560 likes | 1.16k Views
- การทดสอบสมรรถภาพทางกาย -. Physical Fitness Test. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Muscular Stremgth ). ความอดทนของกล้ามเนื้อ ( Muscular Endurance). การทดสอบสมรรถภาพทางกาย. หมายถึง การวัดและประเมินผล ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายหรือสมรรถภาพทางกานในด้านต่างๆ. ความอ่อนตัว ( Flexibility).
E N D
- การทดสอบสมรรถภาพทางกาย - Physical Fitness Test
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Stremgth) ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) การทดสอบสมรรถภาพทางกาย หมายถึง การวัดและประเมินผล ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายหรือสมรรถภาพทางกานในด้านต่างๆ ความอ่อนตัว (Flexibility) ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ (Cardio respiratory Endurance)
ประโยชน์การทดสอบสมรรถภาพทางกายประโยชน์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 1 1 ผลที่ได้จากการทดสอบสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบและวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล 2 2 ผลที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินผลถึงความก้าวหน้าทางด้านสมรรถภาพทางกายได้ 3 3 ผลที่ได้จากการทดสอบสามารถนำไปวินิจฉัยเบื้องต้นถึงความบกพร่องทางด้านร่างกายที่มีแนวโน้มที่อาจจะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ
ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายในการทดสอบรายการ ข้อควรระวัง • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ • ความอดทนระบบไหลเวียนเลือด แต่ในรายการต่อไปนี้ สามารถทำได้ถ้าสภาพร่างกายพร้อม ข้อควรระวัง และ ข้อควรปฏิบัติ • ขนาดของร่างกาย • ชีพจรและความดันเลือดขณะพัก • ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อต่อ
1 เตรียมเครื่องแต่งกายให้พร้อม 2 ควรมีผู้ช่วยทำการทดสอบให้ 3 ควรทดสอบหลังรับประทานอาหารหนักอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง ข้อควรปฏิบัติ 4 ปฏิบัติตามวิธีการอย่างถูกต้อง 5 ตั้งใจทำอย่างเต็มความสามารถ 6 ควรทดสอบเป็นประจำทุก 2 เดือน
การวัดและประเมินสมรรถภาพทางกายมีรายละเอียดดังนี้ การวัดและประเมินสมรรถภาพทางกายมีรายละเอียดดังนี้ 1. การวัดชีพจรและความดันโลหิตขณะพักเป็นการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้จะบอกถึงสมรรถภาพการทำงานของระบบไหลเวียนได้ในเบื้องต้น 2. การวัดความจุปอด คือ การทดสอบความสามารถในการหายใจออกให้ได้ปริมาตรอากาศมากที่สุด ภายหลังหายใจนำปริมาตรอากาศสูงสุดเข้าสู่ปอด การวัดความจุปอดจะทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของปอด 3. การวัดแรงบีบมือ คือ การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือ แรงบีบมือที่วัดได้ทำให้ทราบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ต้องใช้งานหรือออกแรงเป็นประจำ 4. การวัดแรงเหยียดขา คือ การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา บริเวณต้นขาทั้งสองข้างซึ่งกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้เพื่อการเคลื่อนไหวและเล่นกีฬาทุกชนิด 5. การวัดความอ่อนตัว คือ การวัดขีดความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวข้อต่อและกล้ามเนื้อ หรือยืดเหยียดเอ็นยึดข้อต่อตำแหน่งต่างๆ ค่าที่ได้จากการวัดความอ่อนตัวจะทำให้ทราบว่าข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวและยืดเหยียดได้เต็มพิกัดหรือไม่ มากน้อยเพียงไร
ตั้งระดับเข็มบนสเกลให้อยู่ที่ศูนย์ (0) ความจุปอด ผู้เข้ารับการทดสอบยืนตัวตรง จับเครื่องเป่าอยู่ระดับปาก เป็นการวัดปริมาตรการหายใจเข้า-ออกลึกที่สุด 1 ครั้ง (vital capacity) คนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะมีความจุปอดมากซึ่งเป็นผลดีต่อการนำออกซิเจนไปใช้ หายใจเข้าเต็มที่ และเป่าลมเข้าในหลอดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ขณะเป่า ห้ามงอตัวหรือบีบแขนหน้าอก) ทดสอบ 2 ครั้ง ให้ค่าที่มาก อุปกรณ์ • spirometer บันทึกผลการวัด นำผลที่ได้หารด้วยน้ำหนักตัวของผู้เข้ารับการทดสอบ
จัดระดับที่จับของเครื่องมือให้เหมาะสมกับมือของผู้ถูกวัด จัดระดับที่จับของเครื่องมือให้เหมาะสมกับมือของผู้ถูกวัด แรงบีบมือ ผู้เข้ารับการทดสอบ ปล่อยแขนตามสบายข้างลำตัว เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนข้างที่ถนัด ใช้มือข้างที่ถนัด กำที่จับของ hand grip dynamometer ห้ามแนบลำตัว อุปกรณ์ • hand grip dynamometer ออกแรงกำมือให้แรงที่สุด ทำการทดสอบ 2 ครั้ง ใช้ค่าที่มาก บันทึกผลการวัด นำผลที่ได้หารด้วยน้ำหนักตัวของผู้เข้ารับการทดสอบ
ผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนที่วางเท้าของเครื่องมือผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนที่วางเท้าของเครื่องมือ แรงเหยียดขา ย่อเข่าลงและแยกขาเล็กน้อย โดยให้หลังและแขนตรง เพื่อวัดความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อขา จับที่ดึงในท่าคว่ำมือ เหนือระหว่างเข่าทั้งสอง จัดสายให้พอเหมาะ อุปกรณ์ ออกแรงเหยียดขาให้เต็มที่ ทำการทดสอบ 2 ครั้ง ใช้ค่าที่มาก • back and legdynamometer บันทึกผลการวัด นำผลที่ได้หารด้วยน้ำหนักตัวของผู้เข้ารับการทดสอบ
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นขาด้านหลัง สะโพก ไหล่ นั่งงอตัว นั่งพื้น เหยียดขาตรง สอดเท้าเข้าใต้ม้าวัด โดยเท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า เหยียดแขนตรงขนานกับพื้น เพื่อชี้วัดถึงความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง หลังส่วนล่าง ค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้าให้มืออยู่บนม้าวัด จนไม่สามารถก้มต่อไปได้ ห้ามโยกตัวหรือก้มตัวแรง ๆ ให้ปลายนิ้วมือเสมอกัน และรักษาระยะทางนี้ไว้ได้อย่างน้อย 2 วินาที อุปกรณ์ • ม้าวัดความอ่อนตัว 1 ตัว มีที่ยันเท้าและมาตรวัดระยะทางเป็น +30 ซม. หรือ +35 ซม.และ -30 ซม. จุด " 0 " อยู่ตรงที่ยันเท้า • เสื่อ หรือพรม หรือกระดาน สำหรับรองนั่ง อ่านระยะจากจุด " 0 " ถึงปลายนิ้วมือ ถ้าเหยียดปลายนิ้วมือเลยปลายเท้า บันทึกค่าเป็น + ถ้าเหยียดไม่ถึงปลายเท้า ให้บันทึกเป็น -
ทดสอบสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลทัพทัน