460 likes | 732 Views
เศรษฐศาสตร์สุรา : ผลกระทบของ ภาษีสรรพสามิตและนโยบายที่มิใช่ราคา ต่อการบริโภคสุราในไทย. นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนา สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธ. (รังสิต) 1 กุมภาพันธ์ 2551. งานวิจัย 2 ฉบับ.
E N D
เศรษฐศาสตร์สุรา : ผลกระทบของภาษีสรรพสามิตและนโยบายที่มิใช่ราคาต่อการบริโภคสุราในไทย นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนา สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธ. (รังสิต) 1 กุมภาพันธ์ 2551
งานวิจัย 2 ฉบับ • โครงการ “วิจัยพัฒนารูปแบบเพื่อการป้องกันการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”เสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2548 • โครงการวิจัยการประเมินผลกระทบของภาษีสุราต่อราคาและการบริโภคสุรา, เสนอต่อ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, 2550 • นักวิจัย : นิพนธ์ พัวพงศกร - หัวหน้าโครงการ (TU/ TDRI) การศึกษาที่ 1: TU สิทธิศักดิ์ ลีลหานนท์, สมชาย สุขสิริเสรีกุล, และเอื้อมพร ตสาริกา การศึกษาที่ 1: TDRI สมเกียรติ เรืองจันทร์, เศก เมธาสุรารักษ์ การศึกษาที่ 2: TU สิทธิศักดิ์ ลีลหานนท์, เอื้อมพร ตสาริกา และ ดวงมณี เลาวกุล การศึกษาที่ 2: TDRI เศก เมธาสุรารักษ์, ทิพาตรี จิตตรีขันธ์ และ พรรณนิภา รุ่งเรืองสาร
1. ปัญหา • ตั้งแต่ปี 2540-2548 แม้ว่าจะมีการปรับอัตราภาษีสุราเพิ่มขึ้นหลายครั้ง แต่การบริโภคสุรายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง • การดื่มสุรามักเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ป้องกันการเมาแล้วขับ • ปัญหาสุขภาพจากการดื่มสุรามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข • การดื่มสุรายังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาครอบครัว, วัยรุ่นและผู้หญิงนิยมดื่มสุราเพิ่มขึ้น
ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด ปี 2536-2547 แม้ว่าภาษีสุรามีการปรับเพิ่มขึ้นหลายครั้ง แต่การบริโภคสุราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. วัตถุประสงค์ของงานวิจัย : ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ศึกษาประเด็นทางสังคม เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอด้านนโยบาย • การวัดผลกระทบของมาตรการด้านภาษีและมิใช่ภาษี ต่อการบริโภคสุราและจำกัดการเข้าถึงการบริโภคสุรา • ความยืดหยุ่นต่อราคา/ความยืดหยุ่นไขว้, ความยืดหยุ่นต่อรายได้ • การจำกัดการโฆษณา : โฆษณาเชิงรุกและเชิงรับ • การวัดมาตรการอื่นๆที่มิใช่ราคา : (ก) การจำกัดอายุ, พื้นที่จำหน่ายสุรา, การตรวจเลือดและลมหายใจ, และใบอนุญาตการขาย; (ข) การรณรงค์และการให้การศึกษา • อะไรคือประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบของมาตรการเหล่านี้ • ผลกระทบทางสังคม: อัตราภาษีสรรพสามิตที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร • วัดผลกระทบภายนอก: การบริโภค/ ต้นทุนสาธารณสุขของรัฐ • ข้อพิจารณาอื่นๆของอัตราภาษีที่เหมาะสม: การบิดเบือน (การผูกขาด, การหนีภาษี), การควบคุมตัวเอง, ความแตกต่างของค่าความยืดหยุ่นต่อราคาและการกระจายรายได้ (ไม่ได้นำมาพิจารณาในการศึกษานี้)
3. ประเด็นการสัมมนา • ถ้าต้องการลดการดื่มสุราเพื่อแก้ปัญหาสังคม จะต้องกำหนดอัตราภาษีเท่าไร • การดื่มสุราก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใด • โครงสร้างภาษีสุรามีปัญหาอะไร • ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นกรอบและเครื่องมือในการตอบคำถาม
4. รูปแบบของการวิจัยและวิธีวิจัย :การวิจัยพื้นฐานเพื่อกำหนดนโยบาย (research for policy) ไม่ใช่งานวิจัยเชิงนโยบาย(policy research) • นโยบายที่มิใช่ราคา • การโฆษณา • การจัดพื้นที่ (zoning) • การให้การศึกษา / การรณรงค์ • นโยบายราคา / ภาษี • อัตราภาษี • โครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี การบริโภคสุรา
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับผลของภาษีต่อราคา และผลกระทบภายนอกของการบริโภคสุรา อัตราภาษี โครงสร้างภาษี • วัตถุประสงค์ • ภาษีลดการบริโภคได้เท่าไร • ผลกระทบภายนอก 2 ชนิด • วัตถุประสงค์ • รายรับสูงสุด • การคุ้มครองผู้ผลิต / การเมือง วิธีวิจัย • ผลกระทบ • อุบัติเหตุ • การทำงาน อุปสงค์ ต่อสุรา ต้นทุนทางสังคม อัตราภาษีสรรพสามิต โครงสร้างภาษีสรรพสามิต ภาษีนำเข้า FTA • ผลกระทบภายนอกจากการบริโภคสุรา • ผลกระทบภายนอกต่อรายจ่ายของรัฐด้านสาธารณสุข • การควบคุมตัวเอง • การหนีภาษี • การผูกขาด • การกระจายรายได้ • ความยืดหยุ่นต่อราคา • ความยืดหยุ่นไขว้ • ความยืดหยุ่นต่อรายได้ • ตัวแปรอื่นที่มิใช่ราคา • ราคาของสินค้าหนีภาษี พฤติกรรมผู้ขาย และผู้ซื้อ รายได้ทางภาษี
4. ผลการวิจัย 4.1 การประมาณอุปสงค์และความยืดหยุ่นต่อราคา: ข้อมูลอนุกรมเวลา 15 ปี • ใช้วิธี OLS สำหรับสุรา 5 ประเภท: วิสกี้ในประเทศ (วิสกี้สี), สุราขาว, เบียร์, วิสกี้นำเข้า, ไวน์นำเข้า • ค่าความยืดหยุ่น: • สุราในประเทศมีความยืดหยุ่นต่อราคาสูงกว่าสุรานำเข้า • สังเกตได้ว่าความยืดหยุ่นต่อราคาของสุราขาวไม่ต่างจากศูนย์มากนัก • ความยืดหยุ่นไขว้ต่อราคามีค่าสูงและเป็นบวก เช่น สุราขาว, วิสกี้สี และเบียร์ สามารถทดแทนกันได้ดี
นัยเชิงนโยบาย: (ก) อัตราภาษีสรรพสามิตเพิ่ม 1% จะลดยอดขายสุราในประเทศมากกว่าสุรานำเข้า (ข) เนื่องจากสุราเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้สูง ดังนั้นรัฐบาลควรพิจารณาในการเพิ่มภาษีของสุราทุกประเภทพร้อมๆกัน • จุดอ่อน: ตัวแปรตาม คือ ปริมาณสุราแจ้งเสียภาษี, ไม่ใช่ยอดขายที่แท้จริง
4.2 การประมาณอุปสงค์ต่อสุรา โดยการสำรวจผู้บริโภค 5,456 ตัวอย่าง ใน 9 จังหวัด (ก.ค.-ส.ค. 2548) • วิธีประมาณการ: quantile regression model • Hypothesis : ผู้ดื่มมากและดื่มน้อยมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำกว่าผู้ดื่มปานกลาง
สังเกตได้ว่าการประมาณค่าความยืดหยุ่นของวิสกี้สีและวิสกี้นำเข้า สำหรับผู้ที่ดื่มน้อยและดื่มมากไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ • ค่าความยืดหยุ่นต่อรายได้ต่ำ (0.3-0.5) และส่วนใหญ่ผลที่ได้คล้ายกับข้อมูลอนุกรมเวลา • นัย: (ก) การเพิ่มอัตราภาษีของสุราเท่าๆกัน จะช่วยลดการบริโภควิสกี้สีและสุราขาวได้มากกว่าเบียร์และวิสกี้นำเข้า • (ข) หากต้องการให้ปริมาณการบริโภคเบียร์ลดลง จะต้องอาศัยมาตรการมิใช่ภาษีเป็นตัวช่วย • (ค) เนื่องจากสุราสามารถทดแทนกันได้ดี ดังนั้นรัฐบาลควรพิจารณาในการเพิ่มอัตราภาษีของสุราทุกประเภทพร้อมๆกัน
4.3 ต้นทุนทางสังคมของการบริโภคสุรา • คำถามแรก การดื่มสุรามีผลกระทบต่อสังคมจริงไหม • การวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอย (Tobit and OLS) เพื่อยืนยันว่า การบริโภคสุรา (เป็นประจำ) มีผลกระทบทางบวกต่อการเจ็บป่วยและการเกิดอุบัติเหตุ • นอกจากนี้คนที่ประสบอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา จะมีโอกาสขาดงานบ่อยขึ้น • คำถามที่ 2 การดื่มสุราก่อให้เกิดต้นทุนสังคมเท่าไร • ถ้ารู้ต้นทุนสังคม ก็หาอัตราภาษีสุราได้ เพราะวัตถุประสงค์ใหม่ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ การลดต้นทุนทางสังคมของสินค้าบาป ไม่ใช่หารายได้สูงสุด
ต้นทุนทางสังคมของการดื่มสุราต้นทุนทางสังคมของการดื่มสุรา • ต้นทุนประกอบด้วย (ก) ต้นทุนทางการเงินและต้นทุนทางเวลาในการบำบัดผู้ป่วยที่เกิดจากการดื่มสุรา มูลค่า 555.5 ล้านบาท; (ข) ต้นทุนการเงินในการรักษาผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากการดื่มสุรา มูลค่า 10,622 ล้านบาท; (ค) มูลค่าของการสูญเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคและการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากดื่มสุรา มูลค่า 16,184 ล้านบาท และ (ง) ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการขาดงาน เป็นผลมาจากการดื่มสุรา มูลค่า 206 ล้านบาท • ต้นทุนทางสังคมจากการดื่มสุรา ประมาณ 16– 33.7 พันล้านบาทในปี 2549 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 – 0.56 ของ GDP ที่แท้จริง • การประมาณต้นทุนทางสังคมนี้ เป็นการประมาณค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อเทียบกับการศึกษาในประเทศอื่น ๆ (1.5%-3.0% of GDP). • การประมาณการนี้ ไม่รวมการสูญเสียของทรัพย์สิน, ปัญหาครอบครัว เป็นต้น ต้นทุนทางการเงินคือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากระบบการดูแลสุขภาพของรัฐ
คำถามที่ 3: ปัจจุบันอัตราภาษีสรรพสามิตสูงหรือต่ำกว่าต้นทุนทางสังคมจากการดื่มสุรา (สมมติว่าต้นทุนทางสังคมมีค่าเท่ากับ 1.5% ของ GDP )ซึ่งเท่ากับ 56%ของมูลค่าสุราทั้งหมด ณ ราคาหน้าโรงงาน
สรุป: (1)อัตราภาษีของสุราในประเทศต่ำกว่าต้นทุนต่อสังคม เพราะฐานภาษีสุราต่ำส่วนอัตราภาษีสุรานำเข้าสูงกว่าต้นทุนทางสังคมจากการดื่มสุรานำเข้า • (2) อัตราภาษีสุรานำเข้าที่สูงมาก ทำให้มีการลักลอบนำเข้าวิสกี้ราคาแพง และไวน์...ภาษีจึงต้องไม่สูงเกินไป • (3) ถ้าต้องการลดต้นทุนทางสังคมจากการดื่มสุรา จึงควรใช้มาตรการภาษีประกอบกับมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
ต้นทุนส่วนเพิ่มต่อสังคมของการเก็บภาษี (MSCF) สูงเกินไปหรือไม่(1) อัตราภาษีสุราโดยเฉลี่ยสูงเกินไป เมื่อเทียบกับอัตราภาษีน้ำมันเพราะ MSCFของภาษีสุราสูงกว่า; (2) the MSCF ของสุราจะต่ำลง ถ้านำผลกระทบภายนอกที่เกิดขึ้นมาคำนวณด้วย • สรุป : การปรับอัตราภาษีสุราต้องคำนึงถึงภาษีสรรพสามิตสินค้าอื่น การหนีภาษี อำนาจตลาดและปัญหาการควบคุมตนเองไม่ได้
4.4 ปัญหาบางประการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภาษีปัจจุบัน : เศรษฐศาสตร์การเมือง • ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีการปรับอัตราภาษีสุรา 3-7 ครั้ง แต่การบริโภคยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่ารายได้ทางภาษี แสดงว่าการเพิ่มภาษีไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดการบริโภคสุราหรือรัฐบาลต้องการมีรายได้สูงสุด • ต้องวิเคราะห์สาเหตุ: (1) ราคาแท้จริงของสุรา (2) รายได้ต่อหัว (3) โครงสร้างอายุ (4) การบิดเบือนโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
การบริโภคสุรานำเข้า (ล้านลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์) % increase in tax revenue % increase in imported liquor
รายได้ภาษีและยอดขายสุราขาวรายได้ภาษีและยอดขายสุราขาว ยอดขาย (ล้านลิตร) ภาษี (ล้านบาท)
4.4 โครงสร้างภาษี (ต่อ) • ทฤษฎีและลักษณะสำคัญของภาษีสรรพสามิตไทย - สินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต 19 ชนิด : เหล้า บุหรี่ รถ น้ำมัน แอร์ ฯลฯ - วัตถุประสงค์เดิม : หารายได้ สินค้าบาป - วัตถุประสงค์ใหม่ : แก้ไขปัญหาผลกระทบทางสังคม เช่น externalities ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ - รัฐต้องการจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค (sumptuary tax) แต่เพื่อความสะดวกและลดต้นทุนการจัดเก็บ จึงเก็บจากผู้ผลิต/ผู้นำเข้า
4.4 โครงสร้างภาษี(ต่อ) - ฐานภาษี 2 ประเภท (ก) ตามสภาพ เช่น สุรา (2) ตามมูลค่า เช่น สุรานำเข้า น้ำมัน รถยนต์ - วิธีคิดฐานภาษีตามสภาพ : ลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ - วิธีคิดฐานภาษีตามมูลค่า : ราคาหน้าโรงงาน ราคานำเข้า - ไทยยังใช้วิธีคิดภาษีจากสูตรฝังใน (รวมมูลค่าภาษีก่อนคิดภาษี) เพื่อให้ได้ภาษีมาก ๆ - การบ้าน : ถ้ามี 2 อุตสาหกรรม คือ แข่งขันสมบูรณ์กับผูกขาด (1) หากรัฐต้องการเก็บให้ได้รายได้มากที่สุด ตลาดไหนต้องใช้ภาษีตามสภาพตลาดไหนใช้ภาษีตามมูลค่า (2) หากรัฐต้องการลดการบริโภคมากที่สุด ตลาดไหนต้องใช้ภาษีประเภทใด
ทำไมรัฐเก็บภาษีได้น้อย: การบิดเบือนโครงสร้างภาษีสรรพสามิต(1) รูปแบบของอัตราภาษีต่างๆ ในสุราแต่ละประเภท ไม่สัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการรายได้ทางภาษีสูงสุด
ทำไมรัฐจึงเก็บภาษีได้น้อย : (2) การแจ้งราคานำเข้าราคาหน้าโรงงานต่ำกว่าจริง เป็นผลให้ฐานของภาษีต่ำ เพราะฐานภาษีคิดจากมูลค่าของสุรา (3) การกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูง และคิดภาษีแบบฝังในทำให้มีการลักลอบวิสกี้ที่มีราคาแพง (11% ของปริมาณนำเข้า) และไวน์ (40-45%) (4) ผู้นำเข้าเริ่มนำเข้าวิสกี้จากสกอตแลนด์ผ่านฟิลิปปินส์เพราะ AFTA • ผลที่ตามมา: วิสกี้นำเข้าราคาถูกเพิ่มขึ้นมโหฬาร • เหตุผล : ราคาเปรียบเทียบที่เกิดจากภาษีนำเข้าต่างกัน รายได้ต่อหัว โครงสร้างอายุ การโฆษณา
AFTA อนุญาติให้นำเข้าสุราที่มีราคาต่ำ เช่น วิสกี้จากฟิลิปปินส์
(5) ในช่วง 10 ปี แม้จะมีการขึ้นภาษีสรรพสามิต 3 ครั้ง แต่การบริโภคเบียร์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะเบียร์ประหยัด (ช้างและลีโอ) • อะไรคือสาเหตุ ?
5.1 รายได้ภาษีและยอดขายเบียร์เพิ่มเพราะคนทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะหนุ่มสาว/วัยฉกรรจ์ นิยมดื่มเบียร์ ล้านลิตร ภาษี (ล้านบาท)
5.2 เบียร์ที่มีคุณภาพต่างกันจะมีฐานภาษีที่แตกต่างกัน (ฐานภาษีเบียร์ economy ต่ำกว่า standard และ premium) • กรมสรรพสามิตกำหนดฐานภาษีต่างกัน เป็นการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเบียร์
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2546 มีการปรับฐานภาษี สำหรับสิงห์ 70 ปีและไฮเนเก้น เพิ่มสูงขึ้น
4.5 ทางแก้ไข : การจัดเก็บภาษีตามสภาพอย่างเดียว แทนการจัดเก็บภาษี 2 ฐานที่เลือกเก็บจากฐานที่ได้ภาษีมากที่สุด จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ • ไม่มีประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะแจ้งราคาต่ำ หรือ แจ้งราคาโรงงานต่ำกว่าความเป็นจริง • เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตไม่สามารถกำหนดฐานภาษีตามอำเภอใจ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการบางราย • อัตราภาษีตามสภาพ (บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์) เป็นเครื่องวัดต้นทุนสังคมของการดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์คือบ่อเกิดแห่งความสูญเสียทางสังคม จึงต้องเก็บภาษีจากแอลกอฮอล์โดยตรง แทนการเก็บภาษีตามมูลค่า
5. นัยเชิงนโยบาย • สุราทุกประเภทควรมีการจัดเก็บภาษีตามสภาพ • ปริมาณแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคม • อัตราภาษีควรอยู่ระหว่าง 610-940 บาทต่อแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ • การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าตามปริมาณแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น • 0.1 – 4 ดีกรี เสียภาษี 650 บาท/ลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์(LPA) • 4.01 – 20 ดีกรีเสียภาษี 750 บาท /LPA • 20.01 – 30 ดีกรีเสียภาษี 850 บาท /LPA • เกิน 30 ดีกรีเสียภาษี 950 บาท /LPA
ข้อควรระวัง : ปัจจุบันอัตราภาษีวิสกี้และไวน์นำเข้าสูงมาก เป็นผลให้มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี ใกล้ชายแดนไทยและการลักลอบนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทย-ลาว ดังนั้นอัตราภาษีใหม่ไม่ควรจะสูงเกินไป เช่น ต่ำกว่า 940 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ นอกจากนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสุรา • ถ้ารัฐบาลกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย แนะนำว่าควรมีภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเก็บภาษีจากราคาขายปลีก
6. โฆษณามีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคสุราหรือไม่ • หลักฐานยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด • การโฆษณามีผลเชิงบวกเฉพาะอุปสงค์ของวิสกี้นำเข้าของไทย • ผลการศึกษาในประเทศอื่นๆยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด
6. โฆษณามีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคสุราหรือไม่ • จำนวนประเทศที่ควบคุมการโฆษณาสุรา • ประเทศที่ห้ามไม่ให้โฆษณา ได้แก่ Nordic countries, Belarus, Iceland, Switzerland • ประเทศที่ปล่อยให้มีการโฆษณาเสรี ได้แก่ Western Europe (Austria, Belgium, Denmark, Germany, Ireland, Netherland, UK) • ประเทศที่มีมาตรการควบคุมการโฆษณา ได้แก่ USA, Canada, France, Mexico, New Zealand, Egypt
การควบคุมการโฆษณาสุรามีผลให้การบริโภคสุราลดลงหรือไม่ : หลักฐานที่ขัดแย้ง • การควบคุมโฆษณาไม่มีผลกระทบ/มีผลกระทบน้อยต่อการบริโภคสุรา : Duffy 1998, Young 1993; Saffer and Dave 2003 Calfee (1997); Nelson and Yound (2001). เหตุผลหลักมาจากผู้ผลิตสุราสามารถวิธีการใหม่ๆในการส่งเสริมการขาย แม้แต่ในประเทศที่มีการห้ามโฆษณา เช่น สวีเดน , Calfee and Scheroga (1996) พบว่าการห้ามโฆษณา ไม่ได้ทำให้การบริโภคสุราลดลง • การควบคุมการโฆษณามีผลให้การบริโภคลดลง : Saffer 1990, 2000, Saffer and Dave 2003
สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม • สมมติฐาน: (1) การโฆษณาเป็น defensive กล่าวคือ โฆษณาจะช่วยแย่งส่วนแบ่งตลาดของบริษัทคู่แข่ง หรือ (2) เป็น offensive คือ shift เส้นอุปสงค์ • วิธีการศึกษา: ระบบสมการความสัมพันธ์ที่ไม่ปรากฎของส่วนแบ่งการตลาดและอุปสงค์