200 likes | 331 Views
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี. โยคะ เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพผู้ป่วยเอชไอวี. สิริพิมล อัญชลิสังกาศ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
E N D
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี โยคะ เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพผู้ป่วยเอชไอวี สิริพิมล อัญชลิสังกาศ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี • โยคะ • มีรากศัพท์มาจากคำว่า“ยุจ (yuj)” แปลว่า แอก หรือการรวมกัน หมายถึงการรวมกันของกายและจิต • เป็นภูมิปัญญาอันนิรันดร์ของอินเดีย มีมากกว่า 5,000 ปีมาแล้ว โยคะเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของวัฒนธรรมอินเดีย
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี โยคะแบ่งออกเป็น 7 ประเภท 1. ญาณโยคะ(Jnana Yoga) คือโยคะที่เน้นการใช้ ปัญญาขบคิดเข้าสู่ความหลุดพ้น 2. มนตรโยคะ(Mantra Yoga) คือเน้นการท่องมนตร์จนไปสู่ความหลุดพ้น 3. ภักดีโยคะ(Bhakti Yoga) คืออุทิศแรงศรัทธาต่อ พระเจ้าอย่างสูงสุด ด้วยการบวงสรวงบูชาและสวด มนตร์ประกอบไปด้วย 4. กรรมโยคะ(Karma Yoga) คือทำงานรับใช้ผู้อื่น โดยไม่คาดหวังผลตอบแทนจนหลุดพ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี โยคะแบ่งออกเป็น 7 ประเภท 5. หะฐะโยคะ(HathaYoga) ถือว่าต้องควบคุมกายให้บริสุทธิ์ก่อนเพื่อนำไปสู่การควบคุมจิตขั้นสูง 6. ลายะโยคะ(Laya Yoga) คือมุ่งควบคุมจิตให้นิ่งแล้วใช้จิตนั้นไปปลุกพลังที่ซ่อนอยู่ภายในที่เรียกว่ากุณฑาลินี บางตำราเรียกโยคะนี้ว่ากุณฑาลินีโยคะ 7. ราชาโยคะ(Raja Yoga) คือจิตรู้สำนึกในสภาวะสูงสุดฝึกควบคุมจิตจนหลุดพ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี วิถีแห่งโยคะ (มรรค 8 แห่งโยคะ) 1. ยมะ(Yamas)หรือข้อห้าม คล้ายกับศีล 5 ของพุทธ • อหิงสา (Ahimsa) ไม่เบียดเบียนผู้อื่น • สัตย์ (Satya) ไม่พูดโกหก • อัสเตยา (Asteya) ไม่ลักทรัพย์ • พรหมจรรย์ (Brahmacarya) การประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มักมากในกามคุณ • อัปริเคราะห์ (Aparigraha) ไม่โลภไม่สะสมเกินความจำเป็น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี วิถีแห่งโยคะ (มรรค 8 แห่งโยคะ) 2. นิยมะ(Niyamas) คือวินัยที่ควรปฏิบัติ • เศาจะ (Sauca) รักษาความสะอาดทั้งกายและใจ • สันโดษ (Santos) พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ • ตบะ (Tapa) ความอดทน • สวาธยายะ (Svadhyaya) การศึกษาเรียนรู้ตัวเอง • อิศวรปณิธาน (IshvaraPranidhana) มีศรัทธาตั้งมั่นในสิ่งสูงสุดที่เราเคารพ
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี วิถีแห่งโยคะ (มรรค 8 แห่งโยคะ) 3. อาสนะ (Asanas) คือท่า/อิริยาบถต่างๆ ของร่างกาย • เป็นท่ากายบริหาร หรือการดูแลร่างกาย เพื่อการสร้างสมดุลระหว่างกายและใจ มีคุณลักษณะสำคัญคือ • สถิระ คือ นิ่ง มั่นคง • สุขะ คือ สุข สบาย การทำอาสนะที่สมบูรณ์ยังต้องมีสติและทรงตัวอยู่ในท่า โดยใช้แรงน้อยที่สุด 4. ปราณยามะ (Pranayama) คือการฝึกควบคุม ลมหายใจเตรียมความพร้อมสำหรับการทำสมาธิ
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี วิถีแห่งโยคะ (มรรค 8 แห่งโยคะ) 5. ปรัตยาหาระ (Prathyahara) เป็นการควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง 5 6. ธารณะ (Dharana) คือการนำจิตมากำหนดรู้วัตถุในที่ๆเดียว (Concentration) การฝึกอบรมจิตให้นิ่ง จิตนิ่งเป็นจิตที่มีประสิทธิภาพเป็นจิตที่สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง 7. ฌานคือการอบรมจิตสม่ำเสมอทำให้จิตมีคุณภาพสูงขึ้นๆจนถึง ขั้นฌานฌานคือ จิตที่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวเป็นจิตดื่มด่ำอยู่ในสิ่งที่กำลังทำ เป็นสมาธิระดับ อุปจาระสมาธิ (Meditation) 8. สมาธิ (Samadhi) เป็นผลที่ได้จากการฝึกโยคะ คือเป็นการยกระดับจิตให้พ้นจากสภาพจิตทั่วไป (Transconsciousness)
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี เทคนิคการฝึกโยคะ • อาสนะ การฝึกบริหารท่าต่างๆ • ปราณยามะ การฝึกควบคุมลมหายใจเข้าออก • มุทรา การกดล็อคอวัยวะภายใน ณ จุดใดจุดหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง • พันธะ การทำมุทราใดมุทราหนึ่ง โดยที่ในขณะนั้นมีการควบคุมลมหายใจประกอบ • กริยา การทำความสะอาด ชะล้างร่างกาย • สมาธิ การฝึกควบคุมการทำงานของจิต • การอบรม การควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ตามหลักยมะ นิยมะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี คุณประโยชน์ของโยคะกับการส่งเสริมสุขภาพ ด้านเสริมสร้างสุขภาพจิต • ผลที่ได้ทั่วไปคือ จิตใจสงบ ผ่อนคลายหายเครียด มีสติรู้ตัวดี มีสมาธิดี • หากฝึกจริงจังสูงขึ้นไปจะสามารถยกระดับจิตให้สูงขึ้นเข้าสู่สมาธิขั้นสูง เช่นสมาธิในระดับที่ระงับนิวรณ์ 5 หรือสมาธิในระดับฌาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี คุณประโยชน์ของโยคะกับการส่งเสริมสุขภาพ ด้านเสริมสร้างสุขภาพกาย 1. สร้างและปรับสมดุลการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย กระดูกสันหลังที่ยืดหยุ่น ทำงานได้เป็นปกติ ระบบประสาททำงานได้เป็นปกติ ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้เป็นปกติ การกดนวดอวัยวะสำคัญๆภายในช่องลำตัวทำให้กลไกการทำงานของอวัยวะของระบบต่างๆทำงานดีขึ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี คุณประโยชน์ของโยคะกับการส่งเสริมสุขภาพ ด้านเสริมสร้างสุขภาพกาย • 2. กล้ามเนื้อที่ประกอบอยู่กับอวัยวะที่สำคัญมีความแข็งแรง • 3. ระบบประสาท - กล้ามเนื้อสัมพันธ์
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี หลักสำคัญในการฝึกโยคะ • ฝึกท่าโยคะอย่างผ่อนคลาย • ทำสม่ำเสมอตามสภาพความพร้อมของร่างกาย • ทำเท่าที่ทำได้ ไม่หักโหม • ต้องฝึกไปพร้อมกับระบบหายใจที่ถูกต้อง • อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ห่างจากมลภาวะ • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี ข้อแนะนำในการฝึก • ควรฝึกโยคะบนพื้นเรียบ แข็ง มีเบาะรองไม่หนา หรืออ่อนนุ่มเกินไป • สถานที่ฝึกสงบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปราศจากเสียงรบกวนเพื่อให้เกิดสมาธิได้ดี • การสวมเสื้อผ้าที่ยืดหยุ่นได้ดี ให้ความรู้สึกสบายตัว เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว • ไม่ควรสวมแว่นตา นาฬิกา และเครื่องประดับใดๆ • อย่าหายใจทางปากระหว่างการฝึกอาสนะ • จงทำอาสนะที่คิดว่าสามารถทำได้ก่อน โดยทำอย่างช้าๆ และใช้แรงน้อย • เกิดความพอใจอาสนะใดโดยเฉพาะ ควรทำให้อยู่ในท่านั้นให้นาน แต่ไม่เกิน 15 นาที • ควรทำท่าพักผ่อนในระหว่างอาสนะเมื่อรู้สึกเหนื่อยอย่างน้อย 1 นาที
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี ข้อแนะนำในการฝึก • หากเกิดความรู้สึกเจ็บปวดที่แขนและขา ภายหลังการฝึกท่าอาสนะ หรือระหว่างการฝึกท่าอาสนะ ให้ใช้น้ำอุ่นประคบเบาๆ และพักผ่อน1-2 นาทีแล้วจึงทำต่อไปได้ • ควรขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระก่อนการฝึกทำอาสนะ • สำรวมใจให้อยู่กับการฝึกทำอาสนะ • ทำอาสนะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่าท้อถอย • พยายามหายใจเข้า-ออกให้ถูกต้อง และช้าๆ ในการฝึกทำท่านิ่ง • หลังจากเลิกทำอาสนะแล้ว ควรพักในท่าศพอาสนะอย่างน้อย 10 นาที • หลังออกกำลังกายอื่นๆมาแล้ว ก่อนจะฝึกอาสนะควรเว้นช่วงห่างอย่างน้อย 30 นาที • ช่วงมีประจำเดือนควรงดการฝึกทำอาสนะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ คืออะไร? • เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง สามารถทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เสื่อมหรือเสียไปเรื่อยๆและจะเสียชีวิต ในที่สุด
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี พฤติกรรมอย่างไรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์? • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน • ผู้ที่ติดเชื้อกามโรค และยังมีเพสสัมพันธ์บ่อยๆ • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยาที่ไม่สะอาดร่วมกับผู้อื่น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ ควรปฏิบัติตนอย่างไร? 1. ดูแลสุขภาพให้ดี • ทำจิตใจให้แจ่มใส • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ • ไม่รับเชื้อเอดส์เพิ่ม • ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ • ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ และสุรา เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ยิ่งขึ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดโปรแกรมสุขภาพ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ ควรปฏิบัติตนอย่างไร? 2. การป้องกันตนไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น • ต้องแยกเครื่องใช้ส่วนตัวบางชนิด เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน • ลดคู่นอนให้น้อยลง และเลิกการมีพฤติกรรมเสี่ยง • ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ • ไม่ใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาที่ไม่สะอาดร่วมกับผู้อื่น • ไม่ให้เลือด น้ำหนอง น้ำเหลือง น้ำคัดหลั่งของร่างกาย เปรอะเปื้อนตามที่ต่างๆ • งดบริจาคเลือด อวัยวะของตนแก่ผู้อื่น • ไม่ควรตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรถ้ามีทางเลือกอื่น
สรุป การฝึกโยคะ จะกระตุ้นให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดี จิตใจสงบ จะช่วยให้ร่างกายผู้ป่วยฟื้นฟูได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอดส์ได้อีกด้วย