320 likes | 676 Views
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ตามมาตรฐานแรงงาน ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO). บัญญัติ ศิริปรีชา กลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน. หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงาน ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO).
E N D
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) บัญญัติ ศิริปรีชา กลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประวัติผู้บรรยาย นายบัญญัติ ศิริปรีชา การศึกษา - การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เอกภาษาอังกฤษ มศว. - รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาการระหว่างประเทศและการทูต ม.ธรรมศาสตร์ การงาน - อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ (8 ปี) - อาจารย์พิเศษป.ตรี-โท ที่ ม.รามคำแหง ม.ธุรกิจบัณฑิต - สำนักงาน ป.ป.ส. (5 ปี) - สำนักงานประกันสังคม (11 ปี) - ที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) สนร. ณ กรุงริยาด (2546-2550) - โอนมารับราชการที่ กรท. สพม. กสร. เมื่อ 18 มิ.ย. 50
การประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาสังคม (World Social Summit) เมื่อปี 2538มีมติให้ประเทศต่าง ๆ ส่งเสริมการปฏิบัติด้านแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การประชุมระดับรัฐมนตรี WTOที่สิงคโปร์ (ธันวาคม 2539) มีมติให้ ILOเป็นองค์กรผู้ทรงอำนาจเพียงองค์กรเดียวในการผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน ILOมีพันธะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนในการรณรงค์ผลักดันให้ประเทศสมาชิกมีการปฏิบัติตามและให้สัตยาบันอนุสัญญา โดยเฉพาะอนุสัญญาที่เป็นมาตรฐานแรงงานขั้นพื้นฐานหรืออนุสัญญาหลัก (Core Conventions)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การประชุม International Labour Conference (ILC) สมัยที่ 86 ที่ Geneva (มิถุนายน 2541) ได้รับรอง “ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน ในการทำงาน”(Declaration on the Principles and FundamentalRights at Work)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน *มีสาระหาครอบคลุมอนุสัญญาหลัก (Fundamental or Core Conventions) 8 ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาให้การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ที่คนทำงานทุกคนควรได้รับ
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • เป้าหมายของปฏิญญา 1) ให้ประเทศสมาชิกเคารพและปฏิบัติตามสิทธิขั้นพื้นฐานในการ ทำงาน ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนด้วย 2) ให้ ILO เป็นองค์กรทรงอำนาจรับผิดชอบด้านมาตรฐานแรงงาน 3) ให้ ILO ช่วยเหลือให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการและ ให้องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ ส่งเสริมหลักการนี้ด้วย 4) ไม่นำมาใช้เพื่อกีดกันและตั้งเงื่อนไขเพื่อความได้เปรียบเสียเปรียบ ทางการค้า
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อนุสัญญาหลัก 8 ฉบับ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1. เสรีภาพในการสมาคมและการยอมรับสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง เป็นสิทธิพื้นฐานที่จะไปสู่การคุ้มครองสิทธิด้านอื่นๆ เพื่อนำมาซึ่งความก้าวหน้าทางสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน ความเสมอภาคและการต่อต้านความยากจน ……อนุสัญญาพื้นฐานในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 2 ฉบับ คือ
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) 1. C 87ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ค.ศ. 1948(Freedom of Association and Protection of the Right to Organise) 2. C98ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. 1949 (Right to Organise and Collective Bargaining )
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กลุ่ม 2การขจัดแรงงานบังคับหรือการเกณฑ์แรงงานในทุกรูปแบบ “แรงงานบังคับ” หมายถึง งานหรือบริการใด ๆ ที่ได้มาภายใต้การขู่บังคับ ลงโทษ โดยที่บุคคลผู้นั้นมิได้สมัครใจ ประกอบด้วย อนุสัญญา 2 ฉบับ คือ 1. C29แรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 (Forced Labour Convention) 2. C105 การยกเลิกแรงงานบังคับ ค.ศ. 1957 (Abolition of Forced Labour )
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กลุ่ม 3 . การขจัดการใช้แรงงานเด็ก…การคุ้มครองแรงงานเด็กจาก การแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและมิให้เด็กต้องทำงานอันตราย ประกอบด้วย อนุสัญญา 2 ฉบับ คือ 1. C138อายุขั้นต่ำ ค.ศ. 1973 (Minimum Age for Admission to Employment) 2. C182ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของแรงงานเด็ก ค.ศ. 1999 (Prohibition and Immediate Action for the Elimination of the Worst Forms of Child Labour)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กลุ่ม 4 การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ “การเลือกปฏิบัติ” หมายถึง ความแตกต่างใด ๆ การกีดกัน หรือการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ด้วยเหตุผลทาง เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ฯลฯ 1. C100ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่ากัน ค.ศ. 1951(Equal Remuneration for Men and Women Workers for Work of Equal Value) 2. C111ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและอาชีพ) ค.ศ. 1958 (Discrimination (Employment and Occupation) Convention)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • การติดตามผลการปฏิบัติตามปฏิญญา 1) รายงานประจำปี (Annual Report) ประเทศสมาชิก รายงานสถานการณ์และพัฒนาการของแต่ละประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาพื้นฐาน 2) รายงานระดับโลก (Global Report) การรายงานภาพรวมการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานพื้นฐานทั้งที่ให้สัตยาบันแล้ว และที่ยังไม่ให้สัตยาบันในแต่ละ เรื่องเป็นรอบ ๆ ไปในทุก 4 ปีจัดทำโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดย Governing Body (คณะประศาสน์การ) โดยอาศัยการประมวลข้อมูลจากรายงานประจำปี และรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญา
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • กิจกรรมที่ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการคือ 1) การจัดทำรายงานประจำปี(Annual Report) เพื่อ ILO จะได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณากำหนดการจัดให้ความร่วมมือทางวิชาการ 2) การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการปฏิบัติตามเนื้อหาของปฏิญญา 3) จัดหาแหล่งทุน และทรัพยากรในการดำเนินการ 4) การดำเนินการในทุกระดับในรูปไตรภาคี
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อนุสัญญาพื้นฐานที่ประเทศไทยให้สัตยาบันแล้ว ได้แก่ • C29แรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 • C105การยกเลิกแรงงานบังคับ ค.ศ. 1957 • C138อายุขั้นต่ำ ค.ศ. 1973 • C182รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของแรงงานเด็ก ค.ศ. 1999 • C100ค่าตอบแทนที่เท่ากัน ค.ศ. 1951
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อนุสัญญาพื้นฐานที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน 3 ฉบับ คือ • C87เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ค.ศ. 1948 (Freedom of Association and Protection of the Right to Organise) • C98สิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. 1949 (Right to Organise and Collective Bargaining) . C111การเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและอาชีพ) ค.ศ. 1958 Discrimination (Employment and Occupation) Convention
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • อุปสรรคในการให้สัตยาบันอนุสัญญาพื้นฐานของ ILO กสร.และ กระทรวงแรงงาน ต้องการแก้ปัญหาให้เรียบร้อยก่อนให้สัตยาบัน 1. ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ข้อดี ข้อเสีย และพันธะ 2. ประมวลความคิดเห็น-ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ในสังคม (นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสีย) 3. ปรับปรุง แก้ไข กฎหมายให้สอดคล้องกับข้อกำหนด ของอนุสัญญา 4. ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • ประเทศไทย ...จะไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาใดๆ จนกว่าการปฏิบัติและกฎหมายภายในประเทศจะมีความสอดคล้องอนุสัญญาเสียก่อน...เพราะเมื่อให้สัตยาบันแล้ว จะมีพันธะผูกพันอย่างน้อย 10 ปีจึงจะยกเลิกการให้สัตยาบันได้ • หลายประเทศ...ให้สัตยาบันโดยไม่มีความพร้อม เพราะมีเงื่อนไขอื่น ...ต้องตามแก้ไขภายหลัง ...ต้องตอบข้อซักถาม/ชี้แจงต่อ ILO ทุกปี ....ประเทศไทยไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น....
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ......กับเงื่อนไขประกอบการเจรจาการค้าเสรี ตามอุดมการณ์ของ ILOไม่ให้นำเรื่องแรงงานมาเป็นประเด็นขัดขวางการค้าระหว่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีเงื่อนไขจากประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า ทั้งในกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • กรอบการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement – FTA) ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กสร.คือ ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Social Sustainable Development)ซึ่งมองไปที่เรื่องที่มิได้เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของตัวสินค้าโดยตรง ได้แก่ - มาตรฐานแรงงาน (Labour Standards) - สิ่งแวดล้อม (Environment)
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ทุกหน่วยงานในสังกัด กสร. ต้องเตรียมตัว/ดำเนินการอะไรบ้างในปัจจุบัน • ท่านเข้ารับการอบรมครั้งนี้มีประโยชน์อะไร กับการงานและส่วนตัว?
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • มาตรฐานแรงงานเป็นเรื่อง...ใกล้ตัวมากขึ้น • มาตรฐานแรงงานเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ... 1. แรงงาน/ลูกจ้าง 2. นายจ้าง 3. ข้าราชการ/จนท. กสร. 4. กรม/สำนักงานในสังกัด รง. 5. กระทรวงต่างๆ อาทิ ก.อุตสาหกรรม ก.พาณิชย์ ก.เกษตรฯ ก.คมนาคม ฯลฯ
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การบูรณาการในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ตามหลักการประชาธิปไตย คือหนทางสู่ความสำเร็จ ของการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย ให้ทัดเทียมมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ
หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สพม. ยินดีให้ข้อมูลและตอบข็อซักถามของทุกท่าน ทั้งปัจจุบันและอนาคต และขอความร่วมมือท่านในการให้ข้อมูล เพื่อตอบชี้แจง ILO ในบางเรื่องบางกรณี ----------------------------------------------------------------------------------- สวัสดีครับ