1 / 10

เรื่อง เสียง ( sound )หรือ ออดิโอ ( audio )

เรื่อง เสียง ( sound )หรือ ออดิโอ ( audio ). ผู้จัดทำ. ด.ญ.ชลนิภา แสนเหลา เลขที่ 22 ด.ญ.ปวีนา นันตา เลขที่ 28 ด.ญ.ศศิณา แสนเหลา เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4. เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio). เสียง ( Sound)

braith
Download Presentation

เรื่อง เสียง ( sound )หรือ ออดิโอ ( audio )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง เสียง (sound)หรือ ออดิโอ (audio) ผู้จัดทำ ด.ญ.ชลนิภา แสนเหลา เลขที่ 22 ด.ญ.ปวีนา นันตา เลขที่ 28 ด.ญ.ศศิณา แสนเหลา เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4

  2. เรื่อง เสียง (Sound) หรือ ออดิโอ (Audio) • เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับออดิโอ เช่น อุปกรณ์สำหรับออดิโอ รูปแบบไฟล์ออดิโอ และซอฟต์แวร์สำหรับออดิโอเป็นต้น

  3. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempo) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งการแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทร็กอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษ เช่น เสียงคอรัส เสียงเอคโค หรือเสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จากนั้นแทร็กเหล่านี้จะถูกผสมผสานในช่องสัญญาณ หากเป็นระบบเสียงสเตอริโอจะใช้ 2 ช่องสัญญาณ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงเซอราวด์จะใช้มากกว่า 2 ช่องสัญญาณขึ้นไป

  4. ประเภทของเสียง ประเภทของเสียงสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ เสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ • มิดี้ (MIDI: Musical Instrument Digital Interface) มิดี้ (MIDI) คือเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ข้อดีของมิดี้ คือ ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูลมิดี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ • ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) คือสัญญาณเสียงที่ส่งมากจากไมโครโฟนหรือเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล

  5. อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) การถ่ายทอดข้อมูลเสียงระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างกัน ต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณเสียงระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน โดยอุปกรณ์สำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงที่สำคัญมีดังนี้ • Phone Audio Jack เป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับการเชื่อมต่อที่ใช้ทั่วไป เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ • RCA Jack ตัวเชื่อมต่อแบบ RCA เป็นตัวเชื่อมต่อสำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงและวีดีโอจากอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน • XLR Audio Connector ตัวเชื่อมต่อแบบ XLR ได้รับการพัฒนาโดย Cannon มีหลายรูปแบบ โดยรุ่น XLR3 ประกอบด้วย 3 ขา ใช้สำหรับไมครโฟนที่มีคุณภาพสูง

  6. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) การประมวลผลไฟล์เสียง (processing Sound) คือ กระบวนการต่างๆตั้งแต่นำไฟล์เสียงเข้าสู่โปรแกรมสำหรับสร้าหรือแก้ไขเสียงโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม MidiNotateเป็นต้น จากนั้นจะปรับแต่ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมตัวโน้ตต่างๆเข้าไปตามความต้องการ แล้วทำการทดสอบเสียงที่ได้ และนำไฟล์เสียงไปใช้งานต่อไป ปัจจุบันโปรแกรมเกี่ยวกับการบันทึกเสียงและโปรแกรมที่ช่วยในการทำงานกับเสียงจะมีขีดความสามารถในการทำงานสูงมากขึ้น • การบันทึกหรือการนำเข้าข้อมูลเสียง การบันทึกเสียง เป็นการนำเสียงที่ได้จากการพูด การเล่นเครื่องดนตรีหรือเสียงจากแหล่งต่างๆ เช่นเสียงน้ำตก ฟ้าร้อง หรือเสียงสัตว์ มาทำการจัดเก็บลงในหน่วยความจำ เพื่อนำไปใช้งานตามต้องการ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเสียงบรรยายของนักพากย์ เพื่อใช้ในการเพิ่มเสียงลงในภาพยนตร์การ์ตูน เป็นต้น • การแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษ การแก้ไขไฟล์เสียง (Sound Editing) คือ การตัดต่อ และการปรับแต่งเสียง โดยสิ่งสำคัญในการแก้ไขเสียง คือ การจัดสรรเวลาของการแสดงผลให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับเสียง เช่น การตัดต่อเสียงสำหรับนำมาใช้ในการนำเสนอไฟล์วีดีโอ

  7. รูปแบบไฟล์เสียง การจัดเก็บไฟล์เสียงสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบของการบีบอัดไฟล์เสียงจะมี 2 วิธี คือ “Lossless Compression” เป็นไฟล์เสียงที่รักษาข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน ไม่มีการสูญหายของข้อมูล ไฟล์ชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ แต่คุณภาพเสียงดี ส่วนอีกวิธี คือ Lossy Compression วิธีนี้จะตัดข้อมูลเสียงบางส่วนออกไป ทำให้รายละเอียดของเสียงหายไป แต่ไฟล์จะมีขนาดเล็ก • ซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอ ในปัจจุบันซอร์ฟแวร์ที่ใช้เล่นไฟล์เสียงมีอยู่มากมาย ซึ่งบางซอร์ฟแวร์ก็สามารถแสดงได้ทั้งภาพและเสียง โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงซอร์ฟแวร์ต่างๆที่สำคัญ

  8. ออดิโอกับมัลติมิเดีย วัตถุประสงค์หลักในการนำเสียงเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย คือ เพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาที่ต้องการนำสนอและลดการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบที่ซ้ำซ้อน • ประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย เสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดียมีหลายประเภท ได้แก่ เสียงพูด (Speech) เสียงเพลง (Music) เสียงเอฟเฟ็กต์ (Sound Effect) • เสียงพูด(Speech) เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ และเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ • เสียงเพลง (Music)นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารของมนุษย์เช่นเดียวกับเสียงพูด สามารถใช้เสียงเพลงเพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้ • เสียงเอฟเฟ็กต์(Sound Effect)ถูกใช้สำหรับเพิ่ม หรืปรับปรุงเสียงให้มีความแปลกใหม่ รวมทั้งใช้เพิ่มลูกเล่นให้กับข้อมูล

  9. ขั้นตอนการนำเสียงมาใช้งาน • ไม่ว่าจะใช้มัลติมีเดียบนระบบ Macintosh หรือ Windowsต้องมั่นใจว่าเมื่อนำเสียงไปใช้กับงานมัลติมีเดียแล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น โดยจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำมาใช้งานตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับงานที่ออกแบบไว้ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอ หรือเสียงพูด • เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบมิดี้ หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งานจึงจะเหมาะสม • นำไฟล์เสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมิเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับงานมัลติมิเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับภาพในงานมัลติมเดียที่ผลิตขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันต้องทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ซ้ำแล้วให้ทดสอบใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

  10. จบการนำเสนอค่ะ

More Related