1 / 25

การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ

การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ ประเทศ CLMV เพื่อรองรับความต้องการนักลงทุนขาออกของไทย. Loas. Myanmar. Thailand. Cambodia. ผศ.ดร. จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, ณัช ชา ลิมส ถายุรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Download Presentation

การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของการวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ ประเทศ CLMV เพื่อรองรับความต้องการนักลงทุนขาออกของไทย Loas Myanmar Thailand Cambodia ผศ.ดร. จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, ณัชชา ลิมสถายุรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นองค์ประกอบสำคัญอันหนึ่งในการตัดสินใจเลือกที่ตั้งอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสำหรับการขยายหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากการเข้าสู่ AEC • นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนทางตรงในกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและปริมาณแรงงานในพื้นที่ แต่ CLMV ยังมีระดับการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การติดต่อสื่อสาร การสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ต่ำกว่าไทย • ผู้ประกอบการไทย (โดยเฉพาะ SME) ยังไม่มีข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอในการตัดสินใจ และยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าพื้นที่เหล่านั้นมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประกอบการมากน้อยเพียงใด ความเป็นมาและความสำคัญ

  3. รวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMV ที่จะรองรับการลงทุนทางตรงของไทย • เข้าใจความต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการลงทุนทางตรงของไทยในกลุ่มประเทศ CLMVในมุมมองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเกษตรแปรรูป • เปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์กับความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของผู้ประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลือกพื้นที่และตัดสินใจในการเข้าไปลงทุน วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  4. 1. รวบรวมข้อมูลฝั่งอุปทาน • รวบรวมข้อมูลในอดีต การสัมภาษณ์เชิงลึกในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การสำรวจ ภาคพื้นที่ (แม่สอด-เมียวดี และเชียงของ-ห้วยทราย) • วิเคราะห์ข้อมูล โดยจะใช้การวิเคราะห์เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสากลในปัจจัย 7 ด้าน (ถนน/ ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน/ รถไฟ/ ระบบไฟฟ้า/ ระบบประปา/ ระบบโทรคมนาคม) • 2. รวบรวมข้อมูลฝั่งอุปสงค์ • สัมภาษณ์เชิงลึกนักลงทุนไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม/ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า/ เกษตรแปรรูป)เกี่ยวกับแนวโน้มการออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน • สำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามทั้งหมด 51 ชุด ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย • วิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดลำดับพื้นที่ที่นักลงทุนให้ความสนใจ และรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการในการประกอบธุรกิจ • 3. เปรียบเทียบความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานกับความต้องการของนักลงทุน • จัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์การลงทุนของแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักลงทุน ขั้นตอนการดำเนินงาน

  5. เกณฑ์การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเกณฑ์การประเมินโครงสร้างพื้นฐาน

  6. อ้างอิง: United Nations (2001) อ้างอิง: Federal Railroad Administration (2011) อ้างอิง:Wilbur Smith Associates (2011) อ้างอิง: เปรียบเทียบกับท่าเรือสิงค์โปร์ โดย สุมาลี สุขดานนท์ (2554)

  7. เกณฑ์การประเมินโครงสร้างพื้นฐาน (2)

  8. ตัวอย่าง การประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางถนน

  9. สรุปผลการศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน (อุปทาน) • โครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทาง สำหรับกัมพูชา มีคุณภาพดี แต่การจราจรติดขัด พม่าถนนส่วนใหญ่กำลังปรับปรุง ยังไม่พร้อมใช้งาน และสปป.ลาว เป็นถนนลาดยางที่ชำรุดเสียส่วนใหญ่ ด้านรถไฟยังไม่มีแผนที่ชัดเจน และขาดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ส่วนการผ่านแดนของประเทศเพื่อนบ้านยังมีความไม่โปร่งใสอยู่มาก • ด้านไฟฟ้าและน้ำประปา ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะพม่าและกัมพูชา • ด้านการสื่อสาร ลาวและกัมพูชามีประสิทธิภาพดี ส่วนพม่ายังมีปัญหาในบางพื้นที่ • อุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ • - พม่า นักลงทุนไทยยังไม่นิยมเข้าไปลงทุนนัก เนื่องจากปัญหาด้านกฎระเบียบ ชน กลุ่มน้อย และแรงงานส่วนมากอพยพเข้ามาอยู่ในไทยแล้ว • สปป.ลาว ได้เปรียบด้านเกษตรกรรม เหมาะกับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป • กัมพูชา มีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และการบริการของนักลงทุนไทยจำนวนหนึ่งแล้ว เพราะมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและแรงงานมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ

  10. การวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทยaการวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทยa 1. รายชื่อหน่วยงานที่ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จาก7 แห่ง ดังนี้ • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)/ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) / สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย /สมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ / สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ / สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป / สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย • 2. จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม จาก 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้ • กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แจก 50 ราย ตอบกลับ 21 ราย • กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แจก 50 ราย ตอบกลับ 25ราย • กลุ่มเกษตรแปรรูป แจก 100 ราย ตอบกลับ 5 ราย • รวมทั้งหมด แจก 200 ราย ตอบกลับ 51 ราย 1. แนวโน้มในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ผลการวิเคราะห์ ประเด็นที่ 1 พบว่ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีนักลงทุนให้ความสนใจไปลงทุนและอยู่ระหว่างการวางแผนมากที่สุด (52%) ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้านั้น นักลงทุนสนใจแต่ยังไม่ได้ศึกษามากที่สุด (36%)และกลุ่มเกษตรแปรรูปมีนักลงทุนให้ความสนใจแต่ยังไม่ได้ศึกษาเท่ากับสนใจและอยู่ระหว่างการวางแผน (40%)

  11. การวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทย (2) 3. ประเทศที่นักลงทุนสนใจไปลงทุน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนขาออก พบว่ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีปัจจัยเพื่อลดค่าจ้างแรงงานมากที่สุด (42%)รองลงมาคือ เพื่อขยายธุรกิจ (33%)ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้ามีปัจจัยเพื่อขยายธุรกิจมากที่สุด (33%)รองลงมาคือ ลดค่าจ้างแรงงาน มีแหล่งทรัพยากร และสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งมีคะแนนความสำคัญใกล้เคียงกัน และกลุ่มเกษตรแปรรูป มีปัจจัยเพื่อขยายธุรกิจและมีแหล่งทรัพยากรมากที่สุด (43%) พบว่า ภาพรวมนักลงทุนให้ความสนใจในการออกไปลงทุนใน สหภาพพม่ามากที่สุด รองลงมาเป็นสปป.ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ โดยกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มเกษตรแปรรูป ให้ความสนใจไปลงทุนในสหภาพพม่ามากที่สุด ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ให้ความสนใจไปลงทุนใน สปป.ลาวมากที่สุด 4.พื้นที่ที่นักลงทุนให้ความสนใจในการไปลงทุน พบว่า พื้นที่ที่นักลงทุนสนใจในภาพรวมคือ เวียงจันทน์ และย่างกุ้ง รองลงมาคือ พนมเปญ พิจารณากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ให้ความสนใจในการออกไปลงทุนที่เกาะกง/สีหนุวิลล์ และสะหวันนะเขตมากที่สุด กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าให้ความสนใจในการลงทุนที่เวียงจันทน์มากที่สุด รองลงมาคือ ย่างกุ้ง ส่วนกลุ่มเกษตรแปรรูปให้ความสนใจในการลงทุนที่ย่างกุ้งมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สีหนุวิลล์/เกาะกง และเวียงจันทน์ ตามลำดับ

  12. การวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทย (5) การวิเคราะห์ประเด็นที่ 2 : ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจ ประเมินผลจากแบบสอบถามโดย “ สมการค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ” (เรียงลำดับคะแนน 1= ไม่สำคัญเลย ไปจนถึง 4= สำคัญมาก) กำหนดให้ := จำนวนกลุ่มตัวอย่าง , x =ระดับความคิดเห็นตั้งแต่ 1 ถึง 4 แบ่งระดับความสำคัญของปัจจัยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สำคัญมากที่สุด (ช่วงคะแนน 3.5-4.0) สำคัญมาก (ช่วงคะแนน 2.5-3.5) สำคัญปานกลาง (ช่วงคะแนน 1.5-2.5) สำคัญน้อยพบว่า (ช่วงคะแนน 0.5-1.5) สำคัญน้อยมากหรือไม่สำคัญเลย (ช่วงคะแนน 0.0-0.5) โดยจะพิจารณาเฉพาะปัจจัยที่อยู่ในระดับสำคัญมาก หรือปัจจัยที่มี คะแนนมากกว่า 3.5 คะแนนขึ้นไป

  13. การวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทย (6) ผลการวิเคราะห์ประเด็นที่ 2 : ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจ

  14. การวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทย (8) ผลการวิเคราะห์ประเด็นที่ 3 : ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบธุรกิจ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญ (ได้คะแนนมากกว่า 3.50 ขึ้นไป) สำหรับทั้ง 3 อุตสาหกรรม คือ ระบบไฟฟ้าที่เพียงพอและได้มาตรฐาน ระบบประปาและสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ ระบบสื่อสารไร้สายครอบคลุม และการเชื่อมโยงกับชายแดนไทยได้อย่างสะดวก ส่วนปัจจัยที่อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มเกษตรแปรรูปให้ความสำคัญคือ เส้นทางถนนที่ได้มาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ประเด็นที่ 4 : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลไทย จากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มให้ความสำคัญกับการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุน ส่วนนักลงทุนกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แลไฟฟ้า และกลุ่มเกษตรแปรรูป ให้ความสำคัญต่อนโยบายการให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุน เช่น การประกันการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในด้านกฎระเบียบ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับเอกชนไทยในการศึกษาวางแผนการลงทุนในต่างประเทศ ตามลำดับ

  15. สรุปการวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทยสรุปการวิเคราะห์อุปสงค์ของนักลงทุนไทย • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า อุตสาหกรรมนี้เริ่มได้รับความสนใจในการออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายธุรกิจ โดยให้ความสนใจไปที่ เวียงจันทน์ สปป.ลาว มากที่สุด เพราะมีพื้นที่ที่เชื่อมติดกับไทย และมีการเชื่อมโยงทางถนนกับไทยค่อนข้างดี สามารถเดินทางมายังท่าเรือแหลมฉบังได้สะดวก ส่วนนโยบายภาครัฐนักลงทุนให้ความสำคัญกับการสนับสนุนด้านการให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนไทยในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ในลักษณะของ G2G/การทำสนธิสัญญา MOU รวมถึงการให้ความร่วมมือในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ บริษัทหลายแห่งได้เริ่มลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เช่น เมืองปอยเปต-ศรีโสภณ และกรุงพนมเปญ โดยมีปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงานเป็นหลัก มีพื้นที่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนคือ ย่างกุ้ง ประเทศพม่า เพราะมีแรงงานจำนวนมาก ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิตจากโรงงาน ได้แก่ ไฟฟ้าและน้ำประปา นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสำคัญกับนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลในการจัดตั้งหน่วยงานหรือศูนย์ข้อมูลในไทยเพื่อให้ข้อมูลการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน • อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เดิมมีการเชื่อมโยงธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจอาหารทะเล จากการนำเข้าวัตถุดิบจากพม่า นิยมให้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงอุตสาหกรรมต้นน้ำ จากนั้นจึงส่งกลับมาประเทศไทยเป็นกลางน้ำถึงปลายน้ำ โดยนักลงทุนให้ความเห็นว่าปัจจัยจากการมีแหล่งทรัพยากร และขยายธุรกิจเป็นปัจจัยหลักในการออกไปลงทุนให้ความสนใจที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่าเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีเมืองมะริด และมัณฑะเลย์ ที่ได้รับความสนใจ ทั้งนี้ นักลงทุนต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งเงินทุนในการออกไปลงทุน

  16. การเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานการเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพิจารณาความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่อความต้องการของนักลงทุน พร้อมกับพิจารณาพื้นที่ที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จากนั้นจึงทำแผนที่ยุทธศาสตร์การลงทุนสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม สมการ 1 • เ= คะแนนรวมของแต่ละพื้นที่ / = ค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน • = คะแนนด้านโครงสร้างพื้นฐาน • คะแนน ≥2.5 แสดงด้วยหมายถึง พื้นที่ที่ มีความพร้อมมาก • 2.0 ≤ คะแนน <2.5 แสดงด้วย หมายถึง พื้นที่ที่ มีความพร้อมปานกลาง • คะแนน <2.0 แสดงด้วยหมายถึง พื้นที่ที่ ยังไม่พร้อมต่อการลงทุน สมการ 2 เกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 0 หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อมในระดับ ดีมาก -1 0 หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อมในระดับ ดี -2 -1 หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อมในระดับ พอใช้ -2 หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม หรือ ยังมีปัญหาอยู่ เกณฑ์การพิจารณา

  17. การเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (2) • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ระดับความพร้อม

  18. การเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (3) • แผนที่ระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีความพร้อมมาก : C1 = เกาะกง-สีหนุวิลล์ C2 = ปอยเปต-ศรีโสภณ C3 = พนมเปญ M1 = ทวาย L1 = เวียงจันทน์ มีความพร้อมปานกลาง : M2 = ย่างกุ้ง L2 = สะหวันนะเขต L3 = บ่อแก้ว L4 = ปากเซ ยังไม่พร้อมในการลงทุน : M3 = เมียวดี หมายเหตุ : ตัวเลขใน () หมายถึง อันดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน

  19. การเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (5) • แผนที่ระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า มีความพร้อมมาก : C1 = เกาะกง-สีหนุวิลล์ C2 = ปอยเปต-ศรีโสภณ C3 = พนมเปญ M1 = ทวาย L1 = เวียงจันทน์ L2 = สะหวันนะเขต L4 = ปากเซ มีความพร้อมปานกลาง : M2 = ย่างกุ้ง L3 = บ่อแก้ว ยังไม่พร้อมในการลงทุน : M3 = เมียวดี หมายเหตุ : ตัวเลขใน () หมายถึง อันดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน

  20. การเปรียบเทียบระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (7) • แผนที่ระดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีความพร้อมมาก : C1 = เกาะกง-สีหนุวิลล์ C2 = ปอยเปต-ศรีโสภณ C3 = พนมเปญ M1 = ทวาย L1 = เวียงจันทน์ มีความพร้อมปานกลาง : M2 = ย่างกุ้ง L2 = สะหวันนะเขต L3 = บ่อแก้ว L4 = ปากเซ ยังไม่พร้อมในการลงทุน : M3 = เมียวดี หมายเหตุ : ตัวเลขใน () หมายถึง อันดับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน

  21. สรุปพื้นที่ที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสรุปพื้นที่ที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

  22. สรุปและข้อเสนอแนะ (1) • ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) • การสนับสนุนด้านไฟฟ้าและพลังงาน และระบบประปาในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่นักลงทุนไทยนิยมไปตั้งโรงงาน อาจทำโดยสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ขายไฟฟ้าให้แก่พื้นที่เหล่านั้น เดินสายไฟฟ้า ระบบท่อประปา เป็นต้น • พัฒนาจัดสรรพื้นที่ด่านชายแดนให้เป็นสัดส่วน แยกช่องทางการจราจรระหว่างรถท่องเที่ยวและรถบรรทุก พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการทำพิธีการทางศุลกากรแบบครบวงจร (One Stop Service) • รัฐบาลควรสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมระหว่างพื้นที่ชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการค้าและสิทธิประโยชน์ในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมให้แก่นักลงทุนทั้ง 2 ประเทศ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับแรงงานในพื้นที่ เช่น พื้นที่แม่สอด จ.ตาก-เมียวดี พื้นที่คลองใหญ่ จ.ตราด-เกาะกง เป็นต้น • รัฐบาลไทยควรให้เงินช่วยเหลือหรือเงินกู้ยืมแก่ประเทศเพื่อนบ้านในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

  23. สรุปและข้อเสนอแนะ (4) • ข้อเสนอแนะนโยบายภาครัฐ • นักลงทุนต้องการนโยบายคุ้มครองจากภาครัฐในการออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การประสานงานระหว่างภาครัฐ (G2G) เพื่อเจรจาด้านกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับเอกชนในขั้นตอนการศึกษาวางแผนเพื่อลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น • รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานหรือศูนย์ข้อมูลทั้งในไทยและในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อบริการข้อมูล คำปรึกษา และแนะนำการลงทุนที่มีประสิทธิภาพแก่นักลงทุนไทย • การสนับสนุนด้านเงินกู้ยืมเพื่อการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีโอกาสออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน • นอกจากนี้ ภาครัฐควรอนุญาตให้พื้นที่สามารถจัดทำนโยบายบางส่วนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ชายแดนและกิจกรรมการค้าที่อาจจะแตกต่างกันไป เช่น เวลาทำการเปิด-ปิดด่านชายแดนที่ไม่พร้อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นกฎระเบียบบางอย่างในพื้นที่ • แนวทางวิจัยในขั้นต่อไป • ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่ที่นักลงทุนให้ความสนใจ นอกจาก 10 พื้นที่ศึกษา เช่น มะริด มัณฑะเลย์ • เมาะละแหม่ง เสียมเรียบ รวมถึงประเทศเวียดนามซึ่งกำลังเป็นประเทศที่น่าสนใจ • ควรให้ความสำคัญในการศึกษาความต้องการของอุตสาหกรรมใช้แรงงานอื่น ๆ ที่นิยมออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น

  24. คำถาม และข้อเสนอแนะ

More Related