100 likes | 338 Views
QUERY. QUERY. การร้องขอ (request) สารสนเทศ (information) จากฐานข้อมูล (database) การเรียกหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล รูปแบบของการทำการ query มี 3 วิธีหลัก. รูปแบบวิธีการทำการ query. ค้นหาโดยเลือกหรือกำหนด parameters ที่ต้องการจาก menu ที่กำหนดไว้ให้แล้ว
E N D
QUERY • การร้องขอ (request) สารสนเทศ (information) จากฐานข้อมูล (database) • การเรียกหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล • รูปแบบของการทำการ query มี 3 วิธีหลัก
รูปแบบวิธีการทำการ query • ค้นหาโดยเลือกหรือกำหนด parameters ที่ต้องการจาก menu ที่กำหนดไว้ให้แล้ว • ค้นหาโดยใช้ตัวอย่าง (query by example : QBE) • ค้นหาโดยใช้ภาษาค้นหา (query language)
ค้นหาด้วย parameters จาก menu • เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยเลือกจาก parameters ที่ระบบเตรียมไว้ให้พร้อมแล้วในลักษณะการเลือกจาก menu • เป็นวิธีการ query ที่ง่ายที่สุด เนื่องจาก menus ต่างๆ จะมีคำแนะนำในการใช้ไว้ให้พร้อมแล้ว • ข้อด้อย วิธีการ query แบบนี้ เป็นวิธีการที่มีความคล่องตัว (flexible) ต่ำสุด • ผู้ใช้งาน (end users) มักจะพอใจกับวิธีการ query แบบนี้ • ผู้พัฒนาระบบ query จะต้องทำให้มีครบถ้วนตามความต้องการใช้ให้มากที่สุด เพื่อลดปัญหาขาดความคล่องตัว
ค้นหาโดยใช้ตัวอย่าง (QBE) • QBE: Query by example • วิธีการนี้ ระบบจะเตรียมช่องว่างไว้ให้ และปล่อยให้ผู้ใช้กำหนดรายการข้อมูล (fields) และ ค่า (values) ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดการค้นหา • เป็นวิธีการที่มีความคล่องตัวในการใช้งาน แต่มีกระบวนการประมวลผลภายในที่ซับซ้อน อาจทำให้ใช้เวลาในการค้นหามาก • Microsoft Access ใช้รูปแบบการค้นหาแบบนี้ เป็น interface กับ users
การใช้ภาษาค้นหา (Query Language) • ระบบจัดการฐานข้อมูลส่วนใหญ่ กำหนดให้ผู้ใช้ต้องใช้การร้องขอสารสนเทศ ในรูปแบบของ ภาษาค้นหา (query language) เพราะไม่ได้จัดเตรียมรูปแบบของการค้นหาแบบอื่น เช่น QBE ไว้ให้ users ใช้ • ระบบจัดการฐานข้อมูลเกือบทั้งหมด ใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ในการประมวลผลจริง แม้ว่าจะมี interface เป็นอย่างอื่น • เป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น • เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด • Users ถูกกำหนดให้ต้องเรียนรู้ภาษาพิเศษโดยเฉพาะ
ภาษาในการค้นหา (Query Language) • เป็นภาษาพิเศษ ใช้เพื่อประโยชน์ในการร้องขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล • ตัวอย่างการร้องขอ • ต้องการทุกๆ ระเบียน (records) ซึ่งมีเขตข้อมูล (field) name ที่มีค่าเป็น “Nuansri” และเขตข้อมูล age ที่มีค่ามากกว่า 30 • SELECT ALL WHERE age > 30 AND name = “Nuansri” • มาตรฐานที่ยอมรับสำหรับ query language เรียกว่า SQL
ลักษณะของ Database Query • Query หมายถึง ร้องขอ (ask) หรือ ค้นหา (seek) • ลักษณะของการ query ฐานข้อมูลมี 2 รูปแบบ • Select Query • Action Query • ผู้ใช้ควรจะเรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับ database หรือ query language ทั้งสองรูปแบบ • SQL: Structured Query Language มีคำสั่งสนับสนุนลักษณะของการ queries ทั้งสองวิธี
Select Query • เป็นการเลือก (select) ค้นข้อมูล โดยมีการเรียกหาข้อมูลเฉยๆ ไม่มีปฏิกิริยาอื่นๆ นอกจากการขอทราบค่าของข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูล • สามารถกำหนดเงื่อนไขในของการค้นหาของ select query ได้ และในบางครั้งเงื่อนไขดังกล่าวอาจจะยุ่งยากซับซ้อนมากก็เป็นได้ • สำหรับ SQL แล้ว Select Query หมายถึง คำสั่งในชุดของ SELECT เท่านั้น
Action Query • เป็นการร้องขอ (ask) ใช้ข้อมูล เพื่อทำกิจกรรมเพิ่มเติม (additional operations) ต่อข้อมูลที่ร้องขอมาได้ • กิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ • การเพิ่มข้อมูล (insertion) • การแก้ไขข้อมูล (updating) • การลบข้อมูล (deletion) • คำสั่ง SQL ที่เกี่ยวข้องได้แก่ INSERT, UPDATE และ DELETE