1 / 21

ประโยคความรวมซับซ้อน

ประโยคความรวมซับซ้อน. ด.ญ.สาวิณี โกทัญ ม.3/5 เลขที่ 35.

Download Presentation

ประโยคความรวมซับซ้อน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประโยคความรวมซับซ้อน ด.ญ.สาวิณี โกทัญ ม.3/5 เลขที่ 35

  2. ความหมายของประโยค ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำหรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กันมีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียนตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น ถ้อยคำหลายคำที่นำมาเรียงกันแล้วเกิดใจความสมบูรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาคประธาน และภาคแสดง ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งทางภาษาเขียน หรือภาษาพูด แต่การใช้ภาษาพูด ในสถานการณ์ต่างๆกัน อาจละเว้นส่วนหนึ่งส่วนใดได้ในฐานที่เข้าใจกันระหว่างผู้พูด และผู้ฟัง ลักษณะของประโยคต่างๆ จําแนกตามโครงสร้าง

  3. ส่วนประกอบของประโยค ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้  1. ภาคประธาน ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น  2. ภาคแสดง ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ 

  4. ชนิดของประโยค  ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้ 1. ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น  2. ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 

  5. 2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ  ตัวอย่าง  - ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์   - ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม   - ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา   - พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง – และ, แล้วก็, พอ – แล้วก็ หมายเหตุ : คำ “แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง 

  6. 2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง  - พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน  - ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ  2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง  ตัวอย่าง  - ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง   - คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล  -

  7. 2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล  ตัวอย่าง  - เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ  ข้อสังเกต  - สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด   - สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึง, ทั้ง – และ, แต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า “สันธานคาบ” มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี  - ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้ 

  8. 3. ประโยคความซ้อน  ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

  9. 3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม  ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม  - คนทำดีย่อมได้รับผลดี คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน  - ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม 

  10. 3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย - คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน  - คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก  - (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย  - ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน  - ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก  - (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย 

  11. 3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย  ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยาย วิเศษณ์  - เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก (เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา  - ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน) 

  12. หน้าที่ของประโยคประโยคต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบายซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้นหากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร

  13. ประโยคความรวม ประโยคความรวม คือ การนําประโยคความเดียวตังแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมเข้าไว้ในประโยคเดียวกันโดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม

  14. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน 1.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความคล้อยตามกันโดยใช้ สันธาน และ ทั้ง.........และ แล้ว..........ก็ แล้ว........จึง เมื่อ........ก็ พอ......ก็ ฯลฯ เช่น -ละครเรื่องนี้ให้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทยและให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักชาติ บ้านเมือง 2.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความคล้อยตามกันและแย้งกันโดยใช้สันธาน แต่ แต่ทว่า แต่ถ้า.........ก็ กว่า......ก็ ถึง.....ก็ ฯลฯ -คนเราลองได้ทําชั่วครั้งหนึ่งกว่าจะรู้สึกตัวความชั่วนั้นก็ติดเป็นนิสัยเสียแล้วและไม่อาจกลับตัวได้อีก

  15. 3.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้สันธาน หรือ มิฉะนั้น มิฉะนั้นก็ มิฉะนั้น.......ก็ ฯลฯ -นางบิฮูหยินตัดสินใจโจนลงบอน้าตาย มิฉะนั้นอาเต๊า หรือจูลงจะต้องถูกทหารโจโฉจับได้ 4.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งและคล้อยตามกัน -พระร่วงหรือพ่อขุนรามคําแหงทรงสร้างพระกำแพงเขย่งและใช้เป็นสิ่งเตือนใจคนไทยเกี่ยวกับความก้าวหน้า

  16. 5.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและแย้งกัน -พระปิดทวารไม่ได้ช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน หรือฟันไม่เข้ายิงไม่ออก แต่จะช่วยปกป้องความชั่ว 6.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเป็นเหตุผลแก่กันและคล้อยตามกันโดยใช้สันธาน จึง เพราะ..........จึง ฉะนั้น.......จึง และ พอ........จึง -ในสมัยก่อนหนังสือธรรม ไม่แพร่หลายอย่างในปัจจุบันคนโบราณ จึงนิยมสร้างพระกันมาก และใช้พระเป็นสิ่งเตือนใจคอยควบคุมความประพฤติ

  17. 7.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเป็นเหตุผลแก่กันและแย้งกัน -เขามีพระรอดห้อยคอ เพราะฉะนั้นเขาจึงรอดพ้นจากภัยพิบัติได้ แต่ที่จริงพระรอดช่วยเตือนใจให้รอดพ้นจากการประพฤติชั่วร้ายเท่านั้น 8.ประโยคความรวมซับซ้อนที่มีใจความเป็นเหตุผลแก่กันและเลือกเอาอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง -เขาทําความดีเพราะฉะนั้น ความดี หรือ พระ จึงอยู่กับเขา

  18. ประโยคความรวมซับซ้อน  มีลักษณะดังนี้           1.ประโยความเดียวซับซ้อนมารวมกัน - แม้เขาจะเรียนไม่เก่งเหมือนเพื่อนๆ แต่เขาก็พยายามเพิ่มพูนความรู้ด้วยการอ่านหนังสือเสมอ  ( ประโยคความเดียวซับซ้อน 2 ประโยครวมกัน  แต่  เป็นคำเชื่อม )              2.ประโยคความรวมมารวมกัน   - เขาไม่ได้ร้องเพลงสากล และเพลงไทย เก่งเท่านั้นแต่เขายังเล่นกีฬาทั้งทางน้ำและทางบกเก่งด้วย   ( ประโยคความรวม 2 ประโยครวมกัน แต่ เป็นคำเชื่อม )              3.ประโยคความซ้อนกับประโยคอื่นๆ     - เขาเป็นหมอหนุ่มไฟแรง ที่ทั้งชำนาญการผ่าตัดและชำนาญการแต่งเพลงไทยสากล

  19. สรุป การเรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อนสามารถขยายให้เป็นประโยคยาวขึ้นได้ด้วยการใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เป็นส่วนขยายยิ่งประโยคมีส่วนขยายหรือองค์ประกอบมากส่วนเพียงใดก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้นเพียงนั้น ข้อสำคัญ คือต้องเข้าใจรูปแบบประโยค การใช้คำเชื่อมและคำขยายทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาในการส่งสารด้วยผู้มีทักษะในการเรียบเรียงประโยคสามารถพัฒนาไปสู่การเขียน เล่าบอกเรื่องราวที่ยืดยาวได้ตามเจตนาของการสื่อสารดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างประโยคและวิธีการสร้างประโยคให้แจ่มแจ้งชัดเสียก่อนจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผลและสามารถใช้ภาษาสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

  20. เสนอคุณครูศิริมา เจนจิตมั่น

  21. อ้างอิงhttp://vatchara.rwb.ac.th/U-03/307.htm http://www.ds.ru.ac.th/download/sat54/thai/th_1-54-2_8-9.pdf http://www.oknation.net/blog/thai-lord/2007/05/16/entry-1

More Related