60 likes | 216 Views
บารากู่ [ baraku ]. การจัดการความรู้ของหน่วยงาน สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นราธิวาส. โดย นาย อภิชาติ วิโรจน์พันธุ์ นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการ. ลักษณะทั่วไป.
E N D
บารากู่ [baraku] การจัดการความรู้ของหน่วยงาน สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นราธิวาส โดย นายอภิชาติ วิโรจน์พันธุ์นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการ
ลักษณะทั่วไป มอระกู่ หรือบารากู่ เป็นอุปกรณ์การสูบอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายตะเกียงหลากสี ต่อกับสายท่อสำหรับสูบ ยาสูบที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้เสพ เรียกว่าฮุกคา (Hookah) เป็นการนำเอายาสูบมาบดผสมกับเนื้อผลไม้ที่นำมาทำให้แห้งส่วนอุปกรณ์ในการสูบ ในประเทศไทยเรียก เตาบารากู่
ที่มา บารากู่ เป็นวัฒนธรรมในแถบตะวันออกกลางและตุรกี พบได้ในร้านอาหารและภัตตาคารทั่วไป สูบหลังอาหารแทนบุหรี่ ในเอเชียเริ่มนิยมในวัยรุ่นประเทศปากีสถานและอัฟกานิสถาน และในอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ก็นิยมเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยบารากู่พบแพร่หลายในสถานที่เที่ยวทั่วไป
อันตรายของบารากู่ ถ้าสูบบารากู่นาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอน-นอกไซด์ 15 เท่า และนิโคติน 70 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้บุหรี่ 9 มวน เมื่อสูบติดต่อกันประมาณหนึ่งเดือน ผู้สูบจะเริ่มติด มีอาการกระสับกระส่ายคิดอะไรไม่ออก มักมีความเข้าใจว่าการสูบบารากู่มีพิษน้อยกว่าการสูบบุหรี่ เป็นยา ชูกำลัง และไม่ใช่ยาเสพย์ติด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
ความผิดและโทษตามกฎหมายของบารากู่ความผิดและโทษตามกฎหมายของบารากู่ บารากู่ เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทที่ยังไม่ได้แจ้งส่วนประกอบต่อกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นสินค้าผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ไม่สามารถจำหน่ายได้ หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือจำหน่ายมีโทษปรับครั้งละ 100,000 บาท ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ยาสูบ ของกรมสรรพสามิต การนำเข้าบารากู่ต้องขออนุญาตก่อน หากไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย การขายหรือมีไว้ขายโทษปรับ 15เท่าของแสตมป์ แต่ไม่น้อยกว่า 100 บาท หากมีไว้ครอบครองเกินกว่า 500 กรัม โทษปรับ 10 เท่าของค่าแสตมป์ แต่ไม่น้อยกว่า 100 บาท การสูบในที่ห้ามสูบก่อให้เกิดควันบุหรี่มือสอง โทษตามพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2539 โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น โทษตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ