1 / 33

บทที่ 6 กลยุทธ์การตลาดเป้าหมายและ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า

หลักการตลาด. บทที่ 6 กลยุทธ์การตลาดเป้าหมายและ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า. สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วัตถุประสงค์ _ 1. เข้าใจความจำเป็นในการแบ่งส่วนตลาดในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน เรียนรู้ความแตกต่างในการแบ่งส่วนตลาดระหว่างตลาดผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรม

brilliant
Download Presentation

บทที่ 6 กลยุทธ์การตลาดเป้าหมายและ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการตลาด บทที่ 6กลยุทธ์การตลาดเป้าหมายและการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

  2. วัตถุประสงค์_1 • เข้าใจความจำเป็นในการแบ่งส่วนตลาดในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน • เรียนรู้ความแตกต่างในการแบ่งส่วนตลาดระหว่างตลาดผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรม • สามารถอธิบายได้ว่านักการตลาดพิจารณาอย่างไรในการเลือกส่วนตลาด

  3. วัตถุประสงค์_2 • สามารถอธิบายได้ว่านักการตลาดพัฒนากลยุทธ์ตลาดเป้าหมายอย่างไร • เข้าใจถึงวิธีการพัฒนาและการประยุกต์ใช้ตำแหน่งทางการตลาด • เรียนรู้วิธีการที่นักการตลาดใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในการเพิ่มผลกำไรและความสำเร็จในระยะยาว

  4. กลยุทธ์การตลาดเป้าหมาย (Target Marketing Strategy) • เพราะเราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน • มี 3 ขั้นตอน • การแบ่งตลาดใหญ่ทั้งหมดออกเป็นส่วนตลาดที่แตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้า (Segmentation) • การเลือกส่วนตลาดบางส่วนขึ้นมาเป็นตลาดเป้าหมาย (Targeting) • การพัฒนาสินค้าเพื่อตอบสนองส่วนตลาดนั้นโดยเฉพาะ (Positioning)

  5. ขั้นที่ 1 : การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) • การแบ่งส่วนตลาด คือ กระบวนการในการแบ่งตลาดที่มีขนาดใหญ่ให้แตกเป็นส่วนตลาดหลายๆส่วน โดยอาศัยลักษณะร่วมกันที่มีความสำคัญ • ปัจจัยในการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation Variables) • ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา • ปัจจัยทางด้านพฤติกรรม

  6. ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ (Demographics) • อายุ (Age) • เพศ (Gender) • โครงสร้างของครอบครัว (Family structure) • รายได้และชนชั้นทางสังคม (Income and social class) • เชื้อชาติและศาสนา (Race and ethnicity) • ภูมิศาสตร์ (Geography)

  7. อายุ (Age) • วัยเด็ก (Children) • วัยรุ่น: Gen-M (Millennial Generation) • วัยหนุ่ม: Gen-Y (Generation Y) • วัยทำงาน: Gen-X (Generation X) • วัยกลางคน: Gen-B (Baby Boomers) • วัยชรา(Elderly)

  8. วัยเด็ก (Children) • เด็กๆมีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าอื่นๆของครอบครัว • วัยรุ่น: Gen-M (Millennial Generation) • เกิดระหว่าง พ.ศ. 2524-2530 • ให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ภายนอกมาก • ให้ความสำคัญต่อกลุ่มเพื่อน • เป็นกลุ่มคนที่สนใจเทคโนโลยี • มีลักษณะที่ทำให้เกิดตลาดใหม่ๆ

  9. วัยหนุ่ม: Gen-Y (Generation Y) เกิดระหว่าง พ.ศ. 2514-2523 • มีรายได้เป็นของตนเองและยังไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในครอบครัวมาก • พึ่งพาอินเตอร์เน็ตมาก • การใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ เป็นเครื่องมือการสื่อสาร • เชื่อว่าโลกนี้มีทางเลือก ไม่ได้ยึดติดแบรนด์ ชอบแบรนด์ที่มีคุณค่าสูงทั้งทางด้านการทำงานและจิตใจ • เป็นคนมองโลกในแง่ดี การทำตลาดที่เกี่ยวข้องกับการขายความสุขขจัดความเครียดจึงได้รับความนิยมสูง

  10. วัยทำงาน: Gen-X (Generation X) • เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2513 • ใช้เงินที่หามาได้เพื่อความสุขและความสนุกส่วนตัว • รักอิสระและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เลือกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) • มีครอบครัว จึงให้ความสำคัญต่อการลงหลักปักฐานและเน้นหนักการลงทุน • เป็นผู้ที่หลงใหลแบรนด์มากที่สุดทั้งในเชิงกว้าง (ชื่นชอบแบรนด์ที่ผู้นิยม) และในเชิงลึก (มีความภักดีต่อตรายี่ห้อสูง)

  11. วัยกลางคน: Gen-B (Baby Boomers) เกิดระหว่าง พ.ศ. 2485-2508 • ผลผลิตจากความต้องการ “สร้างครอบครัว” • มีกำลังซื้อมากมาย ยอมลงทุนอย่างมากทั้งในเรื่องเงิน เวลา และแรงงานเพื่อรักษาภาพพจน์ความเป็นหนุ่มสาวของตน • มักอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร • นักต่อสู้ เชื่อมั่นในตนเอง เคารพกติกา และกังวลถึงภาพพจน์ของตนเอง • วัยชรา(Elderly) กลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป • มีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างสบายๆ

  12. เพศ (Gender) • สีชมพูผู้หญิง สีฟ้าผู้ชาย • ส่วนตลาดใหม่ Metrosextual กลุ่มผู้ชายรักสวย • โครงสร้างของครอบครัว (Family structure) • วงจรชีวิตครอบครัว • เวลาผ่านไปครอบครัวก็เข้าสู่วงจรชีวิตแบบใหม่ • รายได้และชนชั้นทางสังคม (Income and social class) • ผู้มีรายได้สูง และผู้มีรายได้ต่ำ • ลูกค้ากลุ่มบน และ ลูกค้ากลุ่มล่าง

  13. เชื้อชาติและศาสนา (Race and ethnicity) • เป็นประเด็นละเอียดอ่อน • การทำการตลาดโดย 1) ส่งเสริมความโดดเด่นและความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ Ethnicitization เช่น มุสลิมไทยเมล์ที่บ่งบอกความเป็นมุสลิมจาก “@muslimthai.com” 2) พัฒนาความชื่นชอบในสินค้าประเภทเดียวกันข้ามกลุ่ม De-Ethnicitization เช่น โปรโมทว่าสินค้าอาหารฮาลาลเหมาะกับทุกคน • ภูมิศาสตร์ (Geography) • พัฒนาข้อเสนอให้เหมาะสมกับส่วนตลาดในแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาค

  14. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychographics) • ช่วยทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกันทางด้านสถิติ แต่ความต้องการแตกต่างกันมาก • แบ่งตลาดตามลักษณะร่วมกันในด้านกิจกรรม ความสนใจ และความคิดเห็น (AIO) • ในทางปฏิบัติมักจะต้องอ้างอิงถึงข้อมูลทางประชากรศาสตร์ด้วย เช่น อายุ เพศ แต่จะเพิ่มคำอธิบายส่วนตลาดที่ลึกซึ้งมากกว่า • Values and Lifestyles (VALS) ระบบการแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยทางจิตวิทยา ให้นักการตลาดค้นหาว่าสินค้าหรือบริการของตนเหมาะกับผู้บริโภคกลุ่มใด

  15. ปัจจัยทางด้านพฤติกรรม (Behavior) • แต่ละคนอาจใช้สินค้าเดียวกัน แต่ต่างเหตุผล ต่างโอกาส และต่างปริมาณ • แบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มย่อยโดยดูจากวิธีการปฏิบัติต่อสินค้า ความรู้สึกต่อสินค้า หรือวิธีการใช้งานสินค้าของผู้บริโภค • ผู้ที่ใช้สินค้า vs. ผู้ที่ไม่เคยใช้สินค้า • ผู้ใช้ปริมาณมาก ปานกลาง และใช้น้อย • กฎ 80/20 มุ่งเป้าคนกลุ่มน้อยที่ใช้งานสินค้าอย่างจริงจัง • โอกาสในการใช้งาน (Usage Occasion) ผู้บริโภคใช้สินค้าในเวลาและโอกาสใดมากที่สุด

  16. การแบ่งส่วนตลาดสำหรับตลาดองค์กรการแบ่งส่วนตลาดสำหรับตลาดองค์กร • ซอยย่อยตลาดใหญ่ให้เล็กลงมาเป็นส่วนตลาดที่ดูแลจัดการง่าย ภายในประกอบด้วยลูกค้าที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน • ลักษณะทางประชากรศาสตร์ขององค์กร • ขนาดขององค์กร • จำนวนโรงงาน • ภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ • รูปแบบของธุรกิจ • เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต

  17. ขั้นที่ 2 : การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) • ประเมินความน่าสนใจของแต่ละส่วนตลาด และ ตัดสินใจว่าส่วนตลาดส่วนใดที่จะพัฒนาให้เป็นลูกค้าขององค์กร มี 3 ขั้นตอน • ประเมินส่วนตลาด (Evaluating Market Segments) • พัฒนาโครงร่างของส่วนตลาด (Developing Segment Profiles) • เลือกกลยุทธ์เป้าหมาย (Choosing a Targeting Strategy)

  18. ประเมินส่วนตลาด (Evaluating Market Segments) • คุณสมบัติของส่วนตลาดที่ดี • สมาชิกในส่วนตลาดมีลักษณะใกล้เคียงกัน และ แตกต่างจากส่วนตลาดอื่นๆหรือไม่ ? ผู้หญิงทำงาน และ แม่บ้าน • สามารถประเมินขนาดของส่วนตลาดได้หรือไม่ ? คนถนัดซ้าย และ คนถนัดขวา • มีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้มีกำไรหรือไม่ ? เวปเพ็จแฟนบาร์บี้ • ทำการสื่อสารทางการตลาดไปยังส่วนตลาดได้หรือไม่ ? ต้องใช้สื่ออะไร • สามารถตอบสนองต่อความต้องการของส่วนตลาดได้หรือไม่ ? มีทรัพยากรพอมั้ย

  19. พัฒนาโครงร่างของส่วนตลาด (Segment Profiles) • โครงร่างของส่วนตลาด (Segment profiles) คือ คำบรรยายลักษณะของลูกค้าโดยทั่วไปในส่วนตลาดหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นความต้องการที่สมาชิกในส่วนตลาดต้องการจริงๆ เช่น ลูกค้าสปา สตรี อายุ 25-45 ปี อาชีพ พนักงาน/เจ้าของกิจการ การศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป เป็นคนที่ให้ความสนใจและดูแลสุขภาพ

  20. การเลือกกลยุทธ์เป้าหมาย (Choosing a Targeting Strategy) • การตลาดไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing) • การตลาดแตกต่าง (Differentiated Marketing) • การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) • การตลาดเพื่อลูกค้าเฉพาะราย (Customized Marketing)

  21. การตลาดไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing) • สร้างความน่าสนใจให้กับคนหมู่มาก • ได้รับประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด (economies of scale) • เหมาะสมเมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน • เช่น เทสโก้โลตัส หรือ บิ๊กซี

  22. การตลาดแตกต่าง (Differentiated Marketing) • พัฒนาสินค้าหนึ่งอย่างหรือหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่มที่มีความต้องการสินค้าแตกต่างกัน • เหมาะสมเมื่อผู้บริโภคมีตรายี่ห้อที่เป็นที่รู้จักหลายตราให้เลือก แต่ละตราจะมีภาพพจน์ในท้องตลาดโดดเด่นแตกต่างกัน และในตลาดประกอบด้วยส่วนตลาดต่างๆที่มีความต้องการจำเพาะในสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่ม L’Oreal กลุ่มเป้าหมายระดับบน ใช้ตราสินค้าอย่าง Lancome กลุ่มเป้าหมายระดับต่ำลงมา ใช้ตรายี่ห้ออย่าง Elseveและ L’Oreal

  23. การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) • พยายามที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อส่วนตลาดเพียงส่วนเดียว • เหมาะสมกับองค์กรขนาดเล็กที่ไม่มีทรัพยากรมากนักในการตอบสนองต่อส่วนตลาดทั้งหมดได้ • เช่นเสื้อผ้าเด็กผู้ชาย นวดประคบสำหรับคุณแม่หลังคลอด

  24. การตลาดเพื่อลูกค้าเฉพาะราย (Customized Marketing) • แบ่งส่วนตลาดอย่างแม่นยำจนทำให้สามารถนำเสนอสินค้าที่เข้ากับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างพอดี • มักพบในการตลาดองค์กรธุรกิจ • การทำการตลาดเฉพาะรายแบบทั่วถึง (Mass Customization) คือการปรับเปลี่ยนสินค้าพื้นฐานเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลแต่ละรายเป็นการเฉพาะ • เช่น สตาร์บัคส์ “Let us create your favorite Starbucks beverage just the way you like it”

  25. ขั้นที่ 3 : การกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Positioning Strategy) • คือ การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสินค้าหรือบริการของบริษัท มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของส่วนตลาดเป้าหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าหรือบริการของคู่แข่งขัน ขั้นตอนในการกำหนด • วิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดของคู่แข่ง • เสนอขายผลิตภัณฑ์ที่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน • ตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด • ประเมินการตอบสนองจากกลุ่มเป้าหมาย

  26. วิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดของคู่แข่งวิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดของคู่แข่ง • ใครเป็นคู่แข่ง มีคู่แข่งขันทางอ้อมหรือไม่ • เสนอขายผลิตภัณฑ์ที่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน • ภาพพจน์ที่ดีเยี่ยม บริการที่ดีกว่า มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ • ตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด • สินค้าจะต้องเพิ่มคุณค่า ราคาในระดับที่ยินดีจะจ่าย เสนอขายให้มีอย่างทั่วถึง สื่อสารผลประโยชน์ให้ถูกต้อง • ประเมินการตอบสนองจากกลุ่มเป้าหมาย • ปรับกลยุทธ์ตามความจำเป็น • การเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาด (Repositioning) • เช่น ธนาคารกสิกรไทย K-Excellence

  27. บุคลิกภาพของตราสินค้า (Brand Personality) • คือ ภาพพจน์อันเป็นเอกลักษณ์ที่เก็บภาพของผลประโยชน์และลักษณะของตราสินค้านั้นๆ เช่น โกดัก- ผู้ใหญ่มีระดับ น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ ฟูจิ -คนรุ่นใหม่ ทันสมัย คล่องแคล่ว สังคมดี และฉลาด • วิธีการในการกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภค • แผนผังการรับรู้ (Perceptual mapping)

  28. แผนภาพที่ 6.3 แผนผังการรับรู้

  29. การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) • แนวทางสู่การตลาดเพื่อลูกค้าเฉพาะราย • CRM ช่วยให้องค์กรสามารถค้นหาลูกค้าที่ดีที่สุดรวมทั้งรู้เท่าทันความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเหล่านั้น • การสื่อสารกับลูกค้าแบบหนึ่งต่อหนึ่ง • โทรศัพท์จากผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่สอบถามความพอใจภายหลังจากที่ได้ซื้อรถใหม่ • ลูกค้าคือหุ้นส่วน • มองลูกค้าเป็นหุ้นส่วนธุรกิจและหุ้นส่วนเหล่านี้จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันทุกครั้งที่มีปฎิสัมพันธ์กัน

  30. ขั้นตอนของการตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (แผนภาพที่ 6.4) • การค้นหาลูกค้า • เก็บและป้อนข้อมูล • การจำแนกลูกค้า • ค้นหาลูกค้าที่มีมูลค่าสูง • จัดอันดับลูกค้า • การปฎิสัมพันธ์ • สร้างโอกาสการขายจากการโทรเข้ามาติดต่อของลูกค้า • หาทางเพิ่มการพูดคุยกับลูกค้าที่มีมูลค่าทางธุรกิจ • การปรับแต่ง • ถามลูกค้าว่าต้องการให้บริษัทติดต่อกลับอย่างไรและบ่อยแค่ไหน

  31. หัวใจหลักของ CRM ก็คือ การช่วยให้องค์กรสามารถสื่อสารและบริการลูกค้าโดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง ตัวอย่าง CRM • อุตสาหกรรมสายการบินช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลสำคัญต่างๆ (เช่น การเลื่อนเวลาออก) • สถาบันการเงินให้พนักงานทำแคมเปญการตลาดเฉพาะเพื่อลูกค้าแต่ละราย โดยดูจากรายละเอียด (เช่น ลูกค้าเปิดบัญชีเมื่อใด รายได้ต่อปีของลูกค้า สถานะครอบครัว) • กรมสรรพากรของอเมริกา เพื่อซื้อซอฟท์แวร์ CRM ช่วยให้ผู้เสียภาษีได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายภาษีและได้ทันต่อเวลา

  32. คุณลักษณะของ CRM บริษัทที่ใช้ CRM คิดต่างอย่างไร • ส่วนแบ่งลูกค้า (Share of Customer) รักษาลูกค้าเดิม • คุณค่าตลอดช่วงชีวิตของลูกค้า (Lifetime Value of customer)มูลค่าสินค้าที่ลูกค้าคนเดิมซื้อตลอดช่วงชีวิตของเขา • มูลค่าของลูกค้า (Customer Equity) ความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน • การมุ่งเน้นลูกค้าที่มูลค่าสูง

  33. การบ้าน งานเดี่ยว • วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของสินค้าที่สนใจ • ยี่ห้อสินค้า • กลยุทธ์ตำแหน่งการตลาดที่ใช้ • การตลาดไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing) • การตลาดแตกต่าง (Differentiated Marketing) • การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) • การตลาดเพื่อลูกค้าเฉพาะราย (Customized Marketing) • มีกลยุทธ์ CRM อย่างไรบ้าง • (ดูตัวอย่างกลยุทธ์ในแผนภาพ 6.4) • บอกแหล่งข้อมูลด้วย

More Related