340 likes | 686 Views
ภาคที่ 4 เป้าหมายของชีวิต. บทที่ 4. คติสุขารมณ์. อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์. คติ แปลว่า แนวทางแห่งการดำเนินชีวิต. สุขารมณ์ แปลว่า อารมณ์ที่เป็นความสุข
E N D
ภาคที่ 4 เป้าหมายของชีวิต บทที่ 4 คติสุขารมณ์
บทที่ 4 คติสุขารมณ์ อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์
คติแปลว่าแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตคติแปลว่าแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต สุขารมณ์แปลว่าอารมณ์ที่เป็นความสุข คติสุขารมณ์แปลว่าพวกที่ดำเนินชีวิตด้วยการยึดความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิตหรือพวกที่ถือว่าความสุขเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดสำหรับชีวิต นักปรัชญาที่เราจะได้พิจารณาความคิดของเขา คือฟรอยด์เบนธัม จารวาก มิลล์เอพิคคิวรัส บทที่ 4 คติสุขารมณ์
4.1 ความสุขเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ทุกคนล้วนแต่รักสุขเกลียดทุกข์ที่เรายอมดิ้นรนทำงานเหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาดจุดประสงค์ไม่ได้ต้องการเงินแต่เราต้องการ หาความสุขให้แก่ตัวเอง บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ซิกมันด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud : 1856 - 1939) นักปรัชญาและนักจิตวิทยาแนวจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่าง มีจุดหมายคือการแสวงหาความสุขและต้องการรักษามันไว้ ในการแสวงหา มี 2 ด้าน ด้านบวกคือ การแสวงหาความรู้สึกที่เป็นความสุขสบาย ด้านลบคือ การพยายามที่จะหลีกหนีความทุกข์ความเจ็บปวด บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ข้อนี้เป็นการพิจารณามนุษย์ในแง่ข้อเท็จจริงข้อนี้เป็นการพิจารณามนุษย์ในแง่ข้อเท็จจริง • จากมุมมองของนักจิตวิทยา • ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะปฎิเสธความจริงข้อนี้ได้ บทที่ 4 คติสุขารมณ์
(Jeremy Bentham : 1748 - 1832) เจอเรมี่เบนธัม (Jeremy Bentham : 1748 - 1832) นักปรัชญาชาวอังกฤษได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้สรุปได้ว่า บทที่ 4 คติสุขารมณ์
มนุษย์อยู่ภายใต้การบงการของนายที่มีอำนาจเต็ม 2 คนคือ ความเจ็บปวด และ ความสุขสบาย เพราะเหตุผล 2 ประการนี้ทำให้มนุษย์รู้ว่าควรจะทำอย่างไรมันควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างทั้งความคิดคำพูดและการกระทำ มนุษย์อาจจะแกล้งทำเป็นหนีจากอำนาจของมันแต่ความจริงเขาตกอยู่ใต้อำนาจมันตลอดเวลา บทที่ 4 คติสุขารมณ์
4.2 คุณธรรมที่สำคัญของความสุขคือความรอบคอบ ในการแสวงหาความสุขนั้น จะพบความจริงอย่างหนึ่งคือเราไม่สามารถแสวงหาความสุขล้วนๆโดยไม่มีทุกข์เจือปนได้เลยบางอย่างก็มีทุกข์มากบางอย่างก็มีทุกข์น้อย ซึ่งในเรื่องนี้นักปรัชญาโบราณล้วนเข้าใจความจริงข้อนี้ดี จารวาก กลุ่มแนวคิดที่เป็นวัตถุนิยมของอินเดียได้ให้แนวคิดสรุปความได้ว่า บทที่ 4 คติสุขารมณ์
จุดหมายของมนุษย์คือความสุขที่ได้จากความพอใจทางประสาทสัมผัสจุดหมายของมนุษย์คือความสุขที่ได้จากความพอใจทางประสาทสัมผัส การแสวงหาความสุขเหมือนการกินปลาไม่ควรทิ้งปลาเพราะกลัวก้างติดคอไม่ควรทิ้งข้าวเพราะมีทั้งรวงและฟาง คนฉลาดคือคนที่รู้จักแสวงหาความสุขที่บริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่จะหาได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงความทุกข์ให้มากที่สุด อย่าให้ความกลัวทุกข์มาขัดขวางความสุขซึ่งสัญชาตญาณบอกแก่เราว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง บทที่ 4 คติสุขารมณ์
เอพิคคิวรัส (Epicurus : 341–270 B.C) นักปรัชญาชาวกรีกเป็นนักวัตถุนิยมถือว่าความจริงสูงสุดคือสสาร มนุษย์ตายแล้วจบกันแค่เพียงชาตินี้ไม่มีโลกหน้านรกสวรรค์ บทที่ 4 คติสุขารมณ์
เขาได้กล่าวไว้สรุปว่าเขาได้กล่าวไว้สรุปว่า จุดหมายของการกระทำของมนุษย์คือการแสวงหาความสุขเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์และความกลัว ความสุขเป็นสิ่งประเสริฐในชีวิตแต่ไม่ใช่ว่าเป็นความสุขทุกอย่างที่เราต้องการบางทีเราก็ต้องลงทุนยอมทุกข์เพื่อสุขที่ถาวร ระหว่างความสุขและความทุกข์เราต้องพิจารณาเปรียบเทียบว่าอะไรเหมาะสมกว่ากันเพราะบางครั้งสิ่งที่เลวอาจเป็นความดีสิ่งที่ดีอาจเป็นความเลว บทที่ 4 คติสุขารมณ์
แนวคิดของเขาเป็นแนวคิดที่เป็นสายกลางให้มีชีวิตแบบเรียบง่ายควรปลีกตัวออกจากสังคมไม่ต้องรับผิดชอบสังคมเพราะจะทำให้เรามีแต่ความกังวลใจขาดอิสรภาพอย่าตกเป็นทาสอะไรทั้งนั้นแนวคิดของเขาเป็นแนวคิดที่เป็นสายกลางให้มีชีวิตแบบเรียบง่ายควรปลีกตัวออกจากสังคมไม่ต้องรับผิดชอบสังคมเพราะจะทำให้เรามีแต่ความกังวลใจขาดอิสรภาพอย่าตกเป็นทาสอะไรทั้งนั้น ในความสัมพันธ์กับบุคคลนั้นมิตรภาพดีที่สุดเพราะมิตรภาพอยู่กลางๆระหว่างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แน่นมากเกินไปและความโดดเดี่ยวที่จะทำให้อ้างว้างว้าเหว่มากเกินไป บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ในเรื่องความอยากก็เหมือนกันความต้องการปัจจัย 4 เป็นความจำเป็นที่ควรแสวงหาเพราะเป็นความอยากโดยธรรมชาติ • แต่ความต้องการที่มิใช่ธรรมชาติเช่นเกียรติยศความฟุ่มเฟือยเป็นสิ่งเกินจำเป็น • สิ่งที่ควรดำเนินให้อยู่ในสายกลางคือความต้องการทางเพศ บทที่ 4 คติสุขารมณ์
เอพิคคิวรัสใช้เหตุผลเพื่อการแสวงหาความสุขที่ยั่งยืนให้ชีวิต เอพิคคิวรัสใช้เหตุผลเพื่อการแสวงหาความสุขที่ยั่งยืนให้ชีวิต แต่เป็นชีวิตที่เน้นปัจเจกชนมากเกินไป เพราะไม่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แนวคิดของเขาก็ดูเข้าทีดีเหมือนกัน ต่อมาแนวคิดของเขาได้รับการตีความไปในแนวทางที่ผิด บทที่ 4 คติสุขารมณ์
จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ถ้าเอ่ยถึงคำว่าจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ถ้าเอ่ยถึงคำว่า ลัทธิเอพิคคิวเรียนนิสม์ (Epicureanism) ความรู้สึกของคนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นความสุขแบบเทพบุตรเพลย์บอย แบบดอนฮวน หรือ คาสโนว่านักรักบันลือโลก หรืออย่างคำขวัญของพวกจารวากที่ว่า “จงกินดื่มและหาความสุขให้เต็มที่เพราะพรุ่งนี้ชีวีอาจหามีไม่” บทที่ 4 คติสุขารมณ์
4.3 ความสุขในเชิงปริมาณ เจอเรมี่เบนธัม ได้เสนอแนวคิดในการวัดปริมาณความสุขว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ • ความเข้มข้นเช่นคนที่ชอบทานอาหารรสเค็มถ้าได้ทานอาหารเค็มย่อมมีความสุขกว่าทานอาหารมีรสจืดเป็นต้น • เวลาเช่นมีเงินก้อนหนึ่งเอาไปกินเที่ยวหมดใน 7 วันกับเอาไปซื้อบ้านไว้อยู่การมีบ้านอยู่ย่อมให้ความสุขได้มากกว่าเป็นแน่แท้เป็นต้น บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ความแน่นอนและไม่แน่นอน ถ้าความสุขให้ความเข้มข้นและเวลาที่เท่ากันความสุขที่อยู่ในมือย่อมแน่นอนกว่าความสุขที่ยังไม่มาถึงเป็นต้น • ความใกล้และไกลคล้ายอย่างที่ 3 คนรักที่อยู่ใกล้ตัวย่อมดีกว่าคนรักที่อยู่ห่างไกลเป็นแน่ บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ในการพิจารณาค่าของความสุขและความทุกข์เพื่อจะคำนวณแรงโน้มที่การกระทำอย่างหนึ่ง จะผลิตสุขหรือทุกข์ ต้องพิจารณาปัจจัยอีก 3 อย่างดังต่อไปนี้ • ผลิตภาวะของมันพยายามหาความสุขที่จะก่อดอกออกผลที่ทำให้เกิดความสุขอื่นๆที่ตามมาอีกมากมายเช่นคบเพื่อนที่ดีถูกใจย่อมนำมาซึ่งความสุขใจอื่นๆคือการได้รับความช่วยเหลือยามลำบากและการแนะนำตักเตือนกันเป็นต้น บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ความบริสุทธิ์ของมันต้องเป็นความสุขล้วนๆที่ไม่มีทุกข์เจือปนเช่นไปเที่ยวผู้หญิงเป็นสุขแต่ต่อมา ต้องป่วยเป็นโรคเอดส์ ทุกข์ทรมานจนกว่าจะตาย อย่างนี้เป็นความสุขนิดหน่อย แต่มีความทุกข์มากใช้ไม่ได้ • การแผ่ขยายของมันความสุขที่ได้รับนั้นจะต้องก่อให้เกิดความสุขแก่คนเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่แก่เราคนเดียว บทที่ 4 คติสุขารมณ์
4.4 ความสุขเชิงคุณภาพ จอห์นสจ๊วตมิลล์(John Stuart Mill : 1806 – 1873) นักปรัชญาชาวอังกฤษได้ให้แนวคิดนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีว่า การแสวงหาความสุขเชิงปริมาณเป็นการตีค่าคนเท่ากับสัตว์ เขาถือว่าแม้มนุษย์กับสัตว์จะมีจุดร่วมกันคือความสุขทางกาย แต่สิ่งที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ซึ่งสัตว์ไม่สามารถพบได้เลย นั่นคือความสุขทางใจ บทที่ 4 คติสุขารมณ์
(John Stuart Mill : 1806 – 1873) บทที่ 4 คติสุขารมณ์
แนวคิดของเขาสรุปได้ดังนี้แนวคิดของเขาสรุปได้ดังนี้ มนุษย์สามารถมีความสุขที่เกิดจาก ปัญญา ความรู้สึกจินตนาการ และ จากการสำนึกทางศีลธรรมซึ่งมีค่าสูงกว่าความสุขที่เกิดจากประสาทสัมผัส เป็นมนุษย์ที่กระวนกระวายดีกว่าเป็นสุกรที่อิ่มเอม เป็นโสเครตีสที่ทุรนทุรายดีกว่าเป็นเจ้างั่งที่สำราญ สรุป เขาเน้นที่ความสุขทางใจเป็นหลัก บทที่ 4 คติสุขารมณ์
แนวความคิดในเรื่องความสุขแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ • ปัจเจกสุขนิยม ( Egoistic or Individualistic Hedonism ) เน้นความสุขส่วนตนเช่นเอพิคคิวรัส • สากลสุขนิยม ( Universal Hedonism ) สากลสุขนิยมเน้นการแสวงหาความสุขที่มากที่สุดให้แก่คนจำนวนมากที่สุด (โดยนับรวมตนเองเข้าในคนจำนวนมากด้วย) เช่นเบนธัม , มิลล์ • สากลสุขนิยม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยชน์นิยม ( Utilitarianism ) บทที่ 4 คติสุขารมณ์
4.5 วิจารณ์กลุ่มคติสุขารมณ์จากมุมมองของพวกคติอสุขารมณ์ • ถ้ามนุษย์มุ่งแสวงหาแต่ความสุขอารยธรรมของมนุษย์คงไม่เกิดขึ้นเนื่องจากอารยธรรมของมนุษย์ล้วนเกิดจากความทุกข์ยากของมนุษย์ทั้งสิ้นนักวิทยาศาสตร์วีรบุรุษในสงครามและมหาศาสดาทั้งหลายของโลกบุคคลทั้งหมดเหล่านี้กว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตต้องเหน็ดเหนื่อย ทุกข์ยาก ยอมทุ่มเททุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตดังนั้นเหตุผลของกลุ่มคติสุขารมณ์จึงไม่ถูกต้อง บทที่ 4 คติสุขารมณ์
โลกนี้น่าจะมีสิ่งอื่นนอกจากความสุขเช่นความรู้ความงามศีลธรรมถ้ามีโลกอยู่ 2 ใบให้ท่านเลือกโลกใบแรกมีแต่ความสุขอย่างเดียวอีกใบหนึ่งมีทั้งความรู้ความงามศีลธรรมมิตรภาพท่านจะเลือกเอาโลกใบไหน ? • ความสุขเป็นภาพมายามีใครเคยพบแต่สุขโดยไม่มีทุกข์เจือปนบ้างยิ่งมนุษย์แสวงหาความสุขมากเท่าใดก็ยิ่งห่างไกลจากความสุขมากเท่านั้นมีคำกล่าวที่ว่า บทที่ 4 คติสุขารมณ์
หนทางไปสู่ความเป็นแชมเปี้ยนยากยิ่งแต่การรักษาความเป็นแชมเปี้ยนให้คงอยู่ตลอดไปนั้นยิ่งยากกว่า หนทางไปสู่ความเป็นแชมเปี้ยนยากยิ่งแต่การรักษาความเป็นแชมเปี้ยนให้คงอยู่ตลอดไปนั้นยิ่งยากกว่า บทที่ 4 คติสุขารมณ์
(Schopenhauer : 1788 – 1860 ) บทที่ 4 คติสุขารมณ์
โชเปนเฮาเออร์ (Schopenhauer : 1788 – 1860 ) นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้มองโลกด้วยความทุกข์ระทมกล่าวไว้ว่า “ชีวิตมนุษย์แกว่งไปมา ระหว่างความทุกข์กับความเบื่อหน่ายครึ่งหนึ่งของชีวิตเต็มไปด้วยการดิ้นรนที่จะพ้นทุกข์ อีกครึ่งหนึ่งเต็มไปด้วยความทรมานที่ได้รับจากความเบื่อหน่าย” บทที่ 4 คติสุขารมณ์
ตัวท่านเห็นด้วยกับแนวคิดแบบคติสุขารมณ์หรือไม่ ? ลำดับต่อไปนี้ จะได้พิจารณาแนวคิดของกลุ่มคติสุขารมณ์ บทที่ 4 คติสุขารมณ์