1 / 39

C ++ Language

C ++ Language. By Atikom Tancharoen. Chapter 1 รู้จักกับภาษาคอมพิวเตอร์. การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม.

beryl
Download Presentation

C ++ Language

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. C++ Language By AtikomTancharoen

  2. Chapter 1รู้จักกับภาษาคอมพิวเตอร์

  3. การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรมการสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม ภาษาเครื่องจะอยู่ในรูปแบบของรหัสเลขฐานสอง(Binary Code) ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลขอยู่เพียงแค่ 2ตัว นั่นคือ 0 และ 1 เรียงสลับและต่อกันเป็นความหมายที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ มันเป็นเรื่องยากถ้าจะให้มนุษย์สามารถเข้าใจในภาษานั้นได้ ต่อมาจึงมีการพัฒนาภาษาสำหรับสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์เข้าใจ โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษมากำหนดเป็นรูปแบบคำสั่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำที่มีมีความหมายในภาษาอังกฤษ แต่การที่จะทำให้เครื่องเข้าใจภาษาที่พัฒนาขึ้นมาได้นั้น ต้องมีตัวกลางเพื่อทำหน้าที่แปลจากภาษานั้นเป็นภาษาเครื่องอีกที ตัวนั้นเรียกว่า Compiler หรือInterpreter

  4. การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม(2)การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม(2) ภาษาทั้งหมดที่มนุษย์พัฒนากันขึ้นมา สามารถแบ่งระดับตามลักษณะและการทำงานของแต่ละภาษาได้เป็น 3 ระดับ ภาษาระดับต่ำ(Low level language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากที่สุด สามารถเขียนคำสั่งเพื่อติดต่อสั่งงานกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง โปรแกรมที่เขียนจะทำงานได้รวดเร็ว แต่ปัญหาคือโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับต่ำสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โปรแกรมนั้นจำไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่งได้ ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาแอดแซมบลิ(Assembly)

  5. การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม(3)การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม(3) ภาษาระดับสูง(High level language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้สื่อสารกันตามปกติ คำสั่งต่างๆมักเป็นคำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษ แต่ข้อเสียของภาษาระดับสูงคือ มักไม่มีคำสั่งในการติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์โดยตรง และทำงานช้ากว่าภาษาระดับต่ำ ตัวอย่างภาษาระดับสูงได้แก่ Pascal, Cobol, Fortran, Visual Basic, Java, PHP เป็นต้น ภาษาระดับกลาง เนื่องจากภาษาระดับต่ำและสูงต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้น ภาษาC จึงพัฒนาขึ้นมาโดยปรับปรุงข้อเสียและนำเอาข้อดีของภาษาทั้ง 2 ระดับมาใช้ โดยคำสั่งภาษาC เป็นที่มีความหมายในภาษาอังกฤษ สามารถจดจำและเขียนได้ง่ายเหมือนภาษาระดับสูง แต่ภาษาC ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีคำสั่งที่ให้ผู้เขียนโปรแกรมเรียกใช้ เพื่อติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ดังนั้นภาษาC จึงถูกจัดให้เป็นภาษาระดับกลาง

  6. Chapter 2ภาษาC++ เบื้องต้น

  7. โครงสร้างของโปรแกรม

  8. โครงสร้างของโปรแกรม(2) ส่วนประกอบเบื้องต้นของ C++ มีดังนี้ • Comments or Remark หมายถึงส่วนที่เป็นการอธิบายหรือหมายเหตุในโปรแกรม เขียนไว้ในเครื่องหมาย /* ........... */ หรือเขียนตามหลังเครื่องหมาย // ก็ได้ ในขณะที่แปล Compiler ของ C++ จะไม่นำไปแปลด้วย แต่ต้องเขียน Comments อยู่ภายในเครื่องหมายให้ถูกต้อง โดยที่ /* ........ */ หรือ // มักใช้กับ Comment หลายๆบรรทัด ส่วน // ใช้กับการ Comments ตามหลัง Statement เป็นส่วนใหญ่ • #include <iostream.h> บรรทัดที่ขึ้นต้นด้วย # นี้จะต้องมีเสมอในทุกโปรแกรม เรียกว่า Preprocessor เรียกคำว่า include ที่ตามเครื่องหมาย # นี้ว่า directive และชื่อไฟล์ที่อยู่ในเครื่องหมาย <…> (จะใช้เครื่องหมาย “…” แทนก็ได้) เรียกว่า header file หรือ include file ซึ่งเป็นไฟล์ที่เก็บไว้ในคลังคำสั่ง(Library File) ของ c++ ข้อสังเกตการเขียน preprocessor directive จะต้องเขียนรายการละ 1 บรรทัด และไม่ต้องมีเครื่องหมาย ; ที่ท้ายประโยค

  9. โครงสร้างของโปรแกรม(3) #include <iostream.h> หมายถึง การสั่งให้ Compiler นำสิ่งที่อยู่ในไฟล์ที่กำหนดชื่อมาให้คือไฟล์ iostream.hมารวมกับ source file ขณะทำการ link เพื่อให้ได้ Executable file นั่นหมายความว่า ในโปรแกรมที่เราสร้างขึ้น ได้มีการเรียกใช้ฟังก์ชันที่ถูกเก็บไว้ใน Header File นั้น 3. Void main() เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันหลักของโปรแกรมคือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งจะต้องมีชื่อ ฟังก์ชันนี้เสมอ ฟังก์ชัน main() เป็นฟังก์ชันหลัก จะประกอบไปด้วยวงเล็บเปิด { เป็นการเริ่มต้นภายในมีการประกาศตัวแปร มีประโยคคำสั่งของภาษา C++ มีชื่อฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นแล้วเรียกใช้ภายในฟังก์ชัน main() แล้วจบฟังก์ชันด้วยวงเล็บปิด } คำว่า void เป็นชื่อ ประเภทข้อมูล(data type) ที่ให้ค่าว่าง จะทำให้ฟังก์ชันไม่มีการส่งค่าใดๆกลับไปยังชื่อฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้ ทั้งนี้ เนื่องจากใน C++ เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่ง เมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จแล้ว จะต้องส่งค่าคืนกลับมายังจุดที่เรียกใช้ชื่อฟังก์ขันเสมอ เพื่อไม่ให้ส่งคือค่ามดๆกลับมา จึงใช้คำว่า void เพื่อกำหนด main() ให้เป็นฟังก์ชันที่ไม่ต้องคืนค่ากลับมา ณ จุดเรียกใช้หรือเป็นฟังก์ขันประเภทไม่มีค่านั่นเอง ข้อสังเกตส่วนมากในปัจจุบันจะไม่ใช้void แต่จะใช้ intและreturn 0 การส่งค่า0จะไม่มีผลใดๆต่อโปรแกรม

  10. โครงสร้างของโปรแกรม(4) 4. cout << "My name is Mr.SirichaiNamburi \n"; cout << "Office : Computer Department,RIPA"; เป็นส่วนของประโยคคำสั่งหรือ Statement ในภาษาC++ ซึ่งต้องเขียนให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ของภาษา ทุกประโยคต้องจบด้วยเครื่อง semicolon (;) เสมอ สำหรับคำว่า coutเป็น object ซึ่งถูกเก็บไว้ในไฟล์ iostream.hดังนั้นจึงต้องกำหนดชื่อไฟล์ iostream.hไว้ในส่วนของ preprocessor directive ด้วย

  11. โครงสร้างของโปรแกรม(5) #define เป็นpreprocessor directive อย่างใช้กำหนดชื่อค่าคงที่ ให้เท่ากับค่าหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นค่าคงที่ ฟังก์ชั่นเป็นต้น ตัวอย่างเช่น #define PI 3.14 (ภาษา C) ซึ่งเป็นการกำหนดให้ค่า PI เท่ากับ 3.14 แต่ในภาษา C++มีกฎไวยากรณ์เข้มงวดมาก ไม่แนะนำให้ใช้ แต่ควรใช้คำสงวน constมากำหนดค่าคงที่แทน ดังเช่น const double PI = 3.14;

  12. โครงสร้างของโปรแกรม(6) Ex. #include <iostream> #define NAME "Dev Book" #define NUM1 100 #define NUM2 NUM1+100 #define SUM(a,b) a+b using namespace std; int main() { cout<<"Programming Language : "<<NAME<<endl; cout<<"Num1 = "<<NUM1<<endl; cout<<"Num2 = "<<NUM2<<endl; cout<<"Sum = "<<SUM(3,2)<<endl; system("PAUSE"); return 0; }

  13. คำสั่ง using #include < iostream.h >void main(){std::cout<<"test";} จาก โค้ดด้านบนนี้คือการเขียนแบบไม่อ้างอิง std (standard)ด้วยคำสั่ง namespaceดังนั้นมื่ออ้างถึงคำสั้งcout( รวมถึงcinและendl )จึงจำเป็นต้องอ้างถึงคำสั่งมาตราฐานจาก std สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่อง มากจาก การเขียนภาษา C++ นั้นในบางครั้งจะมีการอ้างอิงหลักการแตกต่างกันไปเนื่องชุดคำสั่งของ C++ มีการสร้างขึ้นมาใหม่อย่างมากมายดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตราฐานการเขียนขึ้น มาเพื่อให้การเรียกใช้คำสั่งได้อย่างถูกต้องซึ่ง Bjarneผู้สร้าง C++ แนะนำให้เขียนดังนี้คือ #include < iostream >using namespace std; //ช่วยลดขั้นตอนให้ไม่จำเป็นต้องอ้างถึง stdทุกครั้งvoid main(){ cout<<"test"; }

  14. อักขระ Escape sequence อักขระประเภทนี้คือ อักขระพิเศษที่ถูกกันไว้ เพื่อตีความหมายเป็นอย่างอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้อักขระ ‘\’ เป็นตัวกัน

  15. อักขระ Escape sequence(2) EX. cout << '\a'; //ส่งเสียงเตือน cout << '\x0a'; //ใช้เลขฐาน 16 เท่ากับการใช้ ‘\n‘ คือขึ้นบรรทัดใหม่ cout << "test_\010"; //ใช้เลขฐาน 8 เท่ากับการใช้ ‘\b‘ คือลบตัวอักษร 1ตัว ผลลัพธ์คือ test สรุป ถ้าจะใช้คำสั่ง Escape sequence ต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย’…’ หรือถ้ามีข้อความด้วยก็ต้องอยู่ภายตาย “….” ดังตัวอย่างข้างต้น

  16. การแสดงผลและการรับข้อมูลการแสดงผลและการรับข้อมูล ความหมายของการแสดงผล การแสดงผล หมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลและผลลัพธ์ที่มีอยู่ในหน่วยความ จำไปแสดงผลออกที่อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของคอมพิวเตอร์ การแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผลอาจมีเพียงอุปกรณ์เดียว หรือหลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกันก็ได้ เช่น แสดงผลที่จอภาพ เครื่องพิมพ์(Printer)ลำโพง แผ่นดิสก์ เป็นต้น การแสดงผลทางจอภาพด้วย coutจากรูปแบบโครงสร้างของโปรแกรม C++ จะเห็นตัวอย่างการใช้ประโยคคำสั่ง cout (อ่านว่า c - out ซีเอาต์ ย่อมาจาก character out) หมายถึง การแสดงผลในลักษณะอักษรหรือข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย "…… " หรือค่าของตัวแปร(variable)ออกทางจอภาพ

  17. การแสดงผลและการรับข้อมูล(2)การแสดงผลและการรับข้อมูล(2) coutเป็นออบเจ็กต์(object) อยู่ในไฟล์ iostream.hซึ่ง coutจะเป็น object ที่ทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับกระแสข้อมูล(Stream) ของภาษา C++ ออกไปแสดงผลสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ << เป็น operator หรือตัวดำเนินการ มีชื่อว่า put to หรือส่งไปที่ หรือเรียกว่า insertion หมายถึง การแสดงข้อความ เครื่องหมาย << จะทำหน้าที่นำค่าที่อยู่ทางขวาของเครื่องหมายซึ่งอาจจะเป็นค่าคงที่ ข้อความหรือ string ที่อยู่ในเครื่องหมาย "……" หรือค่าตัวแปร(variable) ก็ได้ ส่งให้แก่Object ที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย รูปแบบการแสดงผลข้อความทางจอภาพ โดยใช้ cout << มีดังนี้ cout << " ข้อความ " << "ข้อความ " << ตัวแปร; cout << ตัวแปร<<"ข้อความ"<<ตัวแปร<<…;

  18. การแสดงผลและการรับข้อมูล(3)การแสดงผลและการรับข้อมูล(3) Ex1. cout_exp.cpp แสดงการใช้ cout << แสดงข้อความออกทางจอภาพ /* Program : cout_exp.cppProcess : display cout object in iostream.h */#include <iostream.h> using namespace std;int main(){cout << "This is Turbo C++ Program ";cout<< "C++ is high language"; system("PAUSE"); return 0;} จากตัวอย่างโปรแกรมนี้coutจะทำหน้าที่ส่งกระแสข้อมูลข้อความ This is Turbo C++ Program C++ is high language ไปแสดงที่จอภาพ ณ ตำแหน่งปัจจุบันที่ cursor ชี้อยู่

  19. การแสดงผลและการรับข้อมูล(4)การแสดงผลและการรับข้อมูล(4) Ex2. แสดงข้อความต่อกันโดยใช้ << ออกทางจอภาพ /* Program : cout_ex2.cppProcess : display cout object in iostream.h*/#include <iostream.h> using namespace std;int main(){cout<< "This is Turbo C++ Program."<<" "<<" It is very easy.";cout<< "I love C++."<<" "<<"It's high level language."; system("PAUSE"); return 0;} จากโปรแกรมจะแสดงข้อความต่อไปนี้บนจอภาพThis is Turbo C++ Program. It is very easy. I love C++. It's high level language.

  20. การแสดงผลและการรับข้อมูล(5)การแสดงผลและการรับข้อมูล(5) การรับข้อมูลจากคีบอร์ดด้วย cin ในการเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวล มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โปรแกรมด้วยทั่วไป จะต้องมีการรับข้อมูลจากผู้ใช้ (user) ผ่านทางคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน โปรแกรม ใน C++ สามารถใช้ออปเจ็กต์cinที่อยู่ในไฟล์ iostream.hเพื่อรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดและ อุปกรณ์อื่น ๆ ได้ มีรูปแบบดังนี้ cin >> ชื่อตัวแปร;cin>>ชื่อตัวแปร>>ชื่อตัวแปร>>ชื่อตัวแปร>>…; โดยที่ cinอ่านว่า ซีอิน ย่อมาจาก character in ซึ่งหมายถึงการรับข้อมูลในลักษณะของอักษร cinเป็นออปเจ็กต์ที่สร้างอยู่ในไฟล์ iostream.h >> เป็นโอเปเรเตอร์ ซึ่งมีชื่อว่า เอ๊กซ์แทร็กชัน (extraction - รับเข้ามา) หรือ get from จะทำหน้าที่รับค่าที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมายส่งให้แก่ตัวแปรที่อยู่ทางขวาของ เครื่องหมาย(ถ้าไม่ระบุอุปกรณ์หมายถึงรับข้อมูลเข้าทางคีย์บอร์ด)

  21. การแสดงผลและการรับข้อมูล(6)การแสดงผลและการรับข้อมูล(6) Ex. แสดงการรับ ค่าจำนวนตัวเลขและตัวอักษรทางแป้นพิมพ์เพื่อเก็บไว้ในตัวแปร โดยใช้ cin>> #include <iostream> using namespace std; int main() { int x, y; char a; cout << "Enter number x, y : "; cin >> x >> y; cout << "Enter char a : "; cin >> a; cout << "x = " << x <<endl; cout << "y = " << y <<endl; cout << "a = " << a <<endl; system("PAUSE"); return 0; }

  22. จากโปรแกรมจะแสดงข้อความต่อไปนี้บนจอภาพจากโปรแกรมจะแสดงข้อความต่อไปนี้บนจอภาพ

  23. การแสดงผลและการรับข้อมูล(7)การแสดงผลและการรับข้อมูล(7) ตำแหน่งแสดงผลที่จอภาพด้วย endl การใช้ endlเป็นโอเปอเรเตอร์ประเภทตัวผสม (manipulator) ทำหน้าที่เลื่อนเคอร์เซอร์ เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่และการแสดงผลข้อความที่ตามมาจะขึ้นบรรทัดใหม่ด้วย ตัวอย่างโปรแกรม endl_exp.cpp แสดงข้อความ และกําหนดให้แสดงข้อความขึ้น บรรทัดใหม่ด้วย manipulator คือ endl Ex. #include <iostream> using namespace std; int main() { cout << "This is Turbo C++ Program"<<endl; cout << "It is very easy."<<endl; cout <<endl<<endl; // space 2 line cout << "I like C++ Program"<<endl<<endl; cout << "Press any key to continue..."<<endl; system("PAUSE"); return 0; }

  24. Chapter 3ข้อมูลและตัวแปรในภาษา C++

  25. ชนิดข้อมูล (Data Type) ชนิดข้อมูลในภาษา C++ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บางชนิดใช้ได้ทันที(Built-in Type)เพราะว่าได้ถูกกำหนดไว้แล้ว บางชนิดจะต้องรวมไฟล์ไลบารี่เข้ามาในโปรแกรมก่อนในบทนี้จะขอพิจารณาเฉพาะชนิด Built-in ซึ่งแบ่งกลุ่มได้ดังต่อไปนี้ • กลุ่มชนิดจำนวนเต็มกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม ได้แก่ ชนิด bool, char, int, long และ short • กลุ่มชนิดจำนวนจริง กลุ่มนี้จะใช้เก็บข้อมูลชนิดที่เป็นจุดทศนิยม ได้แก่ float, double และ long double • กลุ่มชนิดที่ใช้เก็บข้อมูลในลักษณะเป็นเซตจำนวนเต็ม ชนิดข้อมูลในกลุ่มนี้ จะใช้คำสงวน enum • กลุ่มชนิดที่สร้างขึ้นมาใหม่ตามมาตรฐาน c++เช่น คลาส string เป็นต้น • กลุ่มชนิดอื่นๆ ได้แก่ พอยน์เตอร์ อาร์เรย์ คลาส โครงสร้าง และอ้างอิง(Reference)

  26. ชนิดข้อมูล (Data Type) (2)

  27. ชนิดข้อมูล (Data Type) (3) หมายเหตุ * จะขึ้นอยู่กับตัวคอมไพล์ที่ใช้และ CPU สำหรับรายละเอียดข้อมูล ดูเพิ่มเติมได้จากไฟล์ไลบรารี่ climits

  28. ชนิดข้อมูล (Data Type) (4) Ex. ตัวอย่างโปรแกรมดูจำนวนไบท์ของชนิดข้อมูลแต่ละชนิด #include <iostream> using namespace std; int main() { cout<< "Size of char = "<<sizeof(char)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of unsigned char = "<<sizeof(unsigned char)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of int = "<<sizeof(int)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of unsigned int = "<<sizeof(unsigned int)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of short int = "<<sizeof(short int)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of long = "<<sizeof(long)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of unsigned long = "<<sizeof(unsigned long)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of float = "<<sizeof(float)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of double = "<<sizeof(double)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of long double = "<<sizeof(long double)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of bool = "<<sizeof(bool)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of long int = "<<sizeof(long int)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of signed char = "<<sizeof(signed char)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of unsigned short = "<<sizeof(unsigned short)<< " bytes"<<endl; cout<< "Size of unsigned int = "<<sizeof(unsigned int)<< " bytes"<<endl; system("PAUSE"); return 0; }

  29. หน้าที่ของตัวแปร ตัวแปร(Variable) คือการจองพื้นที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกับกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้น เปรียบเทียบได้กับจองห้องที่มีเลขที่ประจำห้องให้กับข้อมูล เวลาจะใช้งานข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปร ยกตัวอย่าง ถ้าเราสร้างตัวแปรมา 1ตัว โดยใช้ชื่อว่า Num สำหรับเก็บค่าตัวเลข 16 เมื่อต้องการนำจำนวน 16 นั้นมาใช้งาน เราก็เพียงแต่เรียกชื่อ Num ตัวแปลภาษาจะแปลความหมายถูกต้องว่า Num ก็คือ การนำค่าตัวเลข 16 ที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาใช้งาน

  30. รูปแบบของการประกาศตัวแปรรูปแบบของการประกาศตัวแปร ตัวอย่างการประกาศตัวแปร แสดงดังต่อไปนี้ intnum; //สร้างตัวแปรชื่อ num เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม float y; //สร้างตัวแปรชื่อ y เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขทิศนิยม char c; //สร้างตัวแปรชื่อ c เพื่อเก็บข้อมูลชนิดอักขระ double salary; //สร้างตัวแปรชื่อ salary เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม

  31. รูปแบบของการประกาศตัวแปร(2)รูปแบบของการประกาศตัวแปร(2) นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรไปพร้อมกับการประกาศตัวแปรได้ด้วยดังแสดงต่อไปนี้ ตัวอย่างการประกาศตัวแปร แสดงดังต่อไปนี้ intnum = 3; //สร้างตัวแปรชื่อ numเป็นชนิดจำนวนเต็มซึ่งมีค่าเริ่มต้นเป็น 3 float PI = 3.14; //สร้างตัวแปรชื่อ PIเป็นชนิดจำนวนทศนิยมซึ่งมีค่าเริ่มต้นเป็น 3.14 char c = ‘A’; //สร้างตัวแปรชื่อ c เป็นชนิดอักขระซึ่งมีค่าเริ่มต้นเป็น A double salary = 0.3; //สร้างตัวแปรชื่อ salary เป็นชนิดจำนวนทศนิยมซึ่งมีค่าเริ่มต้นเป็น 0.3

  32. รูปแบบของการประกาศตัวแปร(2)รูปแบบของการประกาศตัวแปร(2) ในกรณีที่จะสร้างตัวแปรชนิดเดียวกันมากกว่าหนึ่งตัว เราสามารถประกาศตัวแปรทั้งหมดพร้อมกันในคำสั่งเดียวได้ดังนี้ ตัวอย่างการประกาศตัวแปร แสดงดังต่อไปนี้ intnum; //สร้างตัวแปรชื่อ num1 num2 และnum3เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม float y; //สร้างตัวแปรชื่อ point1 point2 และpoint3เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขทิศนิยมซึ่งpoint3จะมีค่าเริ่มต้นเป็น12.00 char c; //สร้างตัวแปรชื่อ a b และcเพื่อเก็บข้อมูลชนิดอักขระซึ่งbมีค่าเริ่มต้นเป็น@ และcมีค่าเริ่มต้นเป็น*

  33. หลักการตั้งชื่อตัวแปรหลักการตั้งชื่อตัวแปร • ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ (Underscore) เท่านั้น • ภายใต้ชื่อตัวแปรสามารถใช้ตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือตัวเลข 0-9 หรือเครื่องหมาย _ • ภายในชื่อห้ามมีการเว้นช่องว่าง หรือใช้สัญลักษณ์อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 2 • ตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่มีความแตกต่างกัน โดยชื่อ Cat จะไม่เหมือนกับ cat หรือ CAT ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้ดี • ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน(Reserved word)

  34. ตัวแปรสำหรับข้อมูลชนิดข้อความตัวแปรสำหรับข้อมูลชนิดข้อความ ตัวแปรชุดของอักขระที่สร้างขึ้นนี้จะเรียกว่า ตัวแปรสตริง ซึ่งรูปแบบการสร้างตัวแปร string สำหรับเก็บข้อความมีดังนี้

  35. Chapter 4เครื่องหมายและการดำเนินการในภาษา C++

  36. เครื่องหมายการคำนวณทางคณิตศาสตร์เครื่องหมายการคำนวณทางคณิตศาสตร์

More Related