1 / 111

วาระการประชุมคณะกรรมการสถิติจังหวัด

การประชุมคณะกรรมการสถิติจังหวัด จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2557 วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี. ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ

Download Presentation

วาระการประชุมคณะกรรมการสถิติจังหวัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมคณะกรรมการสถิติจังหวัดจังหวัดจันทบุรีครั้งที่ 1/2557วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00 น.ณ ห้องประชุม4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี

  2. ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ • ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม • ระเบียบวาระที่ 3เรื่องเพื่อทราบ • 3.1 ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด / 18 กลุ่มจังหวัด • 3.2 สรุปประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี • ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา • 4.1 การเลือกชุดข้อมูลสำคัญ : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) / ประเด็นปัญหาสำคัญ (Critical Issue) และการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ • 4.2 ผังสถิติทางการ (Data Mapping) / ชุดข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น (Data List) • 4.3ช่องว่างการพัฒนาข้อมูล (Data Gap Analysis) และแนวทางการพัฒนาข้อมูล • ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ : (ถ้ามี) วาระการประชุมคณะกรรมการสถิติจังหวัด

  3. ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  4. ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานประชุม- ไม่มี เนื่องจากเป็นการประชุมครั้งแรก -

  5. ระเบียบวาระที่ 3เรื่องเพื่อทราบ3.1ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด / 18 กลุ่มจังหวัด

  6. โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัดโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ บูรณาการข้อมูลสารสนเทศระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐ ให้มีความเป็นมืออาชีพด้านข้อมูลสถิติและสารสนเทศ วัตถุประสงค์หลักของโครงการ โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด ร่างแผนพัฒนาสถิติจังหวัด เพื่อการตัดสินของประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด ได้แก่ ข้อมูลในการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ/ ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่ได้รับการเลือก อาทิ ข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และตัวชี้วัด (KPI) ฯลฯ ผลผลิตหลักของโครงการ

  7. ภาคเหนือตอนบน 2 น่าน พะเยา เชียงราย น่าน โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัดโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ภาคอีสานตอนบน 1 อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ ภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ • นำร่อง10 จังหวัด • กำแพงเพชร • นครสวรรค์ • อุทัยธานี • ลพบุรี • สิงห์บุรี • อ่างทอง • ชัยนาท • พระนครศรีอยุธยา • ปราจีนบุรี • นครนายก ภาคอีสานตอนบน 2 สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ภาคเหนือตอนล่าง 2 กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาคอีสานตอนกลาง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคกลางตอนบน 2 ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ภาคอีสานตอนล่าง 2 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ ภาคกลางตอนล่าง 1 กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ในระยะที่ผ่านมา สำนักงานสถิติ แห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนาระบบสถิติเชิงพื้นที่ รองรับการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 สู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด และจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด ภาคอีสานตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ภาคกลางตอนล่าง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ภาคกลางตอนล่าง 2 สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 2555 2556 2557 ภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทยุรี ตราด ภาคกลางตอนบน 1 อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด / 18 กลุ่มจังหวัด นำร่อง 10 จังหวัด นำร่อง 2 กลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พังงา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ภาคใต้ชายแดน สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

  8. กรอบแนวคิดการดำเนินงานเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาสถิติจังหวัด / กลุ่มจังหวัด + + = การพัฒนาต่อยอดและขยายชุดข้อมูลเพื่อการตัดสินใจจากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ชุดข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถิติประเทศไทย แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ การพัฒนาชุดข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นให้สมบูรณ์ ครบถ้วน และต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยตอบสนองในการจัดทำแผนหรือการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่นั้นๆ ได้ ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ได้จัดทำยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ประเด็น ใน 4 มิติ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถิติประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยมีรายการข้อมูลหรือสถิติทางการที่สำคัญจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ 21 สาขา ครอบคลุมเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ที่กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น ในกระบวนการจัดทำได้มีการทบทวนและนำแนวทางของแผนฯ 11 และวาระแห่งชาติต่างๆ ใช้ประกอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่

  9. โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัดโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะได้รับ สนับสนุนการรายงานการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานจังหวัด สร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัด และสำนักงานสถิติจังหวัด ยกระดับคุณภาพข้อมูลเพื่อการตัดสินใจระดับจังหวัดให้มีมาตรฐานทางวิชาการ โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด “…สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ...”

  10. ระเบียบวาระที่ 3เรื่องเพื่อทราบ3.2สรุปประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี

  11. วิเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรีวิเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรี โครงสร้างทางเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรี พ.ศ.2554 • ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 2555 ณ ราคาประจำปี มีค่าเท่ากับ 85,003 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี 2555 เท่ากับ 155,115 บาท เพิ่มขึ้น 6,531 บาท จากปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 • โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ขึ้นอยู่กับภาคเกษตรเป็นหลัก คือ พืชผล 53.4% (โดยเฉพาะผลไม้) การค้า 15.1% อุตสาหกรรม 7.8% (โดยเฉพาะการผลิต ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเยือกแข็ง) และอื่นๆ 23.7% • รายได้จากการท่องเที่ยว ขยายตัว 13.60% มีสัดส่วนอยู่ในลำดับที่ 4 ของภาคตะวันออก • มูลค่าการค้าขายชายแดน ขยายตัวเฉลี่ย ปีละ 25.24% • GPP ต่อหัว 155,115 บาท สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ • อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าระดับประเทศ คือ 5.5% ต่อ 3.0% ตามทิศทางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด จันทบุรี ที่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าประเทศ คือ 4.7% ต่อ 3.1% • ผลิตภาพแรงงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ • อัตราการว่างงาน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ที่มา: อ้างอิงในแผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี 4 ปี พ.ศ. 2558-2561

  12. วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดจันทบุรีวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดจันทบุรี มีจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด คือ บ้านผักกาด และบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน และจุดผ่อนปรน 3 จุด คือ บ้านบึงชนังล่าง อำเภอโป่งน้ำร้อน บ้านซับตารี และบ้านสวนส้ม อำเภอสอยดาว ปี พ.ศ. 2555 มูลค่ารวมการค้าชายแดน 4,153.98 ล้านบาท พื้นที่เกษตร ประมาณ 2,171,026 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 55.81 ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน โดยพื้นที่ร้อยละ 70.44 ของพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 75,327 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 45.40 ของครัวเรือนจังหวัด 165,906 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ยางพารา ลำไย ทุเรียน มันสำปะหลัง เงาะ มังคุด ลองกอง การค้าชายแดน เกษตรกรรม • จังหวัดจันทบุรีมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายแหล่ง ท่องเที่ยวธรรมชาติ ชายหาด ชายทะเล ป่าเขา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อาหารพื้นเมือง อาหารทะเล • ปี 2554 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 1,348,867 คน • รายได้ จากการท่องเที่ยว จำนวน 1,924 ล้านบาท การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เครื่องเรือน อัญมณีและเครื่องประดับ ในปี พ.ศ. 2555 มีโรงงาน จำนวน 700 แห่ง เงินทุนรวม 8,458.755 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 11,136 คน อุตสาหกรรมการเกษตร 183 แห่ง อุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 98 แห่ง อุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวน 97 แห่ง และอุตสาหกรรมขนส่ง จำนวน 82 แห่ง

  13. วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดจันทบุรีวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดจันทบุรี ดัชนีชี้วัดระดับจังหวัด (PPIR*:*Provincial*Performance Index/Ranking) ผ หมายถึง ตัวชี้วัดที่คำนวณค่าผกผันแล้ว ซึ่งหากอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยประเทศแสดงว่าตัวชี้วัดนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี • อัตราการว่างงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ • สัดส่วนคนจนร้อยละ 12.11 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ( ร้อยละ 13.15) • ผู้อยู่ในระบบประกันสังคม ร้อยละ 12 .09 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ร้อยละ 26.08 ) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร และการผลิตอัญมณีไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงาน เนื่องจากเป็นการจ้างทำเอง ไม่ได้เป็นการจ้างงาน • จำนวนปีการศึกษา และค่าเฉลี่ย O-NET อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยประเทศ • สัดส่วนคดียาเสพติด 371.8 คดี / ประชากรแสนคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ 338.6 อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้ ที่มา: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 4 ปี พ.ศ. 2558-2561

  14. จังหวัดจันทบุรี : ผลการทบทวนสภาวะแวดล้อม (SWOT) S W 1. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรจำนวนมากมีความรู้มีภูมิปัญญาทำให้เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลไม้และสินค้าเกษตรคุณภาพ และมีปริมาณมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ 2. มีช่องทางการค้าชายแดน (จุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 3 จุด) เชื่อมโยงประเทศ กัมพูชาและประเทศเวียดนาม และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 3. เป็นศูนย์กลางการเจียระไนและแปรรูปผลิตภัณฑ์อัญมณี 4. ประชาชนของจันทบุรีมีฐานะดี ดังจะเห็นได้จากรายได้ต่อหัวสูงกว่าระดับประเทศ และสัดส่วนคนจนน้อยกว่าระดับประเทศ ด้านสาธารณสุขมีความเข้มแข็งในการดำเนินงานดูแลสุขภาพในพื้นที่ และมีสถาบันการศึกษาหลายระดับรองรับ 5. มีทรัพยากรป่าไม้ทั้งบกและเลนทำให้จังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด 6. วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของจันทบุรีสามารถสร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ประชาชนจันทบุรี อาทิเช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย และสินค้า OTOP 1. การบริหารจัดการด้านการเกษตร อัญมณี และการท่องเที่ยวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ 2. ขาดการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน ภัยแล้งในฤดูร้อน ก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ ส่งผลต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร และอุปสรรคด้านการท่องเที่ยวในฤดูฝนที่ยาวนาน 3. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (สาธารณูปโภค) ไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน การใช้สารเคมีในด้านการเกษตรและประมงมากเกินไป ส่งผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 4. พื้นที่ติดต่อกับชายแดนทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต เช่น โรคติดต่อและสิ่งผิดกฎหมาย 5. คุณภาพการศึกษาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ เช่น ศักยภาพครูผู้สอนไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนบทกับในเมืองและฐานะของผู้ปกครอง 6. การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ การกัดเซาะชายฝั่ง สิ่งล่วงล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำปนเปื้อนสาร และมีน้ำเสียจากการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมถึงน้ำเสียจากการใช้สารเคมีภาคการเกษตร

  15. จังหวัดจันทบุรี : ผลการทบทวนสภาวะแวดล้อม (SWOT) O T • นโยบายรัฐบาลในการจัดทำโซนนิ่งการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท นโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าวัตถุดิบอัญมณี การค้าชายแดน การส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน และการปลูกป่า ฯลฯ • ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการผลไม้และสินค้าเกษตรคุณภาพ • นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มากขึ้น เป็นโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ • การขยายการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวสู่ประเทศเพื่อนบ้าน • การเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เป็นโอกาสด้านการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว ส่งออก อันจะมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของจังหวัดที่สูงขึ้น • ความนิยมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 1. ความผันผวนของราคาผลผลิตทั้งภายในและภายนอกประเทศ 2. ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยว 3. การขาดแคลนแรงงานทำให้ต้องใช้แรงงานต่างด้าวทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอาชญากรรม 4. ความผันผวนของราคาปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร 5. กฎ ระเบียบของทางราชการบางประการไม่เอื้อต่อการค้า การลงทุน 6. ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านการเจียระไนอัญมณีจันทบุรี 7. ขาดกลไกที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลาง

  16. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนและวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศกลุ่มอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 6 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เป้าประสงค์ • คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยมีโอกาสได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง เป็นธรรม • ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น • ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครอบคลุม มีคุณภาพ และมีโอกาสเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน • ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรม สุขภาพเหมาะสม สามารถควบคุม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ภัยพิบัติ และภัยสุขภาพ • ลดระดับความรุนแรงและลดผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขจากปัญหายาเสพติด • พื้นที่ป่าได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน • ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ • เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน และประชาชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น • แหล่งน้ำได้รับการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการบริโภค อุปโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชุมชน • ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • 1. เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่มีคุณภาพ • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน • สินค้าเกษตรคุณภาพสามารถจำหน่ายในต่างประเทศ • เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ • 2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านอัญมณี • เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน • เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการค้าสินค้าเกษตร • การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน • เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวสู่ประชาคมอาเซียน • เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  17. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 :พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : ทุเรียน จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตผลไม้ ที่สำคัญเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง แต่ละปีมีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 700,000 ตัน สำหรับในปี พ.ศ. 2555 กิจกรรมการผลิตจังหวัดจันทบุรีสาขาเกษตรกรรมฯ มีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจำปี เท่ากับ 42,152.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 40,026.03 ล้านบาท เท่ากับ 2,126.51 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.42 จากที่หดตัวร้อยละ 1.63 ในปี 2554 - จันทบุรีปลูกทุเรียนมากที่สุดของพื้นที่ โดยมีพื้นที่ปลูก 184,199 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,232 ก.ก. / ไร่ ผลผลิตรวม 206,175 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,880.32 ล้านบาท ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกทุเรียนเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดย มีผลผลิต 781,000 ต้น จากผลผลิตทั่วโลก 1,400,000 ตัน ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย และ สหราชอาณาจักร - จันทบุรีเป็นจังหวัดที่ส่งออกทุเรียนไปขายในต่างประเทศมากที่สุด ผลผลิตของจังหวัดเป็นครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมของประเทศ สินค้าที่ส่งออกมีในรูปของทุเรียนสด ทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนกวน และทุเรียนอบแห้ง ที่มา : ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดจันทบุรี ปี 2553 รวบรวมและประมวลผลโดย สำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ที่มา: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 4 ปี พ.ศ. 2558-2561

  18. ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพของจังหวัด (Product Champion) ตาม BCG ทุเรียน • จันทบุรีปลูกทุเรียนมากที่สุดของพื้นที่ โดยมีพื้นที่ปลูก 184,199 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,232 ก.ก. / ไร่ ผลผลิตรวม 206,175 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,880.32 ล้านบาท • การเลือก Product Champion จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ ในการค้นหาว่าสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจที่ต้องการวิเคราะห์อยู่ในตำแหน่งใด ได้แก่ Market Share สัดส่วนทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ และ Growth อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ และทำการวางตำแหน่ง โดย BCGMatrix

  19. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : อัญมณีและเครื่องประดับ -จันทบุรี เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอัญมณีแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำรายได้ให้กับจังหวัดปีละกว่าหมื่นล้านบาท มีการจ้างงานมากกว่า 5 หมื่นคน -จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งเจียระไนพลอยที่สำคัญและยังคงมีเอกลักษณ์ของตนเองที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อีกนาน เนื่องจากรู้วิธีการเพิ่มคุณค่าของอัญมณีที่ได้มาจากท้องถิ่นและจากต่างประเทศทำให้อัญมณีและเครื่องประดับมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัด ปัจจุบัน ชาวจันทบุรีส่วนหนึ่งที่แต่เดิมยึดอาชีพเจียระไนพลอยได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้แรงงาน เจียระไนพลอยถูกเลิกจ้าง -ความรู้ด้านการออกแบบและขึ้นเรือนเครื่องประดับ การบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณีให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพสามารถสืบทอดการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอัญมณีอย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอัญมณีต่อไป

  20. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน และวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : การค้าชายแดน จังหวัดจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนเชื่อมโยงกับจังหวัดพระตะบองและกรุงไพลินของประเทศกัมพูชา จึงมีศักยภาพในการพัฒนาการค้าและการลงทุนและการเชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมืออิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) รวมทั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสถานการณ์การค้าชายแดนของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2555 มีมูลค่า 4,153.98 ล้านบาท ประกอบกับการเปิดเสรีอาเซียนปี 2558 ทำให้มีโอกาสทางด้านต่างๆ เนื่องจากตำแหน่งทำเลที่ตั้งของจังหวัดมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของพื้นที่และของประเทศ

  21. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศกลุ่มอาเซียน ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศักยภาพในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด จังหวัดจันทบุรีมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ชายหาด ชายทะเล ป่าเขาศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อาหารพื้นเมือง อาหารทะเลสด อาหารแปรรูป แต่การพัฒนาส่งเสริมรูปแบบท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือสนับสนุนจุดขายแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพ ยังมีดำเนินการน้อย จึงจำเป็นต้องพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยว มีความสะดวกในด้านการคมนาคมเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว จังหวัด มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงนิเวศ และเชิงเกษตรมากขึ้น เพื่อคงสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ปราศจากมลพิษ อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ และสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 2 (บ้านท่าสอน)

  22. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นปัญหาสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวทางการดำเนินการ มุ่งเน้นให้เกิด “เมืองจันท์น่าอยู่” คือประชาชนจังหวัดจันทบุรีมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสร้างสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาตลอดจนการเรียนรู้ สร้างความมั่นคงทางอาชีพที่สอดคล้องตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง โดยมุ่งไปที่เยาวชนเป็นสำคัญ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและความสงบเรียบร้อย ข้อมูลทั่วไป ประชากรปี 2556 มีจำนวนรวม 522,716 คน ขาย 257,057 คน หญิง 265,659 คน ที่มา: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 4 ปี พ.ศ. 2558-2561

  23. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นปัญหาสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา จังหวัดจันทบุรีมีสถานศึกษา รวม 256 แห่ง นักเรียนรวม 94,232 คน แยกเป็น ระดับก่อนประถมศึกษา 14,288 คน ระดับประถมศึกษา 41,511 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 23,717 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 14,716 คนสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ จังหวัดจันทบุรีเริ่มดำเนินงานตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในปี 2544 ซึ่งพบว่าก่อนเริ่มนโยบายฯ ความครอบคลุมของการมีหลักประกันสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 70 ในปี 2554 พบว่า ประชาชนมีหลักประกันด้านสุขภาพ ร้อยละ 99.94 สถานการณ์ทางสังคม ด้านสุขภาพอนามัย สุขภาพประชาชนจังหวัดจันทบุรีในภาพรวม ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยลดลง ในปี 2553 เพศชายมีอายุขัยเฉลี่ย เป็น 77.68 ปี เพศหญิง 83.56 ปี อัตราทารกตาย คิดเป็น 5.55 ต่อเด็กเกิดมีชีพพันคน พบจำนวนมารดาตาย 1 คน สาเหตุการตายมากที่สุด คือ มะเร็ง อัตรา 102.72 ต่อแสนคน กลุ่มโรคติดต่อและโรคเอดส์ มีแนวโน้มลดลง โรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาของพื้นที่ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง ปอดบวม ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก ส่วนกลุ่มโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังที่สำคัญซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมปัญหาสุขภาพจิต พบว่า ปี พ.ศ. 2554 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 10.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่เกินร้อยละ 6.5 ต่อแสนประชากร ปัญหาจากสารเคมีและโรคจากการประกอบอาชีพ พบว่ามีผู้ที่มีปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในร่างกายระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไม่ให้เกินร้อยละ 5 จากการตรวจเลือดวิเคราะห์หาปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในประชาชนจังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 - 2554 พบประชาชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงและไม่ • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมีแนวโน้มดีขึ้น ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2555 คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ รับแจ้ง 40 คดี จับกุมได้ 32 คดี คิดเป็นร้อยละ 80.00 คดีชีวิตร่างกายและเพศ รับแจ้ง 273 คดี จับกุมได้ 217 คดี คิดเป็นร้อยละ 79.49 คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ รับแจ้ง 580 คดี จับกุมได้ 326 คดี คิดเป็นร้อยละ 26.21 ผลการปราบปรามจับกุมยาเสพติด ปี พ.ศ. 2555 จับกุมผู้ค้าข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายขึ้นไป 468 คน ดำเนินการแล้ว 605 คน คิดเป็นร้อยละ 129.27 ยึดทรัพย์สิน • ยาเสพติด มีจำนวนรวม 371.8 คดี ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ ( 338.68 คดี) ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้ • คดียาเสพติด 36 คดีดำเนินการแล้ว 56 คดี คิดเป็นร้อยละ 155.56 ดำเนินการตามหมายจับคดียาเสพติด 10 หมาย ดำเนินกาแล้ว 29 คดี คิดเป็นร้อยละ 290 ที่มา: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2558-2561

  24. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 :อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ประเด็นปัญหาสำคัญ : การปลูกป่าชายเลน สภาพการณ์ทั่วไป -จังหวัดจันทบุรีมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ร้อยละ 45.61 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดจันทบุรีได้ชื่อว่า พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งหนึ่งของประเทศพื้นที่ป่าทั้งป่าบกและป่าขายเลน ป่าสงวนถูกบุกรุกทำลายเพื่อการปลูกพืชอื่น ๆ และการเลี้ยงกุ้งซึ่งมีการทิ้งร้างในเวลาต่อมาเนื่องจากราคาตกต่ำและทรัพยากรทางการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลที่ขาดการจัดระเบียบ -จันทบุรีมีพื้นที่ป่าชายเลนที่ใหญ่ที่สุดของอ่าวไทย ในปี พ.ศ. 2552 มีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด 120.60 ตารางกิโลเมตร 75,429 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียง 16,894 ไร่ -จังหวัดมีปัญหาพื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง จำนวนประมาณ 1,557 ไร่ มูลค่าที่ดินที่สูญเสีย 7,785 ล้านบาท พื้นที่เพาะเลี่ยงชายฝั่ง 82,188 ไร่ 13, 989 ครอบครัว ความสำคัญของป่าชายเลน -ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบที่เชื่อมโยงการถ่ายเทสารอาหารและพลังงาน ระหว่างระบบนิเวศป่าบกและระบบนิเวศทางทะเล จึงมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นแหล่งอาหารที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม ป้องกันกระแสลม กระแสคลื่น รากของป่าไม่ชายเลนช่วยให้ดินเลนยึดรวมกันทำให้ยากต่อการพังทลาย /การกัดเซาะของชายฝั่งได้ง่าย ที่มา: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 4 ปี พ.ศ. 2558-2561

  25. ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อพิจารณา 4.1 การเลือกชุดข้อมูลสำคัญ :ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) / ประเด็นปัญหาสำคัญ (Critical Issue) และการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์

  26. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนและวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศกลุ่มอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 6 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เป้าประสงค์ • คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยมีโอกาสได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง เป็นธรรม • ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น • ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครอบคลุม มีคุณภาพ และมีโอกาสเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน • ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรม สุขภาพเหมาะสม สามารถควบคุม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ภัยพิบัติ และภัยสุขภาพ • ลดระดับความรุนแรงและลดผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขจากปัญหายาเสพติด • พื้นที่ป่าได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน • ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ • เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน และประชาชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น • แหล่งน้ำได้รับการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการบริโภค อุปโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชุมชน • ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • 1. เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่มีคุณภาพ • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน • สินค้าเกษตรคุณภาพสามารถจำหน่ายในต่างประเทศ • เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ • 2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านอัญมณี • เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน • เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการค้าสินค้าเกษตร • การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน • เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวสู่ประชาคมอาเซียน • เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  27. วิสัยทัศน์ “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

  28. วิสัยทัศน์ “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

  29. วิสัยทัศน์ “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

  30. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : “ศูนย์กลางการผลิตและการค้าผลไม้คุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ แหล่งการค้าชายแดนเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และเมืองน่าเที่ยวน่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนและวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศกลุ่มอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 6 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เป้าประสงค์ • คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยมีโอกาสได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง เป็นธรรม • ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น • ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครอบคลุม มีคุณภาพ และมีโอกาสเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน • ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรม สุขภาพเหมาะสม สามารถควบคุม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ภัยพิบัติ และภัยสุขภาพ • ลดระดับความรุนแรงและลดผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขจากปัญหายาเสพติด • พื้นที่ป่าได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน • ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ • เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน และประชาชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น • แหล่งน้ำได้รับการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการบริโภค อุปโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชุมชน • ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • 1. เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่มีคุณภาพ • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน • สินค้าเกษตรคุณภาพสามารถจำหน่ายในต่างประเทศ • เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ • 2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านอัญมณี • เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน • เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการค้าสินค้าเกษตร • การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน • เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวสู่ประชาคมอาเซียน • เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  31. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ กลยุทธ์ 1. พัฒนาบุคลากรด้านกระบวนการผลิตของการเกษตรให้ได้มาตรฐาน (GAP) 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพให้แก่เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ในไร่นาของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร 3. พัฒนาสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มโดยส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ของสินค้าเกษตร 4. ส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายการค้าสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  32. VC ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : ทุเรียน dกระบวนการค้าและการตลาด dกระบวนการแปรรูป dกระบวนการผลิต การขนส่งสินค้า และการจัดการ บริหารสินค้า การวิจัยและพัฒนา (R&D) + โครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูปและสร้างคุณค่า การพัฒนาระบบ การตลาด ผู้บริโภค เกษตรกร จากฟาร์มเกษตรกรไปถึงมือผู้บริโภค (From Farmer to Market) • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • 1.1 ด้านพื้นที่เพาะปลูก • 1.2 ปัจจัยทางธรรมชาติ • - แหล่งน้ำ • - ปริมาณน้ำฝน • - อากาศ • การวิจัยความต้องการทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด • การวิจัยและพัฒนา • การวิจัยการเก็บรักษาและถนอมอาหาร • แผนการผลิต • การเพิ่มผลผลิต • การลดต้นทุน • การรวมกลุ่มเกษตรกร • สนับสนุนเกษตรกรและแรงงานภาคเกษตร ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน GAP • เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตทุเรียนต่อไร่เพิ่มขึ้น • เกษตรกรมีแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม • ศูนย์กระจายสินค้า • การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการค้าทั้งใน/ต่างประเทศ • การตกลงซื้อขายล่วงหน้า • การสร้างแบรนด์สินค้า • การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย • ระบบ Logistics • การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค • การคัดแยกคุณภาพสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า • กระบวนการแปรรูป • ระบบมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP, Primary GMP) • ระบบมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก

  33. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ 1. พัฒนากลไกเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเติบโตอย่างต่อเนื่อง 2. ยกระดับมาตรฐาน คุณภาพ และเพิ่มปริมาณช่างฝีมืออัญมณีและเครื่องประดับ 3. สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาดด้านอัญมณีและเครื่องประดับ

  34. VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : อัญมณีและเครื่องประดับ การวิจัยพัฒนา R&D และออกแบบผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต การแปรรูปและสร้างคุณค่า การพัฒนาระบบการตลาด การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ • การหาแหล่งวัตถุดิบ (ต่างประเทศ/ในประเทศ) • การรวมกลุ่มประกอบการเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการซื้อวัตถุดิบ • กระบวนการแปรรูป • การใช้ตราสัญลักษณ์(แบรนด์)พลอยจันท์ • ระบบมาตราฐานสินค้า • การรับรองมาตรฐานสินค้า • Lab วิจัยอัญมณี • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต • การออกแบบผลิตภัณฑ์ • ศูนย์แสดง, จำหน่ายสินค้า • การประชาสัมพันธ์ • Road Show • การเปิดตลาดในประเทศ และต่างประเทศ • ผู้ประกอบการ • ลูกค้า

  35. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนและวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ 1 พัฒนาด่านการค้าชายแดนเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากร และเครือข่ายความร่วมมือแบบบูรณาการกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 4. ส่งเสริมด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์การค้าชายแดน 5. อนุรักษ์วัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

  36. VC ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : การค้าชายแดน 3 4 1 2 5 โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า การลงทุน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมธุรกิจ การบริหารจัดการสินค้า (Logistics) พัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย • การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า • การพัฒนาระบบการสรรหาและสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต (Sourcing System) • การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงต่างๆ • การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย • การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ • พัฒนาฐานข้อมูลการผลิตและการบริโภคสินค้า • พัฒนาฐานข้อมูลตลาดและปริมาณการส่งออก • เงินลงทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน • พัฒนาผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการค้าการลงทุน • การส่งเสริม พัฒนาการรวมกลุ่มผู้ประกอบการค้า • สร้างและขยายเครือข่ายการค้า การลงทุนทั้งในและต่างประเทศ • การยกระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Readiness)

  37. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศกลุ่มอาเซียน กลยุทธ์ 1. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ สินค้า บริการ และบุคลากร ด้านการท่องเที่ยว ให้มีความหลากหลายได้มาตรฐานสากล 2. พัฒนาปัจจัย/โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวให้เพียงพอ และได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ 3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4. ยกระดับศักยภาพบุคคลากรด้านการท่องเที่ยวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 5. ยกระดับศักยภาพด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงรุก

  38. VC ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ dผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ dการตลาด การบริหารจัดการ 1 2 3 4 5 6 พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ พัฒนาระบบบริหาร จัดการการท่องเที่ยว พัฒนาปัจจัย พื้นฐานด้าน ท่องเที่ยว/ทรัพยากร พัฒนาแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ และบุคลากร พัฒนาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว • การรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว • การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) • สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า • การพัฒนาและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค • พัฒนามาตรฐานมัคคุเทศก์ / ผู้นำเที่ยว • พัฒนาศักยภาพแรงงานวิชาชีพและบุคลากรด้านการท่องเที่ยว • ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว • พัฒนาเครือข่ายภาคีด้านการท่องเที่ยว • สร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความสนใจ • พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน • ส่งเสริม/อนุรักษ์/ฟื้นฟู/ปรับปรุง/บูรณะ/พัฒนา • แหล่งท่องเที่ยว • การรับรองมาตรฐานที่พักและโรงแรม • พัฒนาธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น สปา สนามกอล์ฟ ร้านอาหาร ให้ได้มาตรฐาน • พัฒนาสินค้าของฝากและของที่ระลึกให้ได้มาตรฐาน • พัฒนาธุรกิจนำเที่ยวให้ได้มาตรฐาน • การตลาดเชิงรุก ผ่านสื่อสมัยใหม่ (Social Network)

  39. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ 1. ยกระดับมาตรฐานการให้บริการสุขภาพพื้นฐานผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก และสร้างความตระหนักของชุมชนในด้านการสาธารณสุข 2. เพิ่มศักยภาพชุมชนด้านอาชีพและรายได้ในลักษณะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยขยายผลจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ส่งเสริมการศึกษาให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4. เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  40. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  41. VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Critical issue การพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว การจัดการแรงงานในพื้นที่ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/รายได้ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว • ให้ความรู้ ทักษะให้ชุมชนมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ • ลดปัญหาการว่างงานในพื้นที่ • ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน • ลดปัญหาอาชญากรรม • การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการดูแลรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินในชุมชนร่วมกัน • มาตรการการตรวจสอบและปราบปรามแรงงานต่างด้าว • พัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงาน • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างศีลธรรม จริยธรรมในครอบครัว • สร้างอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชน • สุขภาวะของแรงงานในสถานประกอบการ • การลดอุบัติเหตุของแรงงานในสถานประกอบการ • สร้างเสริมความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน • จัดกิจกรรมส่งเสริมการออมในชุมชน • ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน

  42. ยุทธศาสตร์ที่ 6 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน กลยุทธ์ 1. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำ บูรณาการน้ำผิวดินและใต้ดิน 4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรและภาคีเพื่อระดมความร่วมมือในการคุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียจากแหล่งกำเนิด รวมทั้งมีระบบการบริหารจัดการที่ถูกต้อง

  43. ยุทธศาสตร์ที่ 6 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

  44. VC ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ประเด็นปัญหาสำคัญ : การปลูกป่าชายเลน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำลายป่าชายเลน อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน พัฒนาการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน • ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าชายเลน • ป้องกันการพังทลายของดิน • เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน ดูแลป่าชายเลน • ป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่ให้เสื่อมโทรม • ฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินโดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรม • ฟื้นฟูสภาพป่า/ระบบนิเวศน์ • ส่งเสริมเกษตรและภาคีเครือข่ายในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ดิน • ฟื้นฟู/สร้าง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น • เผยแพร่องค์ความรู้/สร้างจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์ดิน ให้ชุมชนในพื้นที่/พื้นที่ชายฝั่ง • พัฒนาระบบโครงสร้างการทำงานเชิงบูรณาการของหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้อง • พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน • ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างคุ้มค่า • ส่งเสริมให้เกิดการจัดทำแผนชุมชนเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมีคณะกรรมการทั้งในระดับจังหวัด และระดับชุมชนท้องถิ่น

  45. ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อพิจารณา4.2ผังสถิติทางการ (Data Mapping) ชุดข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น (Data List)

  46. VC ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ : ทุเรียน dกระบวนการค้าและการตลาด dกระบวนการแปรรูป dกระบวนการผลิต การขนส่งสินค้า และการจัดการ บริหารสินค้า การวิจัยและพัฒนา (R&D) + โครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูปและสร้างคุณค่า การพัฒนาระบบ การตลาด ผู้บริโภค เกษตรกร จากฟาร์มเกษตรกรไปถึงมือผู้บริโภค (From Farmer to Market) • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • 1.1 ด้านพื้นที่เพาะปลูก • 1.2 ปัจจัยทางธรรมชาติ • - แหล่งน้ำ • - ปริมาณน้ำฝน • - อากาศ • การวิจัยความต้องการทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด • การวิจัยและพัฒนา • การวิจัยการเก็บรักษาและถนอมอาหาร • แผนการผลิต • การเพิ่มผลผลิต • การลดต้นทุน • การรวมกลุ่มเกษตรกร • สนับสนุนเกษตรกรและแรงงานภาคเกษตร ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน GAP • เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตทุเรียนต่อไร่เพิ่มขึ้น • เกษตรกรมีแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม • ศูนย์กระจายสินค้า • การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการค้าทั้งใน/ต่างประเทศ • การตกลงซื้อขายล่วงหน้า • การสร้างแบรนด์สินค้า • การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย • ระบบ Logistics • การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค • การคัดแยกคุณภาพสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า • กระบวนการแปรรูป • ระบบมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP, Primary GMP) • ระบบมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก

  47. ผังสถิติทางการ : สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1 การวิจัยและพัฒนา (R&D) ยุทธศาสตร์ที่ 1: ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) :ทุเรียน

  48. ผังสถิติทางการ : สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1 การวิจัยและพัฒนา (R&D) ยุทธศาสตร์ที่ 1: ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) :ทุเรียน

  49. ผังสถิติทางการ : สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1 การวิจัยและพัฒนา (R&D) ยุทธศาสตร์ที่ 1: ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) :ทุเรียน

More Related