870 likes | 1.17k Views
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทร. ๐๒ ๕๙๐-๑๒๒๑- ๔.
E N D
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕และที่แก้ไขเพิ่มเติมฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโทร. ๐๒ ๕๙๐-๑๒๒๑- ๔
การบริหารงานของภาครัฐสมัยใหม่ ถือว่าการบริหารงานพัสดุเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง โดยได้กำหนดให้มีการปรับปรุงกลไกและวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างได้เป็นไปอย่างโปร่งใส ประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเน้น ให้หน่วยงานของรัฐมีพัสดุในราคาที่เหมาะสม และจัดหาได้ทันเวลาที่มีความต้องการจะใช้ รวมทั้งจัดให้มีการดูแล บำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้การได้ตลอดเวลา การบริหารงานพัสดุที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานขององค์กรภาครัฐในภาพรวมเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ และมีผลถึงบริการที่ดีที่ภาครัฐจะมอบให้กับประชาชนด้วย
การบริหารพัสดุในภาครัฐ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การให้ส่วนราชการมีพัสดุที่ต้องการ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างเพียงพอในแต่ละช่วงเวลา พัสดุที่มีอยู่นั้น ต้อง มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน มีราคาไม่แพง และมีการใช้ประโยชน์จากพัสดุอย่างคุ้มค้า
สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ได้มีการกำหนดเป็นจรรยาบรรณเพื่อให้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ (ตามจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ.2543) ประกอบด้วย 1. วางตัวเป็นกลาง 2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 3. มีการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน เรียนรู้เทคนิควิทยาการใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ โดยเคร่งครัด
5. คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงาน/ของทางราชการเป็นหลัก ด้วยความ ถูกต้องยุติธรรม และมีความสมเหตุสมผล 6. ให้มีการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด 7. ให้ความร่วมมือ แก้ไขปัญหา และพัฒนางาน กับผู้ร่วมงานด้วยความ เต็มใจ เอาใจใส่ 8. ไม่เรียกรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง 9. ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ในการปฏิบัติต่อผู้ขาย/ผู้รับจ้างโดย เท่าเทียมกัน 10. ให้คำปรึกษา แนะนำ และรับฟังความคิดเป็นของผู้ร่วมงานอย่างมี เหตุผล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (เดิม) ที่ถูกยกเลิกไป รวมมีทั้งหมด 8 ฉบับด้วยกันประกอบด้วย ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2521, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2526, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2527, (ฉบับที่ 5) และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2528, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2529 และ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2527
สำหรับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ที่ได้ประกาศใช้ใหม่ภายหลังจากที่ยกเลิกของเดิมไป จนถึง ณ ปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ฉบับประกอบด้วย ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2535, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541, (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542, (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2545, และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ทั้งนี้ มีระเบียบใหม่ล่าสุด ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้ในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง โดยวิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ • พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ • พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ • พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘
คำสั่งในการดำเนินการตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครองคำสั่งในการดำเนินการตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครอง • การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือเช่า • การสั่งอนุมัติซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย หรือให้เช่า • การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอ • การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน (กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒/ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ๓๑ ก.ค.๔๓)
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารคืออะไรพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารคืออะไร • เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ • เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้อง • ยกเว้น การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหาย
พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯเกี่ยวข้องกับระเบียบฯพัสดุอย่างไรพรบ.ข้อมูลข่าวสารฯเกี่ยวข้องกับระเบียบฯพัสดุอย่างไร • ประกาศคณะกรรมการฯ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ - กำหนดให้ประกาศสอบราคาและประกวดราคา เป็นข้อมูลข่าวสาร ที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (เก็บไว้อย่างน้อย ๑ ปี) • ประกาศคณะกรรมการฯ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ - สรุปผลการพิจารณาในงานที่จัดซื้อจัดจ้าง • หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๗/ว๑๖๑ ลว.๑๓ มกราคม ๒๕๔๘ - นำประกาศสอบราคา ประกวดราคา ผลการพิจารณาประกาศใน Web site
ในส่วนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะประกอบด้วยระเบียบรวม 165 ข้อ โดยจัดแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ หมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 นิยาม (ข้อ 5) ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ (ข้อ 6-9) ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ (ข้อ 10) ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (ข้อ 11-12)
หมวด 2 การจัดหา แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บททั่วไป (ข้อ 13-15) ส่วนที่ 2 การซื้อการจ้าง (ข้อ 16-73) ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา (ข้อ 74-94) ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบและควบคุมงาน (ข้อ 95-122) ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน (ข้อ 123-127) ส่วนที่ 6 การเช่า (ข้อ 128-131) ส่วนที่ 7 สัญญาและหลักประกัน (ข้อ 132-144) ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ข้อ 145)
หมวด 3 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การยืม (ข้อ 146-150) ส่วนที่ 2 การควบคุม (ข้อ 151-156) ส่วนที่ 3 การจำหน่าย (ข้อ 157-161) หมวด 4 บทเฉพาะกาล (ข้อ 162-165) ในส่วนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 จะประกอบด้วยระเบียบรวม 13 ข้อ
สาระสำคัญที่น่าสนใจ คำนิยามที่สำคัญๆ ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 5 คำว่า “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ คำว่า “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณหรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ
คำว่า “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น คำว่า “หัวหน้าส่วนราชการ” - ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง หมายความว่า อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล - สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
คำว่า “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบกอง ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุตามที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี คำว่า “หัวหน้าหน่วยพัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกหรือต่ำกว่าระดับแผนก ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการเป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุแล้วแต่กรณี
คำว่า “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้
บทกำหนดโทษ ตามระเบียบฯ ข้อ 10 กำหนดไว้ว่า “ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใด กระทำการใด โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ หรือตามกฎหมายเฉพาะของส่วนราชการนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำปลด ออกจากราชการ (2) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายแต่ไม่ ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำ ตัดเงินเดือน (3) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ให้ ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็น ลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (1) หรือ (2) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดจากความรับผิดในทางแพ่งตามกฎหมายและระเบียบของ ทางราชการ หรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี)”
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 13 กำหนดให้ “หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ ในส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 หรือส่วนที่ 4 แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว การจัดหาโดยวิธีสอบราคา และวิธีประกวดราคา ให้ ส่วนราชการวางแผนในการจัดหา และดำเนินการให้เป็นไปตามแผนด้วย”
กระบวนการบริหารงานพัสดุกระบวนการบริหารงานพัสดุ กำหนดความต้องการ งบประมาณ จัดหาพัสดุ เบิกจ่ายเงิน การจัดทำ ควบคุมพัสดุ จำหน่ายพัสดุ
กระบวนการจัดหาพัสดุ ประเภทของการจัดหา • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบและควบคุมงาน • การเช่า • การแลกเปลี่ยน
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ • เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ/ชั่วคราว • หน.เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง - ข้าราชการ • หน.ส่วนราชการ อธิบดี (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) • ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ-จ้าง หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด • คณะกรรมการต่างๆ / ผู้ควบคุมงาน
คณะกรรมการในการซื้อ - การจ้าง ประเภท :คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา : คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา : คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา : คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ : คณะกรรมการตรวจการจ้าง เพิ่มเติม : คณะกรรมการกำหนดราคากลาง : คณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (SPEC) : ผู้ควบคุมงาน
การแต่งตั้งคณะกรรมการการแต่งตั้งคณะกรรมการ ผู้แต่งตั้ง : หัวหน้าส่วนราชการ องค์ประกอบ : ประธาน/กรรมการ จำนวนอย่างน้อย ๓ คน กรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ ทางราชการ อาจตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน ๒ คน ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ เงื่อนไข : ต้องตั้งเป็นครั้งๆ ไป (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ) หลักการ : แต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ (ตามระเบียบพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๒ และตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) ๐๔๒๑.๓/ว ๔๑๗ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓) :ระเบียบฯ ห้ามแต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซองเป็นกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคา และห้ามกรรมการเปิดซองสอบราคาและกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ :ต้องกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา
การประชุมคณะกรรมการ องค์ประชุม : ประธานและกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง :ประธานและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่ง ในการลงมติ มติกรรมการ : ถือเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธาน ออกเสียงเพิ่มชี้ขาด อีก ๑ เสียง : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้างใช้มติเอกฉันท์ ( กรรมการที่ไม่เห็นด้วยให้บันทึกความเห็นแย้งไว้ )
วิธีการจัดหา การจัดซื้อหรือจ้าง • วิธีตกลงราคา ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีสอบราคา เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีประกวดราคา เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีพิเศษ เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่มีเงื่อนไข • วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)ตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙
วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๑. กรณีใช้วงเงินเป็นตัวกำหนดวิธีการ - วิธีตกลงราคา ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท - วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่งเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท - วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๒. กรณีใช้วงเงินและเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ ๒.๑ ซื้อโดยวิธีพิเศษ - วงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ ๒๓ (มี ๘ ข้อ) ๒.๒ จ้างโดยวิธีพิเศษ - วงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ ๒๔ (มี ๖ ข้อ)
วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๓. กรณีใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ - วิธีกรณีพิเศษ (ได้แก่ การซื้อ/จ้างจากส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานตามกฎหมายท้องถิ่น) เงื่อนไข : ๑.เป็นผู้ทำ/ผลิตเองและนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง ๒. มีกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ซื้อ/จ้าง และให้รวมถึงหน่วยงาน อื่นที่มีกฎหมายหรือมติครม.กำหนดด้วย ๔. อื่นๆ - การจัดซื้อ/จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป (ตามระเบียบพัสดุฯปี ๔๙)
ขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้างขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้าง ขอความเห็นชอบ วิธีจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ๖ วิธี ดำเนินการ • หน.ส่วนราชการ • ปลัดกระทรวง/ทบวง • รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติ หน.ส่วนราชการ การทำสัญญา • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • ผู้ควบคุมงาน การตรวจรับ
รายงานขอซื้อ–จ้าง (๒๗) หลักการ * ก่อนการซื้อ – จ้าง ทุกวิธีต้องทำรายงาน ผู้จัดทำ * เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ รายละเอียด * เหตุผลความจำเป็น * รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง * ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคาครั้งหลังสุด ไม่เกิน ๒ ปี * วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง * กำหนดเวลาใช้พัสดุ * วิธีที่จะซื้อ – จ้าง * ข้อเสนออื่นๆ (กรรมการ , ประกาศ) ข้อยกเว้น * ข้อ ๓๙ วรรคสอง ไม่ต้องมีรายงานตามระเบียบฯ ข้อ ๒๗
การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๑)การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๑) ๓ จนท. พัสดุ ติดต่อ ๔ ๑ เสนอราคา ๕ รายงาน (๒๗) ใบสั่ง หน. จนท. พัสดุ ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง เห็นชอบ (๒๙) ๖ ส่งของ/งาน ๒ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ผู้ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับการจ้าง หน. ส่วนราชการ
การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๒)การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๒) • กรณีจำเป็นเร่งด่วน • ไม่ได้คาดหมายมาก่อน • ดำเนินการตามปกติไม่ทัน ข้อยกเว้น (ข้อ ๓๙วรรคสอง) วิธีการ • เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ ผู้รับผิดชอบดำเนินการไปก่อน • รายงานขอความเห็นชอบหัวหน้าส่วนราชการ • ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ • วงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท ทำรายงานเฉพาะรายการ • ที่จำเป็นได้ ข้อ ๓๙ วรรคสอง (ข้อ ๑๓๓ วรรคสอง)
การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ไม่กีดกันสินค้าไทย (ข้อ ๑๖) • ไม่กำหนดสเปคใกล้เคียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นการเฉพาะ • ไม่ระบุยี่ห้อ • งานก่อสร้างระบุยี่ห้อได้ในกรณีจำเป็น แต่ต้องให้เทียบเท่าได้
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๑) ข้อ ๒๗ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๒๙ • ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า • ๑๐ วัน / นานาชาติไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน • ส่งประกาศให้ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้าง • โดยตรง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน • ให้มากที่สุด • ปิดประกาศเผยแพร่ ณ ที่ทำการโดยเปิดเผย • - เผยแพร่เว็บไซด์ของกรมบัญชีกลาง/หน่วยงาน จัดทำประกาศ (ข้อ ๔๐) เผยแพร่เอกสาร
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๒) • ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึง • ประธานกรรมการ • ยื่นซองด้วยตนเอง / ทางไปรษณีย์ • (กรณีที่กำหนดไว้) • เจ้าหน้าที่รับโดยไม่เปิดซอง • ระบุวันและเวลารับซอง • ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การยื่นซอง การรับซอง การเก็บรักษาซอง
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๓) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ ๔๒) • ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน • ประกาศชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ • เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและลงนามกำกับ • ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้อง • ตามเงื่อนไขและเสนอราคาต่ำสุด • ราคาเท่ากันหลายรายยื่นซองใหม่ • ถูกต้องรายเดียวดำเนินการต่อได้ • เสนอหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๔) กรณีเกินวงเงิน (ข้อ ๔๓) • เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงิน • หรือสูงกว่าไม่เกิน ๑๐ % • ถ้าไม่ได้ผลให้เรียกทุกรายมายื่นซองใหม่ • ถ้าไม่ได้ผลอีกเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ ขอลดรายการ ลดจำนวน ลดเนื้องาน ขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา
ขั้นตอนการประกวดราคา จัดทำรายงานขอซื้อ/จ้าง และแต่งตั้งคณะกรรมการ (ข้อ ๒๗) จัดทำเอกสารประกวดราคา (ข้อ ๔๔) การประกาศเผยแพร่การประกวดราคา (ข้อ ๔๕, ๔๖) การขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง (ข้อ ๖๕) การพิจารณาผลการประกวดราคา (ข้อ ๕๐) การรับและเปิดซอง (ข้อ ๔๙) การทำสัญญา (ข้อ ๑๓๒ -๑๓๓)
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๑) ข้อ ๒๗ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ข้อ ๒๙ จัดทำเอกสาร (ข้อ ๔๔) • ทำตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด • แตกต่างหรือไม่รัดกุมส่ง • สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๒) การประกาศข่าวการประกวดราคา ส่งไปรษณีย์ EMS • ในตู้ปิดประกาศมีกุญแจปิด • มีผู้ปิดและปลดประกาศ ซึ่งมิใช่ • คนเดียวกัน และมีพยานรับรองด้วย • ออกประกาศ ณ ที่ทำการ • ส่งวิทยุและหนังสือพิมพ์ • ส่งกรมประชาสัมพันธ์ • ส่งองค์การสื่อสารมวลชน • ส่งศูนย์รวมข่าวประกวดราคา • ส่ง สตง. • เผยแพร่เว็ปไซด์ของกรมบัญชีกลาง/ • หน่วยงาน
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๓) ประกาศ ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ • ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ • ห้ามมีเงื่อนไขในการให้/ขาย ให้ขาย คำนวณราคา ไม่น้อยกว่า ๗ วัน ทำการ ห้ามร่นหรือเลื่อนวันรับซอง และเปิดซองประกวดราคา วันรับซองประกวดราคา
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๔) คณะกรรมการรับซองและเปิดซองประกวดราคา • รับซองราคา • ตรวจหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน • กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน • ส่งสำเนาให้ธนาคาร • - รับเอกสารตามบัญชีรายการ หากไม่ถูกต้องให้บันทึกไว้
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๕) คณะกรรมการรับซองและเปิดซองประกวดราคา • ส่งเอกสารส่วนที่ ๑ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวด • ราคา เพื่อตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน • เปิดซองและอ่านแจ้งราคาโดยเปิดเผย เฉพาะที่ผ่านการตรวจ • สอบผู้มีประโยชน์ร่วมกัน • ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารทุกฉบับ • ส่งมอบเรื่องทั้งหมดให้คณะกรรมการพิจารณา • ผลการประกวดราคา
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๖) หน้าที่คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา • ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน (๕) • ตรวจสอบคุณสมบัติ คัดเลือก • คัดเลือกคุณภาพ ตัดสิน (ต่ำสุด) • เสนอหัวหน้าส่วน ผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ • มีอำนาจผ่อนปรน • เสนอราคาเท่ากัน เสนอราคาใหม่โดยการยื่นซอง • มีรายการเดียวยกเลิก เว้นมีเหตุผล (๕๑) • แก้ไขหลังเปิดซองก่อนทำสัญญาสาระสำคัญ ยกเลิก (๕๓) (๕๐)
การต่อรองราคาในการสอบราคา/ประกวดราคาการต่อรองราคาในการสอบราคา/ประกวดราคา • ในวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ต่อรองราคาไม่ได้ • เกินวงเงินที่ซื้อหรือจ้าง ข้อ ๔๓ • ๒.๑ เรียกผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ผ่านการคัดเลือกมาต่อรองราคา ถ้า • ลดหรือไม่ลดราคาแล้ว ปรากฏว่าไม่เกิน ๑๐% ให้ซื้อ/จ้างรายนั้น • ๒.๒ ถ้าไม่ได้ผล ให้เรียกทุกรายมาต่อรองราคาพร้อมกัน • ด้วยวิธียื่นซอง • ๒.๓ ถ้าไม่ได้ผล ให้พิจารณาลดรายการ ลดจำนวน ลดเนื้องาน ขอ • เงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา
การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (๑) รายงาน ข้อ ๒๗ หัวหน้าส่วนราชการ จนท.พัสดุ ให้ความเห็นชอบ ๒๙ เงื่อนไข (ข้อ ๒๓) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ ๕๗) • -จะขายทอดตลาด เจรจาตกลงราคา • เร่งด่วนช้าเสียหาย เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง • ราชการลับ เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง • ซื้อเพิ่ม (Repeat Order) เจรจาผู้ขายรายเดิม เงื่อนไขเดิม ราคาเดิม • หรือดีกว่า
การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (๒) เงื่อนไข (ข้อ ๒๓) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ ๕๗) • ซื้อจากต่างประเทศ สั่งตรงโดยให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศ • สืบราคาให้ • จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เชิญผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่าย มาเสนอราคา • และต่อรอง • ซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างเฉพาะ เชิญเจ้าของมาตกลงราคา • ดำเนินการโดยวิธีการอื่นแล้ว สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายและผู้เสนอ • ไม่ได้ผลดี ราคาที่ถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) ต่อรองราคา