280 likes | 432 Views
อาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖. พระบรมราโชวาท. การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน เพราะถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของส่วนรวม ไม่ได้รับการพัฒนาแล้ว
E N D
อาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
พระบรมราโชวาท การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน เพราะถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของส่วนรวมไม่ได้รับการพัฒนาแล้ว ส่วนรวมจะเจริญและมั่นคงได้ยากยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (๒๕๕๐) พระบรมราโชวาท ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
การที่บุคคลจะพัฒนาได้ก็ด้วยปัจจัยประการเดียว คือการศึกษานั้น แบ่งเป็นสองส่วน คือการศึกษาด้านวิชาการส่วนหนึ่ง กับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้ใฝ่ดี ใฝ่เจริญ มีปกติละอายชั่ว กลัวบาปส่วนหนึ่ง การพัฒนาบุคคลจะต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งสองส่วน ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
ทำไมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ๑. สังคมเปลี่ยน ทำให้สับสน เดินทางผิดได้ง่าย ๒. ปีที่หนึ่ง เป็นปีวิกฤติ มีการปรับตัวหลายด้าน ๓. ศักยภาพทางสมองพัฒนาถึงขีดสูงสุด ๔. ความฉลาดทางอารมณ์ จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ๕. คุณวุฒิผู้เรียนสามารถพัฒนาได้ ๖. หน้าที่ของอาจารย์ทุกคน ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
ปัญหานักศึกษา ๑. ปัญหาการปรับตัว ๗. ติดพนัน ๒. เรียนไม่เป็น ๘. ความรัก ๓ . ขาดเป้าหมาย ๙. ไม่มีวินัย ๔. แบ่งเวลาไม่เป็น ๑๐. อารมณ์ร้อน ๕.ขาดเพื่อน ๑๑. อาชญากรรม ๖. ทุจริต ๑๒. ไม่รู้กาลเทศะ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
ธรรมชาติของนิสิตนักศึกษา ๑.ศักยภาพทางสมองพัฒนาถึงขีดสูงสุด ๓. มีอุดมการณ์ ๒.ร่างกายเปลี่ยนแปลง ๕. อารมณ์ร้อน ๔. ไวต่อความรู้สึก ๗. ไม่รอบคอบ ๖. รักเพื่อน ๙. ขาดความมั่นใจ ๘. ชอบอิสระ ๑๑. แข็งกร้าว ๑๐. ต่อต้านอำนาจ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
องค์ประกอบหลัก กงล้อชีวิตนักศึกษา Friend Family Finance Head Happiness Heart Health Hand F3 H5 Principle ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตรหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ๑. ช่วยปรับสภาพจิตใจ ทัศนคติ เป้าหมาย ๒. ช่วยวางแนวทางสู่ความสำเร็จในการเรียน ๓. ช่วยให้เข้าใจชีวิตของนิสิตนักศึกษาเอง ๔. ช่วยเตรียมพร้อมเพื่อชีวิตอนาคต ๕. ช่วยพัฒนา สติปัญญา คุณธรรม บุคลิกภาพ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
หลักการ อาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ๑. จำนวนนักศึกษาในความดูแลไม่ควรเกิน ๓๐คน ๒. มีระบบการให้คำปรึกษาชัดเจนตลอดภาค ๓. มีช่องทางสื่อสารกับนักศึกษาหลายรูปแบบ ๔. เก็บข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อช่วยนักศึกษาได้ตรง ๕. มีกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ๖. มีสรุปผลการพัฒนานักศึกษา และข้อเสนอแนะ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
หลักการ อาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ๖. จัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ๗. วิเคราะห์ติดตาม สม่ำเสมอ ๘. ขออาจารย์ หรือรุ่นพี่มาร่วมดูแล ๙. ดูแลพิเศษในกลุ่มเสี่ยง ๑๐. เข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษานอกเวลาเรียน ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
แนวทางปฏิบัติ อาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ๑. ทำระเบียนประวัติ ๒. วางแผนการพัฒนา ทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคล ๓. จัดเวลาพบนักศึกษา นอกเวลาเรียน ๔. จัดโปรแกรมการพัฒนาคุณธรรม บุคลิกภาพ ๕. ส่งเสริมกิจกรรม ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
การมีผู้นำทางให้แก่นักศึกษา จะช่วยแก้ปัญหาหนักให้เป็นเบาได้ นักศึกษาประสบปัญหาต่างๆ บางครั้งทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ดังกรณีศึกษาต่อไปนี้ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
กรณีศึกษา: นายโก้ นายโก้ชอบพนันฟุตบอลเพราะเมื่อชนะจะได้เงินมากเป็นหมื่นทำให้รู้สึกว่า หากินแบบนี้ง่ายดีไม่ต้องลงทุน เหนื่อยยาก ครั้นเล่นต่อไปกลับเสียตลอด ยิ่งเสียก็ยิ่งทุ่มมากขึ้น จนต้องเอาเงินค่าหน่วยกิตไปใช้หนี้ ต้องยืมเพื่อนรอบตัว เจ้าหนี้ตามทวงและจะดักทำร้าย ทำให้ต้องหนีสุดชีวิต ในที่สุดก็ต้องออกจากมหาวิทยาลัยไป ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
กรณี: เฌอเอม เฌอเอม อยู่ปี ๑ เห็นเพื่อนๆมีโทรศัพท์มือถือ มีกระเป๋าหลุยส์วิตตอง และของสวยงามอื่นๆ เกิดความอยากได้ เพื่อนชวนไปทำงานที่สบาย ไม่ต้องลงทุนมาก เธอเลยกลายเป็นนางทางโทรศัพท์ และปีต่อมาติดโรคเอดส์ เสียชีวิตโดยไม่สำเร็จการศึกษา ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
กรณี: ปริตว์ ปริตว์ อยู่ปี ๒ ปีก่อนผลการเรียนอยู่ในระดับดี ต่อมาคบเพื่อนที่ชอบเที่ยวผับกลางคืน ทำให้เงินไม่พอใช้ จึงชวนเพื่อนไปปล้นปั๊มน้ำมัน จี้รถแท็กซี่ ได้เงินมา ก็ไปเที่ยวเตร่ ดื่มสุรา ไม่สนใจการเรียน ในที่สุดถูกจับ อนาคตหมดสิ้นลง ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
กรณี: ปาริตา ปาริตา อยู่ปี ๒ ปีก่อนผลการเรียนอยู่ในระดับดี ต่อมาคบเพื่อนที่ชอบเที่ยว เริ่มมีเพื่อนต่างเพศ ทำให้ไม่เข้าเรียนตามตารางเรียน สนใจการเรียนน้อยลง ในที่สุดสอบตก ไป ๔ วิชา เกรดเฉลี่ย ได้เพียง ๑.๕ เพื่อนชายที่รักชอบพอกันก็หายไปทำท่าจะมีคนรักใหม่ ทำให้เธอผิดหวัง และเสียใจมาก จึงคิดสั้นกินยานอนหลับ เสียชีวิต ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
กรณี: ส่งเสริม ส่งเสริมเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๑ เป็นเด็กขยันเรียนมาก เข้าห้องเรียนทุกครั้ง พยายามส่งการบ้าน พบอาจารย์เมื่อมีข้อสงสัย ความมุ่งหวังในการเรียน คือ การได้เกียรตินิยม อย่างน้อยอันดับสอง เพราะพี่ของเขา ๒ คน เรียนแพทย์ เขาเป็นลูกคนเดียวของครอบครัวที่เรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน ภาคการศึกษาที่ ๑ เกรดเฉลี่ยได้๓.๕๐ ภาคการศึกษาที่ ๒ เขาพลาดไป ๑ วิชา ได้ เกรด Cเขาผิดหวังมาก วิ่งไปกระโดดตึกชั้นที่ ๗ ลงมาเสียชีวิต ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
แววดาว แววดาวเรียนค่อนข้างอ่อน จบ กศน. มาด้วยเกรด 1.0 เวลาเข้าเรียน เธอพยายามเข้าเรียนทุกครั้ง แต่ไม่สามารถตามเพื่อนได้ทัน การทำงานกลุ่มผลงานของเธอมักจะไม่ได้เนื้อหาสาระที่ดี ทำให้เพื่อนไม่ยอมรับเพระกลัวจะทำให้กลุ่มได้คะแนนน้อย ตอนสอบเธอพยายามที่จะลอกเพื่อนและถามเพื่อนตลอดเวลา อาจารย์ผู้คุมสอบเห็นเศษกระดาษเล็กๆในกล่องดินสอ จึงกากระดาษสอบว่าเธอทุจริต การสอบสวนพบว่าเป็นจริง เธอได้ F ทุกวิชา ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
แนวทางการพัฒนา ๑. การจัดเวลาเพื่อได้มีโอกาส ใกล้ชิด และให้ ปรึกษาด้าน การเรียน การวางแผนชีวิต ๒. จัดโปรแกรมการพัฒนาเรื่องการเรียน ๓. ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ๔.ใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง ๕. ให้นักศึกษาทำสัญญาในการพัฒนาตนเอง ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
แนวปฏิบัติต่อนักศึกษา ๑. สร้างกลุ่มพัฒนาตนเอง ๒. ให้นักศึกษาเขียนปัญหา และความต้องการ ๓. ให้นักศึกษาเขียนเป้าหมายของชีวิต ๔. ร่วมวางแผนกิจกรรมตลอดปีการศึกษา ๕. อาจารย์วิเคราะห์ลักษณะนักศึกษา ๖. วางแผนพัฒนานักศึกษารายบุคคล ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
ตัวอย่างระบบการให้คำปรึกษา ๑. จัดระเบียนนักศึกษาในความดูแล ที่สามารถ ติดต่อได้ ตั้งหัวหน้ากลุ่มย่อย ๒. จัดเวลาให้ได้พบกันนอกเวลาเรียน ๓. จัดสาระในการพูดคุยกันให้สอดคล้องกับ บริบท ของกลุ่มนักศึกษา เช่น สัปดาห์ที่๑ พูดเรื่อง ระเบียบต่างๆ สิทธิประโยชน์ที่พึง ได้ พาเดินชมสถานที่ต่างๆของมธบ. ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
สัปดาห์ที่ ๒ วิธีการเรียน การลงการวางแผนชีวิต สัปดาห์ที่ ๓ ให้ข้อมูลเรื่องการทำงานกลุ่ม การค้นคว้า การรายงาน การคบเพื่อน สัปดาห์ที่ ๔ ระเบียบการสอบ การเตรียมตัว ความซื่อสัตย์ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
สัปดาห์ที่ ๕ พาไปสถานที่ นักศึกษา อยากไป พาไปบำเพ็ญ ประโยชน์ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อน สัปดาห์ที่ ๖ ให้นักศึกษาวิเคราะห์ตนเอง คิดทางพัฒนา ตนเอง สัปดาห์ที่ ๗ ให้กำลังใจนักศึกษา ในการตรียมสอบ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ๑. รักษาความลับ ๒. ปกป้องผลประโยชน์ ๓. อุทิศเวลา ๔. ทำหน้าที่เต็มความสามารถ ๕. เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ๖. รักษามาตรฐานของสถาบัน ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา
เอกสารอ้างอิง วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. ( ๒๕๔๔).การพัฒนานิสิตศึกษา.กรุงเทพฯ: ภาควิชา อุดมศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. .................. ทฤษฎีการพัฒนานิสิตศึกษา. (๒๕๕๓). เอกสารประกอบการบรรยาย. สาขาวิชาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. .................. อุดมศึกษา. (๒๕๓๒). กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Chickering, Arthur W. (1974). Educationand Identity. San Francisco: Jossey Bass. De Larrosa, Leticia L. . (2000). "Chickering’s Seven Vectors of Student Development”. Minneapolis: University of Minnesota Press Parker, Clyde A. (1978). "Introduction: A Student Development Perspective," Encouraging Development in College Students. Minneapolis: University of Minnesota Press. ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ขอให้ทุกคนมีอุดมการณ์ ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษากัลยาณมิตร ที่ประสบผลสำเร็จสมปรารถนา สวัสดีค่ะ ศ.ดร.วัลลภา เทพหัสดิน ณอยุธยา