100 likes | 271 Views
โครงงานเรื่อง การบริหารสินค้าคงคลัง.
E N D
โครงงานเรื่อง การบริหารสินค้าคงคลัง
บทที่ 1บทนำ1.1ความเป็นมาของโครงงาน ในปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดให้มีการแข่งขันเสรี ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคุณภาพของตนเอง ระบบกระบวนการผลิต หรือ ระบบการบริหารจัดการในโซ่อุปทาน จึงเป็นที่แน่นอนว่าการบริหารสินค้าคงคลังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากเป้าหมายของการบริหารสินค้าคงคลังเป็นการสร้างความสมดุลทั้งในส่วนของบริษัท และในส่วนของลูกค้า
การเรียนการสอนในรายวิชาการบริหารสินค้าคงคลัง เป็นการเรียนลักษณะของการเรียนในหนังสือเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยากเพระเป็นเนื้อหาที่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีเนื้อหาจำนวนมาก เป็นที่แน่นอนว่าในการเรียนที่มีแต่ทฤษฎี เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และทำให้ผู้เรียนไม่มีความกระตือรือร้น จึงจะส่งผลให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่อง การบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับเป็นตัวกลางในการเรียนการสอน ระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะทำให้เกิดกระบวนการทางความคิด และเห็นภาพได้อย่างชัดเจน จึงได้นำสื่อการเรียนการสอบแบบทางเดินเอกสารในรูปแบบหนังสือภาพ เพื่อจะลดความเบื่อหน่ายในการเรียน และช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาการบริหารสินค้าคงคลัง 1.2.2 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของการบริหารสินค้าคงคลัง 1.2.3 เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง
1.3 ขอบเขตของโครงงาน 1.3.1 การบริหารสินค้าคงคลัง 1.3.1.1 ความหมายของการบริหารสินค้าคงคลัง 1.3.1.2 ความสำคัญของการบริหารสินค้าคงคลัง 1.3.1.3 หลักการทำงานของการบริหารสินค้าคงคลัง 1.3.1.4 ประเภทของการบริหารสินค้าคงคลัง 1.3.1.5 การวิเคราะห์สินค้าคงคลังด้วยระบบ ABC 1.3.1.6 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้าคงคลัง
1.3.1.7 เป้าหมายของการจัดการสินค้าคงคลัง 1.3.1.8 ระบบการเติมเต็มสินค้า 1.3.1.9 การหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม 1.3.1.10สูตร EOQ (Economic Order Quantity) 1.3.1.11จุดสั่งซื้อและการหาปริมาณสินค้าสำรอง 1.3.1.12การวัดผลการดำเนินงานการบริหารสินค้าคงคลัง 3.1.2 สื่อการเรียนการสอนแบบทางเดินเอกสาร ในรูปแบบของหนังสือภาพ
1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 1.4.1อาจารย์ผู้สอนที่สอนในรายวิชา การบริหารสินค้าคงคลังได้มีสื่อในการเรียนการสอนเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง 1.4.2นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้ทราบและเข้าใจในเรื่องของการบริหารสินค้าคงคลังมากยิ่งขั้น 1.4.3สามารถค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องการบริหารสินค้าคงคลังได้สะดวก และง่ายขึ้น
1.5 วิธีการดำเนินการ 1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน มิถุนายน - กรกฎาคม 2. เสนอหัวข้อโครงงาน กรกฎาคม 3. รวบรวมข้อมูลบทที่ 1 ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจเพื่อแก้ไขปรับปรุง สิงหาคม - กันยายน 4. สอบโครงงานครั้งที่ 1 นำเสนอโดย Power Point กันยายน 5. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง กันยายน 6. รายงานความก้าวหน้าหลังจากสอบโครงงานครั้งที่ 1 กันยายน 7. ร่างแบบสื่อการเรียนการสอน กันยายน - ตุลาคม 8. ส่งสื่อการเรียนการสอนให้อาจารย์ตรวจ ตุลาคม - พฤศจิกายน 9. สอบโครงงานครั้งที่ 2 นำเสนอโดย Power Point บทที่ 1-3 ตุลาคม - พฤศจิกายน
10. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะนำโครงงานที่แก้ไขให้อาจารย์ตรวจ พฤศจิกายน - ธันวาคม 11. รวบรวมข้อมูลบทที่ 4-5 ให้อาจารย์ตรวจเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุง มกราคม 12. นำบทที่ 4-5 ที่แก้ไขปรับปรุงให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง มกราคม 13. สอบโครงงานครั้งที่ 3 นำเสนอโดย Power Point บทที่ 1-5 มกราคม – กุมภาพันธ์ 14. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะนำโครงงานที่แก้ไขให้อาจารย์ ตรวจอีกครั้ง กุมภาพันธ์ 15. สรุปผลและจัดทำรูปเล่มส่งอาจารย์ กุมภาพันธ์
1.6 นิยามศัพท์ 1.6.1 EOQ (Economic Order Quantity) หมายถึง ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 1.6.2 Inventory Management หมายถึง การบริหารสินค้าคงคลัง 1.6.3 Make to Order หมายถึง การผลิตตามคำสั่งของลูกค้า 1.6.4 Raw Materials หมายถึง วัตถุดิบ 1.6.5 Work in Process หมายถึง งานระหว่างผลิต 1.6.7 Finish Goods หมายถึง สินค้าสำเร็จรูป 1.6.8 Maintenance Repair & Operating Supply (MRO) หมายถึง สินค้าที่ใช้ในการ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง วัสดุสิ้นเปลือง