟที่ออกแบบยังไม่มีความแปลกใหม่พอ การเลือกใช้เฉดสีบางลายยังทำไม่ได้ดีเท่าที่ควรและการสำรวจความนิยมจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างที่มีกำลังซื้อยังมีจำนวนไม่พอที่จะนำมาเป็นข้อมูลตัดสินใจ (เวลาในการทดลองต้องขยายเพิ่ม)
การปรับปรุงงานในอนาคตที่ยากจะทำการปรับปรุงงานในอนาคตที่ยากจะทำ • 1. ออกแบบลายโคมไฟโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น มีการประดับตกแต่งฐานโคมไฟจากเศษไม้ และกระจกเงา ซึ่งจะทำให้โดดเด่นและชิ้นงานสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของชุมชนมากขึ้น • 2. ศึกษางานทางด้านศิลปะเพิ่มขึ้น • 3. เพิ่มประชากรตัวอย่างที่มีกำลังซื้อให้มากกว่าเดิมในการสำรวจความนิยม
เอกสารอ้างอิง • ศึกษาธิการ, กระทรวง. สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภา, 2539. • _________________. สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การออกแบบเชิง เรขาคณิต. กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543. • สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.). โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2.-กรุงเทพฯ:พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.). 2527. 176 หน้า • สมวงษ์ แปลงประสบโชค และคณะ. การทำโครงงานคณิตศาสตร์. • สมวงษ์ แปลงประสพโชคและคณะ สถาบันราชภัฎพระนคร กรุงเทพฯ 2547 รวมโครงงานคณิตศาสตร์ Learn and Play Mathgroup • คู่มือการทำโครงงาน 2547
ตัวอย่างโชว์ลายที่หลากหลายตัวอย่างโชว์ลายที่หลากหลาย
สวัสดีครับ ขอให้ทุกท่านจงโชคดีมีความสุข