1 / 38

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย สารเคมี

Material Safety Data Sheet(MSDS). หรือ. Safety Data Sheet (SDS). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย สารเคมี. MSDS หรือ SDS หมายถึง. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ที่แส ดงข้อมูล เฉพาะ ของ สารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับ ลักษณะความ เป็น อันตรายของสารเคมี องค์ประกอบของสารเคมี พิษ วิธีใช้ การเก็บ การกำจัดและ

Download Presentation

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย สารเคมี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Material Safety Data Sheet(MSDS) หรือ Safety Data Sheet (SDS) เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี

  2. MSDSหรือ SDS หมายถึง... เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ที่แสดงข้อมูลเฉพาะ ของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตรายของสารเคมี องค์ประกอบของสารเคมี พิษ วิธีใช้ การเก็บ การกำจัดและ การจัดการอื่นๆ ซึ่งจะต้องมีประจำไว้ในห้องปฏิบัติการทุกห้องเพื่อ ความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการโดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

  3. ข้อมูลที่อยู่ใน MSDS หรือ SDS ของสารเคมี ประกอบด้วย 16 หัวข้อ 1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย 2. องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารเคมี 3. ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี 4. มาตรการปฐมพยาบาล 5. มาตรการการผจญเพลิง 6. มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารเคมีหกรั่วไหล 7. ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา 8. การควบคุมการสัมผัสสาร/การป้องกันส่วนบุคคล

  4. ข้อมูลที่อยู่ใน MSDS หรือ SDS ของสารเคมี(ต่อ) 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ 10. ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา 11. ข้อมูลทางพิษวิทยา 12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์ 13. มาตรการการกำจัด 14. ข้อมูลการขนส่ง 15. ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดและพระราชบัญญัติ 16. ข้อมูลอื่นๆ

  5. ตัวอย่างเอกสาร MSDS ของ Sulfuric acid

  6. 1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ชื่อเคมี IUPAC : Sulfuric acid ชื่อเคมีทั่วไป : Sulfuric acid ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า : Kyhochem (pty) Limited แหล่งข้อมูลอื่นๆ : ModderfonteinGanteng 1645

  7. 2. องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารเคมี ชื่อพ้องอื่นๆ :Oil of vitriol; BOU; Dipping Acid; Vitriol Brown Oil; Sulfuric; Acid Mist; Hydrogen sulfate; Sulfur acid; Sulfuricacid, spent; สูตรโมเลกุล : สูตรโครงสร้าง :

  8. 2. องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารเคมี(ต่อ) รหัส CAS NO. : 7664-93-9 *CAS NO. เป็นชุดตัวเลขที่กำหนดขึ้นโดย Chemical Abstracts Service of the American Chemical Society สำหรับใช้ชี้บ่งชนิดของสารเคมีอันตรายที่ กำหนดในกฎหมาย Toxic Substance Control Act (TSCA) รหัส UN/ID NO. : 1830 *รหัส UN/ID NO. เป็นรหัสตัวเลข 4 หลัก เพื่อชี้บ่งชนิดของสารเคมี (Identification Number) ที่ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และกรมการขนส่งแห่งสหรัฐอเมริกา (Department of Transportation ; DOT)

  9. 2. องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารเคมี(ต่อ) รหัส EC NO. : 231-639-5 *รหัส EC NO.เป็นระบบรหัสสารเคมี 7 หลัก ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มประชาคมยุโรป รหัส IMO : *รหัส IMO คือสัญลักษณ์รูปภาพที่ใช้เพื่อบอกความเป็นอันตรายของสารเคมี

  10. 3. ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี อันตรายต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect) สัมผัสทางหายใจ : การหายใจเข้าไป สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนและก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการน้ำท่วมปอด เจ็บคอ ไอ หายใจติดขัด และหายใจถี่รัว การหายใจเอาสารที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้ สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นแผลไหม้ และปวดแสบปวดร้อน

  11. 3. ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี(ต่อ) กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือการกินเข้าไป ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่มีผลต่อเนื้อเยื่อ สัมผัสถูกตา : การสัมผัสถูกตา สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้ตาแดง ปวดตา และสายตาพร่ามัว ความผิดปกติ,อื่น ๆ :สารนี้มีผลทำลายฟัน ระบบหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

  12. 4. มาตรการปฐมพยาบาล หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย รักษาร่างกายผู้ป่วยให้อบอุ่นและอยู่นิ่ง นำส่งไปพบแพทย์ กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ผู้ป่วยบ้วนล้างปากด้วยน้ำ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 200 - 300 มิลลิลิตร นำส่ง ไปพบแพทย์

  13. 4. มาตรการปฐมพยาบาล(ต่อ) สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที นำส่งไปพบแพทย์ สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก อย่างน้อย 15 นาที นำส่งไปพบแพทย์ อื่น ๆ: การรักษาอื่น ๆ อยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง อาการเกี่ยวกับปอดบวม อักเสบ บางทีอาจจะมีขึ้น

  14. 5.มาตรการการผจญเพลิง จุดวาบไฟ(ºซ.) : - *จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอเพียงพอ ต่อการเริ่มต้นลุกไหม้ขึ้นเมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ จุดลุกติดไฟได้เอง(ºซ.) : - *จุดลุกติดไฟได้เอง คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ ทำให้สารเคมีลุกติดไฟขึ้นเอง

  15. 5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ)5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ) ค่า LFL % : - ค่าUFL % : - * ขีดจำกัดความไวไฟ ช่วงของส่วนผสมของไอระเหย/ก๊าซกับอากาศที่สามารถ ลุกติดไฟได้ระหว่างค่าขีดจำกัดบน (Upper Flammable Limit ; UFL) และ ค่าขีดจำกัดล่าง (Lower Flammable Limit ; LFL)

  16. 5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ)5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ) ค่า LEL % : - ค่า UEL % : - *ขีดจำกัดการระเบิดได้ช่วงของส่วนผสมของไอระเหย/ก๊าซกับอากาศที่สามารถระเบิดได้ระหว่างค่าขีดจำกัดบน (Upper Explosion Limit ;UEL) และค่าขีดจำกัดล่าง (Lower Explosion Limit ; LEL)

  17. 5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ)5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ) NFPA Code *ดัชนี NFPA คือ ดัชนีชี้บ่งอันตรายจาก สารเคมีต่อสุขภาพอนามัย ความไวไฟ การเกิดปฏิกิริยา โดยการกำหนดเป็นระดับตัวเลข 0-4 อยู่บน สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 4 ชิ้น เรียงกัน

  18. 5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ)5.มาตรการการผจญเพลิง(ต่อ) • สารนี้ไม่ไวไฟ • สารดับเพลิง ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ • ผงเคมีแห้ง น้ำ • สารเคมีอันตรายจากการเผาไหม้ : ออกไซด์ของกำมะถัน • สารนี้เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ • และการระเบิดได้

  19. 6. มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารเคมีหกรั่วไหล • วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดการหกรั่วไหลให้กั้นบริเวณสารหก • แยกจากบริเวณอื่น • ให้ดูดซับสารที่หกรั่วไหลด้วยสารอัลคาไลด์ เช่น โซดาแอ๊ซ • สารอนินทรีย์ หรือดิน • เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด • ล้างบริเวณสารหกรั่วไหล หลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว • ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ • และแหล่งน้ำอื่นๆ • - ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม

  20. 7. ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด • เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง • เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ • เก็บห่างจากแสง ไอน้ำ เบสแก่ สารประกอบอินทรีย์ • เก็บภาชนะบรรจุสารไว้ในบริเวณเก็บสารเคมีที่เหมาะสม • - หลีกเลี่ยงการหายใจและการสัมผัสถูกผิวหนังและตา

  21. 8. การควบคุมการสัมผัสสาร/การป้องกันส่วนบุคคล • ถุงมือ • หน้ากากป้องกันการหายใจ • ชุดป้องกันสารเคมี (เสื้อกราวน์) • แว่นตานิรภัย

  22. 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ สถานะ : ของเหลว สี : ไม่มีสี กลิ่น : ไม่มีกลิ่น นน.โมเลกุล : 98 จุดเดือด(ºซ.) : 276 จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(ºซ.) : -1 ถึง (-30) *จุดหลอมเหลวและจุดเดือด อุณหภูมิที่ทำให้สารเคมีเปลี่ยนสถานะจากของแข็งหลอมเป็นของเหลว หรือของเหลวเดือดกลายเป็นก๊าซ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายสูงกว่าได้

  23. 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ(ต่อ) ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) : 1.84 *ความถ่วงจำเพาะ คือ น้ำหนักของของเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่ปริมาตรเท่ากัน (น้ำ = 1) ถ้าสารเคมีนั้นไม่ละลายน้ำ และมีค่าความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) มากกว่า 1 สารเคมีนั้นก็จะจมน้ำแต่ถ้ามีค่าน้อยกว่า 1 สารเคมีนั้นจะลอยน้ำ

  24. 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ(ต่อ) ความดันไอ(มม.ปรอท) : 0.001 ที่ 20 องศาเซลเซียส *ความดันไอ คือแนวโน้มของของแข็งหรือของเหลวที่จะระเหย กลายเป็นไอในอากาศ ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) : 3.4 *ความหนาแน่นไอ คือน้ำหนักของไอระเหยหรือก๊าซเมื่อเทียบกับอากาศในปริมาตรที่เท่ากัน (อากาศ = 1)

  25. 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ(ต่อ) ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) : ละลายน้ำได้ ที่ 20 องศาเซลเซียส *ความสามารถในการละลายน้ำได้ คือน้ำหนักของสารเคมีที่สามารถละลายในน้ำได้ ต่อหน่วยปริมาตร

  26. 9. สมบัติทางเคมีและกายภาพ(ต่อ) แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm = 4.07 มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 = 0.25 ppmที่ 25 องศาเซลเซียส *แฟคเตอร์แปลงหน่วย ความเข้มข้นของก๊าซและไอระเหยสารเคมีมักจะกำหนดไว้เป็นหน่วยส่วนในล้านส่วน (ppm) เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งานให้สามารถแปลงหน่วยไปเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3) และจาก mg/m3เป็น ppmที่อุณหภูมิปกติ 25 องศาเซลเซียส โดยกำหนดให้สาร 1 โมล มีปริมาตร = 24.45 ลิตร

  27. 10. ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา • สารที่เข้ากันไม่ได้ : เบสแก่ น้ำ สารอินทรีย์ โลหะอัลคาไลน์ • สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : เมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะ • จะเกิดออกไซด์ ของกำมะถันและไฮโดรเจน • - สารนี้ทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ทำให้เกิดเพลิงไหม้และเกิดการระเบิด

  28. 11. ข้อมูลทางพิษวิทยา LD50(มก./กก.) :2140 ( หนู) *LD50หมายถึง ปริมาณ (dose) ของสารเคมีซึ่งคาดว่าจะทำให้สัตว์ทดลองที่ได้รับสารนั้นเพียงครั้งเดียว ตายไปเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (50 %)ของจำนวนเริ่มต้น IDLH(ppm) : 0.25 *IDLHค่าความเข้มข้นของสารเคมีสูงสุดเมื่อเกิดความบกพร่องจากอุปกรณ์ป้องกันการหายใจแล้วสามารถอพยพออกจากบริเวณนั้นภายใน 30 นาที โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันการหายใจและไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรงหรือมีผลต่อสุขภาพอนามัย

  29. 11. ข้อมูลทางพิษวิทยา(ต่อ) รหัส RTECS : WS 5600000 *RTECSเป็นรหัสชี้บ่งชนิดของสารเคมีในฐานข้อมูลพิษวิทยา PEL-TWA(ppm) : 3.75 *PELค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงานที่อนุญาตให้มีได้ตามกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา

  30. 11. ข้อมูลทางพิษวิทยา(ต่อ) TLV-TWA(ppm) : 0.25 TLV-STEL(ppm) : 0.75 TLV-C(ppm) : - *TLVค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน ที่พนักงานเกือบทั้งหมดสัมผัสสารเคมีดังกล่าวซ้ำ ๆ วันแล้ววันเล่าโดย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย

  31. 12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์ LC50(มก./ ม3) : 510 / 2 ชั่วโมง ( หนู) *LC50 ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศซึ่งคาดว่าจะทำให้สัตว์ทดลองที่สูดดมในระยะเวลาที่ระบุไว้ตายไปเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (50%) ของจำนวนเริ่มต้น

  32. 12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์(ต่อ) ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ผลกระทบทางชีวภาพ: เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ ส่งผลที่เป็นอันตรายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพีเอช เป็นพิษต่อปลาและสาหร่าย มีฤทธิ์กัดกร่อนแม้ในสภาพที่เจือจางไม่ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนทางชีวภาพ ทำให้แหล่งน้ำดื่มเป็นพิษถ้าปล่อยให้เข้าสู่ดินหรือน้ำในปริมาณมาก ควรทำให้เป็นกลางในระบบบำบัดนำเสีย ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ, น้ำเสีย หรือดิน

  33. 13. มาตรการการกำจัด • ทำให้เป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจางหรือ • โดยเทลงบนหินปูนหรือโซเดียมคาร์บอเนต • - ติดต่อบริษัทที่มีใบรับอนุญาตกำจัดอย่างถูกต้อง

  34. 14. ข้อมูลการขนส่ง ไม่ควรขนส่งมาพร้อมกับสารอันตราย สารที่เข้ากันกับกรดซัลฟิวริกไม่ได้ เช่น Hydrogent Peroxide เพราะอาจเกิดการระเบิดขณะขนส่งได้

  35. 15. ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดและพระราชบัญญัติ สารเคมีอันตราย พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ppm) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง : 0.25 พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 : ชนิดที่ 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

  36. 16. ข้อมูลอื่นๆ เอกสารอ้างอิง 1. "Chemical Safety Sheet ,Samsom Chemical Publisher ,1991 ,หน้า 838" 2. "NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards.US.DHHS ,1990 ,หน้า 290" 3. "ITP. SAX'S Dangerous Properties of Industrial Materials ,1996 ,หน้า 3046" 4. "สอป.มาตรฐานสารเคมีในอากาศและดัชนีวัดทางชีวภาพ ,นำอักษรการพิมพ์ ,2543 ,หน้า 53" 5." ACGIH. 2000 TLVs and BEIs Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents ,and Biological Exposure Indices. Ohio.,2000 ,หน้า 53"

  37. จบการนำเสนอ

More Related