1 / 26

มุมมองสิทธิมนุษยชนต่อ การใช้โทษประหารชีวิต

มุมมองสิทธิมนุษยชนต่อ การใช้โทษประหารชีวิต. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. ทำไมจึงรณรงค์ยกเลิกโทษ ประหารชีวิต ?. เป็นการละเมิดสิทธิการมีชีวิต เป็นการทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย บ่อยครั้งที่การลงโทษประหารชีวิตเป็นผลจากการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรม

Download Presentation

มุมมองสิทธิมนุษยชนต่อ การใช้โทษประหารชีวิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มุมมองสิทธิมนุษยชนต่อการใช้โทษประหารชีวิตมุมมองสิทธิมนุษยชนต่อการใช้โทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

  2. ทำไมจึงรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต?ทำไมจึงรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต? • เป็นการละเมิดสิทธิการมีชีวิต • เป็นการทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย • บ่อยครั้งที่การลงโทษประหารชีวิตเป็นผลจากการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรม เช่น การทรมานให้รับสารภาพ ขาดทนายที่มีความสามารถในการสู้คดี หรือไม่มีล่ามแปลภาษา • กระบวนการยุติธรรมยังคงมีความเสี่ยงในการตัดสินที่ผิดพลาดส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ จำนวนมากทั่วโลกถูกจองจำ ทุกๆ 1 ใน 10 คนของนักโทษประหารใน สหรัฐอเมริกาได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ • โทษประหารชีวิตถูกนำมาใช้อย่างเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ ความเชื่อทางศาสนา การเมือง และมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ต้องโทษประหาร คือคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส • แม้จะเชื่อกันว่าโทษประหารสามารถป้องปรามอาชญากรรมร้ายแรงได้ แต่รายงานการวิจัยระบุชัดเจนว่า โทษประหารชีวิตไม่ได้ช่วยลด เพิ่ม หรือมีผลใดๆ ต่อการก่ออาชญากรรม (National Research Council of the National Academics, April 2012)

  3. “การมีชีวิตอยู่ในแต่ละวันโดยที่ต้องตระหนักว่าคุณอาจจะถูกส่งตัวไปเผชิญหน้ากับความตายในเดือน วัน หรือ ชั่วโมงใดชั่วโมงหนึ่ง คือ ความทรมาน... การถูกตัดสินประหารชีวิตลดทอนความเป็นมนุษย์ลง และสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อสภาพจิตใจของมนุษย์ มันเป็นการลงโทษที่น่ากลัวเกินกว่าจะนำมาใช้กับใครคนใดคนหนึ่ง และจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นไปอีกเมื่อนำมาใช้กับผู้บริสุทธิ์ ” ซากาอิ เมนดะ นักโทษประหารชีวิตคนแรกของญี่ปุ่นที่ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีความผิดหลังจากถูกจำคุกนาน 34 ปี (พฤศจิกายน 2550)

  4. การคร่าชีวิตเป็นการกระทำที่ตัดตอนเกินไปที่มนุษย์ด้วยกันจะกระทำต่อมนุษย์อีกคนหนึ่งได้ และเป็นการกระทำที่ไม่อาจย้อนคืนผลลัพธ์ได้ แม้จะมีกระบวนการทางกฎหมายรองรับก็ตาม ที่ใดก็ตามที่ยังมีการใช้โทษประหารชีวิตอยู่ สภาพความเป็นอยู่ของผู้รอการประหารมักจะเลวร้าย นำไปสู่ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส” นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (กรกฎาคม 2555)

  5. โทษประหารชีวิต กับ มาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศ • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน • ข้อ 3 “ทุกคนมีสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของบุคคล” • ข้อ 5 “บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่ง ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือหยามเกียรติมิได้” • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งไทยเป็นภาคีตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2539 ในข้อ 6 ได้ระบุถึง • 1) สิทธิในการมีชีวิต • 2) ประเทศที่ยังลงโทษประหารชีวิต การลงโทษอาจกระทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ ที่สุด (หมายถึงความผิดฐานฆ่าคนตายเท่านั้น) และต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล • 3) บุคคลที่ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษ ขอลดหย่อนผ่อนโทษ • 4) ห้ามตัดสินลงโทษประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี และห้ามประหารชีวิตหญิงมีครรภ์ • 5) รัฐภาคีใดจะยกข้อนี้ขึ้นอ้างเพื่อประวิง หรือขัดขวางการยกเลิกโทษประหารชีวิตมิได้ • พิธีสารเลือกรับ ฉบับที่สองแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี ทั้งทางกฎหมายและทางปฏิบัติ มี 75 ประเทศ ให้สัตยาบัน นับถึงปี 2555

  6. โทษประหารชีวิต กับ มาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศ • หลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องโทษประหารชีวิตแห่งองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า • รัฐที่ยังใช้โทษประหารใช้ได้กับคดีอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดเท่านั้นหมายถึงการฆ่าโดยเจตนา • ห้ามใช้โทษประหารต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางจิต บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี และหญิงมีครรภ์ • รัฐต้องประกันสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมและการไต่สวนที่เป็นธรรมอย่างเคร่งครัด ตามข้อ 14 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจัดหาทนายความเพื่อให้ ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างจริงจังแก่ผู้ถูกกล่าวหา • ไม่ควรมีการประหารชีวิตระหว่างการอุทธรณ์ หรือการขอลดโทษ - ต้องเปิดโอกาสให้ขออภัยโทษหรือขอลดโทษได้ - วิธีการประหารชีวิตต้องทำให้เกิดความเจ็บปวดทางกายและใจน้อยที่สุด ทุกสองปี ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะพิจารณามติการ พักใช้โทษประหารชีวิตทั่วโลก ครั้งล่าสุดคือ มติที่ 67/176 วันที่ 20 ธันวาคม 2555 มีประเทศสมาชิกลงมติสนับสนุน 111 คัดค้าน 41 และงดออกเสียง 34 ประเทศไทยงดออกเสียง

  7. กลไกระดับนานาชาติ กลไกสหประชาชาติ • General Assembly • Human Rights Council • Human Rights Treaty bodies

  8. General Assembly Resolution calling for global moratorium on the death penalty • Provide safeguards guaranteeing protection of the rights of death row inmate • Provide Secretary General the related information • Make available relevant information with regards the use of the death penalty : informed and transparent national debates • Progressively restrict the use of death penalty • Reduce the number of offences • Establish moratorium on executions with a view to abolishing the death penalty • States that have abolish not to reintroduce

  9. Resolution 62/149 : 18 December 2007 F 104 A 54 Ab 29 Thailand Against Resolution 63/168 : 18 December 2008 F 106 A 46 Ab 34 Thailand Against Resolution 65/206 : 21 December 2010 F 109 A 41 Ab 35 Thailand Abstention Resolution 67/176 20 December 2012F111 A 41 Ab 34 Thailand Abstention

  10. Human Rights Council • Universal Periodic Review • Special Procedures : Special Rapporteur (extrajudicial, summary or arbitrary execution / independence of judges and lawyers / right of everyone to the enjoyment of the highest attainable standard of physical and mental health / against torture / situation of HRs in Myanmar / Sudan)

  11. Human Rights Treaty Bodies • Human Rights Committee : report / OP2 พิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ธันวาคม 2532 มีผลบังคับใช้ปี 2534 Although 105 States are abolitionists for ordinary crimes, only 75 have endorsed the UN Protocol as of 8 August 2012 (Mongolia / Benin).

  12. The Committee on the Rights of the Child • Committee against torture • Conditions of detention • The anguish of waiting to be executed • The death penalty and secrecy

  13. UNHCHR • UNODC “most serious crime” is limited to those where it can be shown that there was an intention to kill which resulted in the loss of life” “States that have abolish the death penalty are prohibited form extraditing any person to another country where he or she might face capital punishment” • Special Representative of the Secretary-General on violence against children

  14. การรื้อฟื้นโทษประหารไม่มีผลในเชิงป้องปรามต่อการก่ออาชญากรรม เรายังจำเป็นต้องปฏิรูปเชิงสถาบันอย่างเร่งด่วน ทั้งในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและระบบศาล ซึ่งถ้าเราปฏิรูประบบเหล่านั้นได้สำเร็จจริง เราอาจไม่จำเป็นต้องรื้อฟื้นโทษประหารชีวิตก็ได้ “ เจโจมาร์ บิเนย์ รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (มกราคม 2555)

  15. โทษประหารชีวิต กับ การป้องปรามอาชญากรรม • ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่น่าเชื่อถือรองรับว่าการใช้โทษประหาร ช่วยป้องกันอาชญากรรมได้ดีกว่าการลงโทษจำคุก • งานศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโทษประหารกับ อัตราการฆาตกรรม ขององค์การสหประชาชาติ พบว่า “ไม่สามารถค้นพบข้อยืนยันในทางวิทยาศาสตร์ว่า การประหารชีวิตส่งผลในเชิงป้องปรามได้ดียิ่งกว่า การลงโทษจำคุกตลอดชีวิต หลักฐานที่มีอยู่ไม่มี ข้อสนับสนุนในเชิงบวกต่อสมมติฐานในแง่การป้องปรามเลย” • การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการฆาตกรรม เป็นเวลา 35 ปี ระหว่างฮ่องกงที่ยกเลิกโทษประหาร และสิงคโปร์ที่มีการประหารชีวิตในอัตราสูง กลับพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราการฆาตกรรม

  16. โทษประหารชีวิต กับ การป้องปรามอาชญากรรม - ความปลอดภัยของสาธารณะนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพของ กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ อัยการ ศาล และ หน่วยงานระดับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดอาชญากรรม คือ ความยากจน ความ ไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม ความสามารถของรัฐในการบังคับใช้ กฎหมาย การรักษาหลักนิติธรรม - ประเทศที่มีกระบวนการนิติบัญญัติอ่อนแอ ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเสมอภาค รัฐไม่สามารถคลี่คลายคดีหรือนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ หรือ ศาลไม่สามารถตัดสินคดีความอย่างเป็นอิสระ เช่น ผู้กระทำผิดที่มีอิทธิพลทางการเมืองมักไม่ต้องรับโทษ ก็มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการฆาตกรรมที่สูงกว่าประเทศอื่น - แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิผล ควรใช้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกต่อสังคม เน้นที่เด็กและเยาวชน ลดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการกระทำผิด และเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกจับกุม ให้ความช่วยเหลือเหยื่อและผู้ที่มีโอกาสตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดปรับพฤติกรรมและกลับคืนสู่สังคม

  17. “เราคงหลอกตัวเองหากไปเชื่อว่าการประหารชีวิต.....คนเพียงไม่กี่คนในแต่ละปี......เป็นทางออกของอัตราการก่ออาชญากรรมที่ค่อนข้างสูง.....การป้องปรามที่มีผลมากสุดต่อการก่ออาชญากรรม คือแนวโน้มที่คนร้ายจะถูกจับกุม ถูกตัดสินความผิดและถูกลงโทษ นั่นยังเป็นข้อบกพร่องในระบบยุติธรรมทางอาญาของเราในปัจจุบัน เราต้องแก้ปัญหาในระดับนี้ และแก้ไขที่สาเหตุของอาชญากรรม กล่าวคือรัฐต้องหาทางแก้ปัญหาความบกพร่องในการบังคับใช้กฎหมาย “ ถ้อยแถลงของศาลรัฐธรรมนูญแห่งแอฟริกาใต้ (2538)

  18. พัฒนาการระดับชาติในการยกเลิกโทษประหารชีวิตพัฒนาการระดับชาติในการยกเลิกโทษประหารชีวิต • ก่อนปี 2488: มี 8 ประเทศ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท ได้แก่ โคลัมเบีย คอสตา ริก เอกวาดอร์ ไอซ์แลนด์ ปานามา ซาน มาริโน อุรุกวัย และเวเนซุเอลา • ปี 2520: มี 16 ประเทศ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญา ทุกประเภท * ปี 2556: มี 97 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง โดยรวมแล้วมีถึง 140 ประเทศ ทั่วโลกที่ยกเลิกโทษประหาร ชีวิตในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ • Web link: http://youtu.be/7H8BY2MLv54

  19. สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิต ปี 2555

  20. สถานการณ์โทษประหารชีวิตในภูมิภาคอาเซียนสถานการณ์โทษประหารชีวิตในภูมิภาคอาเซียน จากจำนวนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ • 2 ประเทศ ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมาย ได้แก่ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ • 3 ประเทศ ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (ไม่มีการประหารชีวิตในระยะเวลา 10 ปี) ได้แก่ บรูไน ลาว พม่า • 5 ประเทศ ยังคงใช้โทษประหารชีวิต ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม โดย สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ระหว่างการพักใช้โทษประหารชีวิต ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อแก้ไขกฎหมายที่กำหนดโทษประหารชีวิตสถานเดียว • นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเอเชียต่อต้านการใช้โทษประหารชีวิต (ADPAN) มีสมาชิกจาก 26 ประเทศ

  21. จุดเริ่มต้น: การรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต • การประชุมแห่งกรุงสต็อกโฮล์มเพื่อยุติโทษประหารชีวิตถูกจัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2520 ณ ประเทศสวีเดน โดยมีผู้แทนจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 200 คน • แถลงการณ์จากการประชุมดังกล่าวระบุว่าโทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี เป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิต และมักถูกนำมาใช้กับกลุ่มผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติในทางสังคม

  22. ก้าวต่อไป: การรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต • การประชุมสากลเพื่อยุติโทษประหารชีวิต (World Congress Against Death Penalty) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2544 และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน มีตัวแทนจากรัฐบาล นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และครอบครัวผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเข้าร่วมกว่า 1,500 คน • พันธมิตรโลกต่อต้านโทษประหารชีวิตระดับโลก (World Coalition Against Death Penalty) กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันต่อต้านการใช้โทษประหารชีวิตสากล

  23. ชีวิตมนุษย์ทุกคนล้วนทรงค่า...เราไม่เพียงแต่ต้องทำให้ระบบยุติธรรมทางอาญามีสัดส่วนการลงโทษที่เหมาะสมและเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เท่านั้น แต่เรายังควรคำนึงถึงสังคมที่เราต้องการสร้างขึ้นมา กล่าวคือสังคมแบบที่เห็นคุณค่าของมนุษย์ทุกคน สังคมที่ไม่สิ้นหวังในประชาชนของตนเอง” ลอว์เรนซ์ เหลียน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิงคโปร์ (พฤศจิกายน 2555)

  24. “ การคัดค้านโทษประหารไม่ได้หมายถึงการปล่อยให้คนผิดลอยนวล องค์กรตระหนักดีถึงความทุกข์ทรมานของเหยื่ออาชญากรรมรุนแรงและครอบครัวของพวกเขา และย้ำเตือนว่ารัฐบาลมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมและคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะของพลเมืองทุกคน องค์กรเชื่อว่าบุคคลที่ผ่านการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมว่ามีความผิด ควรจะถูกลงโทษ แต่ไม่ควรนำโทษประหารซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิตมาใช้” แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ตุลาคม 2556)

  25. ติดตามข่าวสารด้านสิทธิมนุษยชนติดตามข่าวสารด้านสิทธิมนุษยชน www.amnesty.or.th AmnestyThailand AmnestyThailand AmnestyThailand E-mail: info@amnesty.or.th

More Related