120 likes | 339 Views
สรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Smart Space. ระหว่างวันที่ 3 – 5 มกราคม 2556 และวันที่ 10 – 11 มกราคม 2556 ณ จังหวัดแพร่. สทอภ. ได้นำเสนอภารกิจของกลุ่มภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
E N D
สรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Smart Space ระหว่างวันที่ 3 – 5 มกราคม 2556 และวันที่ 10 – 11 มกราคม 2556ณ จังหวัดแพร่
สทอภ. ได้นำเสนอภารกิจของกลุ่มภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการที่ดินของรัฐ 2) ด้านการเกษตร 3) ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน รวมถึงการพัฒนาแผนที่ภาษี 4) ด้านการจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ 5) ด้านความมั่นคง 6) ด้านปัญหาหมอกควัน 7) ด้านป่าไม้ การประชุมวันที่ 3 – 5 มกราคม 2556
โดยได้เสนอเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ดังนี้ 1. พัฒนาระบบบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 2. มีการตั้งหน่วยปฏิบัติการด้านข้อมูลภูมิสารสนเทศ โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงานด้านแปลงที่ดิน การเกษตร แผนที่ภาษี และการจัดการภัยพิบัติได้ 3. แผนที่ภาษีควรมีความร่วมมือเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ข้อมูล ร่วมกันระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โยธาธิการและผังเมือง จังหวัด และ สทอภ. 4. จะมีการนำอุปกรณ์การเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field survey) มาใช้ประโยชน์ ในการสำรวจพืชเศรษฐกิจ รวมทั้งมีการทำ Zoning เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. สทอภ. จะได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบพยากรณ์ฝนรวมทั้งภัยแล้ง และอื่นๆ หน่วยงานที่ร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย ที่ดินจังหวัด เกษตรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด อบจ. อบต. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมป้องกันฯ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด การประชุมวันที่ 3 – 5 มกราคม 2556
1) ให้เปลี่ยนชื่อภารกิจเป็น SMART Space เพื่อให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้ง่าย 2) ให้เร่งรัดดำเนินการเร่งด่วน โดยให้เป็นแพร่โมเดล โดยให้แยกเขตป่าและเขตบุกรุกใช้ประโยชน์ โดยให้มีการสำรวจรายแปลง และมอบหมายให้หารือกับที่ดินจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาข้อสรุปเทคนิควิธีการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน 3) ให้นำระบบ UAV ช่วยในการสำรวจเขตป่าภัยพิบัติ โดยให้ประสานกับจังหวัด เพื่อหาวิธีการดำเนินการที่เหมาะสม 4) ให้ สทอภ. ร่วมกับกรมที่ดิน พัฒนาการออกโฉนดที่ดิน ในลักษณะที่เป็น 3 มิติ หรือภาพถ่าย 5) แผนที่ภาษีให้ประสานกับท้องถิ่น และกำหนดวิธีดำเนินงานชัดเจน 6) ด้านเกษตร ให้ใช้ข้อมูลดาวเทียมจัดทำแผนที่ปลูกพืชรายแปลงและนำเทคโนโลยีการปลูกพืช 52 สัปดาห์ มาเชื่อมโยง โดยให้ผู้รับผิดชอบพืชแต่ละประเภท (Mr.) นำไปใช้ประโยชน์และจัดทำรายการถ่ายทอดทางทีวีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MOST TV) ข้อสังเกตของ รมว.วท. ในเรื่องภูมิสารสนเทศกลาง
สทอภ. ได้ประสานการดำเนินงานร่วมกับที่ดินจังหวัด นายชูชาติ รักษาวงศ์ และได้คัดเลือกพื้นที่ ต.นาปูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ เป็นพื้นที่ทอลองศึกษาเนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรในเขตป่าคุ้มครอง ป่าสงวนแห่งชาติรวมทั้งปัญหาเอกสารสิทธิ โดยกำหนดนัดประชุมหลังจากรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดแล้วในวันที่ 10-11 มกราคม 2556 ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดแพร่ ทั้งนี้ ได้ประสานนายดนัย ยอดนิล ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ เพื่อหารือเรื่องแผนที่ภาษี โดยกำหนดประชุมในวันที่ 10 มกราคม 2556 ที่สำนักงานเทศบาลอ.เมืองแพร่ การประชุมวันที่ 3 – 5 มกราคม 2556
การสำรวจและจัดทำแผนที่แปลงที่ดินในเขตรัฐ : ที่ดินจังหวัดได้เป็นเจ้าภาพเชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเรื่องที่ดิน จ.แพร่ ประกอบด้วยที่ดินจังหวัด อบจ.แพร่, อบต.นาพูน, อ.วังชิ้น, สปก., โยธาธิการและผังเมือง ป่าไม้, พัฒนาที่ดิน เกษตรและสหกรณ์จังหวัด รวมทั้งผู้แทนจากกรมที่ดินส่วนกลาง ที่ประชุมได้สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1) การจัดทำแปลงโฉนดที่ดินเชิงเลข 2) ปัญหาเขตป่าไม้ทับซ้อนพื้นที่ทำกิน 3) ปัญหาเอกสารสิทธิในการถือครองไม่ชัดเจน 4) ปัญหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุก 5) ปัญหาเขตการปกครองไม่ชัดเจน ผลการประชุมที่ จ.แพร่ ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2556
คณะทำงานได้คัดเลือกบ้านเปาปม ต.นาพูน อ.วังชื้น เป็นพื้นที่ศึกษาเนื่องจากมีขอบเขตพื้นที่ทำกินทับซ้อนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวมทั้งปัญหาเอกสารสิทธิ จากการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนในพื้นที่มีข้อสรุปในการดำเนินงานดังนี้ 1. ขอความร่วมมือกรมที่ดินจัดทำแปลงโฉนดเชิงเลขให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด 2. ประสานกรมการปกครองผ่านกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ เพื่อดำเนินการจัดทำขอบเขตการปกครอง ตำบล อำเภอ และจังหวัดทั่วประเทศ 3. ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่าน กภช. เพื่อการตรวจสอบปรับปรุงเขตป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติ 4. สทอภ. จัดเตรียมแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อ.ลอง และ อ.วังชิ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำรวจ 5. กรมที่ดิน สทอภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรในพื้นที่ เช่น เทคนิค 6. กรมที่ดินร่วมกับคณะกรรมการบูรณาการที่ดินเชิงเลข หรือหน่วยงานที่จังหวัดแต่งตั้ง ร่วมพิจารณาหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละแปลงที่อยู่ในเขตป่า
การจัดทำแผนที่ภาษีกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นการจัดทำแผนที่ภาษีกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สทอภ. ได้ประชุมร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของ จ.แพร่ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 ณ สำนักงานเทศบาล อ.เมืองแพร่ โดยมีผู้แทน อบต.มากกว่า 100 คน ที่ประชุมได้ให้ความสนใจในการทำแผนที่ภาษี โดยได้แก้ปัญหาที่ประสบในปัจจุบันว่า 1. ขาดข้อมูลพื้นฐานโดยเฉพาะข้อมูลแปลงที่ดิน ข้อมูลหลังคาเรือน 2. ขาดเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อข้อมูลแผนที่และข้อมูล Attribute 3. ขาดความเข้าใจและเชี่ยวชาญในการใช้งานชุดโปรแกรม เพื่อการบริหารจัดการระบบภาษีท้องถิ่น (L-TAX) 4. ขาดความต่อเนื่องในการดูแลรักษาระบบภาษีที่ได้จัดการไว้แล้ว ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ แลชะข้อมูลล้าสมัย โดยที่ขณะนี้ ได้จัดทำข้อมูลรูปแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดแพร่ทั้งหมดแล้ว รวมทั้งกรมที่ดินได้จัดทำแปลงที่ดินเชิงเลขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในเขต อ.วังชิ้น และ อ.ลอง ประกอบนโยบายจาก อปท. ได้เร่งรัดให้มีการจัดทำแผนที่ภาษีในทุก อบต.
สทอภ. และ อปท. จึงเห็นควรให้เร่งดำเนินการ ดังนี้ 1. เริ่มจัดทำแผนที่ในเขต อ.ลอง และ อ.วังชิ้น เนื่องจากมีข้อมูลครบถ้วน และบุคลากรในพื้นที่มีความพร้อมและความสนใจ โดยกำหนดแผนดำเนินการ 2. อปท. กำหนดวันสำรวจข้อมูลแปลงที่ดินและอาคาร โดย สทอภ. จะให้การฝึกอบรมด้านเทคนิควิธี 3. สทอภ. จะนำเข้ามูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆมาศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้งานร่วมกัน 4. สทอภ. จะประสาน อปท. กลาง ในการจัดทำคู่มืออบรม, การใช้คู่มืออบรมการใช้โปรแกรมภาษีและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ 5. สทอภ. ร่วมกับ อปท. กำหนดแผนขยายการดำเนินงานสู่อำเภออื่นๆ ที่มีความพร้อม 6. กรมที่ดินร่วมกับที่ดินจังหวัดเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลแปลงที่ดินให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยเร่งดำเนินการใน อ.ที่ประสงค์จะทำแผนที่ภาษีก่อน ทั้งนี้ทุกหน่วยงานตกลงจะรายงานความคืบหน้าภายใน 1 สัปดาห์