570 likes | 1.34k Views
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์. ภูมิศาสตร์. เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์. ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์. วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. ประวัติผู้สอน. การ จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม . ประวัติที่ปรึกษา.
E N D
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียนขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ประวัติผู้สอน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประวัติที่ปรึกษา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประวัติผู้จัดทำ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 1 แผนที่ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบด้วยการย่อขนาดให้เล็กลงโดยใช้มาตราส่วน และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริงบนพื้นผิวโลก 1.1 ชนิดของแผนที่ 1.1.1 แบ่งตามลักษณะการใช้ แบ่งได้ 3 ประเภท 1 แผนที่อ้างอิง (general reference map) เป็นแผนที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ (topographic map) แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 2 แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map)เป็นแผนที่ ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่รัฐกิจ 3 แผนที่เล่ม (atlas)เป็นแผนที่ที่รวมแผนที่ หลายๆชนิด เช่น แผนที่รัฐกิจ แผนที่ธรณีวิทยา รวมไว้ในเล่มเดียวกัน หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 1.1.2 แบ่งตามมาตราส่วนของแผนที่ 1 แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ (large scale map) ใช้สำหรับเขียนแผนที่ของพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถบรรจุรายละเอียดที่ปรากฏในภูมิประเทศลงในแผนที่ 2 แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง (medium scale map) ใช้เขียนแผนที่ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เพื่อแสดงเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ 3 แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก (small scale map) ใช้เขียนแผนที่ของบริเวณที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ สามารถแสดงได้เฉพาะลักษณะที่สำคัญเท่านั้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 1.2 องค์ประกอบของแผนที่ 1 ระวางแผนที่ คือกรอบ หรือขอบกำหนดขอบเขตแผนที่ 2 ชื่อแผนที่ (map name)ชื่อแผนที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่จะบอกว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่แสดงข้อมูลอะไร 3 ชื่อภูมิศาสตร์ (geographic name)คือตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญ มีทั้งภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษ 4 ทิศ (direction) แผนที่ทุกระวางต้องกำหนดทิศทางไว้ โดยทั่วไปแผนที่จะแสดงส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือเสมอ ทิศเหนือจริง (true north) เป็นแนวทิศที่มุ่งตรงไปยังขั้วโลกเหนือ ใช้สัญลักษณ์รูปดาว หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ ทิศเหนือแม่เหล็ก (magnetic north) ได้แก่ แนวที่ ปลายเข็มของเข็มทิศชี้ไปในแนวทิศทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลก ใช้สัญลักษณ์รูปปลายลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือกรีด (grid north) ได้แก่ แนวทิศเหนือ ตามเส้นฉากทางดิ่ง ใช้สัญลักษณ์เป็นขีดตรง มีอักษร GN อยู่ข้างบน 1) การบอกทิศทางแบบแบริง (bearing)เป็นการวัดมุมจากทิศเหนือหรือใต้ไปทางตะวันออกหรือตะวันตก ขนาดของมุมแบริงจะมีค่าไม่เกิน 90 องศา หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ การอ่านค่ามุมแบบแบริงจะเริ่มต้นด้วยทิศหลัก เช่น ทิศเหนือ 75 องศาตะวันตก (N 75° W) 2) การบอกทิศทางแบบแอซิมัท (azimuth)เป็นมุมที่วัดจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกายังทิศเป้าหมาย มีค่าไม่เกิน 360 องศา หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 5 มาตราส่วน (map scale) คือสิ่งที่แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก มีอยู่ 3 ชนิด 1)มาตราส่วนคำพูด (verbal scale) คือมาตราส่วนที่บอกโดยตรงว่าระยะทางในแผนที่ 1 หน่วย แทนระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก เช่น 1 เซนติเมตร เท่ากับ 20 กิโลเมตร 2)มาตราส่วนเส้น (graphic scale)หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (bar scale) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นตรง หรือรูปแท่งที่มีตัวเลขกำกับไว้ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 3)มาตราส่วนแบบเศษส่วน (representative scale) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน การคำนวณหาระยะทางจริงบนพื้นผิวโลกจากแผนที่ หาได้จากสูตร 6 สัญลักษณ์ (symbol) สัญลักษณ์ในแผนที่เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนสิ่งต่างๆที่ปรากฏในพื้นที่จริง แบ่งได้ 3 ประเภท สัญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (area symbol) หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 7 สี (color) สีที่ใช้เป็นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สีคือ สีดำ แทนสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน สีแดง แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ สีน้ำเงิน แทนบริเวณที่เป็นน้ำ สีน้ำตาล แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง ภูเขา สีเขียว แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร พื้นที่ราบ 1.3 แผนที่ภูมิประเทศ ในแผนที่นิยมแสดงระดับความสูงไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ พื้นดิน กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศไว้ดังนี้ สีเขียว แสดง ที่ราบ ที่ต่ำ สีเหลือง แสดง เนินเขาหรือที่สูง สีเหลืองแก่ แสดง ภูเขาสูง สีน้ำตาล แสดง ภูเขาสูงมาก สีขาว แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ พื้นน้ำ สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้ สีฟ้าอ่อน แสดง ไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น สีฟ้าแก่ แสดง ทะเลลึก สีน้ำเงิน แสดง ทะเล หรือมหาสมุทร สีน้ำเงินแก่ แสดง น่านน้ำที่มีความลึกมาก 3 เส้นลายขวานสับหรือเส้นลาดเขา (hachure) ภูมิประเทศหากเป็นพื้นที่ชัน สัญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนา และชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเทมักแสดงด้วยเส้นขีดยาว บาง และห่างกัน หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 4 การแรเงา (shading)แสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยการเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรงทรงขึ้น 2 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 2.1 เครื่องมือทางแผนที่ 2.1.1 เข็มทิศ (compass) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้หาทิศทาง ปลายข้างหนึ่งของเข็มบอกทิศจะชี้ไปทางเหนือเสมอ วิธีใช้ ต้องวางเข็มทิศในแนวราบ ปลายลูกศรชี้ไปที่ น หรือ N ซึ่งหมายถึงทิศเหนือ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 2.1.2 เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ (map measurer) เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับ วัดระยะทางที่คดเคี้ยว 2.1.3 เครื่องมือวัดพื้นที่ (planimeter) เป็นอุปกรณ์สำหรับหาพื้นที่ของรูปบนพื้นระนาบ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 2.2 เครื่องมือทางภูมิอากาศ 2.2.1 บารอมิเตอร์ (barometer) เป็นเครื่องมือวัดความกดอากาศ 1 บารอมิเตอร์แบบปรอท 2 บารอมิเตอร์แบบตลับ หรือแบบแอนิรอยด์ 3 บารอกราฟ (barograph) บันทึกความกดอากาศได้อย่างต่อเนื่อง 2.2.2 เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิอากาศ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 2.2.3 ไซโครมิเตอร์ (psychrometer)เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความชื้นสัมพัทธ์และจุดน้ำค้างในอากาศ 2.2.4 ไฮโกรมิเตอร์ (hygrometer) เป็นเครื่องมือวัดความชื้นอากาศแบบต่อเนื่องโดยใช้เส้นผม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณความชื้นในอากาศ ถ้าความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว 2.2.5 มาตรวัดลม (anemometer)เป็นเครื่องมือวัดความเร็วลม ที่นิยมใช้กันมากเป็นมาตรวัดลมแบบลูกถ้วย 2.2.6 เครื่องวัดฝน (rain gauge) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดปริมาณน้ำฝน โดยใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 3 เทคโนโลยีและสารสนเทศในการศึกษาภูมิศาสตร์ 3.1 การรับรู้จากระยะไกล (remote sensing) หมายถึงการสำรวจทางไกลที่ปราศจากการสัมผัสโดยตรง ระหว่างที่ทำการสำรวจกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ 3.2 ชนิดของข้อมูลการรับรู้ระยะไกล 3.2.1 รูปถ่ายทางอากาศ (aerial photograph) หมายถึง รูปภายของลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ซึ่งได้มาจากการถ่ายภาพทางอากาศ ด้วยวิธีการนำกล้องถ่ายรูปติดไว้กับอากาศยานที่บินไปเหนือภูมิประเทศบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ กล้องสามมิติ (stereoscope) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับมองภาพสามมิติ สามารถมองความสูง-ต่ำของภูมิประเทศในลักษณะสามมิติได้ 3.2.2 ภาพจากดาวเทียม (satellite imagery) ดาวเทียมธีออส (THEOS) เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย จากความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส ภาพจากดาวเทียมครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่ารูปถ่ายทางอากาศ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 3.3 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System-GIS)การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ จัดเก็บ ปรับปรุง วิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ 1 ฮาร์ดแวร์ 2 ซอฟต์แวร์ (software) 3 ข้อมูล (data) 4 กระบวนการวิเคราะห์หรือขั้นตอนการดำเนินงาน หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 3.4 ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System-GPS) คือการนำคลื่นสัญญาณวิทยุและรหัสจากดาวเทียมบอกตำแหน่งมาบอกค่าพิกัดของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก ระบบดังกล่าวเกิดจากการส่งดาวเทียมจำนวน 24 ดวงขึ้นสู่ห้วงอวกาศที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร ดาวเทียมทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นวงโคจร 6 วง แต่ละวงมีดาวเทียมประจำการอยู่จำนวน 4 ดวง ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก 1 ส่วนอวกาศ (space segment) ดาวเทียมซึ่งอยู่บนอวกาศ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ 2 ส่วนสถานีควบคุม (control segment) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม 3 ส่วนผู้ใช้ (user segment) เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก 3.5 อินเทอร์เน็ต (Internet) หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ความหมายของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลกและบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก และสภาวะที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะส่งอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆ บนโลก ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญมีหลายรูปแบบตัวอย่างเช่น การเกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหว การเกิดปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นผิวของเปลือกโลกใน ลักษณะต่าง ๆ การเกิดสภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอุณหภูมิของโลกร้อน การเกิดสภาวะพายุฝนฟ้าคะนอง ฯลฯ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ปัจจุบันการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ มากกว่าที่จะศึกษาถึง ลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่างๆ ของโลกอย่างคร่าวๆ เช่นเดียวกันที่เคยปฏิบัติกันมาในระยะแรก โดยในครั้งนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ยังมีไม่มากพอ แต่เมื่อมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นการศึกษาด้านภูมิศาสตร์จึงได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษาถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งมักจะใช้หลักศึกษาด้วยการใช้วิธีการพิจารณาว่า “มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและโครงสร้างของโลก โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับสมมุติฐานในเรื่องการกำเนิดของโลก การศึกษาเกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนของวัตถุต่างๆ ที่อยู่ลึกลงไปเกือบอยู่ใจกลางโลกซึ่งภูเขาไฟพ่นออกมา ตลอดจนเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตที่อยู่ในอวกาศและตกลงมายังบริเวณ พื้นผิวโลกจากความเชื่อที่ว่าเศษชิ้นส่วนของวัตถุดังกล่าวมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการกำเนิดของโลก จากการศึกษาข้อมูลที่กล่าวมา นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งโครงสร้างของชั้นโลกออกเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย 1. ชั้นเปลือกโลก (crust) 2. ชั้นเนื้อโลก (montle) 3. ชั้นแก่นโลก (core) หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศของโลกมีรูปแบบที่สำคัญอย่างไร จากการศึกษาเกี่ยวกับโลกทำให้ทราบว่าโลกมีสัณฐานเกือบเป็นทรงกลมและมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เมื่อพิจารณาสภาพของภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนบน พื้นทวีป จะพบว่า ภูมิประเทศของโลก จะแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ที่สำคัญประกอบด้วย 1. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ (plain) 2. ภูมิประที่เป็นที่ราบสูง (plateau) 3.ภูมิประเทศที่เนินเขา (hill) 4.ภูมิประเทศที่เป็นภูเขา (mountain) หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ 2. ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว การวัดมี 2 ลักษณะ คือ 2.1 ขนาดของแผ่นดินไหว คำนวณได้จากการตรวจวัดความสูงของกราฟที่พื้นโลกปลดปล่อยออกมาใน รูปการสั่นสะเทือน เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดเรียกว่า ไซสโมกราฟ หน่วยศูนย์กลางแผ่นดินไหวเรียกว่า ริคเตอร์ 2.2 ความรุนแรงของแผ่นดินไหว หมายถึง การวัดปริมาณของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความรู้สึกของผู้คน การสั่นของวัตถุหรือสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ 1. กระบวนการของการเกิดภาวะโลกร้อนขึ้น เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตถูกบรรยากาศชั้นโอโซนดูดซับไว้ บางส่วนจะสะท้อนกลับหรือกระจายไปในบรรยากาศโดยอนุภาคต่าง ๆ ที่มีอยู่ในบรรยากาศ รังสีบางส่วนที่ตกมาถึงพ้นโลกจะถูกดูดซับไว้ พื้นโลกจะสะท้อนรังสีออกไปในรูปความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด กลางสตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากการขยายกำลังการผลิต และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตที่ขาดสมดุลและเหมาะสมกับธรรมชาติ ทำให้ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเป็นผล ให้เกิดการสะสมของรังสีในชั้นบรรยากาศจนเกินสมดุล ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลกมีระดับอุณหภูมิที่สูง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ 2. การประเมินภาวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกและผลกระทบ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดประชุมระหว่างรัฐบาล เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการประเมิน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในเชิงวิทยาศาสตร์ การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขขึ้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนขึ้น 1.ทั่วโลกต้องร่วมมือกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน 2.ทั่วโลกต้องหันมาใช้แหล่งพลังงานทดแทน ได้แก่ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล 3.ทั่วโลกต้องช่วยกันรักษาพื้นที่ป่าที่มีอยู่และปลูกป่าเพิ่มเติม 4.ต้องมีการปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืชและหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่ทำให้เกิดก๊าซ 5.ต้องปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและครัวเรือน หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.วิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน จากความจำกัดของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน และการจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องของผู้ครองที่ดินสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดิน และจะเป็นปัญหาของประเทศมากยิ่งขึ้นหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม โดยวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินของประเทศไทย มีดังนี้ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.1ความจำกัดของจำนวนที่ดิน ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ประมาณ 320 ล้านไร่ โดยเป็นทั้งพื้นที่ที่ใช้เป็นที่อาศัย เป็นพื้นที่ทำการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ป่าและที่ดินร้างว่างเปล่า ในขณะที่จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 18 ล้านคน ใน พ.ศ. 2490 เป็น 64 ล้านคนใน พ.ศ. 2552 การพัฒนาประเทศทำให้ชุมชนเมืองขยายตัวเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การขยายของกรุงเทพ ทำให้บริเวณพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่เคยเป็นสวนผลไม้และนาข้าวหมดไป เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.2การเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดิน ปริมาณพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศที่เพิ่มมากขึ้นโดยการเปลี่ยนสภาพที่ดินที่เป็นป่าไม้โดยใน พ.ศ. 2523 มีพื้นที่ทำการเกษตรเพียง 147.1 ล้านไร่ ครั้งต่อมาใน พ.ศ. 2551 พื้นที่ ทำการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็น 170.2 ล้านไร่ จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านไร่นั้น เป็นบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ป่าไม้ในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.3 การพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและสาธารณูปโภค การพัฒนาอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของโรงงานจากในเมืองไปอยู่เมืองนอก เช่น จากในกรุงเพทมหานครไปอยู่บริเวณรังสิต บริเวณจังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมทั้งการไปจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นบริเวณแหลงฉบัง จังหวัดชลบุรี และบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ล้วนเป็นการเข้าไปบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีอยู่ก่อน หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.4การขาดกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน ผู้ที่ถือครองที่ดินที่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายนั้นมีเป็นส่วนน้อย ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมักเป็นผู้เช่าที่ดินทำกิน หรือไม่ก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยรัฐยังไม่สามารถมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถพัฒนาที่ดินที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ หรือไม่ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการครอบครองที่ดิน จนเกิดการฟ้องร้องให้ออกจากพื้นที่ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.5ปัญหาการถือครองที่ดิน การบุกรุกที่ดินของรัฐทั้งที่เป็นพื้นที่ป่าไม้และที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพโดยขาดสิทธิในการครอบครองที่ดินตามกฎหมาย หรือการที่ประชาชนเข้าไปครอบครองอย่างถูกต้องแต่รัฐประกาศให้เป็นที่ดินของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเกิดความขัดแย้งกัน และนอกจากนี้ที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยมันไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านมานาน ทำให้ไม่สามารถระบุสิทธิ์ของผู้ถือครองได้อย่างถูกต้อง หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.6การเกิดภัยธรรมชาติ ภัยธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำท่วมรวมทั้งการพัดเอาดินโคลนไหลไปทำความเสียหายแก่ชีวิตบ้านเรือน สาธารณูปโภค และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ใน พ.ศ. 2548 ที่อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด และอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้เกิดความเสียหายนับพันล้านบาท ส่วนในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ น่าน แพร่ สุโขทัย พิจิตร เป็นต้น ก็เกิดน้ำท่วมสร้างความเสยหายทุกปี นอกจากนี้พายุฤดูร้อนก็มักจะเกิดในช่วงเดือนเมษายน ที่อากาศร้อนจัด จนเป็นภัยต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 1.7แผ่นดินทรุดตัว บริเวณพื้นที่ที่มีการใช้น้ำบาดาลมาก เช่น พื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี ได้มีการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีโดย เฉพาะพื้นที่บริเวณย่านรามคำแหง บางนา และในจังหวัดสมุทรปราการ แผ่นดินได้ทรุดตัวลงแล้วกว่า 1 เมตร และยังทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาครัฐต้องกำหนดมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ และให้ใช้น้ำผิวดิน (น้ำในแม่น้ำ) มาทำประปาให้บริการเพิ่มมากขึ้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 2. วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ เกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้ 2.1 การขาดแคลนน้ำ การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำของครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในฤดูแล้งพบว่า เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ทำน้ำประปาในหลายพื้นที่ รวมทั้งขาดแคลนน้ำในการใช้เพาะปลูกและอุตสาหกรรมด้วยเช่น ในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 2.2 น้ำเสียและสารพิษในน้ำ การทิ้งน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคหรือใช้ในการเกษตรได้ เช่นน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และลำคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 2.3 น้ำท่วม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดนเฉพาะ.ในช่วงฤดูฝนที่ได้รับอิทธิพลจากพายุต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย ในบริเวณและพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ สุโขทัย และพิจิตร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 3. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับแร่และพลังงาน 3.1 การขาดแคลนพลังงาน แร่และพลังงานเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป คือ ไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ใหม่กว่าจะเกิดขึ้นใหม่ต้องใช้เวลานานมาก ทำให้แร่และพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปในอนาคตอันใกล้ เช่น ถ่านหิน ถ้ามีอัตราการใช้เช่นปัจจุบัน ถ่านหินก็จะหมดไปภายในระยะเวลาไม่นานเมื่อเกิดการขาดแคลนพลังงาน ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเงินของประเทศ ทำให้ไทยต้องเสียดลการค้ากับต่างประเทศ และนอกจากนี้ราคาของแร่และพลังงานจะมีความผันผวนไปตามกระแสเศรษฐกิจและการเมือง ในส่วนของประชาชนก็จะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่แพงขึ้นตามวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 3.2 ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การนำแร่และพลังงานมาใช้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากไม่มีระบบป้องกันที่ดี เช่น การทำเหมืองแร่ถ่านหิน ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศหรือปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน หรือการทำเหมืองตะกั่วทำให้แหล่งน้ำใกล้เคียงมีปริมาณตะกั่วสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น สารกำมะถันจากการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา เป็นต้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ได้รับปัจจัยสี่ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย แต่ขณะเดียวกันการกระทำของมนุษย์เองได้ส่งผลกระทบต่อสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเนื่องจากความจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ได้มีผลทำให้เกิด การแก่งแย่งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีแผนการจัดการโดยมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ • และสิ่งแวดล้อม ชัดเจนในปัจจุบัน อาทิเช่น พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุก ทำลาย จนมีสัดส่วนไม่เหมาะสมกับการรักษาสภาพความสมดุลของระบบธรรมชาติหรือระบบนิเวศ หรือภาวะน้ำเน่าเสียในแม่น้ำสายหลัก ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง หรือภาวะอากาศเสียในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลัก อันเนื่องมาจากควันพิษรถยนต์ การเกิดปฏิบัติการเรือนกระจก (โลกร้อน) เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศมีสภาพที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปนั้น หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน - การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร ธรรมชาติให้เหมาะสม หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ และเน้นเศรษฐกิจ การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ
อาจารย์ผู้สอน ชื่ออาจารย์ ปกรณ์กฤษ นามสกุล หวังกุ่ม ตำแหน่ง ครู คศ.2 วิยฐานะ ชำนาญกาญ สังกัด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษา พ.ศ. 2542 ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี พ.ศ. 2545 ป. บัณฑิต วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี พ.ศ. 2548 ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา พ.ศ. 2553 ปริญญาโท ศึกษาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี การติดต่อ korn.2514@hotmail.com www.pkkan.net หน้าหลัก หน้าเมนู ถัดไป ย้อนกลับ