200 likes | 392 Views
ความสำเร็จ ของการดำเนินงาน ป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวี จากแม่สู่ลูก จากภาคประชาสังคม โดย มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (มอท.) ร่วมกับ องค์กรภาคีใน พื้นที่ สัมมนาวิชาการเอดส์ ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร.
E N D
ความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวี จากแม่สู่ลูก จากภาคประชาสังคม โดย มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (มอท.)ร่วมกับ องค์กรภาคีในพื้นที่สัมมนาวิชาการเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติครั้งที่ 1วันที่ 25-26 มิถุนายน 2557ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
โครงการ “ดูแลหญิงหลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ (ECAT-CSC)” • ระหว่างปี 2547-2552 เป็นเวลา 5 ปี มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (มอท.) ดำเนินงานโครงการ “ดูแลหญิงหลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ (ECAT-CSC)” ร่วมกับกรมอนามัย ภายใต้นโยบายการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ที่มุ่งดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่ คู่สมรส และเด็ก ให้มีสุขภาพดีในระยะเวลายาวนานเท่าที่ทำได้ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อทางสังคม จิตใจ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (GF:ATM) ดำเนินในชุมชนในพื้นที่ 41 จังหวัด • การดำเนินโครงการฯ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญดังนี้ • ร่วมกับภาคีกลุ่ม/องค์กรผู้รับทุนย่อยมากกว่า 100 กลุ่ม/องค์กร • หญิงหลังคลอดที่มีเชื้อ เอชไอวี จำนวน 9,934 คน รวมถึงคู่ครองและครอบครัว • เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี อายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 4,654 คน • แกนนำชุมชน กว่า 1,000 คน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 442 แห่ง
ผลจากการดำเนินโครงการฯทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย และมีการดำเนินงานในชุมชน • หญิงหลังคลอดที่มีเชื้อ เอชไอวี รวมถึง คู่ครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ มากขึ้น สามารถเข้าถึงบริการการดูแลด้านสุขภาพและได้รับการดูแลหลังคลอดอย่างต่อเนื่อง • เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ได้รับการดูแลด้านจิตสังคมจากกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ/องค์กรชุมชน ทำให้เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น เห็นคุณค่าของตนเอง กล้าแสดงออก ปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ง่าย ส่วนเด็กติดเชื้อฯ มีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น ยอมรับการติดเชื้อฯ มุ่งมั่นที่จะมีชีวิตต่อไป • ศักยภาพผู้ปฏิบัติงานชุมชน (แกนนำ) และภาคีท้องถิ่น ในการดำเนินงานด้านเอดส์ในพื้นที่ โดย อปท. มีส่วนร่วมและสนับสนุนในการทำงานกับแกนนำชุมชน โดยการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในป้องกันการติดเชื้อฯ อีกทั้งสามารถอยู่ร่วมและดูแลผู้มีเชื้อฯในชุมชนได้ • เกิดเครือข่ายหรือคณะทำงานเอดส์และสุขภาพในระดับตำบล ในบางพื้นที่สามารถจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กเพื่อเป็นทุนการศึกษา ค่าเดินทางไปพบแพทย์ และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินผลสำเร็จที่เกิดขึ้น เกิดจากการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม ในการเชื่อมประสานการดำเนินงานดูแลหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อฯ และครอบครัว แบบองค์รวมและรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้หญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อฯ และเด็กที่เกิดจากแม่มีเชื้อฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ • ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการฯ ร่วมกัน ระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ภาครัฐ) และมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (ภาคประชาสังคม) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินโครงการฯ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการดูแลหญิงหลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี • กลุ่ม/องค์กรชุมชน หรือเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ได้รับการเสริมศักยภาพในความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเอดส์ เช่น เรื่อง เอดส์ สิทธิ อนามัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น
บทเรียนการดำเนินงาน • กลไกในชุมชนเพื่อการดูแลหญิงหลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี รวมถึง หญิงติดเชื้อฯ ในชุมชน จำเป็นต้องได้รับการเสริมศักยภาพด้านความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม เพื่อการทำงานที่เท่าทันกับสถานการณ์ปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องการรังเกียจกีดกันชุมชน • จำเป็นต้องบูรณาการงานด้านเอดส์ จากระดับนโยบายสู่ท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยทำให้เกิดการดูแลหญิงติดเชื้อฯ เด็กที่ได้รับผลกระทบฯ และครอบครัว อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมในงานด้านเอดส์”โครงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมในงานด้านเอดส์” จากโครงการ ECAT-CSC ยังพบช่องว่างในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่มีเชื้อฯ และครอบครัว ให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท. ต้องมีความเข้าใจ เรื่อง เอช ไอ วี/เอดส์ เพศ สิทธิ อนามัยเจริญพันธุ์ ฯลฯ ดังนั้น มูลนิธิเอดส์ฯ จึงพัฒนาโครงการต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2552 และดำเนินงานมาจนถึงปี 2557 คือ โครงการ “เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมในงานด้านเอดส์” โดยบูรณาการการจัดบริการเชิงรุกและเครือข่ายการทำงานให้เข้าสู่กระบวนการกระจายอำนาจในจังหวัดให้ครอบคลุมถ้วนทั่วกลุ่มเป้าหมาย และส่งผลอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ให้บุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น และแกนนำในชุมชน มีความรู้ และความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน โดยคำนึงถึงมิติหญิงชายในการทำงานเอดส์และสุขภาวะรวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานด้านเอดส์ และมีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 2. พัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดำเนินงานด้านเอดส์และสุขภาวะในชุมชน และเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น
กรอบแนวคิดการดำเนินงานกรอบแนวคิดการดำเนินงาน
การดำเนินกิจกรรมโครงการฯการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE) • จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังคงพบว่าเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ ที่อยู่ในชุมชนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสมและเท่าเทียม และยังคงได้รับผลกระทบจากการตีตราและเลือกปฏิบัติจากครอบครัวและชุมชน • การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชุมชนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายสุขภาพ ฝ่ายปกป้องคุ้มครองทางสังคม และฝ่ายชุมชน จึงจะเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กฯ และจำเป็นต้องมีการบูรณาการงานและนำไปสู่การพัฒนาโครงการ “พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE)” ดำเนินงานในปี 2555-2557 • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (CABA) และเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอื่นๆ (OVC) ในชุมชนที่มีสถานการณ์เอดส์สูง ได้การรับการส่งเสริมพัฒนาการและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้รับการยอมรับในสังคมในมาตรฐานเดียวกับเด็กทั่วไป โดยการเชื่อมโยงการทำงานของระบบบริการ 3 ระบบ คือ ระบบชุมชน ระบบบริการสุขภาพ ระบบปกป้องคุ้มครองเด็ก และระบบบริการด้านอื่นๆ ที่มีอยู่ในทั้งระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ ให้เกิดการประสานความร่วมมือในการเข้าถึงและจัดบริการให้กับเด็กและครอบครัวได้อย่างเป็นจริงและมีคุณภาพ เกิดการระดมทรัพยากรและความร่วมมือในการทำงานด้านเด็กอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (CABA) และเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอื่นๆในชุมชนที่มีสถานการณ์เอดส์สูง ได้การรับส่งเสริมพัฒนาการและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้รับการยอมรับในสังคมในมาตรฐานเดียวกับเด็กทั่วไป
ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและคุณภาพชีวิตรวมทั้งได้รับการยอมรับในสังคม ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป กรอบแนวคิด /เป้าหมายโครงการ 1) ด้านอาหารและโภชนาการ 2) ด้านที่อยู่อาศัยและการได้รับการดูแล 3) ด้านการปกป้องคุ้มครอง 4) ด้านสุขภาพ 5) ด้านจิตใจสังคม 6) ด้านการศึกษา พัฒนาระบบสุขภาพ พัฒนาระบบปกป้องคุ้มครองทางสังคม, พัฒนานโยบาย เด็กที่ได้รับผลกระทบ 1) เด็กที่ได้รับผลกระทบจาก HIV 2) เด็กเร่รอน 3) เด็กกำพร้า 4) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ได้แก่ ถูกใช้แรงงาน พ่อ แม่ถูกคุมขัง ท้องไม่พร้อม 5) เด็กพิการ 6) เด็กถูกทารุณกรรม 7) เด็กไร้สัญชาติ / ไร้สถานะทางกฎหมาย 8) เด็กที่เริ่มเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง คณะทำงานเด็กในชุมชน -CAG พัฒนาระบบชุมชน
วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานโครงการ • การเสริมความเข้มแข็งและประสานการทำงานเชื่อมโยงระบบสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน การปกป้องทางสังคม เพื่อพัฒนาบริการให้มีคุณภาพโดยคำนึงถึงประเด็นความอ่อนไหวในเด็ก • การเข้าถึงการรักษาและบริการทางสังคมที่เท่าเทียมของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเด็กอื่นที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม • เพื่อปรับปรุงและเพิ่มการยอมรับทางสังคมที่มีต่อเด็กและผู้ทีได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งคนที่ถูกรังเกียจหรือไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ • ส่งเสริมศักยภาพระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล รวมทั้งชุมชนให้มีกลยุทธ์ด้านระบบข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาบริการให้กับเด็ก
พื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลงานโครงการฯ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เดือนเมษายน 2557 • เกิดกลไกคณะทำงานเด็กในชุมชน (Child Action Group) จำนวน 458 ตำบล ที่ทำงานกับเด็ก • สามารถเข้าถึงเด็ก จำนวน 35,880 คน เป็นเด็กที่มีภาวะเปราะบาง จำนวน 29,938 คน คิดเป็น 83.44 % และในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ จำนวน 1,699 คน คิดเป็น 4.74% ของเด็กทั้งหมด เหตุที่เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางและเด็กที่ได้ผลกระทบจากเอดส์ยังมีน้อย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเข้าถึงยาก และครอบครัวไม่พร้อม และเพื่อไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเด็ก คณะทำงานเด็กฯ (CAG) จึงทำงานกับเด็กที่อยู่ในพื้นที่ในวงกว้าง เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ • เกิดระบบการช่วยเหลือส่งต่อเด็กในพื้นที่ที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น สุขภาพ ปกครอง (ทะเบียนราษฏร์) การศึกษา ปกป้องคุ้มครองทางสังคม รวมทั้งคณะทำงานเด็กในชุมชน ทำให้เกิดการช่วยเหลือเด็กที่เผชิญปัญหาได้มากขึ้น โดย Case Conference เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบบริการในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เกิดความตื่นตัวในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเด็กแบบองค์รวม • เด็กที่ได้ร่วมกิจกรรมบริการในชุมชนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เช่น การทำงานเป็นทีม การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนๆ การค้นหาความฝันของตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง เป็นต้น ทำให้เกิดพลังใจในการเสริมสร้างความสุขของเด็กและเพิ่มทักษะชีวิตได้มากขึ้น
ความท้าทายในการทำงาน • การเชื่อมประสาน และขับเคลื่อนการดูแลช่วยเหลือเด็กของชุมชนเข้าสู่ระดับนโยบายของระบบปกป้องคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้กลไกการดูแลและช่วยเหลือเด็กยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้การดำเนินงานโครงการ CHILDLIFE สิ้นสุดลง และการนำกฎหมาย/พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเด็กมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากยังพบว่า ในทางปฏิบัติของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กกลุ่มเป้าหมายยังไม่สามารถเข้าถึงการดูแล ปกป้องคุ้มครองที่ควรจะได้รับ เด็กในชุมชนยังขาดโอกาส ความเท่าเทียม ถูกละเลย และทัศนคติด้านลบของคณะทำงานเด็กฯ ต่อเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ และเด็กกลุ่มเปราะบางในบางพื้นที่ส่งผลต่อการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก การเข้าถึงเด็กอย่างไม่ละเมิด การเลือกปฏิบัติ และตีตราเด็ก
การประสานเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐการประสานเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ การประสานการดำเนินงานกับภาคีภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดจากกลไกและกระบวนการดำเนินงานในแต่ละระดับ คือ • ระดับชุมชน มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสุขภาพระดับตำบล (โครงการ SSF) / มีการจัดตั้งคณะทำงานเด็กในชุมชน (โครงการ CHILDLIFE) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบสหวิชาชีพ เช่น โครงการ SSF มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสุขภาพระดับตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู พระ และแกนนำชุมชน เข้ามาร่วมวางแผนและดำเนินงานป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือ ส่งต่อผู้ติดเชื้อฯ ในชุมชน เข้าสู่ระบบบริการที่เหมาะสมต่อไป รวมถึง การร่วมกันดูแลสุขภาพของคนในชุมชน หรือโครงการ CHILDLIFE ที่มีการจัดตั้งคณะทำงานเด็กในชุมชน จะมีสมาชิกอย่างน้อย 10 คน จากผู้แทน 5 ฝ่าย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน เช่น ผู้ติดเชื้อฯ กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ องค์กรด้านสุขภาพ องค์กรด้านการศึกษา และองค์กรด้านการคุ้มครองทางสังคม เช่น อพม. ศพค.ฯลฯ เป็นต้น) มีบทบาทสำคัญ คือ เพื่อเชื่อมประสานการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ ส่งต่อ จัดบริการให้กับเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง • ระดับจังหวัด มีกลไก PCM และ PCPC ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ รวมถึง สนับสนุนงานเชิงนโยบายที่จะเอื้อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในพื้นที่ • ระดับประเทศเกิดภาคีร่วมระดับนโยบายที่จะขับเคลื่อนงานเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ของประเทศ เช่น Joint Strategic Committee เป็นต้น
นวัตกรรม • โครงการ “การดูแลหญิงหลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี (ECAT) เกิดนวัตกรรมที่สำคัญ ได้แก่ Peer Group Support หรือกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน และ Safety Net ที่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อฯ และครอบครัว ได้รับการดูแล-ส่งต่อเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างรอบด้าน (กาย จิต สังคม เศรษฐกิจ) • โครงการ “เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เกิด คณะทำงานในชุมชนที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานด้านเอดส์และสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชน ซึ่งเป็นกลไกท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้ติดเชื้อฯ ในชุมชนอย่างรอบด้าน (กาย จิต สังคม และเศรษฐกิจ) และต่อเนื่อง ในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริงเช่น เกิดระบบบริการด้านสุขภาพในพื้นที่ที่ชัดเจน เข้าถึงง่ายขึ้น เป็นต้น • โครงการ “พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE)” เกิด คณะทำงานเด็กในชุมชน (CAG) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก 5 ฝ่าย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชน องค์กรด้านสุขภาพองค์กรด้านการศึกษาและองค์กรด้านการคุ้มครองทางสังคม) ส่งผลให้เกิดการทำงานแบบสหวิชาชีพ ทำให้สามารถช่วยเหลือ-ส่งต่อให้เด็กรายกรณีได้อย่างรอบด้าน และเชื่อมเข้าสู่ระบบบริการปกติต่อไป