770 likes | 943 Views
C Programming. Visual C++. Week 1. Preprocessor Directive. Commen t. Variable. cout cin. Week 2. Operators (ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์). ตัวดำเนินการเพิ่ม/ลด ตัวแปร. ข้อมูลชนิด Character. การใช้คำสั่ง t และ <br>. Week 3. การวน Loop โดยใช้คำสั่ง For. Week 4.
E N D
C Programming Visual C++
Week 1 • Preprocessor Directive • Comment • Variable • cout cin
Week 2 • Operators(ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์) • ตัวดำเนินการเพิ่ม/ลด ตัวแปร • ข้อมูลชนิด Character • การใช้คำสั่ง \t และ \n
Week 3 • การวน Loop โดยใช้คำสั่ง For Week 4 • การวน Loop โดยใช้ While • do…while
Week 5 • ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 Week 6 • if…..else • if….else if …else • switch case
Week 7 • ข้อมูลชนิด Character • การใช้คำสั่ง \t และ \n • Array Week 8 • Function
Week 9 • สอบกลางภาค Week 10 • Visual C++ 6 • ภาษา C และแนวคิดแบบ OOP • Class & Object • สภาพแวดล้อมในVisual C++ 6
Week 11 • การสร้างControl Static • การเปลี่ยนตัวอักษรโดยใช้คลาส CFont • สร้างปุ่มกดโดยใช้คลาส CButton • Message Map
Week 12 • Class CScrollBar • CEdit (กรอบรับข้อความ) • CListBox • CComboBox
Week 13 • Resource Script • การสร้าง Icon • การสร้างและติดตั้ง Menu • การสร้าง Dialog (CDialog) • การสร้าง Hotkey
Week 14 • ทดสอบย่อย ครั้งที่ 2 Week 15 • Appwizard • Dialog - Bassed • Classwizard • Textbox
Week 16 Week 17 • Check Box • ListBox • Radio Box • Combo Box Week 18 • สอบปลายภาค
เกณฑ์การประเมินผล • คะแนนกลางภาค 60 คะแนน • - สอบกลางภาค 20 • - ทดสอบย่อย 20 • - รายงาน 10 • - พฤติกรรม 10 • คะแนนปลายภาค 40 คะแนน • - สอบปลายภาค 20 • - รายงาน 10 • - พฤติกรรม 10 • รวม 100 คะแนน
รู้จักกับภาษา C ภาษา C เป็นภาษาที่เก่าแก่ ซึ่งถูกพัฒนาเพื่อให้เป็นภาษาสำหรับ การสร้างระบบปฏิบัติการ UNIX เพระของเดิมนั้นเขียนด้วยภาษา Assembly ซึ่งเป็นภาษาที่ยึดติดกับ H/W จึงทำให้ย้ายระบบปฏิบัติการไปทำงานกับเครื่องอื่นๆเป็นเเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ภาษา C จึงเป็นภาษาที่ไม่ยึดติดกับ H/W และในปัจจุบัน ยังไม่ยึดติดกับการสร้างระบบปฏิบัติการเท่านั้น แต่ยังนำไปสร้างโปรแกรม เพื่องานทุกประเภทได้
ประวัติความเป็นมาของภาษาซีประวัติความเป็นมาของภาษาซี ปี ค.ศ. 1972 Dennis Ritchie เป็นผู้คิดค้นสร้างภาษาซีขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพัฒนามาจากภาษา B และภาษา BCPL แต่ขณะนั้นยังไม่มีการใช้งานภาษาซีอย่างกว้างขวางนัก จนกระทั่งต่อมาในปี ค.ศ. 1978 Brain Kernighan ได้ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นเรียกว่า “K&R” (Kernighan & Ritchie) และเขียนหนังสือชื่อ “The C Programming Language” ออกมาเป็นเล่มแรก ทำให้มีผู้สนใจภาษาซีเพิ่มมากขึ้น และด้วยความยืดหยุ่นของภาษาซีที่สามารถปรับใช้งานกับคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ได้ ทำให้ภาษาซีได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนแพร่หลายไปทั่วโลก จนมีบริษัทต่าง ๆ สร้างและผลิต ภาษาซี ออกมาเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นภาษาซีในหลากหลายรูปแบบ
ประวัติความเป็นมาของภาษาซี (ต่อ) ในปี ค.ศ. 1988 Kernighan & Ritchie จึงได้ร่วมกับ ANSI(American National Institute) สร้างมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการสร้างภาษาซีรุ่นต่อ ๆ ไป ปัจจุบันภาษาซียังคงได้รับความนิยมและใช้งานอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นภาษาระดับกลาง (middle-level-language) ที่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) และเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นมาก คือใช้งานกับเครื่องต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญ ในปัจจุบัน ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ เช่น C++, Perl , Java , C# ฯลฯ ยังใช้หลักการของภาษาซีเป็นพื้นฐานด้วย กล่าวคือ หากมีพื้นฐานของภาษาซีมาก่อน ก็จะสามารถศึกษาภาษารุ่นใหม่เหล่านี้ง่ายขึ้น
จุดเด่นของภาษา C • เป็นภาษาที่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่น • เป็นภาษาที่ระบบปฏิบัติการทุกตัวยอมรับ • เป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดี และความชัดเจนของเครื่องหมายสำหรับดำเนินการ • สามารถเขียนคำสั่งภาษา C เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ H/W บางส่วนได้ • มี Function สำเร็จรูป สำหรับงานประเภทต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากมาย
การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรมการสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโปรแกรม MUL R1, D STO R1, TEMP1 LOD R1 ,B ADD R1,TEMP1 11001010 10011001 00100110 11001011 01001101 10001101 01101100 11000101 ตัวกลางสำหรับแปลภาษา ไปเป็นภาษาเครื่อง
การแบ่งระดับตามลักษณะ และการทำงาน 1. ภาษาระดับต่ำ(LOW LEVEL Language) เป็นภาษที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากที่สุดสามารถเขียนคำสั่งเพื่อติดต่อสั่งงานกับอุปกรณ์ H/W ได้โดยตรงซึ่งได้แก่ภาษา Assembly ตัวอย่างของ Assembly MUL R1, D STO R1, TEMP1 LOD R1 ,B ADD R1,TEMP1
การแบ่งระดับตามลักษณะ และการทำงาน (ต่อ) 2. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษา มนุษย์มากที่สุดคำสั่งต่าง ๆ จึงมักเป็นภาษาอังกฤษทำให้จดจำและเขียนได้ง่ายเช่น ภาษา Pascal, Cobol, Fortran หรือ Basic เป็นต้น ตัวอย่างของภาษา Pascal program Test1; var Name : String; begin writeln(‘Input your Name’) Readln(name); Writeln(‘Hello ’,Name); End.
การแบ่งระดับตามลักษณะ และการทำงาน (ต่อ) 3. ภาษาระดับกลาง (Middle Level language) ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้น โดยเอาข้อดีและข้อเสียของ 2 ระดับมาใช้คือคำสั่งของภาษา C เป็นคำสั่งที่มีความ หมายใกล้เคียงกับภาษามนุษย์และยังสามารถติดต่อกับ H/W ได้รวดเร็วดังนั้นภาษา C จึงถูกจัดให้เป็นภาษาระดับกลาง ตัวอย่างของภาษา C #include (iostream.h) main() { …….. return 0 }
Hello Link หลักในการแปลภาษา แบ่งได้ 2 วิธี คือ 1. แปลทีละคำสั่ง ตัวแปลลักษณะนี้จะเรียกว่า Interpreter โดยจะทำงานแบบ เป็นคำสั่งต่อคำสั่ง นั่นคือจะอ่านคำสั่งจากโปรแกรมมา 1 คำสั่ง และทำงานตามคำสั่งนั้นทันที Print “Hello Link \n ”; print “How are you?”; Interpreter
หลักในการแปลภาษา (ต่อ) 2. แปลทีเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ตัวแปลลักษณะนี้จะเรียกว่า Compiler หลักการทำงานเริ่มจาก คอมไพล์เลอร์จะทำการตรวจสอบคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม เพื่อดูว่ามีส่วนใดผิดจากหลักการของภาษานั้นหรือไม่ ถ้าไม่พบข้อผิดพลาดคอมไพเลอร์จะทำการแปลคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องแล้วจึงทำงาน Hello Link How are You Print “Hello Link \n ”; print “How are you?”; Compiler
ฟังก์ชั่นจากไลบรารี ในภาษา C ไฟล์ชื่อ Test.c #include (iostream.h) main() { cout<<Hello World\n; } Binary File .exe test.exe Object File .obj test.obj Linker C Compiler คอมไพล์ ลิงค์ ขั้นตอนการทำงานของ ภาษา C
การนำภาษา C ไปใช้งาน • สร้างระบบปฏิบัติการ • งานทางด้านการควบคุมอุปกรณ์ H/W • สร้างโปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร • สร้างตัวแปรภาษาอื่น ๆ • สร้างโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไป • เป็นรากฐานที่สำคัญของภาษาใหม่จำนวนมาก
โครงสร้างของภาษา C จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนหัวของโปรแกรมซึ่งเป็นส่วนของ การกำหนดค่าเริ่มต้น และประกาศตัวแปร 1 ส่วนของตัวโปรแกรมซึ่งเริ่มจาก Main() ซึ่งอาจจะมีการเรียกใช้ Function อื่น ๆ ก็ได้ 2
ตัวอย่าง การเขียนโปรแกรมภาษา C #include (iostream.h) main() { cout<<“C++”; return 0 } Head Body
ส่วนหัวของโปรแกรม ส่วนหัวของโปรแกรมจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรทัดแรกของโปรแกรมจนมา สิ้นสุดที่บรรทัดก่อน Main() จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1. คำสั่งพิเศษ (Preprocessor Directive) 2. การประกาศตัวแปร (Declaration) 1 #include (stdio.h) int x =4; main() { cout<<“C++”; return } 2 main เป็นส่วนของฟังฟ์ชั่นหลัก ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังฟ์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { }
Preprocessor directive เป็นคำสั่งรูปแบบหนึ่งของภาษา C ที่มีความพิเศษ โดยในขั้นตอนการแปลความหมายของโปรแกรม ถ้าตัวแปลภาษา C ตรวจพบว่ามีการใช้ Preprocessor ภายในโปรแกรม ก็จะถูกแปลความหมายเป็นลำดับแรกก่อนคำสั่งอื่น ๆ รูปแบบของการเขียน Preprocessor จะต้องขึ้นต้นเครื่องหมาย # แต่ไม่ต้องลงท้ายด้วยเครื่อง ; เหมืนคำสั่งอื่น ๆ ทั่วไป
#Include #Define #Error #if #Endfi #Elid #Else #ifdef #ifndef #undef #Line #Pragma Preprocessor directive (ต่อ) คำสั่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของ Preprocessor Directive
รูปแบบการเขียนคำสั่งภาษา C • คำสั่งในภาษา C จะต้องเขียนด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก • ทุกคำสั่งต้องลงท้ายด้วย ; • สามารถเขียนคำสั่งได้อย่างอิสระ
ชนิดของข้อมูลในภาษา C • ข้อมูลเลขจำนวนเต็ม (Integer) • ข้อมูลเลขทศนิยม (Float) • ข้อมูลชนิดเลขฐานแปด (Octal) • ข้อมูลชนิดเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) • ข้อมูลชนิดตัวอักขระ (Character) • ข้อมูลชนิดข้อความ (String)
ตัวแปรและหน้าที่ของตัวแปรตัวแปรและหน้าที่ของตัวแปร ตัวแปร (Variable) คือการจองที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำหลัก (RAM) ของเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกับกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้น อย่างเช่นถ้าเราสร้างตัวแปรขึ้นมา 1 ตัวโดยใช้ชื่อ num สำหรับเก็บค่าของ ตัวเลข 16 เมื่อต้องการนำค่า 16 มาใช้เราก็เพียงแต่เรียกชื่อ num ซึ่งภาษา C จะแปล ความหมายได้ถูกต้องว่ามีค่าเท่ากับ 16 การกำหนดค่าให้กับตัวแปร ตัวแปร = นิพจน์ เช่น x = 10; m = x+y; a = ‘A’;
การประกาศตัวแปร #include <Stdio.h> int a= 5; int b= 10; int c; main() { c= a+b; printf (“sum = %d\n”, c); } ตัวแปรจำนวนเต็ม หาผลบวก แสดงผลบวก
ชนิดของตัวแปรในภาษา C สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ตัวแปรแบบพื้นฐาน (Scalar) ซึ่งหมายถึงที่เก็บข้อมูลได้เพียงค่าเดียว เช่น
รูปแบบการประกาศตัวแปรรูปแบบการประกาศตัวแปร Type variable; type : ชนิดของตัวแปรที่จะสร้างขึ้น variable : ชื่อของตัวแปรที่ต้องการจะใช้ int num; float y; char c; double salary; ตัวอย่าง
รูปแบบการประกาศตัวแปร (ต่อ) Type variable = value; long million = 1000000; int oct = 0234; int hex = 0x45; float temp = 15.236; double stat = 1.25e-02; char ch =‘#’; ตัวอย่าง
รูปแบบการประกาศตัวแปร (ต่อ) Type variable-1, variable-2,... variable-n; type : ชนิดของตัวแปรที่จะสร้างขึ้น variable-1... Variable-n : ชื่อของตัวแปรที่ต้องการจะใช้ int num1,num2,num3; float point1, point2,point3 = 12.00; char a,b = ‘B’, c,d =‘D’; ตัวอย่าง
หลักการตั้งชื่อตัวแปรหลักการตั้งชื่อตัวแปร • ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ เท่านั้น • ภายในชื่อตัวแปรให้ใช้ตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือ 0-9 หรือ _ • ห้ามเว้นช่องว่างภายในตัวแปรหรือใช้สัญลักษณ์นอกเหนือจากข้อ 2 • การใช้ตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็กมีความแตกต่างกัน • ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) • ตั้งชื่อตัวแปรยาวเท่าไรก็ได้ แต่เครื่องรู่จักแค่ 32 ตัวเท่านั้น
คำสงวน (Reserved Word) auto break case char const continue default do double else if int long register return short signed sizeof static struct switch typedef union unsigned void volatile while
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปร class_room hi-tech 9number _hello123 age# right! last name ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง
ตัวแปรสำหรับข้อมูลชนิดข้อความตัวแปรสำหรับข้อมูลชนิดข้อความ char[n] variable; n : คือจำนวนของตัวแปรชนิดอักขระ (Char) ที่จะสร้างขึ้น โดยถ้าข้อความมีอักขระทั้งหมด 10 ตัว จะต้องใส่จำนวนเป็น 11 เนื่องจากภาษา C มีข้อกำหนดว่าจะเก็บข้อมูลชนิดข้อความ ตัวสุดท้ายต้องเป็นอักขระว่าง ซึ่งจะเขียนแทนด้วย \0 เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นข้อความ Variable : ชื่อของตัวแปร โดยต้องตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อ char[10] name; char[ ] color;
คำสั่งในการแสดงผลข้อมูลคำสั่งในการแสดงผลข้อมูล cout ทำหน้าเหมือนสายนำส่งข้อมูลจากโปรแกรมไปปรากฏที่ จอภาพทีละตัวอักษรตามลำดับ โดยมีตัวดำเนินการส่งออก (<<) อยู่ระหว่าง cout กับข้อมูล cout << ข้อมูล; เช่น cout<<“What’s Your Name?”<<endl; cout<<“Your Age is: ”<<age<<endl; คำสั่ง endl (end line) เป็นคำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่เช่นเดียวกับคำสั่ง \n
การใช้ Comment • Comment คือ ส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรมมีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงใน Source code ซึ่ง compiler จะข้ามการแปลผลในส่วนที่เป็น comment • การ Comment ในภาษาซี มี 2 แบบ • Comment บรรทัดเดียวใช้ เครื่องหมาย // • Comment หลายบรรทัดใช้ เครื่องหมาย /* และ */ • ตัวอย่างเช่น • // Writen program by A.Prayoon
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 1 #include <iostream.h> main() { int n; n = 66; cout << n << endl; return 0; } ตัวอย่างโปรแกรมที่ 2 #include <iostream.h> // Test cout Command main() { cout<<“Sriwattana Institute of International”<<endl; return 0; }
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3 #include <iostream.h> // Test cout Command main() { int m,n,sum; m = 10; n = 20; sum = 0; cout<<“Amount of M = ”<<m<<endl; cout<<“Amount of N = ”<<n<<endl; sum = m + n; cout<<“Sum of M + N = ”<<sum<<endl; return 0; }
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 4(โปรแกรมฝึกการใช้ cout เพื่อแสดงผลหน้าจอ) #include <iostream.h> main() { cout<<“******************************”<<endl; cout<<“ Number Name Surname ”<<endl; cout<<“471-1564 Urai Srimeed ”<<endl; cout<<“471-1662 Chanont Jitmun ”<<endl; cout<<“”<<endl; cout<<“”<<endl; cout<<“”<<endl; cout<<“******************************”<<endl; return 0; }
โปรแกรมที่ 5(การใช้ cout, cinในการรับ-ส่งข้อมูล) #include <iostream.h> // Test cout, cin Command main() { int x; cout<<“Enter Number : ”<<endl; cin>> x; cout<<“Number is : ”<< x <<endl; return 0; } ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์( Operators) ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ คือ สัญลักษณ์ที่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ นิพจน์คณิตศาตร์ เพื่อให้ได้ค่าผลลัพธ์ แล้วนำไปเก็บไว้ที่ตัวแปร ได้แก่
ตัวดำเนินการหน้าที่ตัวอย่างตัวดำเนินการหน้าที่ตัวอย่าง + บวก m+n - ลบ m-n - นิเสธ -n (ค่าติดลบ) *คูณ m*n / หาร m/n % แสดงเศษของการหาร m%n โปรแกรมที่ 6 การใช้ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ #include <iostream.h> // Test Arithmetic Operators; main() { int m=38, n=5; cout<<m<<“+”<<n<<“=”<<(m+n)<<endl; cout<<m<<“-”<<n<<“=”<<(m-n)<<endl; cout<<“ ”<<“ - ” <<“ = ”<<(-n)<<endl; cout<<m<<“*”<<n<<“=”<<(m*n)<<endl; cout<<m<<“/”<<n<<“=”<<(m/n)<<endl; cout<<m<<“%”<<n<<“=”<<(m%n)<<endl; return 0; }