1 / 30

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและ การเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต

บทที่ 1. ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและ การเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต. สัญญา เครือหงษ์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ประจำบท. เพื่อให้ทราบถึงที่มาและหลักการทำงานของ World Wide Web

brac
Download Presentation

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและ การเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและการเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต สัญญา เครือหงษ์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ประจำบทวัตถุประสงค์การเรียนรู้ประจำบท • เพื่อให้ทราบถึงที่มาและหลักการทำงานของ World Wide Web • เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของการทำงานแบบ Client-Server • เพื่อให้ทราบถึงโพรโทคอลที่เกี่ยวข้องกับการโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต • เพื่อให้ทราบประเภทการเขียนโปรแกรมแบบ Static Programming และ Dynamic Programming

  3. กิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมการเรียนการสอน • บรรยายโดยผู้สอนและใช้เอกสารประกอบการสอนของผู้สอน • สอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ผ่านเครื่องฉาย • อภิปรายในชั้นเรียนร่วมกัน • ให้นิสิตค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง • ทำแบบฝึกหัดท้ายบท

  4. การประเมินผล • ประเมินผลจากการตอบคำถามและอภิปรายในชั้นเรียน • ทำแบบฝึกหัดท้ายบท • ทำรายงานส่ง

  5. หลักการทำงานของ WWW • อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล์ เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

  6. หลักการทำงานของ WWW (ต่อ) • อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

  7. หลักการทำงานของ WWW (ต่อ) • WWW จะมีลักษณะเช่นเดียวกับการทำงาน ในลักษณะ ไคลเอ็นต์- เซิร์ฟเวอร์ (Client - Server) คือ มีลักษณะของการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการ (Server) และเครื่องผู้ให้บริการ (Client) พิจารณารูปต่อไปนี้ Request Response Client Server

  8. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์

  9. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (ต่อ) • การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

  10. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) • เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต จะอยู่ในรูปแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม

  11. มาตรฐานหลักที่ใช้ในเว็บประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลัก คือ • Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า ชื่อของ URL ของเว็บไซต์ (เช่น http://...) • Hyper Text Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์ • Hyper Text Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ

  12. เว็บไซต์ (Web site) • ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์ (2540) ได้กล่าวว่า เว็บไซต์ ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่มีเว็บเพจเป็นของตัวเองบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้จากการลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนระบบอินเทอร์เน็ตเมื่อลงทะเบียนในชื่อที่ต้องการแล้ว • นิรุธ อำนวยศิลป์ (2542) กล่าวถึงเว็บไซต์ว่า เป็นชื่อเรียก Host หรือ Server ที่ได้จดทะเบียนอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งก็คือชื่อชื่อ Host ที่ถูกกำหนดให้มีชื่อในเวิลด์ไวด์เว็บ และขึ้นต้นด้วย http และมีโดเมนหรือนามสกุลเป็น .com, .net, .org หรืออื่นๆ

  13. เว็บเพจ (Web page) • สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2540) ได้ให้ความหมายของเว็บเพจไว้ดังนี้ • เว็บเพจ คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นต้น

  14. โฮมเพจ (Home page) • โดยทั่วไปแล้วในแต่ละเว็บไซต์จะมีโฮมเพจ หรือ หน้าต้อนรับ(Welcome page) ซึ่งปรากฏเป็นหน้าแรก เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา เปรียบเสมือนกับสารบัญและคำนำ ที่เจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตนว่าให้บริการในสิ่งใดบ้าง(กิดานันท์ มลิทอง, 2542) • นอกจากนี้ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นได้อีก ซึ่งโฮมเพจ สามารถเชื่อมโยงกับเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากได้(งามนิจ อาจรินทร์, 2542)

  15. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) • เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: Web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML

  16. โพรโตคอลที่เกี่ยวข้อง WWW • Transmission Control Protocol/Internet Protocol: TCP/IP • Hyper Text Transport Protocol: HTTP • File Transfer Protocol: FTP • Simple Mail Transfer Protocol: SMTP • Simple Network Management Protocol: SNMP

  17. Hyper Text Transport Protocol: HTTP • เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (อังกฤษ: Hyper Text Transport Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อหลายมิติ ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

  18. การเชื่อมต่อแบบปลอดภัย (HTTPS) • Hypertext Transfer Protocol Secure (HTTPS) เป็นการผสม Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เข้ากับโปรโตคอล SSL/TLS เพื่อสร้างการสื่อสารแบบเข้ารหัส และความสามารถในการระบุเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าปลอดภัย การเชื่อมต่อแบบ HTTPS มักใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนเว็บ และการทำธุรกรรมที่ต้องรักษาเป็นของลับในระบบสารสนเทศของบริษัท

  19. File Transfer Protocol: FTP • เอฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (อังกฤษ: FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต

  20. Simple Mail Transfer Protocol: SMTP • เอสเอ็มทีพีเป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail Exchange) ของ DNS

  21. Simple Network Management Protocol: SNMP • เป็นโพรโทคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโพรโทคอล TCP/IP เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิดและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System

  22. Simple Network Management Protocol: SNMP (ต่อ)

  23. ประเภทของการเขียนโปรแกรมบนเว็บ • ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บสามารถที่แบ่งลักษณะการทำงานของโปรแกรมได้เป็น 2 ประเภท คือ • Static Programming • Dynamic Programming

  24. Static Programming • Static Programming เป็นลักษณะของโปรแกรมบนเว็บที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เว็บประวัติส่วนตัว เว็บนำเสนอประวัติและโครงสร้างขององค์กร เป็นต้น • ลักษณะเว็บประเภทนี้เมื่อผู้พัฒนาเว็บสร้างเว็บขึ้นมาแล้วหากต้องการที่จะทำการแก้ไขข้อมูลบางอย่างนั้นก็ต้องใช้โปรแกรมในการสร้างเว็บเพจ Adobe, Dream weaver, Microsoft FrontPage เป็นต้น • ภาษาหลักๆก็คือ HTML

  25. Static Programming 3. Web server locates .html file 1. Author Writes HTML 4. HTML stream (from .htm page) Returned to browser Web Server 5. Browser Processes HTML And displays Pages 2. Client request Webpage Client

  26. Dynamic Programming • Dynamic Programming เป็นลักษณะของโปรแกรมบนเว็บที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยืดหยุ่นในการจัดข้อมูลของ Static Programming โดยเหมาะสมสำหรับเว็บที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่บ่อยครั้งหรือเว็บที่มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้ภายในฐานข้อมูล เช่น เว็บหนังสือ, เว็บแสดงรายละเอียดของสินค้า เป็นต้น • ในการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บประเภทนี้จะต้องอาศัยผู้พัฒนาโปรแกรมที่มีความรู้ ความสามารถในการเขียนโปรแกรม นอกจากนั้นในส่วนของซอฟแวร์ที่ใช้ในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสามารถเป็นเครื่อง Web Server, ซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลโปรแกรมภาษาและฐานข้อมูล

  27. Dynamic Programming (ต่อ) • ภาษาที่ใช้อาจจะแยกเป็น2 อย่างคือ • Client-Side Script • จะถูกแปล Script โดย Browser เช่น VBScript, JavaScript • Server-Side Script • จะถูกแปลและประมวลผลโดย Web Server เช่น ASP , PHP ,JSP

  28. Client-Side Script 3. HTML stream (from .htm page) Returned to browser 2. Web Server locate .html File Web Server 4. Browser Process Client-side script 5. Browser Processes HTML And displays Pages 1. Client Request Webpage Client

  29. Server-Side Script 3. Web server processes instruction to create HTML 2. Web server Instruction File Web Server 4. HTML Stream returned to Browser 5. Browser Processes HTML And displays Pages 1. Client Request Webpage Client

  30. สรุป • การทำงานของ WWW จะมีลักษณะเช่นเดียวกับการทำงานในลักษณะไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) คือมีลักษณะของการเชื่อมต่อของเครื่องผู้ให้บริการ (Server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (Client) ในสานักงานต่าง ๆได้นาประโยชน์ของการทำงานในลักษณะ Client-Server นี้ไปใช้จัดการงานต่าง ๆ ภายในสานักงาน เช่น Client-Server ในลักษณะของ File Server, Print Server และ Web Server • ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บสามารถที่จะแบ่งลักษณะการทำงานโปรแกรมได้เป็น 2 ประเภท คือ Static Programming, Dynamic Programming โดย Static Programming เป็นลักษณะของโปรแกรมเว็บที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เว็บประวัติส่วนตัว เว็บนำเสนอประวัติและโครงสร้างขององค์กร เป็นต้น ส่วน Dynamic Programming เป็นลักษณะของโปรแกรมบนเว็บที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูลของ Static Programming โดยเหมาะสาหรับเว็บที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่บ่อยครั้งหรือเว็บที่มีการจัดเก็บข้อมูลจานวนมากไว้ภายในฐานข้อมูล เช่น เว็บหนังสือพิมพ์, เว็บแสดงรายละเอียดของสินค้า เป็นต้น

More Related