1 / 62

จัดทำโดย นาย อนุวัฒน์ พิมพ์ชัยงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ 56060495

จัดทำโดย นาย อนุวัฒน์ พิมพ์ชัยงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ 56060495. การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล Music Instruments. ประวัติความเป็นมา. ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงธรรมชาติ

bell
Download Presentation

จัดทำโดย นาย อนุวัฒน์ พิมพ์ชัยงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ 56060495

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จัดทำโดยนาย อนุวัฒน์ พิมพ์ชัยงามคณะศิลปกรรมศาสตร์56060495 การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล Music Instruments

  2. ประวัติความเป็นมา • ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงธรรมชาติ และสัตว์นานาชนิด • ดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกมีพื้นฐานมาจากความมุ่งหวังสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลัก ปรัชญากรีกโบราณในช่วง 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของร่างกายให้แข็งแรง โดยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละคร และระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณ์ • ช่วง 585-479 ปีก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นมา จากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือนของสายเสียง วิชาความรู้และแนวคิดนี้กระจายแพร่- หลาย ชื่อเสียงของปิธากอรัสจึงเลื่องลือทั่วยุโรป • ในปัจจุบัน เครื่องดนตรีสากลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง เครื่องลิ่มนิ้ว และเครื่องกระทบ

  3. เครื่องสาย (StringInstruments)

  4. เครื่องสาย (string instruments) • เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการ สั่นสะเทือนของสาย ลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียง ให้ดังมากขึ้น • คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้กระทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำ ได้โดยการสีหรือดีด โดยอาจเห็นการกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น

  5. การแบ่งประเภทของเครื่องสายการแบ่งประเภทของเครื่องสาย • เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ การสี และการดีด • เครื่องสายประเภทใช้คันสี • ไวโอลิน • วิโอลา • เชลโล • ดับเบิ้ลเบส • เครื่องสายประเภทเครื่องดีด • ฮาร์พ • กีต้าร์ • ลูท • แมนโดลิน • แบนโจ

  6. เครื่องสายประเภทใช้คันสีเครื่องสายประเภทใช้คันสี

  7. ไวโอลิน (violin) • ไวโอลินคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่ง ศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี • ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง ประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบ เสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ G-D-A-E

  8. วิโอลา (viola) • ในช่วงศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 มักจะพบเครื่องดนตรีที่ชื่อ Da gamba หรือ Da braccio ซึ่งแสดงถึงเครื่องสายที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน วิโอลาก็เช่น เดียวกับไวโอลิน ปรากฏอยู่ในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร Saronno Catheral ซึ่งเขียน ขึ้นในปี ค.ศ. 1535 • วิโอลามีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ตั้งเสียงต่ำกว่าไวโอลิน ลงไปคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มกว่าไวโอลิน

  9. เชลโล (cello) • เชลโลตัวแรก ๆ ถูกสร้างขึ้นที่ประเทศอิตาลี ประมาณศตวรรษที่ 16 เนื่องจากผู้ประพันธ์ ต้องการโทนเสียงที่ต่ำในบทเพลงของตน ดังนั้นเชลโลจึงถูกสร้างขึ้น • ชื่อเรียกที่ถูกต้องของเชลโล คือ ไวโอลินเชลโล (Violin Cello) ซึ่งในภาษาอิตาเลียหมาย ถึง “Little Violin” ซึ่งสามารถอ้างอิงได้ว่าแท้จริงแล้วเชลโลพัฒนามาจาก เบสไวโอลิน (Bass Violin) ไม่ใช่วิโอลาอย่างที่หลายคนเชื่อกัน • เชลโลมีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดใหญ่โตกว่ามาก ตั้งเสียงต่ำกว่า วิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A

  10. ดับเบิ้ลเบส (double bass) • ดับเบิ้ลเบสเกิดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 และได้รับฉายาว่า เบสไวโอลิน • ศตวรรษที่ 17 ดับเบิ้ลเบสมี 5 สาย ก่อนที่ต้นศตวรรษที่ 18 จะถูกเปลี่ยนให้มี 3 สาย ซึ่งตรงข้ามกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายทั่วไปในยุคนั้นที่มี 5-6 สาย • ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิ้ลเบสต่ำสุด แสดงถึงความมีอำนาจ ความน่ากลัว ความลึกลับ ตั้งสายห่างกัน เป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E-A-D-G

  11. ฮาร์พ (harp) • ฮาร์พเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของเครื่องดนตรีชิ้นนี้น่าจะมาจากประเทศไอยคุปต์ เพราะตามฝาผนังใต้สุสานของ ประเทศไอยคุปต์ที่เห็น มีรูปคนดีดพิณชนิดนี้อยู่มาก • ฮาร์พ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท • แกรนด์คอนเสิร์ตฮาร์พ (Grand Concert Harp) ใช้คันเหยียบในการเปลี่ยนเสียง • ลีเวอร์ฮาร์พ (Lever Harp) ใช้ไกในการเปลี่ยนเสียง • ฮาร์พเป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก ใช้บรรเลงในวงออร์เคสตรา

  12. กีตาร์ (guitar) • กีตาร์ในยุดปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่ หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลง รูปแบบจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้า มาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 • ในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้ง • กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูงในแต่ละสาย คือ E-A-D-G -B-E

  13. ลูท (lute) • ลูทเป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายหลายอย่างของโลก ทั้งที่ใช้ดีดแบบกีตาร์ และสีแบบ ไวโอลิน มีหลักฐานการพบลูทในสมัยของโรมัน แต่ไม่สามารถบอกปีที่แน่นอนได้ สมัยนั้น ลูทพบในแถบตะวันออกกลาง ทางตอนเหนือของแอฟริกา กรีซ และกรุงโรม • ลูทเป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด ชาวอาหรับโบราณนิยม กันมาก แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม

  14. แมนโดลิน (mandolin) • แมนโดลินมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวอิตาเลียนนิยมแพร่หลาย กันในปี ค.ศ. 1713 ได้มีผู้นำเอาแมนโดลินมาเล่นผสมในวงคอนเสิร์ตในประเทศอังกฤษ • แมนโดลินเป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8 สาย) หรือ 6 คู่ (12 สาย) ตั้งเสียง เท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ ใช้ในการตั้งเสียง และมีเฟรทรองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้ว มือซ้ายจับตัวแมนดินและใช้มือขวาดีด

  15. แบนโจ (banjo) • แบนโจถือกำเนิดโดยพวกทาสนิโกรผิวดำทางตอนใต้ ไม่ใช่พวกผิวขาวที่ใช้ร้องใช้เล่น แพร่หลายกันมากในปัจจุบัน พวกนิโกรนำเอารูปแบบมาจากเครื่องดนตรีที่พวกเขาใช้เล่น ในแอฟริกา • เดิมทีแล้วแบนโจมี 4 สาย จนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สายที่ 5 ถูกสร้างขึ้นเพิ่มบนกึ่ง กลางคอแบนโจ เพื่อให้สามารถเล่นเสียงสูงได้ ทำให้แบนโจกลายเป็นที่ต้องตาต้องใจพวก นักดนตรีบ้านนอกทางใต้ ที่ชอบเสียงสูงของมันเป็นอย่างยิ่ง • แบนโจเป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันนิโกร วิธี การเล่นคล้ายกับกีตาร์

  16. เครื่องเป่าลมไม้ (WoodwindInstruments)

  17. เครื่องเป่าลมไม้ (woodwind instrument) • เครื่องดนตรีประเภทนี้ แม้ตัวเครื่องอาจทำจากวัสดุต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้ เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่าเครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง

  18. การแบ่งประเภทของเครื่องเป่าลมไม้การแบ่งประเภทของเครื่องเป่าลมไม้ • เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า และประเภทเป่าลมให้ ผ่านลิ้นของเครื่อง และแต่ละประเภทก็สามารถแบ่งย่อยได้อีก • ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า • ประเภทเป่าตรงปลาย • ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ • ประเภทเป่าลมด้านข้าง • ฟลูต • ปิคโคโล • ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่อง • ประเภทลิ้นเดี่ยว • คาลิเนต • แซกโซโฟน • ประเภทปี่ลิ้นคู่ • โอโบ • คอร์ แองเกลส์ • บาสซูน

  19. เครื่องเป่าประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่าเครื่องเป่าประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (แบบเป่าตรงปลาย)

  20. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (recorder) • ขลุ่ยรีคอร์เดอร์สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ นิยมเล่นใน สมัยกลางและมีความเจริญสูงสุดในยุคบาโรค เป็นเครื่องเป่าที่มีลักษณะการเป่าแบบด้าน ตรง มีรูปแบบการเกิดเสียงคล้ายนกหวีด • ในปัจจุบันรีคอร์ดเดอร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับหัดเรียนดนตรีขั้นเบื้องต้น โดยเฉพาะใน ระดับประถมศึกษา • ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องเป่าที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ชนิดไม่มีลิ้น เป็นเครื่อง ดนตรีขนาดเล็ก และมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน

  21. เครื่องเป่าประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่าเครื่องเป่าประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (แบบเป่าลมด้านข้าง)

  22. ฟลูต (flute) • ฟลูตเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีแรก ๆ ของโลก ฟลูตที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน ค.ศ. ฟลูตได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลูตในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์ • ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการ วางนิ้วของฟลูตใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลูตสามารถเรียนรู้ ได้ง่ายขึ้น และเสียงเจิดจ้าขึ้น • ฟลูตเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติ- ศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย

  23. ปิคโคโล (piccolo) • ปิคโคโลในวงออร์เคสตรา คือ ในศตวรรษที่ 18 ด้วยเสียงที่แหลมสูงของปิคโคโล ทำให้ เราสามารถได้ยินสียงปิคโคโลได้อย่างชัดเจน แม้ว่าเครื่องดนตรีอื่นจะบรรเลงอยู่ก็ตาม • ปิคโคโลเป็นขลุ่ยขนาดเล็ก เช่นเดียวกันกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้ หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ เสียเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียงเครื่องเดียว

  24. เครื่องเป่าประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรีเครื่องเป่าประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (ประเภทลิ้นเดี่ยว)

  25. คลาริเนต (clarinet) • คลาริเนตได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวเยอรมันชื่อ Johann Christoph Denner เมื่อราวปี ค.ศ. 1700 และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในวงออร์เคสตราเมื่อปี ค.ศ. 1780 และแทนที่โอโบ ในวงโยธวาทิตได้ในที่สุด • คาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรี สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

  26. แซกโซโฟน (saxophone) • อดอล์ฟ แซกซ์ เป็นชาวเบลเยียม เกิดที่เมืองดินานทืในปี ค.ศ. 1814 บิดาเป็นนักดนตรีเป่ฟลูต และคาริเน็ต นอกจากนี้บิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดรตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และ เครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์ • ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาได้ของเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัซเส์ แล้วเขาได้เรียนรู้และ ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ จากบิดา และในขณะเดียวกัน เขายังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่ง กรุงบรัสเซลส์ • ในปี ค.ศ. 1830 อดอล์ฟ แซกซ์ ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของขาเป็นชิ้นแรก โดยมีฟลูตและคาริ- เนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำ ออกแสดงในงานเดียวกันในปี ค.ศ. 1841 แต่คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุ น้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ่อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 • ร้านของเขาได้รับความนิยมมากในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองสมัยนั้น

  27. ชนิดของแซกโซโฟน • แซกโซโฟนสามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 7 ชนิด • โซปราโนแซกโซโฟน • อัลโต้แซกโซโฟน • เทเนอร์แซกโซโฟน • บาริโทนแซกโซโฟน • เบสแซกโซโฟน • คอนทร่าเบสแซกโซโฟน • ซับคอนทร่าเบสแซกโซโฟน

  28. เครื่องเป่าประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรีเครื่องเป่าประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (ประเภทลิ้นคู่)

  29. โอโบ (oboe) • โอโบมีต้นกำเนิดมาจากปี่ Hautboy ในระยะแรก ๆ โอโบมีลักษณะคล้ายปี่ในของไทย คือ ลำตัวมีรูเปล่า ๆ ต่อมาได้มีนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีนำเอากระเดื่องมาติดและเพิ่มส่วน ประกอบต่าง ๆ เข้าไปเช่นเดียวกับฟลูต • โอโบที่ใช้ในปัจจุบันมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงโอเปร่าฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoby” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตรา ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับเปิดปิดรู เพื่อ เปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุด โอโบ คือ เครื่องดนตรีหลักในวงออร์ เคสตรา

  30. คอร์ แองเกลส์ (cor anglais) • คอร์ แองเกลส์ นอกจากชื่อจะประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างหน้าตาที่น่าทึ่งอีกด้วย คือ ส่วน ที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งโอโบไม่มี ตรงปลายสุดเป็น ปากลำโพง ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งโอโบก็มี ลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต • คอร์ แองเกลส์ เป็นปี่ตระกูลเดียวกับโอโบ แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีรูปร่างหน้าตา ต่างจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่า และเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่ โยงไปคล้องคอผู้ เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่

  31. บาสซูน (bassoon) • บาสซูนเป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูนค่อนข้างจะ ประหลาดกว่าเครื่องอื่น เนื่องจากมีความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาว 109 นิ้ว แต่เพื่อ ไม่ให้เกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมาก จึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนัก เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นนิ้ว ต่าง ๆ ได้สะดวก • บาสซูนได้รับฉายาว่า “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” เพราะเวลาบรรเลงเสียงจะมีลักษณะ สั้น ๆ ห้วน ๆ อย่างเร็ว ๆ คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์

  32. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)

  33. เครื่องลมทองเหลือง (brass instruments) • เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรี ประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยน ไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ • เครื่องดนตรีบางชนิดใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้อง การ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดัง เจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมกันว่าแตร

  34. คอร์เนต (cornet) • ผู้ให้กำเนิดคอร์เนตคือ หลุยส์ แอนโทวน์ ช่างผลิตเครื่องดนตรีของบริษัท Haraly แห่ง มหานครปารีสราวปี ค.ศ. 1820 เขาคิดเพิ่มระบบปุ่มกดลงในเครื่องเป่าดั้งเดิม เพื่อความ คล่องตัวและการเปลี่ยนเสียงง่ายขึ้น • คอร์เนตมีลักษณะคล้ายทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลม กล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเปต คอร์เนตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตราเป็นครั้งแรกเมื่อ ประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ Rossini เรื่อง William

  35. ทรัมเป็ต (trumpet) • ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่า สัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่ สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและ กลไกต่าง ๆ เข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวง กว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงดนตรีหลายรูปแบบ • ทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองประเภทเสียงสูง กำเนิดเสียงโดย อาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน

  36. เฟรนช์ฮอร์น (french horn) • เฟรนช์ฮอร์นถูกพัฒนามาจากแตรฮอร์นที่ใช้ในการล่าสัตว์ โดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศสใน ช่วงราวปี ค.ศ. 1650 เพื่อใช้ในการบรรเลงดนตรีอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมา ช่างฝีมือชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงเฟรนช์ฮอร์นให้ดีขึ้น ในช่วงราวปี ค.ศ. 1750 และเป็นต้น แบบของเฟรนช์ฮอร์นในปัจจุบัน • เฟรนช์ฮอร์นคือเครื่องเป่าลมทองเหลือง ท่อเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อ จานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์เพื่อใช้ บอกสัญญาณต่าง ๆ จึงเหมือนเสียงที่เกิดจากการเป่าเขาสัตว์

  37. ทรอมโบน (trombone) • ทรอมโบนเป็นแตรที่ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีทางศาสนาและพิธียุรยาตรา ร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ ขนาดโค้ง ยาวได้สองทบ สองในสามของท่อลมเป็นท่อทรงกระอกเช่นเดียวกับทรัมเป็ต ส่วนที่เหลือ ค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ ลักษณะเป็นรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง • ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลมทองเหลือง มีคันชักสำหรับเปลี่ยน ระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา

  38. ยูโฟเนียม (euphonium) • ยูโฟเนียมเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง กษณะเสียงของยูโฟเนียมจะ นุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำ/ไป ใช้ในวงออร์เคสตราแทนทูบา • ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องลมทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3-4 ลูกสูบ ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อบาริโทน มีเสียงไกล้เคียงกับ ยูโฟนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม

  39. ทูบา (tuba) • ทูบาปรากฏครั้งแรกในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นเครื่องที่ใหญ่และเสียงต่ำที่สุดในตระกูล เครื่องลมทองเหลือง คำว่า Tuba เป็นภาษาละติน หมายถึง Trumpet หรือ Horn • ทูบาเป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กฮอร์น มีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ เสียงของทูบาต่ำ ลึก นุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “พีเดิล โทน (Pedal Tones)” นั้นมีคุณสมบัติ เฉพาะตัว

  40. ซูซาโฟน (sousaphone) • ซูซาโฟนมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนขนาดใหญ่ เวลาบรรเลงนักดนตรีต้องคล้องไหล่ ปากลำโพงจะหันออกไปด้านหน้า ทำให้นักดนตรีเคลื่อนไหวหรือเดินแปรขบวนได้สะดวก จอห์น ฟิลิป ซูซา เป็นผู้สั่งให้ บริษัท ซี. จี. คอนน์ ผู้ผลิตเครื่องดนตรีเป็นผู้พัฒนาขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1889 โดยปรับปรุงมาจากทูบา และเฮลิคอน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่หันปากแตรไปด้านข้าง • ซูซาโฟนเป็นเครื่องดนตรีลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับ ทูบา ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะเล่นในแนวเสียงเบสมากกว่า

  41. เครื่องลิ่มนิ้ว (KeyboardInstruments)

  42. เครื่องลิ่มนิ้ว (keyboard instruments) • เครื่องดนตรีสากลประเภทนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “เครื่องดนตรี ประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับ เปลี่ยนระดับเสียดนตรี เรียกว่า คีย์ เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน โดยปกติ เป็นสีขาวกับสีดำ

  43. เปียโน (piano) • เปียโนถูกคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน แต่จากบันทึกของ ครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 คริสโตโฟรี สร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยัง อยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี ค.ศ. 1720 • เปียโนเป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต ซึ่งเป็นคำในภาษาอิตาเลียน แปลว่า เบาดัง

  44. ออร์แกน (organ) • ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญ คบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิด หลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มี ขนาดต่าง ๆ ก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่ต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกน อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน • ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนใน การประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่

  45. ฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) • ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนา จากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกัน เพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่าง ๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้คีย์บอร์ด ในการสร้างกลไกดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ การเล่นเปียโน แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้นเหมือนออร์แกน • ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องดนตรีนี้อย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวมีผู้ประพันธ์เพลงที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาค แฮนเดล สกาลัตตี คูโน โดยเฉพาะเพลงประเภทโซนาตา

  46. คลาวิคอร์ด (clavichord) • คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีด โดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สีเหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ฟุต ยาว 4 ฟุต มีแถวของลิ่มนิ้วประมาณ 3 ออคเทฟ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือ แตะของลิ่มนิ้วทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไป ลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่ สายเสียงเพื่อทำให้เกิดเสียง • คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทแรกที่สามารถล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลง น้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากคลาวิคอร์ดมีความไพเราะและนุ่มนวล

  47. แอคคอร์เดียน (accordion) • แอคคอร์เดียนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับเปียโน เสียงของแอคคอร์เดียนเกิดจาก การสั่นสะเทือนของทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่อง อันเนื่องมาจากการเล่นผ่านเข้าออก ของลม ซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้าออก

  48. เครื่องกระทบ (PercussionInstruments)

  49. เครื่องกระทบ (percussion instruments) • เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี การสั่น การเขย่า การเคาะ หรือการขูด การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบกับอีกสิ่ง เพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องกระทบประกอบด้วยวัสดุที่เป็นของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน และ เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน

  50. เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอนเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite PitchInstruments)

More Related