400 likes | 1.52k Views
กายภาพบำบัด กับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมองพิการ. กุลธิดา พิพ่วนนอก นักกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ. หลายคนรู้จักงานกายภาพบำบัด ในการใช้เครื่องมือให้ ความร้อนเพื่อการบรรเทาอาการปวด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดไหล่ หลัง คอ เข่า ทำการดัดดึงเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว
E N D
กายภาพบำบัด กับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมองพิการ กุลธิดา พิพ่วนนอก นักกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ
หลายคนรู้จักงานกายภาพบำบัด ในการใช้เครื่องมือให้ ความร้อนเพื่อการบรรเทาอาการปวด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดไหล่ หลัง คอ เข่า ทำการดัดดึงเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ของข้อต่อ สอนวิธีการออกกำลังกายและสอนการเคลื่อนไหว ให้ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สอนการหายใจและ ช่วยเคาะปอด สอนการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุ และอีกหนึ่งกลุ่มผู้ป่วยที่เราสามารถ ช่วยเหลือได้ คือ*เด็กสมองพิการ *
บทบาทของนักกายภาพบำบัดบทบาทของนักกายภาพบำบัด การที่เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือล่าช้า กว่าปกตินั้นเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ และเพื่อ ให้เด็กได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกาย จึงจำเป็นต้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการ เคลื่อนไหวโดยวิธีทางกายภาพบำบัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ที่สุด คือ “ให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการ เคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด เพื่อให้เด็กสามารถ ช่วย เหลือตนเอง ตามสภาพความพิการและใช้ชีวิตในสังคมได้ อย่างมีความสุข”
เราทำหน้าที่เป็นครู… * สอนให้เด็กเรียนรู้การเคลื่อน ไหวด้วยตัวเอง อย่างถูกต้อง * สอนผู้ปกครองให้รู้จักวิธีพัฒนา ความสามารถด้านการเคลื่อนไหว ของเด็ก
ทำงานร่วมกับทีมในการซักประวัติและตรวจประเมินทำงานร่วมกับทีมในการซักประวัติและตรวจประเมิน เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับ... ประวัติระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด การเจ็บป่วย การเจริญเติบโต รวมทั้งประวัติอดีต การตรวจประเมินทั่วไป การสังเกต น้ำหนัก ส่วนสูง ประเมินการได้ยิน ประเมินเกี่ยวกับการพูด ประเมินเกี่ยวกับการมองเห็น
ประเมินด้านจิตใจและสติปัญญา ประเมินด้านการเคลื่อนไหวเพื่อตอบคำถามว่าเด็กมีการ เคลื่อนไหวหรือไม่และมีลักษณะที่ผิดปกติอย่างไร โดย ประเมินในท่านอนหงาย นอนคว่ำ ท่านั่ง ท่าคลาน ท่ายืน ท่าเดิน ประเมินรีเฟล็กซ์ต่างๆ ประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ประเมินการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
วิธีการทางกายภาพบำบัดวิธีการทางกายภาพบำบัด ใช้เทคนิคการกระตุ้น (Facilitation technique) เพื่อให้กล้ามเนื้อ หดตัวและเกิดการเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น 1. Bobath approach (Neurodevelopmental treatment หรือ NDT) โดยใช้หลักการยับยั้งการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และกระตุ้นการเคลื่อน ไหวให้เกิดปกติ * กระตุ้นการเคลื่อนไหวโดยใช้ keys point of control ได้แก่ส่วน ศีรษะและคอ หัวไหล่ สะโพก หลัง * Reflex Inhibitory Patterns (RIPs) * ใช้ proprioceptive และ tactile stimulation ช่วยในการกระตุ้น และยับยั้ง เช่น Weight bearing and compression, Tapping
2. PNF technique โดยหลักการที่ว่า - การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีการหมุนและทิศทางของการเคลื่อนไหวจะเป็นในแนวเฉียงและการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะเป็น mass movement - มีการใช้ระบบประสาทสัมผัสเป็นตัวกระตุ้น (sensory afferent input) เช่น การใช้ steetch reflex, tactile, approximation, sound and verbal command, eye hand coordination - การใช้แรงต้าน ทำให้เกิดtiming for emphasis และ reinforcement
3. Rood technique เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อให้เกิดการยับยั้ง และการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น การลูบ การถูด้วยน้ำแข็ง การโยกตัว การจับกลิ้งตัว การให้แรงกดบนกล้ามเนื้อ การให้ความอบอุ่น การยืดค้างไว้ การมองสีอ่อนๆ การใช้เสียงที่นุ่มนวล การใช้น้ำแข็งถูเร็วๆ การให้ความร้อนระยะสั้นๆ การกดบนกล้าม เนื้อและข้อต่อ ให้เด็กมีการพัฒนาของระบบประสาทยนต์ จากการเคลื่อนไหว แบบ reflex เป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมได้ และพัฒนาเป็นทักษะ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ เช่น การนวดกล้ามเนื้อ การทำ passive motion การทำactive assisted motion การทำ active motion การทำ resisted motion
จะใช้เทคนิคหลายอย่างร่วมกัน ทั้งที่เป็นการผ่อนคลายและ การกระตุ้น เพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหว ตั้งแต่การควบคุม ศีรษะและคอในท่านอคว่ำ ท่านั่ง
การจัดท่านั่งบนอุปกรณ์การจัดท่านั่งบนอุปกรณ์ การนั่งโดยมีแม่ช่วยควบคุมลำตัว การนั่งทรงตัวบนม้านั่งหรือเก้าอี้ พร้อมกับการเคลื่อนไหวแขน การนั่งทรงตัวเองและเล่นของเล่น
การลุกขึ้นนั่งแบบมีคนช่วยและการฝึกให้เด็กลุกนั่งเองการลุกขึ้นนั่งแบบมีคนช่วยและการฝึกให้เด็กลุกนั่งเอง
การลงน้ำหนักที่แขนละมือการลงน้ำหนักที่แขนละมือ ในท่าตั้งคลาน จนกระทั่ง เด็กเริ่มคลานเองได้
การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลงน้ำหนักที่ขาทั้งสองข้าง พร้อมกับควบคุมคอและลำตัว
การฝึกยืนด้วยเข่า เป็นการกระตุ้นการ ลงน้ำหนักที่เข่าสองข้าง และพัฒนาการทรงตัว
กระตุ้นการลงน้ำหนักที่เท้ากระตุ้นการลงน้ำหนักที่เท้า และยืดเอ็นร้อยหวาย ก่อน การลุกขึ้นยืน การควบคุมที่สะโพกพร้อมกับ กระตุ้นให้มีการลงน้ำหนักที่ขา ทั้งสองข้าง การถ่ายน้ำหนักเพื่อ ให้เกิดการยืน
การยืนและเดินเป็นความต้องการของเด็กและพ่อแม่ทุกคนการยืนและเดินเป็นความต้องการของเด็กและพ่อแม่ทุกคน แต่บางครั้งเด็กต้องมีอุปกรณ์เสริมและ อุปกรณ์ช่วยเดิน
การทำ passive motion และ active motion
ฝึกการใช้มือร่วมกับการทรงท่าฝึกการใช้มือร่วมกับการทรงท่า เช่นนั่ง ยืน