230 likes | 360 Views
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗.
E N D
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗
คณะทำงานร่างตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับจังหวัด โดยมีนายสมชาย วิทย์ดำรงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ดังนี้ • มิติภายนอก (ด้านการประเมินประสิทธิผล ) ๑.ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ๑.๑ มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรสำคัญ ( โคขุน ) น้ำหนักร้อยละ ๗.๕ โดย มอบหมายให้ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดนครพนม เป็นเจ้าภาพหลัก ในการดำเนินการรวบรวมข้อมูลส่งกลุ่มจังหวัด ๒ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์จังหวัด ๒.๑ ผลผลิตการเกษตรเฉลี่ยต่อหน่วยการผลิต ( โคขุน ) น้ำหนักร้อยละ ๗.๕ จังหวัดนครพนมกำหนด โคขุน เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด โดย มอบหมายให้ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดนครพนม เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ ตามตัวชี้วัด
(ด้านการประเมินคุณภาพ ) ตัวชี้วัดที่ ๒ คุณภาพการให้บริการความพึงพอใจของผู้รับบริการ น้ำหนักร้อยละ ๑๐ โดยมอบหมาย ดังนี้ หน่วยงานเจ้าภาพหลัก สนง.จังหวัด และ สนง.สถิติจังหวัด งานบัตรประชาชนและทะเบียนราษฏร์ ที่ทำการปกครอง เป็นเจ้าภาพหลัก งานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สนง.ที่ดินจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก งานบริการจัดหางาน สนง.จัดหางานจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก งานบริการผู้ป่วยนอก สนง.สาธารณสุขจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก งานการถ่ายทอดความรู้และการให้บริการทางการเกษตร สนง.เกษตรจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก งานประกันสังคม สนง.ประกันสังคม เป็นเจ้าภาพหลัก
มิติภายใน( การประเมินประสิทธิภาพ )ตัวชี้วัดที่ ๓ การเบิกจ่ายงบประมาณ น้ำหนักร้อยละ ๕ สนง.จังหวัด และสนง.คลังจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลักตัวชี้วัดที่ ๔ การประหยัดพลังงาน น้ำหนักร้อยละ ๕ สนง.จังหวัด และสนง.พลังงานจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก ( การพัฒนาองค์กร )ตัวชี้วัดที่ ๕ การพัฒนาสมรรถนะองค์กร (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์กร ) น้ำหนัก ร้อยละ ๑๕ สนง.จังหวัด เป็นเจ้าภาพหลักตัวชี้วัดที่ ๖ การสร้างความโปรงใสในการปฏิบัติราชการ น้ำหนักร้อยละ ๕ สนง.ที่ดินจังหวัด และสนง.จังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก
เร่งรัดดำเนินการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลเร่งรัดดำเนินการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูล เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๗งานสารสนเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม งานสารสนเทศ
รายงานเปรียบเทียบข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปี พ.ศ.2554-2557
ขยายระยะเวลาการปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์(TH-LiFDS) ประจำปี 2557 ช่วงที่ 1
เปิดให้บันทึกข้อมูลทุกช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๕ เมษายน ๒๕๕๗บันทึกข้อมูลได้ทุกวัน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นช่วงเวลา Free Time สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ในระหว่างเวลา ๒๐.๐๐-๐๘.๓๐ น. ของวันถัดไป
รายงานข้อมูลตลาดปศุสัตว์ ปี ๒๕๕๗ ขอให้ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ รายงานข้อมูลตลาดปศุสัตว์ส่งทุกวันที่ ๕ ของเดือน
สรุปการจำหน่ายสัตว์โครงการ ธคก.เพื่อแก้ไขปัญหา กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม
สรุปการจำหน่ายสัตว์โครงการ ธคก.เพื่อแก้ไขปัญหา ๑.การรายงานลูกเกิดโค-กระบือ โครงการ ธคก. ขอให้อำเภอรายงานในวันที่ ๑๖ หรือ ๑๗ ของทุกเดือน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดจะได้สรุปผลและรายงานให้สำนักงานปศุสัตว์เขต ๔ ในวันที่ ๒๐ ของทุกเดือน ๒.ลูกเกิดที่เป็นเพศเมีย มีอายุครบ ๑๘ เดือน ให้ทำขยายรายใหม่ ๓.ลูกเกิดที่เป็นเพศผู้ มีอายุครบ ๑๘ เดือน ขอให้ทำเรื่องจำหน่ายโดยราคา ตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องบัญชีราคาจำหน่ายสัตว์คัดออกโค-กระบือ พ.ศ.๒๕๕๖
ประกาศกรมปศุสัตว์เรื่องบัญชีราคาจำหน่ายสัตว์คัดออกโค-กระบือ พ.ศ.๒๕๕๖ • โคเนื้อพันธุ์ลูกผสม เพศผู้ ราคากิโลกรัมละ ๗๕ บาท เพศเมีย ราคากิโลกรัมละ ๗๕ บาท • กระบือพื้นเมือง เพศผู้ ราคากิโลกรัมละ ๖๐ บาท เพศเมีย ราคากิโลกรัมละ ๖๐บาท
โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสมหามงคลทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558กรมปศุสัตว์
2. โครงการมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558และเนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 72 ของการสถาปนากรมปศุสัตว์ 5 พ.ค.2557
เป้าหมาย ไถ่ชีวิตโค-กระบือ 6,000 ตัว มอบกรรมสิทธิ์ 7,200 ราย ระยะเวลาดำเนินงาน ธันวาคม 2556 – พฤษภาคม 2558 (18 เดือน)
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 2. เพื่อให้บุคลากรของกรมปศุสัตว์ หน่วยงานและประชาชนทั่วไปได้ร่วมใจกันสมทบทุนดำเนินงานโครงการ ธคก.ในโอกาสครบรอบปีที่ 72 ของการสถาปนากรมปศุสัตว์ 5 พฤษภาคม 2557
วัตถุประสงค์ (ต่อ) 3. เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มจำนวนโค-กระบือของประเทศ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มี โอกาสได้รับมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือเป็นของตนเองไว้ใช้แรงงานเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดต้นทุนการผลิต 4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ เกิดความรักความสามัคคี และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
การจัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือการจัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ
๑.การไถ่ชีวิตโค-กระบือ จำนวน ๖,๐๐๐ ตัว เป้าหมายดำเนินการ ๗๗ จังหวัดๆละ ๖๐ ตัว รวม ๔,๖๒๐ ตัว ส่วนกลาง จำนวน ๑,๓๘๐ ตัว กำหนดจัดพิธีไถ่ชีวิตโค-กระบือ ส่วนกลางกำหนดจัดพิธี ๒ ครั้ง ส่วนภูมิภาคจังหวัดละ ๑ ครั้ง ช่วงระหว่างเดือนเมษายน – ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๒.มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือตามสัญญายืมเพื่อการผลิตเป็นกรณีพิเศษ จำนวน ๗,๒๐๐ ราย เกษตรกรต้องมีความประพฤติดี และส่งลูกตัวที่ ๑ ที่มีอายุครบตามระเบียบ ของโครงการ ธคก.แล้วสามารถมอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือตามสัญญายืมเพื่อการผลิต โดยมิต้องรอให้สัญญายืมเพื่อการผลิต ครบ ๕ ปี
ขอให้ส่งตัวชี้วัดของกลุ่มฝ่ายขอให้ส่งตัวชี้วัดของกลุ่มฝ่าย ขอให้ส่งแบบประเมินผลการปฏิบัติงานอำเภอ ภายใน ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ การตรวจติดตามโครงการ Smart Farmer ตามแบบสอบถาม ให้ทุกอำเภอดำเนินการ