690 likes | 889 Views
After Postmodern 2. “ เราอาจพูดได้ว่าขณะนี้ กระบวนทัศน์ของโลก กำลังมุ่งหน้ามาทางตะวันออก สู่การมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว อย่างเป็นองค์รวม เป็นระบบนิเวศน์ ”. Fritjof Crapa, the web of life. Architecture.
E N D
“ เราอาจพูดได้ว่าขณะนี้ กระบวนทัศน์ของโลก กำลังมุ่งหน้ามาทางตะวันออก สู่การมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว อย่างเป็นองค์รวม เป็นระบบนิเวศน์ ” Fritjof Crapa, the web of life
Architecture วิธีหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการถนอมรักษามิติของชีวิตทั้งสี่นี้ก็คือ การปลูก+สร้าง (building) สถาปัตยกรรม เพื่อทำให้ "โลก" ปรากฏ เมื่อโลกนั้นหมายถึงองค์รวมแห่งพื้นดิน ผืนฟ้า มวลมนุษย์ และเทพยาดา
ตะวันออกเอื้อการเชื่อมต่อโลกมากกว่าตะวันออกเอื้อการเชื่อมต่อโลกมากกว่า กรอบประตู มะ close open ที่ว่าง การก่อแบบตะวันตก การปลูกเรือนแบบตะวันออก สถานที่ พระอาทิตย์ พระจันทร์
ผูกพันกับพื้นและที่ว่างใต้หลังคา: เอื้อให้เกิดการรับรู้จากการสัมผัส ตะวันออก (ญี่ปุ่น, ไทย) ตะวันตก
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ไม่ใช่สถาปัตยกรรมแห่ง “ที่ว่าง” แต่เป็นสถาปัตยกรรมแห่ง "สถานที่" แบบ "มะ" ความงามที่เกิดขึ้นจาก สถานที่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นเกิดขึ้นในลักษณะของการมี ปฏิกริยาโต้ตอบ ต่อ สถานที่ และ ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติแวดล้อม
Architecture of roof and floor: ไม่เน้นการปิดล้อมด้วยผนัง
ทัศนคติความงาม ทางตะวันออก+ตะวันตก
วิธีการเชื่อมต่อกับมิติแห่งธรรมชาติในวิถีตะวันออกวิธีการเชื่อมต่อกับมิติแห่งธรรมชาติในวิถีตะวันออก Tadao Ando
1. ขอบเขต(boundary) ที่เชื่อมต่อมนุษย์ และมิติธรรมชาติ ในงานสถาปัตยกรรมของอันโด
รูปทรงเรขาคณิต + งานสถาปัตยกรรมของ Tadao Ando
"ความคิดเรื่องศูนย์กลางเป็นสิ่งที่น่าสนใจและค่อนไปทางตะวันตก โรล็องด์ บาร์ตส์ เคยมาญี่ปุ่น และวิจารณ์ว่าประเทศนี้เหมือน มีความลึกมาก แต่ ไม่มีศูนย์กลาง ผมว่าผมมีความคิดแบบนี้ติดตัวอยู่ สำหรับผม ศูนย์กลางของสถาปัตยกรรมเป็น "คน" ที่อยู่ในนั้นแล้วมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง” Tadao Ando
“ปัญหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ที่ลักษณะนามธรรมและความเป็นหนึ่งเดียวของพื้นที่“ปัญหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ที่ลักษณะนามธรรมและความเป็นหนึ่งเดียวของพื้นที่ พื้นที่แบบนี้ กับคนนั้นไปด้วยกันไม่ได้ แม้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นระเบียบของเรขาคณิตที่เป็นนามธรรมและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ระเบียบนี้เป็นสิ่งซึ่งแตกต่างในสาระสำคัญกับ ระเบียบในชีวิตประจำวัน” Tadao Ando (ความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์+ธรรมชาติ แสง ลม ฝน) โดยที่เป็นการปรากฏรูปของวัสดุ สถาปัตยกรรมเป็นสื่อที่รวมเอาปัจจัยเหล่านี้เองที่สร้างระเบียบใก้แก่รูปทรงสถาปัตยกรรมอีกทีหนึ่ง
อุดมคติแห่งความงาม อันยิ่งใหญ่ของโลกตะวันตก “ความสมบูรณ์ อมตะไร้กาลเวลา”
เหตุผลในการเลือกใช้ รูปทรงเรขาคณิตในงานสถาปัตยกรรมของ Tadao Ando
“ลักษณะของพื้นที่จึงไม่ได้เป็นผลมาจาก ทัศนวิสัยหนึ่งเดียวสมบูรณ์...ผมพยายามสร้างสรรค์พื้นที่ซับซ้อนโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและความเคลื่อนไหวของมนุษย์บนรูปทรง เรขาคณิตที่เรียบง่าย สิ่งที่ดูจะสมบูรณ์ในตัวเองและหยุดนิ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยความเคลื่อนไหวของธรรมชาติหรือมนุษย์ที่เพิ่มเติมเข้ามา เมื่อผู้ดูแต่ละคนที่เคลื่อนตัวไปแต่ละจุดที่ถูกจัดวางมุมมองที่แตกต่างกันจะได้รับรู้ภาพรวมที่ถูกจารึกไว้ในใจ และก่อเป็นการรับรู้ที่ต่างกันในแต่ละบุคคล สิ่งที่ผมสนใจนั้นแน่นอนว่าเป็นวิถีทางที่แต่ละบุคคลจะสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรม Tadao Ando
เมื่อผู้ดูแต่ละคนที่เคลื่อนตัวไปแต่ละจุดที่ถูกจัดวางมุมมองที่แตกต่างกันจะได้รับรู้ภาพรวมที่ถูกจารึกไว้ในใจ และก่อเป็นการรับรู้ที่ต่างกันในแต่ละบุคคล สิ่งที่ผมสนใจนั้นแน่นอนว่าเป็นวิถีทางที่แต่ละบุคคลจะสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรม Tadao Ando
เรขาคณิตถูกใช้ทำงานอย่างไรในงานของ Ando • เพื่อสลายอุดมคติ แบบสมัยใหม่นิยมที่ต้องการสร้างความสมบูรณ์โดยสร้างความเป็นศูนย์กลางแก่พื้นที่ • เป็นการเน้นว่าความหมายของรูปทรงเรขาคณิตที่ก่อให้เกิดพื้นที่สถาปัตยกรรมจะต้อง • เติมเต็มโดยผู้ใช้
ศูนย์กลางของ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ นั้นอยู่ที่พื้นที่และความสมบูรณ์รูปทรงอันบริสุทธิ์ ในขณะที่ศูนย์กลางของงานอันโด อยู่ที่ ผู้ใช้อาคาร ที่กำลังได้รับประสบการณ์จากแต่ละพื้นที่ย่อยๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นงานของอันโด รูปทรงเรขาคณิตในงานอันโดจึงไม่ใช่รูปทรงสมบูรณ์อมตะแบบงานโมเดิร์น แต่เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่เอื้อให้เกิด การเติมเต็มโดยผู้ใช้ และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
โดยใช้ สร้างความไม่สมบูรณ์ ให้แก่ รูปทรงเรขาคณิต เพื่อเอื้อให้คนได้ขยายประสบการณ์ในพื้นที่ เช่น โดยการเฉือนพื้นที่บางส่วน หรือนำมาจัดซ้อนทับประกอบใหม่
"แน่นอนว่าที่ว่าวงกลมนั้นแสดงแทนความเป็นนิรันดร์ เมื่อพูดถึงโค้งของผม มันคือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในหกของวงกลมในฐานะสัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์ คุณจะเชื่อมต่อส่วนที่เหลือของวงกลมเพื่อสร้างจักรวาลของตัวเองอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับใจคุณ ผมพยายามจะสร้างความสมบูรณ์ขึ้นภายในใจผู้ชม"
การไร้ศูนย์กลางของพื้นที่ พื้นที่เคลื่อนที่
การแบ่งแยกพื้นที่ด้วย partition เบา - โชจิ (โปร่งแสง) ถ้า การแบ่งแยกอย่างชัดเจน คือ ลักษณะของพื้นที่ในสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ความคลุมเคลือ เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน เคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง ก็คือลักษณะเฉพาะของพื้นที่ใน วัฒนธรรมญี่ปุ่น (โดย ฉากเลื่อนโชจิที่เบา+โปร่งแสง)
Perception of Space: Immediate Receptors-Skin and Muscles สวนตะวันตก - มีจุดศูนย์กลาง รับรู้ได้ในชั่วพริบตา จากการมองอย่างเดียว แยกตัว ออกจากโลกส่วนอื่นอย่างชัดเจน สวนประกอบอาคารพิธีชา - ไร้ศูนย์กลาง ก่อให้เกิดการ กระจายตัวของพื้นที่ย่อยๆ แทรกซึมไปกับโลกแวดล้อม ก่อให้เกิดการรับรู้เป็นภาพรวม *การรับรู้เป็นภาพรวม เกิดขึ้นจากค่อยๆ รับรู้ประสบการณ์ผ่าน ประสาทสัมผัสทางร่างกาย ผ่านการเคลื่อนที่ของร่างกาย... การเดิน เป็น การสร้างสมาธิ เพื่อเตรียมจิตใจให้พร้อมเข้าอาคารชา
ในขณะที่คนอเมริกันมีความหมกมุ่นในการข้ามพื้นที่ให้ได้เร็วที่สุดในขณะที่คนอเมริกันมีความหมกมุ่นในการข้ามพื้นที่ให้ได้เร็วที่สุด คนญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมการ ดึงให้คนอยู่กับพื้นที่ ยาวนานขึ้น Gunter Nitschke
การเดินผ่านธรรมชาติ เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้คนอยู่กับพื้นที่ยาวนานขึ้น ซึ่งก็คือ การเพิ่มเวลาให้กับพื้นที่ โดยเชื่อว่าพื้นที่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดี จะเอื้อให้คนมีประสบการณ์ร่วมได้มากขึ้น และทำให้คนเพิ่มความเข้าใจตัวตนของตัวเองมากขึ้นไปพร้อมๆ กัน
พื้นที่ที่เกิด (ทางเดินสวน) มีความต่อเนื่องในเชิงแผนผัง แต่ขาดกันในเชิงทัศนวิสัย - สถาปัตยกรรมต้องทำหน้าที่กระตุ้นการรับรู้และความทรงจำขึ้นความสวยงามในการมองเห็นจะต้อง ถูกลดเป็นเรื่องรอง ลงไป และหันมา เน้นประสบการณ์ที่คนจะมีต่อพื้นที่ เพื่อสร้างสติ + สมาธิ ขึ้นมาแทน (ex 13 วิธีต่อเนื่องกันจากประตูหน้าไปจนตัวอาคารพิธีชา)
วิหารแห่งน้ำ ที่ใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่ไร้ศูนย์ และกระจายพื้นที่ย่อยออกไปในรูปแบบทางเดิน ทำให้คนอยู่กับพื้นที่นานขึ้น และได้สร้างประสบการณ์ผ่านการเคลื่อนไหว เป็นการกระตุ้นให้คนตระหนัก ถึงย่างก้าวของตนเอง มากกว่าการใช้สายตา Clip หน่วงเวลาโดยใช้ผนังลอย และตัวผนังลอยก็เป็นเครื่องมือสร้างการรับรู้ที่หลากหลาย ผนังลอยยังเป็นการกระจายจุดศูนย์กลาง
การทำให้ “โลกปรากฏ” ในงานสถาปัตยกรรมของอันโด
“การทำงานของขอบเขต”(boundary)“การทำงานของขอบเขต”(boundary) ที่เชื่อมต่อมนุษย์ และมิติธรรมชาติ ในงานสถาปัตยกรรมของอันโด
“เมื่อเรามองดูอาคารที่ตั้งอยู่อย่าง สงบเรียบง่ายในตัวเอง (เชื่อมกับธรรมชาติ) ประสาทสัมผัสของเราก็เหมือนจะผ่อนคลาย ลดความตื่นตัวลง สิ่งเหล่านั้นไม่ได้พยายามจะ "บอก" อะไรเรา มันก็แค่อยู่ตรงนั้น ประสาทสัมผัสของเราเข้าสู่ความสงัด ไม่ฟุ้งซ่าน
ณ ที่นี้ ในความว่างเปล่าของการรับรู้ ภาพความทรงจำอาจกลับปรากฏ ภาพความจำที่คล้ายจะ ผุดขึ้นจาก เบื้องลึกแห่งกาลเวลา...” Peter Zumthor
การเปิดขอบเขต ของรูปทรงสถาปัตยกรรมเรขาคณิตที่เรียบง่าย เพื่อเชื่อมโยงกับโลก (มิติชีวิตทั้ง 4) . . . . . สิ่งที่ดูจะสมบูรณ์ในตัวเองและหยุดนิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อ ความเคลื่อนไหวของธรรมชาติหรือ มนุษย์ ที่เพิ่มเติมเข้ามา
การเชื่อมต่อกับผืนฟ้า ผ่าน ระเบียง และ หลังคา ในบ้านญี่ปุ่น
“ในทัศนะคนญี่ปุ่น การชมพระจันทร์ เหมาะสมที่สุดเมื่อ นั่งอยู่บนระเบียง” เพราะ...
ระเบียงและ กรอบหลังคา ของบ้านญี่ปุ่นทำให้เกิดกรอบทางสถาปัตยกรรมที่กำหนดมุมมองเฉพาะ ต่อธรรมชาติภายนอก (สวนญี่ปุ่น + พระจันทร์) *พื้นที่ เชื่อมต่อ นี้กลายเป็นจุดเชื่อม ระหว่าง คน และ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ในบ้านญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ศิลปะจิจู - อันโดจงใจฝังตัวอาคารส่วนใหญ่ลงในภูเขาส่งผลให้พื้นที่ภายในไม่มีบริเวณภายนอก
คอร์ตกลางรูปสามเหลี่ยมจึงทำหน้าที่เป็น กรอบทางสถาปัตกรรม (เช่นเดียวกับ ระเบียง และกรอบหลังคา) ที่เป็นจุดเชื่อมต่อ คนภายใน กับท้องฟ้าและแสงแดด