2.3k likes | 8.66k Views
รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ วิชา วิทยาศาสตร์ ม. 2 เล่ม 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. ระบบร่างกายมนุษย์และสัตว์ ( ตอนที่ 1). ระบบหายใจ. ระบบร่างกายมนุษย์และสัตว์ (ตอนที่ 1). การจัดระบบในร่างกาย. ระบบขับถ่าย. ระบบย่อยอาหาร. ระบบไหลเวียนเลือด. การจัดระบบในร่างกาย.
E N D
รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ม.2 เล่ม 1
หน่วยการเรียนรู้ที่1 ระบบร่างกายมนุษย์และสัตว์ (ตอนที่ 1)
ระบบหายใจ ระบบร่างกายมนุษย์และสัตว์ (ตอนที่ 1) • การจัดระบบในร่างกาย • ระบบขับถ่าย • ระบบย่อยอาหาร • ระบบไหลเวียนเลือด
การจัดระบบในร่างกาย ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ประกอบขึ้นจากหน่วยที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ เซลล์ จำนวนมากมายหลายล้านเซลล์ เมื่อเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่ที่เหมือนกันมารวมกัน เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ เรียกว่า เนื้อเยื่อเมื่อเนื้อเยื่อต่างๆ รวมตัวกันจะเรียกว่า อวัยวะ และอวัยวะต่างๆ ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็น ระบบอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ อวัยวะ ระบบร่างกาย
ระดับเซลล์ ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป ตามหน้าที่การทำงาน ตัวอย่างเช่น เซลล์สืบพันธุ์ : ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น เซลล์กล้ามเนื้อ : หดตัวและคลายตัวเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว เซลล์ประสาท : ควบคุมการแสดงพฤติกรรมต่างๆ
ระดับเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อ คือ กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยเนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 4 ชนิด เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อประสาท
ระดับอวัยวะ อวัยวะเกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมตัวกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน 1 สมอง : ศูนย์กลางของความคิด 2 ปอด : ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซด์ให้กับร่างกาย 1 3 ไต : เป็นอวัยวะหนึ่งของการขับถ่าย ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด 2 5 3 6 7 4 กระดูก : เป็นส่วนหนึ่งของระบบค้ำจุน 5 หัวใจ : ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้หมุนเวียน ทั่วตามร่างกาย 4 6 กระเพาะอาหาร : ทำหน้าที่คลุกเคล้าและย่อยอาหาร 7 อวัยวะเพศ : ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
ระดับระบบร่างกาย • อวัยวะหลายชนิดทำงานประสานกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เรียกว่า ระบบร่างกาย • ระบบแต่ละระบบในร่างกายจะทำงานประสานสัมพันธ์กัน • เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้ • อย่างปกติ
การย่อยอาหาร • การย่อยอาหาร คือ การทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็ก จนสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ ซึ่งการย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี ดังนี้ • การย่อยเชิงกล : การบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน • การย่อยเชิงเคมี : ใช้เอนไซม์ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลง สารอาหาร อาหาร
การย่อยอาหารของสัตว์ การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร • สัตว์ที่ไม่มีระบบทางเดินอาหารที่ชัดเจน จะมีเพียงเซลล์ที่ทำหน้าที่ดักจับอาหาร • แล้วสร้างเป็นถุงอาหาร จากนั้นจะย่อยสลายอาหารด้วยเอนไซม์จากไลโซโซม ถุงอาหาร
ของเสีย อาหาร • จะมีโครงสร้างที่เป็นช่องเปิดเพื่อนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ ปาก และยังทำหน้าที่เป็นทวารหนัก ปล่อยเศษอาหารออกสู่ภายนอกด้วย • สัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ ไฮดรา และ • พลานาเรีย • จะใช้หนวดหรืองวงจับอาหารเข้าสู่ปาก • และผ่านเข้าไปในช่องว่างกลางลำตัวที่ ประกอบด้วยเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย • อาหาร โดยการสร้างเอนไซม์มาย่อยอาหารจนมีโมเลกุลขนาดเล็ก และลำเลียงเข้าสู่เซลล์ร่างกาย การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ ช่องว่าง กลางลำตัว
ทางเดินอาหารประกอบด้วย ปาก คอหอย ถุงพักอาหารหรือกระเพาะอาหาร ลำไส้ และทวารหนัก ซึ่งกากอาหารจะถูกขับออกทางช่องทวารหนัก • สัตว์ในกลุ่มนี้ เช่น ปลา แมลง เป็นต้น การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ ปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก ทวารหนัก ตับ ลำไส้เล็ก ปาก กระเพาะอาหาร ต่อมน้ำลาย
เกิดการย่อยเชิงกลจากการบดเคี้ยว และเกิดการย่อยเชิงเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส(amylase) ที่จะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้มีโมเลกุลขนาดเล็กลง แต่ร่างกายยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากโมเลกุลยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ • หลังจากการย่อยแล้วอาหารจะถูกส่งต่อไปยัง หลอดอาหาร ซึ่งเรียกว่า การกลืนอาหาร ปาก (mouth) น้ำตาลโมเลกุล ขนาดเล็ก เอนไซม์อะไมเลส คาร์โบไฮเดรต
ลักษณะเป็นท่อตรงต่อจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหารลักษณะเป็นท่อตรงต่อจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร • กล้ามเนื้อของหลอดอาหารจะไม่มีการสร้างน้ำย่อย • อาหารจะเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารโดยการหดตัวและคลายตัวของชั้นกล้ามเนื้อ ในลักษณะลูกคลื่นเป็นระยะๆ เรียกว่า เพอริสทัลซีส(peristalsis) หลอดอาหาร (esophagus)
เป็นส่วนทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมีกล้ามเนื้อ หนาและแข็งแรงมาก • เมื่ออาหารมาถึงกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะสร้าง ของเหลวออกมา 3 ชนิด คือ น้ำย่อย กรดเกลือ และเอนไซม์ สำหรับย่อยโปรตีนสายสั้นๆ ส่วนคาร์โบไฮเดรต และไขมันจะไม่ถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหาร (stomach) เอนไซม์เปปซิน โปรตีน กรดอะมิโน
เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวที่สุด • ผนังด้านในมีบริเวณที่ยื่นเข้าไปภายใน เรียกว่า วิลลัส(villus) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว ในการดูดซึมอาหาร • ผนังลำไส้เล็กจะสร้างเอนไซม์ในการย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ลำไส้เล็ก (small intestine)
ทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วส่งไปเก็บไว้ในถุงน้ำดี ซึ่งน้ำดีจะทำให้ไขมันแตกตัว เพื่อช่วยให้เอนไซม์จากตับอ่อนย่อยสลายไขมันได้ดีขึ้น ตับ (liver) ตับอ่อน (pancreas) • ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยหลายชนิด สร้างเอนไซม์และสารประกอบโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเบส เพื่อปรับสภาพอาหารที่ส่งมาจากกระเพาะอาหาร ให้มีสมบัติเป็นกลาง ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก
อาหารที่เหลือจากการย่อยและอาหารที่ย่อยไม่ได้ จะถูกส่งลงสู่ลำไส้ใหญ่ • ลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุกลับสู่ร่างกาย ส่วนกากอาหารจะเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ปลายของลำไส้ใหญ่รอขับถ่ายออกทางทวารหนักต่อไป ลำไส้ใหญ่ (largeintestine)
ระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์ระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์ การไหลเวียนเลือดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง • เป็นแบบระบบเปิด คือ เลือดที่ออกจากหัวใจ ไม่ได้ไหลอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา แต่มีบางช่วงเลือดจะไหลเข้าไปในช่องว่าง กลางลำตัว • พบในสัตว์พวกหอย แมลง กุ้ง ปู เป็นต้น หลอดเลือดแดง เนื้อเยื่อ หลอดเลือดดำ
การไหลเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลังการไหลเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง • เป็นแบบระบบปิด คือ เลือดที่ออกจากหัวใจจะ ไหลผ่านหลอดเลือดตลอดจนกลับคืนสู่หัวใจ • พบในสัตว์พวกปลา มนุษย์ เป็นต้น หลอดเลือดแดง หลอดเลือดฝอย หลอดเลือดดำ
ระบบไหลเวียนเลือดของแมลงระบบไหลเวียนเลือดของแมลง • มีระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด • หัวใจเป็นส่วนของเส้นเลือดที่มีลักษณะโป่งออกเป็นช่วงๆ • มีรูเล็กๆ เรียกว่า ออสเทีย ทำหน้าที่รับเลือดจากส่วนต่างๆ ในลำตัวไหลเข้าสู่หัวใจ • ไม่มีหลอดเลือดฝอย แต่มีช่องว่างกลางลำตัว เรียกว่า ฮีโมซีล ทำหน้าที่รับเลือด จากหลอดเลือด เพื่อลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ออสเทีย หัวใจ
ระบบไหลเวียนเลือดของปลาระบบไหลเวียนเลือดของปลา • มีระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด • ประกอบด้วยหัวใจ 2 ห้อง โดยหัวใจห้องบนทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจาก ส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วส่งต่อไปยังหัวใจห้องล่าง ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนต่ำไปยังเหงือก • เหงือกจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยเลือดที่ผ่านเหงือกแล้วจะมีแก๊สออกซิเจนสูง ซึ่งจะส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายผ่านทางหลอดเลือดแดง เหงือก หัวใจ
ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์ • ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย • แบ่งเป็น 4 ห้อง ซึ่งเป็นห้องบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเทรียม และห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล • ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นหัวใจคอยปิด-เปิดไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ นำเลือดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดแดง นำเลือดไปปอด หลอดเลือดดำนำเลือด จากปอดเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดดำ นำเลือดจากร่างกาย เข้าสู่หัวใจ หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจห้องล่างขวา
หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดอาร์เทอรี (artery) • นำเลือดออกจากหัวใจ • ผนังหลอดเลือดมีชั้นกล้ามเนื้อเรียบที่หนาและยืดหยุ่น • เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดง เป็นเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง เรียกว่า เลือดแดง ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดจากหัวใจไปยังปอด ซึ่งจะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง เรียกว่า เลือดดำ หลอดเลือด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
นำเลือดกลับสู่หัวใจ • มีผนังบางกว่าและบรรจุเลือดได้มากกว่าหลอดเลือดแดง • ภายในหลอดเลือดมีลิ้นกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ • เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำมีแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์สูง เรียกว่า เลือดดำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากปอด เข้าสู่หัวใจจะเป็นเลือดแดง หลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดเวน (vein) หลอดเลือดฝอย • มีขนาดเล็กมาก • อยู่ระหว่างปลายของหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ
ส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) ประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ • ส่วนที่เป็นเม็ดเลือด เป็นส่วนที่ไม่ใช่ของเหลว ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือด และเกล็ดเลือด เลือด มีสมบัติเป็นเบสอ่อน ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) • มีรูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋ม ไม่มีนิวเคลียส • ภายในเซลล์มีสารโปรตีนที่เรียกว่า เฮโมโกลบิน • สร้างโดยไขกระดูก มีอายุประมาณ 120 วันและจะถูกทำลายที่ม้าม
เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสเป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส • สร้างโดยม้ามและไขกระดูก • มีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งบางชนิดทำหน้าที่จับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte) เกล็ดเลือด (platelets) • เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเล็กๆ • ปนอยู่ในน้ำเลือด • มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล • มีอายุประมาณ 10 วัน
การไหลเวียนของเลือด หัว • เลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง เข้าสู่หัวใจทางห้อง • บนขวา แล้วผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา • หัวใจจะส่งเลือดไปยังปอดผ่านหลอดเลือด • อาร์เทอรี เพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส • เลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดไหลกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดเวน เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย แล้วไหลผ่านลิ้นหัวใจสู่ห้องล่างซ้าย • หัวใจบีบตัวส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูงออกทางหลอดเลือดอาร์เทอรีไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปอด หัวใจ ตับ ทางเดินอาหาร ไต อวัยวะอื่นๆ
ระบบหายใจของสัตว์ แมลง ไฮดรา • มีช่องหายใจเล็กๆ ข้างลำตัวบริเวณท้อง ซึ่งจะติดกับท่อลม • ท่อลมมีลักษณะแตกเป็นแขนง ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส • ไม่มีอวัยวะในการหายใจ • มีการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในเซลล์ • โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง O2 O2 CO2 O2 ท่อลม ถุงลม ช่องหายใจ
ปลา • มีอวัยวะที่ใช้หายใจ คือ เหงือก ซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส • เหงือกมีลักษณะเป็นซี่ๆ เรียงตัวกันเป็นแผง โดยแต่ละซี่จะมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก
ระบบหายใจของมนุษย์ อวัยวะที่ช่วยในการหายใจ • เริ่มต้นที่ปากและจมูกไปสู่หลอดลม • ปลายของหลอดลมแตกเป็น 2 แขนง เรียกว่า แขนงปอด ซึ่งเมื่อเข้าไปในปอดจะแตกแขนงเล็กๆ มากมาย เรียกว่า หลอดลมฝอย • ปลายหลอดลมฝอยมีถุงเล็กๆ เรียกว่า ถุงลม • การนำอากาศเข้าออกจากปอดเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลม แขนงปอด หลอดลม หลอดลมฝอย ถุงลม
การผ่านเข้าออกของอากาศโดยการหายใจการผ่านเข้าออกของอากาศโดยการหายใจ การหายใจออก : กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรช่องอกลดลง ความดันอากาศสูงขึ้น อากาศจึงผ่านออกจากปอด การหายใจเข้า : กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น กะบังลมเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรช่องอกมากขึ้น ความดันอากาศต่ำลง อากาศจึงผ่านเข้าสู่ปอด
การหายใจระดับเซลล์ การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลม : ออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เลือด ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก การแลกเปลี่ยนแก๊สที่เซลล์ : เมื่อออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่เซลล์จะเกิดปฏิกิริยา ซึ่งได้พลังงานออกมา เรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการหายใจ เซลล์ร่างกาย อาหาร CO2 +น้ำ O2 เลือดจากหัวใจ O2 เลือดกลับ สู่หัวใจ CO2 หลอดเลือดฝอย
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการหมุนเวียนเลือดในร่างกายมนุษย์การแลกเปลี่ยนแก๊สและการหมุนเวียนเลือดในร่างกายมนุษย์ แลกเปลี่ยน แก๊สที่ถุงลม เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง เซลล์ร่างกาย แลกเปลี่ยน แก๊สที่เซลล์ เลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง
ระบบขับถ่ายของสัตว์ พลานาเรีย ไส้เดือนดิน เฟลมเซลล์ • อวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เฟลมเซลล์(flame cell) ซึ่งเป็นท่อกระจายอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว และมีรูขับของเสียออกข้างลำตัว • ใช้เนฟริเดียม(nephridium) รับของเสียที่มาตามท่อ และมีท่อเป็นรูเปิดออกข้างลำตัว เนฟริเดียม
แมลง ปลา • มีอวัยวะขับถ่าย คือ ไต (kidney) อยู่ภายในช่องท้องค่อนไปทางด้านบน • ของลำตัว ของเสียที่ส่งมาสู่ไตจะถูก • ส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ และ ขับออกทางร่างกายทางช่องทวารหนัก • ใช้ท่อมัลพิเกียน (mulphigian) ซึ่งเป็นท่อขนาดเล็กจำนวนมากที่อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้ ทำหน้าที่ดูดซึมของเสียจากเลือดส่งต่อไปยังทางเดินอาหาร และขับออกทางช่องทวารหนัก ไต ท่อมัลพิเกียน
ระบบขับถ่ายของมนุษย์ ไต • ทำหน้าที่กรองของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลของน้ำ แร่ธาตุ และสารบางชนิด • ภายในไตประกอบไปด้วยหน่วยไต (nephron) ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือด • เลือดที่มีออกซิเจนสูงเข้าสู่ไตทางหลอดเลือดแดง ซึ่งสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำ กลูโคส จะถูกดูดกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอย แล้วลำเลียงเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ • ของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการจะสลายเป็นปัสสาวะ ลำเลียงไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับถ่าย
ของเสียที่ขับออกทางผิวหนังจะอยู่ในรูปของเหลว เรียกว่า เหงื่อ (sweat) ซึ่งประกอบด้วยน้ำและเกลือแร่ • เหงื่อจะถูกขับออกตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้รักแร้ แผ่นหลัง • แต่ละวันร่างกายสูญเสียน้ำในรูป ของเหงื่อ ประมาณ 500-1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผิวหนัง รูขุมขน ต่อมเหงื่อ
ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ถุงลมในปอด ปอด ปริมาณแก๊สต่างๆ และไอน้ำในลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
อาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะถูกส่งต่ออาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะถูกส่งต่อ มาสะสมที่ลำไส้ใหญ่ในรูปของกากอาหาร • ตลอดระยะเวลาในการเคลื่อนที่ของอาหาร จะมีการดูดซึมน้ำและสารอาหารกลับคืนสู่ร่างกาย ส่วนกากที่เหลือจากการย่อย คือ อุจจาระ จะถูกขับออกทางทวารหนัก ลำไส้ใหญ่
สรุปทบทวนประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 • การจัดระบบในร่างกายมนุษย์และสัตว์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบร่างกาย • การย่อยอาหาร คือ การทำให้อาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลง จนสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ • การย่อยอาหารของมนุษย์ ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน และลำไส้ใหญ่ • ระบบไหลเวียนเลือด มีหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการไปยังระบบขับถ่าย • ระบบหายใจ จะนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อใช้ในกระบวนการย่อยสลายสารอาหาร • ระบบขับถ่าย เป็นระบบกำจัดของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการออกนอกร่างกาย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ยูเรีย แอมโมเนีย เป็นต้น