1.25k likes | 1.81k Views
ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย. พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.นิติกรด้านสอบสวนฯ วน 081 - 3254740. ก่อนถูกดำเนินการทางวินัย เมื่อถูกดำเนินการทางวินัย.
E N D
ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.นิติกรด้านสอบสวนฯ วน 081 - 3254740
ก่อนถูกดำเนินการทางวินัยเมื่อถูกดำเนินการทางวินัยก่อนถูกดำเนินการทางวินัยเมื่อถูกดำเนินการทางวินัย
คุณวุฒิและประวัติการทำงาน 1.นิติศาสตรบัณฑิต 2.ประกาศนียบัตรการดำเนินการทางวินัย สำนักงาน ก.พ. 3.ประกาศนียบัตรความรู้เกี่ยวกับศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง4.รอง สวส.สภ.อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา5.รอง สวส.สภ.อ.พระนครศรีอยุธยา 6.รอง สวส.สภ.อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 7.สว.งาน 3 กองคดี 8.รอง ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวน วน. 9.ผกก.กลุ่มงานด้านเสริมสร้างและพัฒนาวินัย วน. 10.ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวนและพิจารณาโทษ วน.
วินัย คือ อะไร ? พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “ วินัย” วินย-, วินัย [ วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับ,ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย ...
ความหมายของวินัย • 1.ความหมายในทางรูปธรรม ปทัสถานหรือบรรทัดฐานแห่งความประพฤติที่กำหนดให้คนแต่ละวงการปฏิบัติตาม กำหนดไว้เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติหรือแบบของคนในวงการนั้น ๆ
2.ความหมายในทางนามธรรม2.ความหมายในทางนามธรรม ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่คนแสดงออกมา เป็น 1.การควบคุมตนเอง 2.การปฏิบัติตามคำสั่ง 3.การมีความเป็นระเบียบ 4.การอยู่ในแบบแผน
ประโยชน์ของวินัย(จุดมุ่งหมายของการลงโทษ)ประโยชน์ของวินัย(จุดมุ่งหมายของการลงโทษ) • 1.เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิของกฎหมาย • 2.เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติ และสมรรถภาพของข้าราชการ • 3.เพื่อจูงใจให้ข้าราชการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น • 4.เพื่อรักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชน
ค่านิยมของตำรวจ 5 ประการ(ส่วนที่ ๑ ค่านิยมหลัก คุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ) • 1. พึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ • 2. ประหยัดและอดออม • 3. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย • 4. ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา • 5. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จริยธรรมและจรรยาบรรณ
คุณธรรมตำรวจ 4 ประการ • 1.การรักษาความสัจ: ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม • 2.การรู้จักข่มใจตนเอง: ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น • 3.การอดทน อดกลั้น และอดออม: ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ๆ • 4.การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต: รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง จริยธรรมและจรรยาบรรณ
1.เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่1.เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ 2.กรุณาปรานีต่อประชาชน 3.อดทนต่อความเจ็บใจ 4.ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก 5.ไม่มักมากในลาภผล 6.มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน 7.ดำรงตนอยู่ในความยุติธรรม 8.กระทำการด้วยปัญญา 9.รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต จริยธรรมและจรรยาบรรณ อุดมคติของตำรวจ 9 ประการ
สาเหตุ(ภายนอก)ที่ทำให้วินัยเสื่อมสาเหตุ(ภายนอก)ที่ทำให้วินัยเสื่อม • 1.อบายมุข • 2.ตัวอย่างไม่ดี • 3.ขวัญไม่ดี • 4.งานล้นมือ/งานไม่พอมือ • 5.โอกาสเปิดช่อง • 6.ความจำเป็นในการครองชีพ • 7.การปล่อยปละละเลยของผู้บังคับบัญชา
1.ไม่เข้าใจ 2.ตามใจ 3.ไม่ใส่ใจ 4.ชะล่าใจ 5.เผลอใจ 6.ล่อใจ 7.ไม่มีจิตใจ 8.จำใจ 9.เจ็บใจ 10.ตั้งใจ สาเหตุ(ภายใน)ของการกระทำผิดวินัย
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ๑. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ๒. กฎ ก.ตร. ๒.๑ ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ p40 ๒.๒ ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๗p61 ๒.๓ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.๒๕๔๗ ๒.๔ ว่าด้วยกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2547p.17 ๒.๕ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ อัตราโทษ และการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน พ.ศ.2547 ๒.๖ ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ พ.ศ.2547 ๒.๗ ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2547 ๒.๘ ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.2547
2.9 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการพิจารณาสั่งลงโทษ พ.ศ.2547 • 2.10 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษเพิ่มขึ้นกลับสู่ฐานะเดิมพ.ศ.2547 • 2.11 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำ ตร.หรือ สำรองราชการ พ.ศ.2547 • 2.11 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิผลฯ พ.ศ.2547
2.12 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง(ต่อ)กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง(ต่อ) • ๓.ระเบียบ ก.ตร. ว่าด้วยวิธีการเสริมสร้างและพัฒนาให้ข้าราชการตำรวจมีวินัย และป้องกันมิให้ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย พ.ศ.๒๕๔๙p19 • ๔. คำสั่ง ตร.ที่ ๔๓๖/๒๕๔๘ ลง ๒๐ มิ.ย.๒๕๔๘ • ๕. หนังสือ ตร.ที่ 0006.3/ว 0095 ลง 2 พ.ย. ๒๕52
ความผิดปรากฏชัดแจ้ง (มาตรา.๘๗ วรรค ๓) • ความผิดไม่ร้ายแรง(ข้อ 2) ๑. กระทำผิดต่อหน้าผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงโทษ ๒. กระทำผิดอาญาจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิดและผู้บังคับบัญชาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดแล้ว ๓. กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงและรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนฯ หรือคณะกรรมการสืบสวนฯและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ การดำเนินการทางวินัย
ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง(ข้อ 3) ๑. กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ๒. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันและผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ๓. รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง หรือคณะกรรมการสอบสวนฯ และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ(ผู้บังคับบัญชาจะงดการสืบสวนหรือสอบสวนแล้วดำเนินการตามมาตรา ๙๐ หรือ ๙๑)
หน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการเสริมสร้างและพัฒนาวินัย(มาตรา ๘๐ วินัยเชิงบวก) • 1.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี • 2.จัดฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ • 3.สร้างขวัญและกำลังใจอย่างพอเพียงและเหมาะสม • 4.ปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอหน้ากัน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมคนดีและงดเว้นช่วยเหลือผู้กระทำผิด • 5.จูงใจหรือกระทำการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมให้เป็นผู้มีวินัย วินัยและการรักษาวินัย
หน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการป้องกันการกระทำผิดวินัยหน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการป้องกันการกระทำผิดวินัย • 1.เอาใจใส่ สังเกตการณ์ รายงานเหตุและขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกัน • 2.กวดขัน ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ • 3.ดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม วินัยและการรักษาวินัย
ประเภทของความผิดวินัยประเภทของความผิดวินัย ๑. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ๒. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
1. วินัยต่อประชาชน 2. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ 3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา 4. วินัยต่อผู้ร่วมงาน 5. วินัยต่อตนเอง
(วินัยและการรักษาวินัย)ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง(วินัยและการรักษาวินัย)ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มาตรา ๗๘ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ (๑) – (๑๗) ข้อปฏิบัติและข้อห้าม (๑๘) ข้อปฏิบัติและข้อห้ามตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา 78 (1)(ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี จรรยาบรรณตำรวจ และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ • มาตรา 78 (2) (ความผิดต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้
มาตรา78 (4)(วินัยต่อตนเอง)ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ • มาตรา 78 (5) (ความผิดต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว • มาตรา 78 (6) (วินัยต่อตำแหน่ง,ต่อตนเอง) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
มาตรา 78 (7) (วินัยต่อผู้ร่วมงาน) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ • มาตรา 78 (8) (วินัยต่อประชาชน) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการ หรือในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อยโดยห้ามมิให้ ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ฯ
มาตรา 78 (9)(วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ • มาตรา 78 (10) (วินัยต่อผู้ร่วมงาน) ต้องไม่กระทำการอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างข้าราชการตำรวจ • มาตรา 78 (11) (วินัยต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาการรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
มาตรา 78 (12) (วินัยต่อตนเอง) ต้องไม่ใช้กิริยาวาจาหรือประพฤติตนในลักษณะที่ไม่สมควร • มาตรา 78 (13) (วินัยต่อตนเอง)ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว • มาตรา 78 (14) (วินัยต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องไม่กระทำด้วยประการใด ๆในลักษณะที่เป็น การบังคับ ผู้บังคับบัญชาเป็นทางให้เสียระเบียบแบบแผนวินัยของตำรวจ
มาตรา 78 (15) (วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่)ต้องไม่กระทำการหรือละเว้นการกระทำใดๆอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ หรือทำให้เสียระเบียบแบบแผนของตำรวจ มาตรา 78 (16) (วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มาตรา 78 (17) (วินัยต่อตนเอง) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
คำถาม ? • ๑.ละทิ้งกับทอดทิ้งหน้าที่ราชการตามมาตรา ๗๘(๔) หรือมาตรา ๗๙(๒) มีความแตกต่างกันอย่างไร • ๒.การนับวันละทิ้งหน้าที่ราชการมีหลักเกณฑ์ในการนับอย่างไร • ๓.ละทิ้งหน้าที่ราชการหลายครั้งแต่ละครั้งไม่เกิน ๑๕ วัน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๗๙ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ (๑) – (๖) ข้อห้าม (๗) ข้อห้ามตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา 79 (1)ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ • มาตรา 79 (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร • มาตรา 79 (3)เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา 79 (4)กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ • มาตรา 79 (5)กระทำการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • มาตรา 79 (6)กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด รวมทั้งการกระทำผิดตามมาตรา 78 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
คำถาม? • ๑.อย่างไรที่เรียกว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีหลักในการพิจารณาอย่างไร • ๒.กระทำหรือละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหมายถึงการกระทำอย่างไร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร
โทษทางวินัยมี ๗ สถาน ๑. ภาคทัณฑ์ ๒. ทัณฑกรรม ๓. กักยาม ๔. กักขัง ๕. ตัดเงินเดือน ๖. ปลดออก ไล่ออก (มาตรา ๘๒ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗)
คำถาม? • ๑.ผู้ถูกลงโทษทางวินัยไม่ยอมรับทราบคำสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการอย่างไร จึงชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
ความแตกต่าง ระหว่างความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กับ อย่างร้ายแรง ๑. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือน ๒. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ปลดออก ไล่ออก
ความผิดวินัย แตกต่างกับ ความผิดอาญาอย่างไร? ๑. โทษ ๒. อายุความ ๓. ผลอันเกิดจากความตาย ของผู้กระทำความผิด
คำถาม? • ๑.เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตายก่อนการสอบสวนพิจารณาแล้วเสร็จกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการอย่างไร • ๒.ทางวินัยมีอายุความหรือไม่
การสืบสวนข้อเท็จจริง(การดำเนินการทางวินัย)การสืบสวนข้อเท็จจริง(การดำเนินการทางวินัย) • การสืบสวนข้อเท็จจริงตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547
ผู้สั่งให้ทำการสืบสวนแจ้งคำสั่ง (ข้อ 11) รู้ตัวผู้ถูกกล่าวหา แจ้งให้ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อประธาน หรือผู้สืบสวนภายใน 15วัน (ข้อ 11 (1)) • ระยะเวลาสืบสวน • สืบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว • แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน • ขยายเวลาได้ตามความจำเป็น • (ข้อ 16 (1)) 1. ประธานกรรมการหรือผู้สืบสวนรับทราบ คำสั่ง (ข้อ 11 (2)) (ข้อ 16 (1)) - ประชุมวางแนวทางการสืบสวน (ข้อ 14) แผนผังขั้นตอนการสืบสวนข้อเท็จจริง ตาม กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2547 2. รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหา (ข้อ 17) -พิจารณาควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่ (ข้อ18) -ประชุมพิจารณา (ข้อ 14(2)) ไม่มีมูล (ข้อ18 ว.1) มีมูล (ข้อ18ว.2) 3. แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐาน ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (สส.2) ( ข้อ 18 ว.2 ว.3) ไม่รับ/รับบางส่วน (ข้อ 18 ว.6) รับสารภาพ (ข้อ 18ว.5) 4. ถามว่าจะยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่ (15 วัน) (ข้อ18ว.6) - ให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา (โดยเร็ว) (ข้อ18ว.6) 5. รวบรวมพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้าง 6. ประชุมลงมติ (ข้อ 30) (ข้อ 14 (2)) - ทำรายงานการสืบสวน (ข้อ 31) - เสนอสำนวนต่อผู้สั่งให้ทำการสืบสวน(ข้อ 31)
การพิจารณาในเบื้องต้นการพิจารณาในเบื้องต้น ๑.ไม่มีมูล ๒.มีพยานหลักฐานฟังได้ว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ๓.มีมูลเพียงพอที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการไปภายในอำนาจ • (มาตรา ๘๔ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๒)
คำถาม ? • ๑.การพิจารณาในเบื้องต้นคืออะไร มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร เคยมีตัวอย่างในการพิจารณาหรือไม่
กรณีที่ควรทำการสืบสวนข้อเท็จจริง(กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนฯ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๔) ๑.ผู้บังคับบัญชามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชากระทำผิดวินัย ๒.มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยผู้ร้องเรียนนั้นแจ้งชื่อที่อยู่เป็นที่แน่นอน พร้อมทั้งระบุพฤติการณ์แห่งกรณีที่กล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย
๓.ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย๓.ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย
๔.มีบัตรสนเท่ห์กล่าวโทษว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยปกติห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐานกรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสาร ชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้
๕.กรณีปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนใด ๆ ว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัยตามปกติหากไม่มีชื่อและที่อยู่ของ ผู้ร้องเรียนหรือกล่าวโทษห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่ข่าวนั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน กรณีแวดล้อม หรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุหรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้
๖.กรณีอื่นที่ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง๖.กรณีอื่นที่ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง
คำถาม ? ๑.การสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการสืบสวนตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ ๒.การสั่งให้ผู้มียศ ร.ต.อ.ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือเป็นประธานกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ผลการสืบสวนจะเสียไปหรือไม่ เพียงใด
ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสืบสวนข้อเท็จจริงผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสืบสวนข้อเท็จจริง • ๑.สารวัตรหรือเทียบเท่าขึ้นไป ๑.๑ สืบสวนด้วยตนเอง ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือสั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดสืบสวน ๑.๓ ส่งประเด็นให้เจ้าพนักงานอื่นสืบสวน • ๒.จเรตำรวจ • (กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๕)