1 / 63

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Introduction to Business Operation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Introduction to Business Operation. อ.ดร.สุภาวดี ขุนทองจันทร์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี E-mail: supawadee.khunthongjan@gmail.com Web blog: www.bba.ubru.ac.th/~supawadee.

brendy
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Introduction to Business Operation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจIntroduction to Business Operation อ.ดร.สุภาวดี ขุนทองจันทร์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี E-mail: supawadee.khunthongjan@gmail.com Web blog: www.bba.ubru.ac.th/~supawadee 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  2. บทที่ 7 การผลิต (Production) 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  3. เนื้อหาการบรรยาย 1. ความหมายของการผลิต 2. การบริหารการผลิต 3. การจัดซื้อ 4. การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  4. วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • 1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการผลิต การบริหารการผลิต ได้ 2. จำแนกประเภทของการผลิตประเภทต่างๆ ได้ 3. อธิบายความหมายของการจัดซื้อ และระบุได้ถึงวัตถุประสงค์ในการ จัดซื้อที่สำคัญได้ 4. บอกข้อดีของกลยุทธ์ต่างๆ ในการจัดซื้อสินค้าได้ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  5. วัตถุประสงค์การเรียน (ต่อ) • 5. ระบุได้ถึงรูปแบบของสินค้าคงคลัง 6. บอกได้ถึงประโยชน์ของสินค้าคงคลัง 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  6. การผลิต (production) • การผลิต จัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการประกอบธุรกิจไม่ว่าองค์การนั้นจะประกอบธุรกิจลักษณะซื้อมาขายไป ไม่ได้ทำการผลิตสินค้าเองโดยตรงก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนของสินค้าสูง ส่งผลให้การขายสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำการศึกษาเกี่ยวกับการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบธุรกิจต่อไป 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  7. ความหมายของการผลิต • การผลิต หมายถึง การแปรสภาพจากทรัพยากรต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปสินค้าหรือบริการ ให้กลายเป็นผลผลิตที่มีประโยชน์ โดยการเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น การผลิต หมายถึง การนำปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ สร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าของสิ่งของให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น Valueadded การผลิตอาจใช้ปัจจัยการผลิตน้อยหรือมากตามชนิดของสินค้าและบริการแต่ละชนิด 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  8. ปัจจัยการผลิต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  9. ประเภทของการผลิต • แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  10. 1 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 1.1 การผลิตตามคำสั่งซื้อ (made-to-order) เป็นการผลิตที่ผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย กระบวนการผลิตจึงไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ ผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม เป็นต้น 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  11. 1 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 1.2 การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (made-to-stock) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ การจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะ งานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงานตาม หน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์ เครื่องแบบนักเรียน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  12. 1 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 1.3 การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (assembly-to-order) เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้หลายชนิด มีลักษณะแยกออกเป็นส่วน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบให้เป็นสินค้าตามลักษณะที่ลูกค้าต้องการ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่ เหมือนกัน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  13. 2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต 2.1 การผลิตแบบโครงการ (project Manufacturing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย เช่น การสร้างเขื่อน การสร้างทางด่วน การต่อเรือดำน้ำ การต่อเครื่องบิน มีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยผลิตครั้งละ ชิ้นเดียวและใช้เวลานานการผลิตจะเกิดขึ้น ที่สถานที่ตั้งของโครงการ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  14. 2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต 2.2 การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (job shop) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งาน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  15. 2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต 2.3 การผลิตแบบกลุ่ม (batch production) เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  16. 2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต 2.4 การผลิตตามสายการประกอบ (line- flow) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหาก โดยไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกันเครื่องจักร อุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงาน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  17. 2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต2.ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิต 2.5 การผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous process) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่าง ซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ เป็นต้น 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  18. ลำดับขั้นของการผลิต • 1.การผลิตขั้นปฐมภูมิ ( primary production) คือ การผลิตแบบดั้งเดิมเป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อนเช่นการเกษตรกรรมการป่าไม้การประมง การเลี้ยงสัตว์การทำนา ซึ่งประเทศล้าหลังทางเศรษฐกิจจะมีการผลิตในขั้นนี้เป็นส่วนใหญ่ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  19. ลำดับขั้นของการผลิต (ต่อ) • 2.การผลิตขั้นทุติยภูมิ  (secondary production)คือ การนำผลผลิตขั้นปฐมมาดัดแปลงเป็นผลผลิตใหม่ไม่ให้เกิดการเน่าเสียสิ้นเปลือง เช่นการนำสับปะรดมาผลิตเป็นสับปะรดกระป๋องการนำฝ้ายมาทอเป็นผ้า การทำเหมืองแร่การย่อยหินการอุตสาหกรรมอื่นๆ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  20. ลำดับขั้นของการผลิต (ต่อ) 3.การผลิตขั้นตติยภูมิ  (tertiary production) คือ การนำผลผลิตขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิส่งไปถึงมือผู้บริโภคอย่างสะดวก ตลอดจนการให้บริการและการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าอื่นๆ ด้วย เช่นงานราชการ การค้าส่งการค้าปลีกงานทนายความการแพทย์การให้ความบันเทิงการประกันภัย การธนาคารการบรรจุหีบห่อ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  21. การบริหารการผลิต การบริหารการผลิต (production / operations management) จึงเป็นการบริหารกระบวนการแปรสภาพปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็นผลผลิตที่มีมูลค่ามากกว่าผลรวมของปัจจัยนำเข้าโดยใช้ระบบการบริหารการผลิต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  22. การบริหารการผลิต (ต่อ) กระบวนการผลิตมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  23. การบริหารการผลิต (ต่อ) 1. ปัจจัยนำเข้า (input)คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (tangible assets) เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (intangible assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  24. การบริหารการผลิต (ต่อ) 2. กระบวนการแปลงสภาพ (conversion process) เป็นขั้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น- รูปลักษณ์ (physical) โดยการผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน- สถานที่ (location) โดยการขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า- การแลกเปลี่ยน (exchange)โดยการค้าปลีก การค้าส่ง- การให้ข้อมูล (informational) โดยการติดต่อสื่อสาร- จิตวิทยา (psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  25. การบริหารการผลิต (ต่อ) 3. ผลผลิต (output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (goods) และบริการ (service) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันหลายประการ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  26. การจัดการด้านการผลิต (ProductionManagement) ผู้บริหารที่มีการจัดการด้านการผลิตดี จะสามารถทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นสำคัญของการผลิตจะต้องคำนึงถึง คือ มีต้นทุนต่ำ low cost สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จะต้องมีการจัดการผลิตที่ดีประกอบด้วย 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  27. 1. ทำเลที่ตั้ง (location) 1.1 แหล่งวัตถุดิบ เลือกทำเลที่ตั้งให้ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง 1.2 แหล่งแรงงาน ต้นทุนที่สำคัญของการประกอบธุรกิจอีกประการหนึ่งคือ แรงงาน ค่าแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงาน 1.3 ระบบสาธารณูปโภค อันได้แก่ ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำ โทรศัพท์รวมถึงการคมนาคมด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือทางรถไฟ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  28. 1. ทำเลที่ตั้ง (location) (ต่อ) 1.4 ราคาที่ดิน เงินทุนบางส่วนจมอยู่กับค่าที่ดิน ดังนั้นจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบว่ามีความเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ โดยเฉพาะเวลาในการคืนทุน 1.5 แหล่งระบายสินค้า การผลิตสินค้าหรือบริการขั้นสุดท้ายสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องไปสู่ผู้บริโภค ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงการขนส่งสินค้า 1.6 สิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ทางด้านภาษีอากร เป็นต้น รัฐบาลมีนโยบายกระจายรายได้สู่ชนบท 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  29. 2. การบริหารวัสดุในการผลิต (material management) 2.1 คุณภาพของวัสดุที่ใช้ เพราะวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีคุณภาพย่อม ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน 2.2 ต้นทุนของวัสดุ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าวัสดุที่มีคุณภาพสูง ย่อมต้องมีราคาสูงด้วย ปัญหาอยู่ที่ว่าจะบริหารอย่างไรให้มีต้นทุนต่อ หน่วย 2.3 ปริมาณของวัสดุ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ธุรกิจจะต้องมีประมาณ การเกี่ยวกับผลผลิต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  30. 3. การปฏิบัติการของระบบการผลิต (operation processing 1. การวางแผนการปฏิบัติ operation plan 2. ตารางการทำงาน scheduling 3. เทคโนโลยีการจัดการ ปฏิบัติการ operations management technology -การออกแบบโดยนำเอาคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย -ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น -หุ่นยนต์ การใช้คำสั่งป้อนเข้าให้ทำงานต่างๆ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  31. 4. การควบคุมการปฏิบัติการ (operations control) เป็นการกำหนดมาตรฐานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้ามีรูปแบบดังนี้ - quality control - technology control - labor control - cost control -ด้านอื่นๆ เช่น การใช้วัตถุที่มีพิษ การบำบัดของเสียเนื่องจาก กระบวนการผลิต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  32. การจัดซื้อ (purchasing) การจัดซื้อ  (purchasing)  หมายถึง การดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ  วัสดุ  และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นโดยมีคุณสมบัติ  ปริมาณ  ราคา  ช่วงเวลา  แหล่งขาย  และการนำส่ง  ณ  สถานที่ถูกต้อง  (ปราณี  ตันประยูร, 2537 : 137) 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  33. วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ (objective of purchasing) 1.  เพื่อให้มีวัตถุดิบและวัสดุอื่น ๆ ในการผลิตอย่างเพียงพอ    2.  เพื่อรักษาคุณสมบัติของวัตถุดิบที่จัดซื้อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน    3.  เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียหาย และความล้าสมัยของวัตถุดิบ    4.  เพื่อให้กิจการมีกำไร  ต้นทุนในการจัดซื้อต่ำ วัตถุดิบที่ใช้เพียงพอ    5.  หลีกเลี่ยงปัญหาพัสดุซ้ำกัน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  34. ข้อควรคำนึงถึงในการจัดซื้อข้อควรคำนึงถึงในการจัดซื้อ 1.  คุณสมบัติที่ถูกต้อง    2.  ปริมาณที่ถูกต้อง    3.  ราคาที่ถูกต้อง    4.  ช่วงเวลาที่ถูกต้อง    5.  แหล่งขายที่ถูกต้อง    6.  การนำส่งที่ถูกต้อง 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  35. กลยุทธ์การจัดซื้อ 1. การกระจายการจัดซื้อ วิธีหนึ่งในการป้องกันมิให้อำนาจในการต่อรองต่ำกว่าผู้ขาย   2. การสร้างแหล่งซื้อเพิ่มเติม  วิธีนี้นิยมนำมาใช้ในกรณีบริษัททำการ ประเมินคุณสมบัติต่าง ๆ แล้วปรากฏว่ามีผู้ขายผ่านเกณฑ์การประเมินได้ จำนวนน้อย   3. การหลีกเลี่ยงต้นทุนการเปลี่ยนแหล่งซื้อ 4. การกำหนดมาตรฐานวัสดุผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐาน เดียวกันจะมีเกณฑ์กำหนดตรงกันเสมอ  3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  36. กลยุทธ์การจัดซื้อ (ต่อ) 5. การรวมตัวย้อนหลัง  เป็นลักษณะของการขยายธุรกิจแบบ หนึ่ง  วิธีการคือ  ก้าวจากการเป็นผู้ผลิตอยู่เดิมไปเป็นเจ้าของแหล่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอีกธุรกิจหนึ่ง  6.  การเร่งรัดการจัดซื้อ  เป็นการแสดงให้ฝ่ายผู้ซื้อได้ติดตาม ตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของฝ่ายผู้ขายอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา  ทำให้ฝ่ายผู้ขายไม่กล้าบิดพลิ้ว 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  37. ขั้นตอนในการจัดซื้อ 1.  รับการวิเคราะห์ใบขอให้ซื้อ  (purchase  requisition)  ซึ่งจะวิเคราะห์ถึงประเภทของสิ่งของและจำนวนที่ซื้อ2.  ศึกษาถึงสภาตลาด  แหล่งที่จะจัดซื้อ  และผู้ขาย3.  ส่งใบขอให้เสนอราคา  (request  for  quotations)  ไปยังผู้ขายหลาย ๆ แหล่ง  4.  รับและวิเคราะห์ใบขอให้เสนอราคาจากผู้ขาย5.  เลือกผู้ขายที่เสนอราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดีที่สุด 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  38. ขั้นตอนในการจัดซื้อ (ต่อ) 6.  คำนวณราคาของสิ่งของที่จะสั่งซื้อให้ถูกต้อง    7.  ส่งใบสั่งซื้อ  (purchase  order)  ไปยังผู้ขายที่ต้องการจะซื้อ   8.  ติดตามผลให้เป็นไปตามที่ได้ติดต่อหรือตามสัญญา    9.  วิเคราะห์รายงานการรับรองของ   10. วิเคราะห์และตรวจสอบใบกำกับ สินค้า (invoice) ของผู้ขายเพื่อการ จ่ายเงิน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  39. ประเภทของการจัดซื้อ มี 3 ลักษณะ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  40. ประเภทของการจัดซื้อ มี 3 ลักษณะ (ต่อ) 1. การจัดซื้อเพื่อขายต่อ เป็นลักษณะของการซื้อมาเพื่อเก็งกำไร เป็นการจัดซื้อโดยพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความพยายามในการแสวงหาสินค้าต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมและอยู่ในความต้องการของลูกค้า 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  41. ประเภทของการจัดซื้อ มี 3 ลักษณะ (ต่อ) 2. การจัดซื้อเพื่อแปรสภาพ เป็นลักษณะของการจัดซื้อเพื่อนำไปใช้ในการผลิต ซึ่งอาจจะเป็นอุตสาหกรรมขาดใหญ่กลางหรือเล็ก เป็นการจัดซื้อที่จัดทำโดยตัวแทนจัดซื้อ ถือว่าเป็นงานหลักงานหนึ่งของธุรกิจการผลิต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  42. ประเภทของการจัดซื้อ มี 3 ลักษณะ (ต่อ) 3. การจัดซื้อเพื่อการบริโภค การจัดซื้อในลักษณะนี้จะเป็นการซื้อในตลาดผู้บริโภค เป็นการซื้อที่กระทำโดยผู้บริโภคเอง เป็นการซื้อเพื่อสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือเพื่อ ผลประโยชน์อื่นๆที่มุ่งหวัง 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  43. การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง หลักการและแนวคิดของสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลัง หรือสินค้าคงเหลือ (inventory) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ เพราะจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนรายการหนึ่งซึ่งธุรกิจพึงมีไว้เพื่อให้การผลิตหรือการขาย สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปอาจเป็นปัญหากับธุรกิจ ทั้งในเรื่องต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุ ล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังนี้ไปหาประโยชน์ในด้านอื่นๆ  3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  44. การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง (ต่อ) สินค้าคงคลัง หรือสินค้าคงเหลือ (inventory) หมายถึง วัสดุหรือสินค้าต่างๆ ที่เก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน อาจเป็นการดำเนินงานผลิต ดำเนินการขาย หรือดำเนินงานอื่นๆ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  45. รูปแบบของสินค้าคงคลัง (form of inventory) แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ๆ คือ 1. วัตถุดิบ (raw material) คือสิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาใช้ในการ ผลิต 2. งานระหว่างทำ (work-in-process) คือชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือ รอคอยที่จะผลิตในขั้นตอนต่อไป โดยที่ยังผ่านกระบวน การผลิต ไม่ครบทุกขั้นตอน 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  46. รูปแบบของสินค้าคงคลัง (ต่อ) 3. วัสดุซ่อมบำรุง (maintenance/repair/operating supplies) คือ ชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักรที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิมเสีย หรือหมดอายุการใช้งาน 4. สินค้าสำเร็จรูป (finished goods) คือปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการ ผลิตครบถ้วนพร้อมที่จะขายให้ลูกค้าได้ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  47. การจัดระบบสินค้าคงคลังการจัดระบบสินค้าคงคลัง การรับสินค้าเข้าสู่ระบบ ระบบสินค้าคงคลัง การตรวจสอบสินค้า ที่มีอยู่ในคลัง การเบิกสินค้าออกจากระบบ การดูแลเก็บรักษาและขนย้าย 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  48. ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง (benefit of inventory) -ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในและนอกฤดูกาล โดยธุรกิจต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า         - รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ฯลฯ ให้สม่ำเสมอได้ โดยจะเก็บสินค้าที่ขายไม่หมดในช่วงขายไม่ดีไว้ขายตอนช่วงขายดีซึ่งช่วงนั้นอาจจะผลิตไม่ทันขาย         -ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อครั้งละมากๆ 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  49. ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง (benefit of inventory) (ต่อ)          - ป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคา และผลกระทบจากเงินเฟ้อเมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น         - ป้องกันของขาดมือด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ (Safety Stock) เมื่อเวลารอคอยล่าช้าหรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกะทันหัน         - ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงักเพราะของขาดมือจนเกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้คนง่านว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด ผลิตไม่ทันคำสั่งของลูกค้า 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

  50. ปัจจัยในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังปัจจัยในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง 1.   จุดมุ่งหมายหลักในการมีสินค้าคงคลังมีไว้เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่สะดุดหรือหยุดชะงัก แต่บางครั้งธุรกิจอาจมีจุดมุ่งหมายอื่น เช่นถ้าคาดการณ์ว่าราคาสินค้ามีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต ก็อาจเก็งกำไรโดยเลือกเก็บสินค้าคงคลังในปัจจุบัน เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้นในอนาคต 3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

More Related