1 / 51

การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (DESIRABLE CHARACTERISTICS ASSESSMENT)

หน่วยที่ 5 กา รออกแบบและสร้างเครื่องมือ ประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์. การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (DESIRABLE CHARACTERISTICS ASSESSMENT) สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์.

betha
Download Presentation

การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (DESIRABLE CHARACTERISTICS ASSESSMENT)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 5 การออกแบบและสร้างเครื่องมือประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (DESIRABLE CHARACTERISTICS ASSESSMENT) สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  2. เครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. แบบสังเกต (Observation form) 2. การสัมภาษณ์ (Interview) 3. แบบทดสอบ (Test) 4. มาตรประมาณค่า (Rating Scale)

  3. แบบสังเกต แบบสังเกต (Observation form) เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกพฤติกรรมของผู้ถูกวัด โดยผู้วัดจะเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมตามรายการที่ต้องการวัดแล้วบันทึกผลลงในแบบสังเกตโดยไม่ให้ผู้สังเกตรู้ตัว แบบสังเกตมักใช้วัดเจตคติ ค่านิยม คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม ข้อดีของการใช้แบบสังเกตคือ ได้ข้อมูลที่ตรงกับความจริงมากที่สุด เพราะได้เห็นกิริยาอาการ ท่าทางพฤติกรรม การพูด และความรู้สึกของผู้ถูกวัดโดยตรง ข้อจำจัด คือต้องใช้เวลาในการสังเกตนาน หากผู้สังเกตมีจำนวนมากและอยู่กระจายกันไปตามที่ต่างๆ จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสังเกตมาก

  4. แบบสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต แบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. แบบมีโครงสร้าง (Structured observation form) เป็นแบบสังเกตที่สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ ที่นิยมใช้มี 2 แบบ คือ 1.1แบบสังเกตแบบตรวจสอบรายการ (checklist ) เป็นแบบสังเกตที่มีรายการพฤติกรรมที่จะสังเกตและผู้สังเกตจะบันทึกผลการสังเกตตามรายการพฤติกรรมว่ามีหรือไม่มีพฤติกรรมนั้น

  5. แบบสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต (ต่อ) 1.2 แบบสังเกตแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) เป็นแบบสังเกตที่มีรายการพฤติกรรมที่จะสังเกตและกำหนดระดับความมากน้อยของพฤติกรรม ผู้สังเกตจะประเมินว่าพฤติกรรมที่สังเกตแต่ละรายการมีระดับความมากน้อยอยู่ในระดับใด

  6. แบบสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต (ต่อ) 2. แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured observation form) เป็นแบบสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีแต่หัวข้อในการสังเกต ไม่มีรายละเอียด ผู้วิจัยต้องมีความละเอียดในการสังเกต การแปลความความหมายพฤติกรรมที่แสดงออกและจดบันทึกข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตแบบระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Record)

  7. แบบสังเกต วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบการสังเกต แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) เป็นวิธีการสังเกตเข้าไปร่วมอยู่ในหมู่หรือกลุ่มบุคคลที่จะสังเกตเป็นสมาชิกหนึ่งของกลุ่มและทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ต้องไม่ให้ผู้ถูกสังเกตทราบ เช่น ผู้สังเกตเข้าไปเป็นสมาชิกของหมู่บ้าน อาศัยอยู่กับชาวบ้าน เพื่อสังเกตชีวิตประจำวัน ขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้านนั้น เป็นต้น 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation)เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตวงนอกกลุ่มผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในกิจกรรมของกลุ่มที่กำลังทำอยู่ การสังเกตแบบนี้อาจทำได้ 2 กรณี คือ การสังเกตแบบมีเค้าโครงล่วงหน้า และการสังเกตแบบไม่มีเค้าโครงล่วงหน้า

  8. แบบสังเกต หลักการสังเกตมีหลักปฏิบัติ ดังนี้ 1) การวางแผนการสังเกต 2) วิธีการสังเกต 3) ระยะเวลาในการสังเกต 4) วิธีการบันทึกการสังเกต

  9. แบบสังเกต ขั้นตอนการสร้างแบบสังเกต 1) ศึกษาทฤษฎี 2) นิยามเชิงปฏิบัติการ 3) ระบุตัวชี้วัด 4) กำหนดรายการพฤติกรรม 5) เลือกแบบ 6) นำไปทดลองใช้

  10. แบบสังเกต ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดีของการใช้แบบสังเกตคือ ได้ข้อมูลที่ตรงกับความจริงมากที่สุด เพราะได้เห็นกิริยาอาการ ท่าทางพฤติกรรม การพูด รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ถูกวัดโดยตรง ข้อจำกัด ของการใช้แบบสังเกตคือต้องใช้เวลาในการสังเกตนาน หากผู้สังเกตมีจำนวนมากและอยู่กระจายกันไปตามที่ต่างๆ จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสังเกตมาก

  11. แบบสัมภาษณ์ เป็นชุดของคำถามที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้สัมภาษณ์ถามและใช้จดบันทึกคำตอบของการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์เป็นผู้บันทึกคำตอบที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์

  12. ประเภทของแบบสัมภาษณ์ 1. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview form) 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview form) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  13. การสร้างแบบสัมภาษณ์ 1. ศึกษาทฤษฎี หลักการ ตัวแปร หรือประเด็นสำคัญที่ต้องการทราบข้อมูล 2. สร้างข้อคำถามให้สัมพันธ์กับประเด็นหรือคำสำคัญที่ต้องการทราบข้อมูล 3. นำแบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบข้อคำถามไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา 4. นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบความตรงทดลองใช้กับผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียง

  14. คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ที่ดีคุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ที่ดี 1. มีมนุษยสัมพันธ์ 2. มีปฏิภาณไหวพริบ ไวต่อความรู้สึก 3. เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขัดจังหวะในการตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ 4. มีความละเอียดรอบคอบ 5. ไม่ลำเอียง หรือมีอคติ 6. มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่สัมภาษณ์ หรือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องสัมภาษณ์มาก่อน

  15. หลักในการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ โดยขึ้นอยู่กับความชำนาญในการสัมภาษณ์ของผู้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการดึงความคิดเห็นของผู้ถูกสัมภาษณ์ ถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ชอบหน้าผู้สัมภาษณ์ก็จะทำให้ได้ข้อมูลไม่ตรง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้สัมภาษณ์ทำตัวผู้ถูกสัมภาษณ์นับถือก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

  16. ขั้นตอนการสัมภาษณ์ 1. การเตรียมการสัมภาษณ์ 2. การเริ่มสัมภาษณ์3. การสัมภาษณ์4. การบันทึกข้อมูลและการสิ้นสุดการสัมภาษณ์

  17. ข้อดีของการสัมภาษณ์ 1. สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาในการอ่าน หรือการเขียน 2. ทำให้ได้ข้อมูลโดยตรงจากแหล่งข้อมูลประเภทบุคคล 3. ได้ข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนตอบโดยตรง 4. ระหว่างการสัมภาษณ์สามารถสังเกตความจริงใจในการตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์จากกิริยา ท่าทางได้ 5. ระหว่างการสัมภาษณ์ ตรวจสอบคำตอบได้และสามารถหาข้อมูลได้ลึกขึ้นเมื่อเกิดข้อสงสัยในคำตอบ

  18. ข้อด้อยของการสัมภาษณ์ข้อด้อยของการสัมภาษณ์ 1. ต้องใช้ทรัพยากรมากทั้งเงิน คน และเวลา 2. ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้สัมภาษณ์ ข้อมูลจะเชื่อถือได้น้อย หรืออาจไม่ได้ข้อมูลเลย 3. คุณภาพข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้สัมภาษณ์

  19. แบบทดสอบ • เป็นข้อคำถามแบบสถานการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นปัญหาเชิงคุณธรรม จริยธรรม • กระตุ้นให้ผู้ถูกวัดจิตพิสัยแสดงความรู้สึกออกมา • คำตอบจะไม่มีถูกหรือผิด พิจารณาวัดว่าผู้ตอบมีคุณธรรม จริยธรรมในระดับใดตามทฤษฎีที่ใช้วัด • มีตัวเลือก 3 - 5 ตัวเลือก และมีค่าคะแนนในแต่ละตัวเลือก

  20. หลักการสร้างแบบทดสอบ สถานการณ์ • ควรเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริง • ควรกำหนดความเข้มข้นของสถานการณ์มีในระดับปานกลาง • ควรเลือกสถานการณ์ที่ไม่สร้างความเครียดให้กับผู้สอบมากเกินไป • ควรมีข้อมูลกำหนดไว้เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ

  21. หลักการสร้างแบบทดสอบ ตัวเลือก • พิจารณาว่าในสถานการณ์จริง บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใดบ้าง • ควรเน้นข้อความที่แสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่สะท้อนถึงพฤติกรรมหรือเป็นตัวแทนในแต่ละระดับพฤติกรรมด้านความรู้สึก

  22. หลักการสร้างแบบทดสอบ 1. คำตอบที่ได้มีความเป็นปรนัย เป็นไปตามทฤษฎีที่รองรับ ไม่มีอคติในการวัด 2.กระตุ้นความรู้สึก หรือเร้าใจผู้ตอบ เพราะได้อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ได้มีโอกาสสร้างจินตนาการ

  23. ข้อจำกัดของแบบทดสอบ 1.ผู้ตอบอาจตอบตามคำตอบที่ควรจะเป็นโดยใช้ความรู้ทางสมองในการตอบ ไม่ได้ตอบตามความรู้สึกหรือสิ่งที่เป็นจริงของตนเอง 2. สร้างสถานการณ์ และตัวเลือก ได้ยาก รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์ในการให้คะแนน ทำได้ยาก

  24. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสร้างเครื่องมือ 2. ศึกษาทฤษฎีเนื้อหาสาระแนวความคิดผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะที่จะประเมิน 3. ศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือในแบบที่จะสร้างและเครื่องมือของคนอื่นๆที่วัดในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน 4. สร้างนิยามปฏิบัติการและกำหนดประเภทย่อยหรือกลุ่มพฤติกรรมหรือกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่จะวัดและจำนวนข้อในแต่ละประเภทย่อยนั้น

  25. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ 5. เขียนสถานการณ์ตามจำนวนข้อที่กำหนดไว้ 6. เขียนตัวเลือก 7. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมความเที่ยงตรงของแต่ละข้อ และวิพากษ์ 8. ปรับปรุงและนำไปทดลองใช้หาคุณภาพรายข้อ 9. คัดเลือกแบบที่มีคุณภาพหรือปรับปรุงข้อที่ยังไม่สมบูรณ์ 10. สร้างเกณฑ์ในการให้คะแนนพร้อมทั้งเขียนคู่มือการใช้เครื่องมือ

  26. ตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบ การวัดคุณธรรมความกตัญญูกตเวที จุดมุ่งหมาย เพื่อวัดคุณธรรมความกตัญญูกตเวทีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา นิยามเชิงทฤษฎี ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้คุณ และ การตอบแทนบุญคุณ ให้แก่ผู้ที่ทำประโยชน์แก่เรา

  27. ตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบ นิยามเชิงปฏิบัติการ ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การแสดงออกถึงความซาบซึ้ง ในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณหรือสิ่งอันมีคุณต่อเรา และแสดงออกถึงความสํานึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทําด้วยการให้สิ่งของหรือการปฏิบัติอย่างนอบน้อม

  28. ตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบ ตัวอย่างตัวบ่งชี้ 1. แสดงออกถึงความซาบซึ้งในบุญคุณต่อผู้มีพระคุณ 2. แสดงออกถึงการตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณ 3. ปฏิบัติต่อผู้มีพระคุณด้วยความซื่อตรง ไม่มีลับลมคมใน หรือสิ่งใดแอบแฝง 4. ไม่ละทิ้งผู้มีพระคุณในคราวที่ผู้มีพระคุณเดือดร้อน ลำบาก 5. เคารพ รักใคร่ ไว้ใจ และเชื่อถือในผู้มีพระคุณที่เป็นคนดี 6. ไม่ทำตนให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล และผู้มีพระคุณ

  29. ตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบ ตัวอย่างพฤติกรรม 1. พูดจากับผู้มีพระคุณอย่างนอบน้อมทั้งต่อหน้าและลับหลัง 2. กล่าวถึงคุณงามความดีของผู้มีพระคุณ 3. อาสาทำงานให้กับผู้มีพระคุณอย่างเต็มใจ 4. ไม่ละทิ้งผู้มีพระคุณในคราวที่ผู้มีพระคุณเดือดร้อน ลำบาก 5. เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้มีพระคุณ 6. ไม่ทำตนให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล และผู้มีพระคุณ

  30. ตัวอย่างแบบทดสอบ ความกตัญญูกตเวที (0) ในวันหยุดก้อยและเพื่อน ๆ จะนัดกันไปเที่ยวเสมอ วันหนึ่งแม่ป่วย แต่มีพ่อดูแลอยู่แล้ว นักเรียนเป็นก้อยจะทำอย่างไร ก. ไม่ไป เพราะลูกที่ดีต้องคอยดูแลพ่อแม่ขณะที่เจ็บป่วย (4 คะแนน) ข. ไม่ไป เพราะกลัวพ่อดุที่ไม่ดูแลแม่ (3 คะแนน) ค. ไป เพราะ แม่มีพ่อดูแลแล้ว คงไม่เป็นอะไรมาก (2 คะแนน) ง. ไป เพราะ เพื่อน ๆ นัดกันแล้ว จะไม่เป็นไปตามนัด (1 คะแนน)

  31. เครื่องมือวัดคุณลักษณะแบบมาตรประมาณค่า • มาตรวัดของเทอร์สโตน • มาตรวัดของลิเคิร์ท • มาตรวัดของออสกูด • มาตรวัดของกัตแมน

  32. การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ ของเทอร์สโตน (Thurstone) แนวคิดและความเป็นมา ใน ค.ศ.1929 เทอร์สโตนได้เสนอวิธีการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่เรียกว่าเจตคติ โดยมีแนวคิดที่จะวัดในระดับการวัดแบบช่วง (Equal Appearing Scales) 

  33. หลักการ ใช้การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินค่าของความคิดเห็นที่มีต่อวัตถุ สิ่งของหรือสถานการณ์ เป็นค่าต่อเนื่องจากไม่เห็นด้วยมากที่สุดจนถึงเห็นด้วยมากที่สุดโดยแบ่งช่วงความรู้สึกแบ่งเป็น 11 ช่วง

  34. ตัวอย่างมาตรวัด คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกข้อความตามความรู้สึกที่แท้จริงของนักเรียน จำนวน 3 ข้อความ 1. ข้าพเจ้าชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากกว่าวิชาอื่นๆ 2. ข้าพเจ้าจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์เมื่อถูกบังคับ 3. ข้าพเจ้าชอบซักถามเมื่อเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจระหว่างเวลาที่ครูสอน 4. ข้าพเจ้ามักชอบชวนเพื่อนทำการบ้านคณิตศาสตร์ 5. …………………………… 6. …………………………… ฯลฯ

  35. ขั้นตอนในการสร้างมาตรวัดขั้นตอนในการสร้างมาตรวัด 1. รวบรวมข้อความ 2. เตรียมข้อความเพื่อประเมิน 3. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา 4. คำนวณค่ามาตรา 5. คัดเลือกข้อความขั้นสุดท้ายเพื่อนำไปใช้วัด 6. การตอบและการให้คะแนน 7. หาคุณภาพ

  36. ลักษณะของมาตรวัด 1. ไม่เป็นข้อเท็จจริง ควรสะท้อนความรู้สึกของบุคคล 2. เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน 3. ใช้ภาษาง่ายชัดเจนและตรงประเด็น 4. ความหมายเดียว ไม่หลายแง่ หลายมุม 5. ไม่ใช้คำคลุมเครือ เช่น ทั้งหมด เสมอ ไม่มี ไม่เคย เป็นต้น 6. ไม่ใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ 7. หลีกเลี่ยงข้อความทุกคนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

  37. ตัวอย่างมาตรวัด 1. ฉันรู้สึกสบายใจเมื่อเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 2. วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อ 3. วิชาวิทยาศาสตร์ทำให้รู้วิธีการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ 4. วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนสนุก 5. ถ้าให้เลือกได้ฉันไม่เลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

  38. การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะของลิเคิร์ท(Likert)การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะของลิเคิร์ท(Likert)

  39. มาตรวัดของลิเคิร์ท(Likert)มาตรวัดของลิเคิร์ท(Likert) ลิเคิร์ท (Likert) ได้พัฒนาแบบวัดเจตคติที่ใช้วิธีการรวมคะแนน (Method of Summated Ratings) ใน ค.ศ. 1932 ต่อมาได้รับความนิยมในการนำไปใช้วัดเจตคติของบุคคล เนื่องจากมีวิธีการสร้างง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มผู้ตัดสินในการกำหนดค่าประจำข้อความแต่ละข้อเหมือนวิธีการของเทอร์สโตน คะแนนจากการรวมค่าคะแนนคำตอบที่ผู้ตอบเลือกในแต่ละข้อ จะแสดงถึงเจตคติของบุคคลนั้น

  40. ตัวอย่างเครื่องมือ คำชี้แจง ให้พิจารณาข้อความ แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในช่องว่าง เป็นจริงมากที่สุด เป็นจริง เฉยๆ เป็นจริงน้อย เป็นจริงน้อยที่สุด ที่ตรงกับความรู้สึกหรือพฤติกรรมของนักเรียนมากที่สุด

  41. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ • ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือตามวิธีของลิเคิร์ท ดังนี้ • กำหนดเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการวัด • เขียนข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วัด • ตรวจสอบข้อความ • กำหนดคำตอบและน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกและข้อความ • ทดลองคุณภาพเบื้องต้น

  42. ลักษณะข้อความ - ข้อความควรมีความหมายตั้งแต่ทางบวกไปจนถึงทางลบ - มีความชัดเจน สั้น กะทัดรัด - ให้ข้อมูลพอที่จะตัดสินได้ได้ - ไม่เป็นปฏิเสธซ้อน - ข้อความเดียวควรมีความเชื่อเดียว เป็นปัจจุบัน

  43. ตัวอย่างข้อความ • ครูใช้สื่อที่ทันสมัย • ครูแม่นยำในเนื้อหา • ครูให้โอกาสซักถาม • เนื้อหาวิชามีประโยชน์ควรค่าแก่การศึกษา • ครูแทรกคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน

  44. การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะของออสกูด (Osgood) เป็นมาตราวัดแบบนัยจำแนก (SDS) โดยใช้คำที่มีความหมายแทนประโยคยาวๆ เช่น ครูเป็นอาชีพที่น่ายกย่อง จะแทนด้วยคำว่า ยกย่อง เป็นต้น

  45. เป้าเจตคติ (มโนภาพ) มี 3 องค์ประกอบคือ 1. องค์ประกอบด้านการประเมิน 2. องค์ประกอบด้านพลังอำนาจ 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรม มาตรวัดของออสกูด (Osgood)

  46. มโนภาพ (Concept) 1. องค์ประกอบด้านการประเมิน (Evaluative factor) จะแสดงออกถึงคุณค่า เหมาะที่จะวัดเจตคติมากที่สุด ลักษณะคำ เช่น ดี – เลว, สุข – ทุกข์ เป็นต้น 2. องค์ประกอบด้านพลังอำนาจ (Potency factor) จะแสดงให้เห็นถึงอำนาจ ลักษณะคำ เช่น หนัก – เบา, กล้า – กลัว เป็นต้น 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรม (Activity factor) จะแสดงออกถึงกิริยา อาการ ลักษณะคำ เช่น ขี้เกียจ – ขยัน, ช้า – เร็ว เป็นต้น

  47. วิธีการสร้างมาตรวัดของออสกูดวิธีการสร้างมาตรวัดของออสกูด 1. ศึกษาคำตรงข้ามของมโนภาพต่าง ๆ พร้อมหาความถี่ 2. เลือกเอาคำที่มีความหมายต่อผู้บรรยายมามากเป็นหลัก 3. นำคำที่มีความหมายที่เลือกมาเรียงเป็นคำตรงข้ามเป็นคู่ๆ 4. นำแต่ละคำตรงข้ามมาทำเป็นแบบมาตราวัดความรู้สึก ที่มีต่อเป้าเจตคติ 5. นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 6. ศึกษาคุณภาพของเครื่องมือ

  48. การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะของกัทแมน (Guttman) มาตรวัดประเภทนี้เป็นมาตรวัดในมิติเดียว ประกอบด้วยชุดข้อความที่ผู้ตอบลงความเห็นว่า“เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย” ชุดข้อความมีไม่มากข้อ อาจจะเพียง 4 - 5 ข้อขึ้นไป ชุดข้อความนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่อเนื่อง

  49. ตัวอย่างมาตรวัดของ Guttman คำชี้แจง ให้อ่านข้อความที่แสดงความรู้สึกต่ออาชีพต่อไปนี้ แล้วพิจารณาว่าถ้าท่านเห็นด้วยกับข้อความข้อใดโปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความนั้น ถ้าท่านไม่เห็นด้วยโปรดทำเครื่องหมาย X หน้าข้อความนั้น ……………………1. อาชีพครูช่วยสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน …………………… 2. อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความเสียสละ …………………… 3. อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง …………………… 4. ผู้ประกอบอาชีพครูเป็นผู้มีความคิดริเริ่มดี

  50. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือตามวิธีของ Guttman 1. กำหนดเป้าเจตคติ 2. เขียนข้อความที่แสดงความรู้สึกต่อเป้าเจตคติ โดยพยายามลดหลั่นความเข้มข้นของความรู้สึก 3. หาคุณภาพและคัดเลือกข้อที่เป็นไปตามทฤษฎี ไม่เกิน 20 ข้อ 4. นำแบบวัดไปใช้วัดเจตคติและหาค่าสัมประสิทธิ์R (Reproducibility)

More Related