280 likes | 699 Views
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าพนมวังก์. ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง. ประวัติความเป็นมา. ๑๖ สิงหาคม๒๕๔๕ ได้ก่อตั้งจากการรวมกลุ่มกันของสมาชิกสหกรณ์พนมวังก์ โดยมีจำนวนสมาชิก ๑๗ คน เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีในเรื่อง ความขัดแย้งในในการรวมกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ที่เคยทอผ้าอยู่ที่อื่น
E N D
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าพนมวังก์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าพนมวังก์ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ประวัติความเป็นมา ๑๖ สิงหาคม๒๕๔๕ ได้ก่อตั้งจากการรวมกลุ่มกันของสมาชิกสหกรณ์พนมวังก์ โดยมีจำนวนสมาชิก ๑๗ คน เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีในเรื่อง ความขัดแย้งในในการรวมกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ที่เคยทอผ้าอยู่ที่อื่น ปัญหาด้านการตลาดของสมาชิกสหกรณ์กลุ่ม ดังกล่าว ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มีจำนวนสมาชิก ๑๗ คน และมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนในด้านเงินทุน และด้านการพัฒนาลายผ้า ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พัทลุงได้เข้าดูแลและทำข้อตกลงกับวิสาหกิจชุมชน โดยการเข้าวางรูปแบบมาตรฐานการบัญชี ให้คำปรึกษาและการสอนแนะการจัดทำบัญชี การใช้สมุดบัญชีเล่มต่างๆ ตลอดจนการบันทึกบัญชีและการจัดทำงบทดลอง ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนมีสมาชิกทั้งสิ้น ๓๐ คน คณะกรรมการดำเนินการบริหารกลุ่ม ๗ คน ได้พัฒนาการจัดทำบัญชี โดยใช้โปรแกรมบัญชีแยกประเภท(GL) ที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
วิสัยทัศน์ จากอาชีพเสริม สู่อาชีพหลัก พัฒนาเป็นเอกลักษณ์ ผ้าทอพนมวังก์
พันธกิจ เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง เข้าร่วมกับเครือข่ายอื่นในการสร้างอาชีพในชุมชน เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริมให้คนในชุมชน เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างสมาชิกและชุมชน เพื่อให้ชุมชนรู้จัก และบริหารธุรกิจทางด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีงานทำ เพื่อส่งเสรมและสนับสนุนให้สมาชิกในกลุ่ม ได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการรวมกลุ่ม เพื่อประกอบธุรกิจ
สถานที่ตั้งและการติดต่อสถานที่ตั้งและการติดต่อ • กลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าพนมวังก์ • สถานที่ตั้งกลุ่ม 122 หมู่ที่ 6 ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง • สถานที่ผลิตหมู่ที่ 6 ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง • ประธานกลุ่มนางวรรณา เกื้อทอง • โทรศัพท์ 084-964-7971
คณะกรรมการบริหาร นางวรรณา เกื้อทอง ประธาน นางขับ รอดหนูเลขานุการ นางกัลยา เรืองพุทธ รองประธาน นางภูชาน้อย ชุมทองมาเหรัญญิก นางเชือน บุญเพชรแก้ว กรรมการ นางวุ่น ศรีหนูสุด กรรมการ นางวิเชียร คงเพ็ง กรรมการ
เอกลักษณ์และจุดเด่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นผ้าทอมือ มีความประณีต สวยงามและยังเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านและตำบลที่สืบทอดกันมา อีกทั้งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 11 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพัทลุง และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานฝีมือ ณ สวนจิตรลา
รางวัลที่ได้รับ • เป็นผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 5 ดาว ปี 2554 • เป็นผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 5 ดาว ปี 2553 • เป็นผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 4 ดาว ปี 2552
กิจกรรมสาธารณประโยชน์กิจกรรมสาธารณประโยชน์ • กิจกรรมพัฒนาวัดทุ่งขึงหนัง จ.พัทลุง • กิจกรรมพัฒนาวัดถ้ำวังทอง จ.พัทลุง • กิจกรรมร่วมพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแพรกหา • กิจกรรมร่วมพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลพนมวังก์ • ร่วมบริจาคเงินให้แกวัดเขาป้าเจ้ จ.พัทลุง • ร่วมบริจาคทุนการศึกษาให้นักเรียนโรงเรียนปัญญาวุฒิ • ร่วมบริจาคทุนการศึกษาให้นักเรียนโรงเรียนการอาชีพควนขนุน จ.พัทลุง
ขั้นตอนการผลิต ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อมเริ่มจากนำเส้นด้ายมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับแล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก
กราฟแสดงการเปรียบเทียบสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธ.ค.53 และ 31 ธ.ค. 52
กราฟแสดงการเปรียบเทียบทุนดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ธ.ค.53 และ 31 ธ.ค. 52
กราฟแสดงการเปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2553 และ 2552 หน่วย : บาท
การจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 62,152.63 บาท จัดสรรตามระเบียบของกลุ่มทอผ้า พ.ศ. 2547
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าพนมวังก์งบดุลณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554