610 likes | 841 Views
ทบทวนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักสูตรเนติบัณฑิตไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา ชุดที่ ๑/๔ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๕๐ น. เพลง-ศรัทธา-หิน เหล็ก ไฟ.
E N D
ทบทวนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักสูตรเนติบัณฑิตไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๗รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปาชุดที่ ๑/๔วันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗เวลา ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๕๐ น.
เพลง-ศรัทธา-หิน เหล็ก ไฟ “เส้นชัย ไม่มาต้องไปหามันรางวัล มีไว้ให้คนตั้งใจขวากหนาม ทิ่มแทงก็ผ่านพ้นไปโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่ายดาย[อีกราว ๑ เดือนสิ้นสุดการบรรยาย อีกราว ๒ เดือนสอบแล้ว]ใจสู้หรือเปล่า ไหวไหมบอกมาโอกาสของผู้กล้า ศรัทธาไม่มีท้อ” มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำชี้แจงประกอบการจัดทำ PowerPoint • PowerPoint นี้จัดทำแบบละเอียด ซึ่งผิดหลักการจัดทำ PowerPoint ที่ดี ที่ควรจะต้องมีเพียงหัวข้อ • เหตุที่จัดทำละเอียด เพราะเห็นว่า • เอกสารเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๗ เพื่อเตรียมสอบ ยังมีอยู่น้อย หากจัดทำให้ละเอียดไว้ และนำเอกสารชุดนี้ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดราว ๒๗๘ กรอบ (เดิมปีที่แล้วมี๖๗๒ กรอบ จึงมีเนื้อหาลดไปราว ๓๙๔ กรอบ เนื้อหาลดราวร้อยละ ๖๐) หากพิมพ์ในรูปแบบ ๖ กรอบต่อหนึ่งหน้ากระดาษ A4 ก็จะมีจำนวนเพียง ๔๖ หน้า ให้ไว้ในเว็ปไซด์ของสำนักอบรมฯ ในช่องเอกสารประกอบการบรรยาย (คำแนะนำหากพิมพ์ในรูปแบบ ๒ กรอบต่อหน้าจะทำให้อ่านได้ง่าย เพราะตัวหนังสือจะไม่เล็กมาก) • เวลาบรรยาย อาจไม่บรรยายในรายละเอียดของเรื่องราว มุ่งแต่ใจความสำคัญ เพื่อสอดคล้องกับหลักการทบทวน แต่นักศึกษาสามารถอ่านเอกสารนี้ในรายละเอียดได้ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทที่ ๑บทนำ๑. ความนำ: จุดแข็งของการเตรียมตัวสอบในส่วนของวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ • เรื่องจริง (โปรดฟังอีกครั้ง) คือ ตัวบทรัฐธรรมนูญชั่วคราวมีเพียง ๔๘ มาตรา ในช่วงนี้ปกติจะเน้น ๒ เรื่องใหญ่ คือ • สิทธิและเสรีภาพ • องค์กรและกระบวนการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญมิติในเชิงคดี จะมีความสำคัญในการเตรียมตัวสอบ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุดแข็งของการเตรียมตัวสอบในส่วนของวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ต่อ) • เรื่องจริงยิ่งกว่าจริง หลายท่านที่เตรียมตัวสอบเนฯ มักนิยมตัดการเตรียมตัวสอบในวิชาพิเศษทั้งหลายออก แล้วเหลือแต่วิชาหลัก คือ อาญา และแพ่ง เพราะเชื่อว่าวิชาพิเศษ เนื้อหามาก ไม่คุ้มกับการเตรียมตัว วัดดวงเอาช่วงใกล้สอบหากเวลาเหลือค่อยดู หรือไม่ทัน ก็เดาเอา อันนี้เป็นความเชื่อ แต่เรื่องจริง คือ เนื้อหาของวิชาพิเศษเยอะจริง แต่ขอบเขตที่ออกสอบไม่ได้เยอะอย่างที่เข้าใจ กลับเป็นในทางตรงกันข้าม วิชาพิเศษ เนื้อหาที่เตรียมตัวสอบน้อย หากเตรียมตัวให้ดี ก็ย่อมจะทำข้อสอบได้ โดยได้คะแนนดี • ข้อสอบวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญปกติจะอยู่ในลำดับข้อที่ ๙ ของการสอบในวันแรกคือ วันสอบกฎหมายอาญา มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒. ขอบเขตของวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญที่สอนในหลักสูตรเนติบัณฑิตไทย • (๑) หลักทั่วไป ความหมายของกฎหมายรัฐธรรมนูญ • (๒) ความเป็นกฎหมายสูงสุด • (๓) คดีพิเศษ • (๔) สิทธิและเสรีภาพ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. วิเคราะห์ข้อสอบเก่าแบบย่อสุด ๆ • วิเคราะห์ข้อสอบในส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญ เริ่มมีการสอนกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกออกจากกฎหมายปกครอง และออกข้อสอบเป็นเอกเทศ ๑ ข้อ ในสมัย ๕๔ (พ.ศ.๒๕๔๔) แต่ในสมัยก่อนนั้นได้มีการออกข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนของกฎหมายปกครองและรัฐธรรมนูญ ๑ ครั้ง • ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ข้อสอบเนฯ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนับถึงปัจจุบัน ออกไปแล้ว ๑๔ ข้อ มานิตย์จุมปาคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อสอบเก่า (ต่อ) • (เฉพาะในช่วงใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว) • สมัยที่ ๕๙ (๒๕๔๙) ประเด็น หลักความเสมอภาค คือ หน่วยงานรัฐรับสมัครพนักงานบันทึกข้อมูล (พิมพ์) เฉพาะเพศชาย เพราะเพศหญิงมีเยอะแล้วลาคลอดบ่อย ประกาศนี้ขัดต่อหลักความเสมอภาคหรือไม่ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อสอบเก่า (ต่อ) • ธงคำตอบ ขัด เพราะหลักความเสมอภาค คือ ต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกันและห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับชายและหญิงนั้น ต้องถือว่าชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีเหตุผลทางกายภาพเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีเหตุผลพิเศษที่ทำให้จำเป็นต้องมีการเลือกปฏิบัติ) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ได้ว่า ในทางสถิติ • (๑) โดยหลัก ในรัฐธรรมนูญถาวร เรื่องการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมหลังประกาศใช้ มีการออกข้อสอบที่ผ่านมาจำนวนมาก ต่อมาพัฒนาออกในเรื่องเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการขัดแย้งในอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามด้วยคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แล้ววนกลับมาที่เรื่องการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๑๑) พร้อมกับเสริมด้วยเรื่องหลักความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา (มาตรา ๑๓๑)การฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๑๒) และคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (การอุทธรณ์คดีจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา) ตลอดจนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนั้น หากสังเกต จะพบว่า นิยมออกข้อสอบในลักษณะที่ถามว่าศาลยุติธรรม จะต้องส่งเรื่องที่โต้แย้งนั้น ๆ ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ • (๒) ข้อยกเว้น ในช่วงหลังรัฐประหาร ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ข้อสอบออกในเรื่องสิทธิเสรีภาพ คือ หลักความเสมอภาค แต่ปีนี้ต้องดูเรื่ององค์กรที่ยังทำหน้าที่ต่อไป เช่น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ ป.ป.ช. มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งที่เป็นที่มาของการนำมาใช้ในการออกข้อสอบ เรียงจากแหล่งที่นำมาออกมากไปหาน้อย ได้แก่ • (๑) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงคำพิพากษาศาลฎีกาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย • (๒) คำวินิจฉัยและคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ • (๓) ตัวบทและหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องสิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาค ความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปรียบเทียบแนวข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญในสนามอื่น ๆ • การสอบวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญในสนามสอบอื่น เช่น ผู้ช่วยผู้พิพากษา หรืออัยการผู้ช่วยนั้น เมื่อพิจารณาจากแนวข้อสอบเก่า โดยหลักการพื้นฐานก็มีเนื้อหาที่อาศัยขอบเขตเนื้อหาจากวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญในระดับเนติบัณฑิต เช่น มีการออกข้อสอบโดยอาศัยแนวบรรทัดฐานของทั้งของศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ขอบเขตจะกว้างมากกว่าของเนติบัณฑิต เพราะบ่อยครั้งที่วัดกันที่หลักกฎหมายที่สำคัญในรัฐธรรมนูญ เช่น หลักเรื่องเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา สิทธิของผู้ตกเป็นจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อมาปรากฏว่าศาลตัดสินว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ อนึ่ง บางสนาม เช่น ผู้ช่วยฯ สนามเล็ก อาจวัดกันที่หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญในเชิงบรรยาย เช่น ถามว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างไร” เป็นต้น ซึ่งคำถามลักษณะนี้ยังไม่ปรากฏในระดับเนติบัณฑิต • ดังนั้น หากนักศึกษาเตรียมตัวสอบในสนามสอบที่สูงกว่าเนติบัณฑิตก็ต้องศึกษาให้รอบด้าน กว้างและลึกมากกว่าในระดับเนติบัณฑิต มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความน่าจะเป็นของข้อสอบเนฯ ปี ๒๕๕๗This is our mission today. • องค์กรและกระบวนการที่ยังคงสืบต่อโดยเฉพาะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ ป.ป.ช. • สิทธิและเสรีภาพ • รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว (เผื่อไว้) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๔. ความหมายและลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ • รัฐธรรมนูญ หมายถึง (๑) กฎหมายที่เป็นรากฐานของประเทศซึ่งก่อตั้งสถาบันทางการเมืองและกำหนดขอบเขตอำนาจรัฐ และ (๒) กำหนดหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน • ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญจัดว่าเป็นกฎหมายมหาชน อันหมายความว่า ด้วยความเป็นกฎหมายมหาชนที่เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน หากเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน จะกล่าวอ้างรัฐธรรมนูญโดยตรงไม่ได้ ต้องพิจารณาไปตามกฎหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๓๔-๘๔๓๖/๒๕๕๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 26 ซึ่งเป็นมาตราแรกของหมวดนี้บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ดังนั้น สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยตามหมวด 3 จึงหมายถึงสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรองไว้สำหรับการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐแก่ชนชาวไทย ไม่ใช่การใช้อำนาจโดยปัจเจกบุคคลแก่ชนชาวไทยตามคำฟ้อง คำให้การ และทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลย (บริษัทธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)) เป็นองค์กรของรัฐ ดังนั้น ระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุพนักงาน พ.ศ.2537 ของจำเลย ที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างของจำเลยจึงเป็นระเบียบที่ใช้บังคับระหว่างจำเลยผู้เป็นปัจเจกบุคคลกับลูกจ้างของจำเลย (รวมถึงโจทก์ทั้งสามด้วย) ซึ่งเป็นปัจเจกบุคคลด้วยกัน ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” นั้น ในกรณีของปัจเจกบุคคลต่อปัจเจกบุคคลด้วยกันต้องพิจารณาตามกฎหมายที่บัญญัติในแต่ละกรณีไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวอย่าง (ต่อ) ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับขณะนั้น คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติในเรื่องให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงเท่าเทียมกันในการจ้างงาน ดังนั้น ระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุ พ.ศ. 2537 ของจำเลย ข้อ 2 กำหนดการครบเกษียณอายุของพนักงาน ข้อ 2.1 ก. ที่ให้พนักงานชายตั้งแต่พนักงานปฏิบัติการชั้นต้นถึงเจ้าหน้าที่บริหารเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ข้อ 2.2 ก. ที่ให้พนักงานหญิงในระดับเดียวกันเกษียณอายุเมื่อครบ 55 ปี บริบูรณ์ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม และไม่อยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเหตุ • ปัจจุบัน พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มีบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างให้นายจ้างปฏิบัติเท่าเทียมกัน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕ ว่า • “มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้” • หากเกิดข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับคดีข้างต้น สามารถปรับใช้มาตรา ๑๕ อันส่งผลทำให้ระเบียบฯ ดังกล่าวนั้นใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อมาตรา ๑๕ (มิใช่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยตรง) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการประกาศ คสช. ที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญประกาศ คสช ให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดชั่วคราว มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศ คสช. ให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดถาวร มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศ คสช. ให้ พ.ร.ป. ๔ ฉบับใช้ต่อไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศ คสช. ให้ พ.ร.ป. ๓ ฉบับใช้ต่อไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศ คสช. ให้ พ.ร.ป. ๓ ฉบับใช้ต่อไป (ต่อ) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทที่ ๒หลักการสำคัญที่ควรรู้เพื่อประกอบการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญในหลักสูตรเนติบัณฑิตไทย๑. ระบบศาล มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบบศาลไทย คือ ระบบศาลคู่ (คู่ขนาน) ศาล รัฐธรรมนูญ ศาล ยุติธรรม ศาล ปกครอง ศาล ทหาร มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาล.......? มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาล......? มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาล........? มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาล......? มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ ไม่ใช่ศาลเดี่ยวเหมือนเช่นประเทศที่ใช้ระบบ Common Law (the United States, the United Kingdom) ที่คดีทุกคดีมีศาลสูงสุดเพียงศาลเดียวที่ตัดสิน คือ ศาลฎีกา อังกฤษเองก็เพิ่งมีการปฏิรูปศาลฎีกา (ค.ศ.๒๐๐๕) โดยแยกศาลฎีกาออกมาเป็นอิสระ ทำหน้าที่แต่เพียงตัดสินคดี จากแต่เดิมที่ศาลฎีกามีบทบาทซ้อนทับเป็นสภาขุนนางอยู่ด้วย ของอเมริกา ๕๐ มลรัฐมีศาลของตนเองทั้งชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา แต่หากมีประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายในระดับสหรัฐหรือรัฐธรรมนูญก็สามารถนำคดีที่จบในมลรัฐขึ้นไปสู้ต่อที่ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ นอกจากนั้น ในระดับสหรัฐ ก็มีศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา มีเขตอำนาจรับตัดสินคดีพิพาทเกี่ยวกับกฎหมายในระดับสหรัฐและรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำว่าระบบศาลคู่ ไม่ได้หมายความว่ามีศาลเพียงสองระบบในประเทศที่ตัดสินคดี คำว่า “คู่” คือ “คู่ขนาน” กันไป ประเทศไทยก่อน พ.ศ.๒๕๔๐ เราก็อยู่ในระบบศาลคู่ คือ ศาลยุติธรรม คู่กับศาลทหาร แต่พอใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๐ เราสถาปนาศาลใหม่ขึ้นอีก ๒ ศาล ทำให้ประเทศไทยเราเป็นระบบศาลคู่ ที่มีศาล ๔ ระบบ ขนานกันไป คำว่า ขนานกันไปสะท้อนให้เห็นว่า คดีที่จบที่ศาลสูงสุดของแต่ละระบบ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลระบบอื่นได้ เช่น คดีที่ศาลฎีกาในระบบศาลยุติธรรมตัดสินเป็นที่สุดแล้วว่า จำคุกตลอดชีวิตนักการเมืองที่โกงกิน เช่นนี้จะโต้แย้งว่าคำตัดสินของศาลฎีกาขัดรัฐธรรมนูญ โดยยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ ทำไม่ได้ แม้ยื่นไป ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจในการรับคดีไว้พิจารณา • ดังนั้น โดยหลักการแล้วคดีที่ศาลสูงสุดของแต่ละระบบตัดสินแล้ว ถือว่าเป็นอันสิ้นสุด อุทธรณ์หรือฎีกาอีกต่อไปไม่ได้ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อสังเกต (ปี ๒๕๕๔ เน้นหน้านี้ แล้วก็ออกสอบ) • ยกเว้น จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีไปแล้ว แต่ต่อมาหากมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ผู้ต้องคำพิพากษาอาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้ สังเกตให้ดี จะเห็นว่า เป็นการกำหนดสิทธิในการอุทธรณ์ที่แตกต่างจากการอุทธรณ์โดยทั่วไป คือ โดยทั่วไปกฎหมายจะให้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาไว้ว่า ศาลล่างตัดสินคดีไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายประการใด แต่กรณีนี้ จะอุทธรณ์ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ตัดสินไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ไม่ได้ (หรือกล่าวได้ว่า การไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้) แต่จะยื่นอุทธรณ์ได้ต้องเป็นกรณีที่มี “พยานหลักฐานใหม่” (เรื่องนี้ก็น่าสนใจเพราะในช่วงที่ผ่านมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินคดีไป แล้วมีการยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งต้องพิจารณาว่า มี “พยานหลักฐานใหม่” หรือไม่ หากไม่มีพยานหลักฐานไม่ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาก็จะไม่รับอุทธรณ์นี้) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบบศาลไทยมีการใช้ระบบคู่ขนาน โดยมี ๓ ศาล เป็นศาลเฉพาะ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร ส่วน ๑ ศาลทั่วไป ได้แก่ ศาลยุติธรรม หลักการสำคัญ คือ คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเฉพาะ จะอยู่ในอำนาจศาลทั่วไป หลักนี้นำไปสู่วิธีปฏิบัติที่ว่า เมื่อศาลเฉพาะจะตัดสินคดี ในคำพิพากษาประเด็นแรก จะเป็นประเด็นว่า คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลหรือไม่ เพราะหากคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ก็ไม่ต้องพิจารณาคดีอีกต่อไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวอย่างเช่น พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ มาตรา ๑๖ บัญญัติว่า “ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง” อันหมายความว่า แม้สภาพแห่งคดีเป็นคดีปกครอง ก็ฟ้องที่ศาลปกครองอันเป็นศาลเฉพาะไม่ได้ เพราะมีกฎหมายกำหนดยกเว้นไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปฟ้องที่ศาลใด ๆ ก็ไม่ได้ หากแต่ต้องถือว่า เมื่อฟ้องที่ศาลปกครองซึ่งเป็นศาลเฉพาะไม่ได้ ก็ยังสามารถฟ้องยังศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไปได้ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับที่ยาก คือ คดีใดขึ้นศาลรัฐธรรมนูญ คดีใดขึ้นศาลปกครอง เช่น • ประเด็นว่า หากประกาศของส่วนราชการ เช่น ประกาศห้ามเลี้ยงกุ้งมีปัญหาว่าขัดรัฐธรรมนูญเรื่องเสรีภาพในการประกอบกิจการที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ จะอยู่ในเขตอำนาจศาลใด ต้องดูว่า เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง กรณีนี้ศาลปกครอง ต้องฟ้องที่ศาลปกครอง แต่ถ้าประสงค์ให้อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ต้องตั้งประเด็นให้ดี คือ ตั้งประเด็นว่า พระราชบัญญัติรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ให้อำนาจออกประกาศนั้น ขัดรัฐธรรมนูญ เช่นนี้จึงจะอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒.ศักดิ์ของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศักดิ์ของกฎหมายเป็นหลักกฎหมายทั่วไปศักดิ์ของกฎหมายเป็นหลักกฎหมายทั่วไป • กฎหมายมีศักดิ์ของกฎหมาย ที่ห้ามกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่าขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หลักนี้ไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕๐/๒๕๔๒ ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป หลักนี้มีขึ้นเพราะกฎหมายมีหลายระดับ หากขัดแย้งกันอาจมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายใดบังคับ จึงมีการบังคับโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙ (รัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐) กฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องอ้างอิงบทบัญญัติกฎหมายที่สูงกว่า เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกฎหมายที่ออกไม่ให้ขัดกฎหมายแม่บท มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกณฑ์การกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย และหลักสำคัญของศักดิ์ของกฎหมาย • เกณฑ์การกำหนดศักดิ์ของกฎหมายดูที่องค์กรที่ตรากฎหมาย ใครใหญ่กว่ากัน กฎหมายที่ตราโดยองค์กรนั้นย่อมมีศักดิ์สูงกว่า เช่น รัฐสภาใหญ่กว่าคณะรัฐมนตรี (เหตุที่ใหญ่ เพราะประชาชนเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ในสภา และผู้แทนเลือกกันเองหนึ่งคนไปเป็นนายกรัฐมนตรี) พระราชบัญญัติจึงศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง • หลักสำคัญของศักดิ์ของกฎหมายมี ๓ ประการ คือ • (๑) กฎหมายศักดิ์ต่ำห้ามขัดกฎหมายศักดิ์สูง • (๒) การแก้ไขกฎหมายต้องใช้กฎหมายศักดิ์เท่ากันหรือสูงกว่าแก้ • (๓) กฎหมายศักดิ์เท่ากันขัดแย้งกันให้ใช้กฎหมายที่ประกาศใช้ในภายหลัง มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์ของกฎหมายในระดับใด?พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์ของกฎหมายในระดับใด? • ที่มีปัญหาภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีศักดิ์ระดับใด ในฝรั่งเศส ศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ แต่สูงกว่าพระราชบัญญัติ ประเทศไทยไม่ชัด แต่ก็ไม่อาจจัดว่าเท่าพระราชบัญญัติ เพราะถ้าเท่ากัน ย่อมออกพระราชบัญญัติธรรมดาหรือพระราชกำหนดแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ • ในทางปฏิบัติก่อนที่มีการวินิจฉัยในประเด็นนี้ เป็นการยอมรับว่าจะแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. เรื่อง สภาพบังคับของการไม่ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง ก็ออกเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.๒๕๔๐) • แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓-๕/๒๕๕๐ วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่สิ้นสุดไปพร้อมการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ เพราะ (๑) กระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนพระราชบัญญัติ (๒) การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เหมือนกัน (๓) คปค. กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลต่อไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.๒๕๔๐) มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติทั่วไป ในคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ อม. ๑/๒๕๕๓ (เรื่องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) มีการวินิจฉัยไว้ความตอนหนึ่งอันสะท้อนให้เห็นถึงลำดับศักดิ์ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญ (พ.ศ.๒๕๕๐) ว่ามี “สถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติทั่วไป” มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ มีศักดิ์สูงกว่า พรบ. ทั่วไป • สำหรับรัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบันได้กำหนดการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไว้แตกต่างจากพระราชบัญญัติในประเด็นสำคัญ อันสะท้อนให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมากกว่าพระราชบัญญัติทั่วไปดังนี้ • ประการแรก ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไป ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน (มาตรา ๑๔๒ (๒)) ส่วนกรณีเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (มาตรา ๑๓๙ (๒)) ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนสมาชิกที่จะเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจะมีการกำหนดไว้ในจำนวนที่มากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประการที่สอง การควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดบังคับให้ต้องส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย (มาตรา ๑๔๑ วรรคหนึ่ง) แต่ร่างพระราชบัญญัติทั่วไปไม่ได้มีการกำหนดให้ต้องส่งร่างพระราชบัญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเห็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ ควรที่จะได้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนการประกาศใช้ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประการที่สาม รัฐธรรมนูญบัญญัติแยกการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญออกจากพระราชบัญญัติทั่วไป เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นส่วนขยายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยหลักกฎหมายจะอยู่ในฐานะเหนือกว่าพระราชบัญญัติปกติ จึงต้องกำหนดวิธีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษที่ทำให้การแก้ไขกระทำได้ยากรองจากรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไว้ และต้องมีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนการใช้บังคับด้วย มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลเมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นสุดต่อ พรป. • พรป. ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่เทียบเท่า พรบ. การสิ้นุสดรัฐธรรมนูญ ไม่ทำให้ พรป. สิ้นสุดตามไปด้วย เว้นแต่จะมีการประกาศโดยคณะยึดอำนาจให้สิ้นสุด • พรป. ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ สูงกว่า พรบ. และมีความใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง เมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นสุด พรป. สิ้นสุดตามไปด้วย เว้นแต่จะมีการประกาศโดยคณะยึดอำนาจให้มีผลต่อไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ร.ป. ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๗ • มาตรา ๑๔ วรรคหก การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทำด้วยวิธีการเดียวกับการตราพระราชบัญญัติ เว้นแต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเท่านั้น (ยังคงมีความพิเศษต่างจากพระราชบัญญัติ) • ในขณะที่หากเป็นการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ผู้มีอำนาจเสนอจะได้แก่ • สมาชิก สนช. ไม่น้อยกว่า ๒๕ คน • คณะรัฐมนตรี • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓. ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ๓.๑ หลักความเป็นกฎหมายสุดของรัฐูธรรมนูญ • ปกติรัฐธรรมนูญจะกำหนดไว้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ แต่ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๗ มาตรา ๔๕ กำหนดไว้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ • การบัญญัติให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดนี้ ส่งผลสำคัญ ๒ ประการในระบบกฎหมาย คือ • ประการแรก กฎหมายอื่นใดในระบบกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ หากกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นย่อมใช้บังคับมิได้ • ประการที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยาก และโดยวิธีการพิเศษยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมายธรรมดาโดยทั่วไป มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓.๒ ประเภทของกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย กับการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ • การแบ่งประเภทของกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายแบบ สุดแท้แต่ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใดเป็นตัวกำหนด สำหรับในที่นี้เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ จึงแบ่งประเภทของกฎหมาย โดยใช้เกณฑ์องค์กรที่ตรากฎเกณฑ์แห่งกฎหมายนั้น โดยแบ่งได้ ๒ ประเภท ใหญ่ คือ “กฎหมาย” กับ “กฎ” • หมายเหตุ โดยทั่วไปเราใช้คำว่า “กฎหมาย” หมายถึงกฎเกณฑ์ทุกอย่างที่ใช้บังคับในประเทศ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ก็เรียกว่า “กฎหมาย” ประกาศกระทรวง ก็เรียกว่า “กฎหมาย” แต่ต่อไปนี้ คำว่า “กฎหมาย” จะไม่มีความหมายกว้างเหมือนเช่นกรณีทั่วไป คำว่า “กฎหมาย” ต่อไปจะมีความหมายเฉพาะ และแคบ เพื่อแบ่งแยกกับคำว่า “กฎ” มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(๑) “กฎหมาย” • “กฎหมาย” หมายถึง (มีคำใช้เรียกคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า “กฎหมาย” ในที่นี้ คือ “กฎหมายที่ตราขึ้นโดยอำนาจนิติบัญญัติ” หรือ “กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ” ต่างก็มีความหมายนัยเดียวกัน แต่ในที่นี้ขอใช้คำว่า “กฎหมายที่ตราขึ้นโดยอำนาจนิติบัญญัติ” เพื่อให้แตกต่างไปจากความหมายของกฎหมายในแง่มุมอื่น ๆ) กฎเกณฑ์ที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ ได้แก่ สภา หรือกฎเกณฑ์อื่นที่มีศักดิ์ของกฎหมายเท่าเทียมกัน ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ซึ่งกฎหมายในที่นี้พิสูจน์ให้เห็นได้ โดยการพิจารณาถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ ดังนี้ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑) “มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้” • ๒) “มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ” • เมื่อพระราชบัญญัติ เป็น “กฎหมาย” พระราชกำหนดที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ก็ย่อม เป็น “กฎหมาย” ตามไปด้วย มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรฎ. ไม่ใช่ “กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ” • ๓) “มาตรา ๒๒พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย” • มาตรานี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า “พระราชกฤษฎีกา” ไม่ใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ เพราะหากพระราชกฤษฎีกาเป็น “กฎหมาย” เสียแล้ว เหตุใดจึงต้องบัญญัติไว้เช่นนี้ อันนี้ยืนยันให้เห็นว่า พระราชกฤษฎีกา ไม่ใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ (แต่พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับ และเป็นกฎหมายในความหมายทั่วไป) มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย