1 / 56

เชื้อไวรัสก่อโรค

เชื้อไวรัสก่อโรค. น.ส.นูรีฮัน ทา รหัส 4047412200 โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร กลุ่มพื้นฐานที่ 24 ปีการศึกษา 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Influenza viruses. ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจ

bud
Download Presentation

เชื้อไวรัสก่อโรค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เชื้อไวรัสก่อโรค น.ส.นูรีฮัน ทา รหัส 4047412200 โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร กลุ่มพื้นฐานที่ 24 ปีการศึกษา 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

  2. Influenza viruses • ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจ • เชื้อ Influenza viruses คือไวรัสไข้หวัดดใหญ่ เดิมจัดเป็นพวก myxovirusesซึ่งหมายถึง ไวรัสที่มีการติดเชื้อในเซลล์ของเยื่อเมือก myxo แปลว่า เมือก(mucin)ในปัจจุบันmyxoviruses จำแนกออกเป็น orthomyxovirusesและ paramyxoviruses เชื้อไข้หวัดใหญ่ถูกจัดอยู่ในพวก orthomyxoviruses และfamily orthomyxoviruses • สัณฐานวิทยา • มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม (soherical form)หรือเป็นสายยาว(filamentous form)ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง.ประมาณ 100นาโนเมตร แต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร มีจีโนมเป็น RNA สายเดี่ยว มีpolarityเป็นลบและแยกเป็นชิ้น(segmented genome) ,types AและBมี 8 ชิ้นส่วนtype Cมี 7 ชิ้น

  3. อาการของโรค • อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่นอย่างเฉียบพลัน ปวดศรีษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กลุ่มอาการที่พบเป็นประจำคือ มีน้ำมูกไหลเป็นหวัด(rhinitis) เจ็บคอ คออักเสบ(pharyngitis)ไอแห้งๆหลอดลมอักเสบ ไข้จะอยู่นานประมาณ 3 วัน การตรวจเลือดจะพบภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและมีการเพิ่มจำนวนของลิมโฟซัยท์ ระยะฟื้นตัวจะกินเวลานานเป็นสัปดาห์กว่าอาการอ่อนเพลียและไอจะหายไป โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและภาวะแทรกซ้อนเกิดปอดอักเสบน้อยกว่าผู้ใหญ่แต่พบอาการทางระบบทางเดินอาหารได้มากกว่า ในผู้ใหญ่อัตราการตายสูลกว่าในเด็ก และมีสาเหตุจากtype Aมากกว่าtype B อัตราการตายขณะที่มีการระบาดประมาณ 0.1-0.5:1,000

  4. การป้องกันและการรักษาการป้องกันและการรักษา • ทำได้โดยการให้วัคซีนหรือยา • วัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่ในรูปเชื้อตาย(inactyvated virus) มีด้วยกัน 2 แบบ คือ whole virus และsplit virusให้โดยการฉีดเท่านั้น • ยาที่ใช้ป้องกันและรักษาไข้หวัดใหญ่ คือ อะแมนตาดีน(amantadine hydrochloride,symmetrel)หรือสายอนุพันธ์rimantadineซึ่งยับยั้งไวรัสที่ขั้นตอน uncoating และการปลดปล่อยไวรัสออกนอกเซลล์ อะแมนตาดีนจะใช้ได้ดีกับไข้หวัดใหญ่ type A แต่ใช้ไม่ได้ผลกับ type B

  5. การป้องกันและการรักษา(ต่อ)การป้องกันและการรักษา(ต่อ) • ถ้าให้ยา 1-2 วันหลังเกิดอาการจะทำให้ระยะโรคสั้นลง ในขณะที่มีการระบาด การให้วัคซีนอาจจะไม่ทันการที่จะคุมโรค อะแมนตาดีนจะช่วยป้องกันได้ทัน แต่ยานี้ต้องใช้เป็นเวลานานติดต่อกันตลอดการระบาดจึงไม่สะดวกในการใช้แล้วอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีผู้ทดลองนำอินเตอร์เฟอรอนมาใช้หยอดจมูกป้องกันโรค แต่ราคาแพงมาก และที่ได้ยังไม่แน่นอน

  6. รูปภาพ • รูป ไดอะแกรมรูปร่างของไวรัสไข้หวัดใหญ่

  7. Parainfluenza viruses • ไวรัสกลุ่มนี้จัดอยู่ใน Family Paramyxoviridae ซึ่งมี 3 genus คือ • 1. Genus Paramyxovirus มีสมาชิกคือ Parainfluenza virus type 1,2,3,4 ,mumps virus, Newcastle disease virus • 2. Genus Morbillivirus มีสมาชิกที่สำคัญคือ measles virus • 3. Genus Pneumovirus มีสมาชิกคือ Respiratory syncytial virus (RSV) • คุณสมบัติของ paramyxoviruses คือมีรูปร่างส่วนใหญ่ทรงกลมและขนาดใหญ่กว่า orthomyxoviruses อาจพบเป็นรูปร่างแบบอื่น ๆ ด้วย ยีโนมเป็นแบบ ssRNA มีเพียงชิ้นเดียวซึ่งพันรอบด้วย capsid เป็น ribonucleoprutein ไวรัสมี envelope หุ้ม

  8. Parainfluenza viruses(ต่อ) • ซึ่งพบ spike เป็น glycoprotein อยู่ด้วย สมาชิกทุกตัวมี Fusion (F) protein เป็น spike ทำหน้าที่ทำให้เกิดการรวมตัวของเซลล์ และสมาชิกหลายตัวมี Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N) อยู่บน spike เดียวกัน และพบไวรัสสามารถทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลาย (hemolysin) ด้วย ไวรัสแต่ละ genus มีคุณสมบัติของ HN และ hemolysin ต่างกันคือ • Genus Paramyxovirus มี H, N และ Hemolysin • Genus Morbillivirus มี H ไม่มี N มี Hemolysin • Genus Pneumovirus ไม่มีทั้ง H, N และไม่มี Hemolysin • ไวรัสเพิ่มจำนวนในซัยโตพลาส ทำให้เซลล์เพาะเลี้ยงเกิดเป็น giant cell และมักพบการติดเชื้อแบบเรื้อรังโดยเซลล์ไม่ตาย (persistent noncytocidal infection)

  9. Parainfluenza viruses(ต่อ) • Parainfluenza viruses • แบ่งออกเป็น 4 serotypes คือ type 1, 2, 3, 4 สำหรับ type 4 แบ่งออกไปอีก 2 subtypes คือ 4A และ 4B • parainfluensa viruses มีการติดต่อทางการหายใจ ทำให้เกิดโรคอาการรุนแรงต่างกัน type 3 มีความรุนแรงมากที่สุด รองลงมาคือ type 1,2 และ 4 มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 วัน ทำให้เกิดอาการในเด็กเล็กคือ • 1. การอักเสบของทางเดิ่นหายใจส่วนต้น (upper respiratory tract infection, URI) เกิดจาก type 1,3,2 มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ • 2. การอักเสบของทางเดินหายใจส่วนกลาง มักเกิดจาก type 1 และ 2 ทำให้กล่องเสียง หลอดคอและหลอดลมอักเสบเรียกว่าครู้ป (croup) • การอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง มักเกิดจากทัยป์ 3 มีอาการหลอดลมอักเสบ ปอดบวม

  10. Respiratory syncytial virus (RSV) • RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาการอาจรุนแรงมาก แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ • 1. ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบและมีไข้ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ • 2. ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ • Croup • หูชั้นกลางอักเสบ • หลอดลมฝอยอักเสบ มักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย เชื้อ RSV เป็นสาเหตุ 43 –90 % • ปอมบวม อาการรุนแรงมากในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

  11. Respiratory syncytial virus (RSV)(ต่อ) • 3. กลุ่มอาการตายเฉียบพลันในทารก (sudden infant death syndrome, SIDS) พบการตายโดยไม่ทราบสาเหตุแต่สงสัยว่า RSV อาจมีส่วนร่วมด้วย • การป้องกัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV

  12. Adenoviruses • Adenoviruses • จัดอยู่ในแฟมิลี่ Adenoviridae มีอยู่ 2 genus คือ 1. Genus mastadenovirus มีการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2. Genus aviadenovirus มีการติดเชื้อในสัตว์ปีก • Human adenovirus มีทั้งหมด 41 species หรือ serotypes แบ่งเป็น 7 subgenera หรือ subgroup คือ A,B,C,D,E,F,G ตามความสามารถในการก่อเนื้องอกในแฮมสเตอร์ หรือถ้าแบ่งตามคุณสมบัติในการเกิด hemagglutination ได้ 4 กลุ่ม คือ I,II, III, และ IV

  13. Adenoviruses(ต่อ) • คุณสมบัติของไวรัสในกลุ่มนี้คือ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มียีโนมเป็น dsDNA, ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70-90 nm, ไม่มี envelope, มีรูปร่างกลม (icosahedral symmetry), มี fiber ยื่นออกมาจาก capsomer จำนวน 12 หน่วย ทำให้เห็นคล้ายเป็นสายอากาศของยานอวกาศ • adenovirus มีการติดเชื้อที่ epithelium cell ของเยื่อเมือกในอวัยวะต่าง ๆ คือที่ ตา, ทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร, ทางเดินปัสสาวะ โดยการติดต่อทางการสัมผัส หายใจ กิน มีระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ คือ

  14. Adenoviruses(ต่อ) ## ไข้คออักเสบ (acute febrile pharyngitis) พบมากในเด็กเล็ก จะมีอาการ ไอ คัดจมูก เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ## ทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน (Acute respiratory disease, ARD) อาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เกิดในหมู่กองทหารและสถานสงเคราะห์เด็ก ## ไข้คอเจ็บและตาอักเสบ (pharyngoconjunctival fever) ไข้ คออักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองแถวคอโต อ่อนเพลีย อาจติดจากสระว่ายน้ำได้ เรียกว่า swimming pool conjunctivitis พบบ่อยจาก Ad3 และ Ad7 ## ปอดบวม (pneumonia)ในเด็กเล็ก และยังทำให้เกิดกล่องเสียงและหลอดคออักเสบ(CROUP), หลอดลมฝอยอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบได้

  15. Adenoviruses(ต่อ) ## กระเพาะปัสสาวะอักเสบถ่ายเป็นเลือด ## โรคอุจจาระร่วง ## โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ ## ลำไส้กลืนกัน

  16. Rhinoviruses • อยู่ใน genus Rhinovirus , family Picornaviridae มีจำนวนมากกว่า 100 type ทำให้เกิดโรคหวัด (common cold หรือ coryza) มีระยะฟักตัว 1-4 วัน มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ ปวดศรีษะ ไอ อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ โรคเป็นนานประมาณ 1 สัปดาห์ การติดเชื้อจะเกิดภูมิต้านทานเฉพาะ type ไม่มีผลป้องกันการติดเชื้อ type อื่น

  17. coronaviruses • รูปร่างของ coronaviruses คล้ายมงกุฎ มีหลาย serotype ซึ่งสามารถ ทำให้เกิดโรคหวัดได้ 15-30 % • Enterovirus บาง typeนหายใจได้แก่ • Coxsackieviruses A • Enteroviruses ที่สามารถก่อโรคในระบบทางเดิ • Coxsackieviruses B • Echoviruses • Enterovirus type 68

  18. ไวรัสก่อโรคคางทูม Mumps virus • ไวรัสคางทูมทำให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย หรือโรคคางทูมไวรัสมีลักษณะแอนติเจนคือ • S หรือ soluble antigen เป็น viral nucleocapsid พบในเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อสกัดได้โดย ether • V หรือ viral antigen เป็น lipoprotein envelope และ hemagglutinin • Complement-fixing antibody ต่อ S และ V ช่วยในการวินิจฉัยโรคคางทูมได้คือพบว่า • Anti-S เกิดขึ้นก่อน อยู่เป็นเวลาไม่นาน • Anti-V เกิดขึ้นช้าและอยู่นาน • ดังนั้นถ้าตรวจพบ Anti-S แสดงว่าน่าจะมีการติดเชื้อ mumps ในปัจจุบันใช้วิธีตรวจหา specific IgM ในการช่วยวินิจฉัย

  19. การติดต่อ • การติดต่อ โดยการหายใจ มีระยะฟักตัวประมาณ 18-21 วัน ไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในทางเดินหายใจแล้วเข้าสู่กระแสเลือดจากนั้นจึงกระจายไปอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งต่อมน้ำลาย นอกจากทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ ไวรัสยังทำให้อัณฑะอักเสบ ถ้าเป็น 2 ข้างทำให้เป็นหมันได้ ในสตรีทำให้ • รังไข่อักเสบแต่ไม่เป็นหมัน ที่สำคัญคือไวรัสสามารถทำให้เยื่อหุ้มสมอง, สมองและไขสันหลังอักเสบ • ได้ในประมาณวันที่ 5-7 หลังอาการคางทูม นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ถ่ายอุจจาระเป็นไขมัน, เบาหวาน, ไตอักเสบ, ต่อมทัยรอยด์อักเสบ ถ้ามารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก จะทำให้เกิดการพิการในเด็กได้ เช่น หัวโต, หัวเล็ก เป็นต้น

  20. การป้องกัน • การป้องกัน โดยใช้ live attenuated vaccine (สายพันธุ์ Jeryl Lynn strain) ฉีดเด็กอายุ 15 เดือน หรือรวมกับวัคซีนหัดและหัดเยอรมัน (MMR vaccine)

  21. ไวรัสก่อโรคไข้ออกผื่นMeasles virus • ไวรัสหัด ชื่อเดิมว่า rubeola virus พบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี ติดต่อทางการหายใจ มีระยะฟักตัว 7-14 วัน มีอาการไข้ น้ำมูก น้ำตาไหล ไอมากและมีผื่นแดง (maculopapular rash) ขึ้นตามตัว อาจมีเยื่อบุตาอักเสบและพบตุ่มเล็ก ๆ สีแดงมีจุดสีขาวตรงกลางเรียก Koplik's spot บริเวณเหนือฟันกรามล่าง • ไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในซัยโตพลาสมและพบ multinucleated giant cell และ eosinophilic intranuclear และ intracytoplasmic inclusion bodies • ในผู้ที่เป็นหัดจะพบว่าไวรัสมีการกดระบบภูมิต้านทานของร่างกายเป็นอย่างมาก ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ, ท้องเดิน ปอดบวมได้ ไวรัสหัดเองสามารถทำให้เกิดอาการปวดอักเสบรุนแรง หลอดลมฝอยอักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ ประมาณวันที่ 2-7 หลังออกผื่น

  22. ไวรัสก่อโรคไข้ออกผื่นMeasles virus(ต่อ) • ในเด็กที่มีความผิดปกติของระบบอิมมูน อาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ความตายโดยที่ไม่พบผื่นผิวหนัง (measles without rash) เรียก giant cell pneumonia • นอกจากนี้พบว่าไวรัสหัดเป็นสาเหตุของโรคSubacutesclerosing panencephalitis มีการติดเชื้อเรื้อรังในสมองหลังเป็นหัด 4-17 ปี มีความจำเสื่อม แขนขาเกร็งกระตุก บุคคลิกภาพเปลี่ยนจะถึงแก่กรรมหลังมีอาการ 2-6 เดือน • การป้องกัน ใช้ live attenuated vaccine (สายพันธุ์ Schware strain) ให้ฉีดตั้งแต่อายุ 9 เดือน อาจฉีดพร้อมกับ rubella และ numps vaccine เมื่ออายุ 15 เดือนก้ได้

  23. Varicella Zoster virus • มีชื่อเดิมว่า Herpesvirus varicellae เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคสุกใส (chickenpox) และโรคงูสวัด (Varicella Zoster) คำว่า chickenpox มาจากคำว่าchiche หรือ chickpea แปลว่าถั่วเขียวซึ่งหมายความว่า โรคนี้มีตุ่มน้ำพองใสขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ส่วนคำว่า varicella หมายถึงโรคที่มีลักษณะคล้ายฝีดาษ • การติดเชื้อ VZV ติดต่อทางการหายใจ ทำให้เกิดอาการไข้ อ่อนเพลียปวดเมื่อย มีผื่นขึ้นตามลำตัว ผื่นเปลี่ยนเป็นตุ่มนูนแดง (pustule) อย่างรวดเร็ว ลักษณะของผื่นจะขึ้นบรเวณลำตัวมากกว่าแขนขา และพบผื่นทุกระยะได้ในผิวหนังบริเวณเดียวกัน อาการจะหายใน 7-10 วัน อาจมีแผลเป็นให้เห็นได้ การติดเชื้อ VZV ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เด็กที่เป็น leukemia, ผู้เป็นโรคเอดส์ หรือมะเร็งชนิดอื่น มีอัตรายมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการติดเชื้อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการพิการ สมองเสื่อม และตายได้ถึง 30%

  24. โรคงูสวัด (herpes zoster, shingles • โรคงูสวัด (herpes zoster, shingles หรือ zona) เชื้อ VZV ที่แอบแฝงในปมประสาทบริเวณหลัง (Dorsal root ganglia) หลังจากที่ป่วยเป็นสุกใสในตอนเด็ก ๆ เมื่อถูกกระตุ้นไวรัสจะเดินทางมาตามเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) สู่ผิวหนังบริเวณ ไหล่, เอว, แขน, คอ, สะโพก เกิดไปตุ่มน้ำขึ้นเป็นแนวบริเวณผิวหนังจะตกสะเก็ดและหายไปใน 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นคนชราอาจมีอาการเจ็บปวดปลายประสาท บริเวณแผล • การป้องกัน มีวัคซีนชนิดตัวเป็นอ่อนฤทธิ์ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

  25. ไวรัสก่อโรคอุจาระร่วงไวรัสก่อโรคอุจาระร่วง • ไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ rotaviruses, Norwalk virus, enteric adenoviruses • rotavirus อยู่ใน family Reoviridae, genus Rotavirus ลักษณะไวรัสคล้ายซี่ล้อของเกวียน ซึ่งมีแคฟซิด 2 ชั้น • ไวรัสแบ่งเป็น 7 groups คือ A, B, C, D, E, F และ G

  26. ไวรัสก่อโรคตับอักเสบ Hepatitis viruses • ในปี พ.ศ. 2508 Blumberg รายงานการพบ Australia antigen ในเลือดของคนพื้นเมืองออสเตรเลียและในปี พ.ศ. 2510 พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคตับอักเสบจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น Hepatitis associated antigen หรือ serum hepatitis antigen ในปัจจุบันแอนติเจนตัวนี้คือ Heratitis B surface antigen ในปี • พ.ศ. 2516 จึงมีผู้ตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีกตัวหนึ่งคือ Hepatitis A virus โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนตรวจดูอุจจาระผู้ป่วยตับอักเสบ • ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มีหลายแบบคือ • 1. ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ พบเป็นส่วนใหญ่ • HAV ในเด็กจะมีอาการเหลือง 5-10% ในผู้ใหญ่จะมีอาการเหลือง 50-75% • HBV ในเด็กทารกจะไม่แสดงอาการ ในผู้ใหญ่จะแสดงอาการตับอักเสบ 25-35%

  27. ไวรัสก่อโรคตับอักเสบ Hepatitis viruses(ต่อ) • 2. ตับอักเสบแต่ไม่มีอาการเหลือง(Anicteric hepatitis) พบมีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียร ปวดท้อง • 3. ตับอักเสบและมีอาการเหลือง (Icteric hepatitis) พบอาการเป็น 3 ระยะคือ • ระยะนำ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียร เป็นเวลา 3-7 วัน • ระยะเหลือง (Jaundice) มีอาการตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม พบเอ็นซัยม์ • aminotransferase คือ SGOT และ SGPT สูง • ระยะฟื้นตัว จะมีอาการเพลีย เหนื่อยง่ายเป็นเวลานานเป็นเดือนจะค่อยทุเลาลงใน 1-3 เดือนแล้วหายไป แต่บางคนมีการเป็นแบบเรื้อรัง หรือเป็นพาหะ อัตราตาย 1-3%

  28. ไวรัสก่อโรคตับอักเสบ Hepatitis viruses(ต่อ) • ไวรัสก่อโรคตับอักเสบหรือ hepatitis viruses ประกอบด้วยไวรัสหลายตัวคือ • 1. ไวรัสตับอักเสบเอ (HepatitisA virus ; HAV) หรือเดิมเรียกว่า infectious hepatitis • 2.ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus ; HBV)หรือเดิมเรียกว่า serum hepatitis • 3.Non-A, non-B hepatitis virus (NANBH) ซึ่งมีไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus ; HCV) รวมอยู่ด้วย • 4. Delta agent ชื่อใหม่คือไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D virus ; HDV) • นอกจากนี้แล้วอาการตับอักเสบยังอาจเกิดจากไวรัสชนิดอื่น เช่น CMV, EBV, HSV และไวรัสกลุ่มที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก

  29. ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus; HAV) • อยู่ในแฟมิลี่ picornaviridae เดิมจัดเป็น enterovirus type 72 แต่ในปัจจุบันจัดใน genus Hepatovirus ลักษณะยีโนมเป็น +ssRNA, ไม่มี envelope ขนาด 27-32 nm ไวรัสตัวนี้ติดต่อโดยการกิน จึงเรียกว่า infectious hepatitis โรคที่เกิดจากไวรัสนี้มีระยะฟักตัวสั้นประมาณ 25-30 วัน มีการติดเชื้อเฉพาะในคนและลิง

  30. ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus; HAV)(ต่อ) การติดเชื้อมักเกิดในเด็กและไม่ค่อยแสดงอาการ ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักมีภูมิคุ้มกันแล้ว มักมีการติดต่อในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีระบบสาธารณสุขไม่ดีพอส่วนใหญ่มักติดจากการรับประทานอาการดิบพวกหอยชนิดต่างๆหรือติดจากอาหาร, น้ำที่ไม่สุก ขณะนี้มีการค้นพบวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HAV ได้แล้ว กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบในอาสาสมัคร เมื่อกินอาหารที่มี HAV เข้าไป ไวรัสจะไปเพิ่มจำนวนในลำไส้แล้วเข้าสู่ตับทางกระแสเลือด จะอยู่ในกระแสเลือดในระยะสั้น ๆ เชื้อจะเพิ่มจำนวนในตับแล้วออกมากับนำดีผ่านมายังลำไส้และออกมากับอุจจาระ พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ HAV จะมีเชื้อไวรัสออกมาในอุจจาระตั้งแต่ก่อนมีอาการเหลืองประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่พบเชื้อในอุจจาระสูงจะพบระดับเอ็นซัยม์ SGOT และ SGPT สูงด้วย แต่พอเริ่มมีอาการเหลืองจะพบเชื้อในอุจจาระลดลงและเริ่มตรวจพบแอนติบอดีย์ต่อ HAV อาการตับอักเสบเข้าใจว่าเป็นผลจากปฏิกิริยาอิมมูนเพราะจะเริ่มพบระดับเอ็นซัยม์สูงขึ้นพร้อมกับมีอาการซึ่ง NK cell และ T cytotoxic cell อาจมีบทบาทสำคัญในการกำจัด HAV

  31. ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus; HAV)(ต่อ) • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ • 1. ตรวจหาเชื้อ HAV ในอุจจาระ โดยวิธี Immune Electron Microscope (IEM) หรือวิธี RIA • 2. ตรวจหาแอนติบอดีย์ นิยมตรวจหาโดยวิธี ELISA หรือ RIA หา Anti HAV IgM ซึ่งจะพบได้ 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ ส่วน Anti HAV IgG พบได้เป็นเวลานานอาจจะตลอดชีวิต

  32. ไวรัสตับอักเสบบี (Heratitis B virus; HBV) • HBV อยู่ในแฟมิลี่ Hepadnaviridae มียีโนมเป็น incomplete circular dsDNA มีรูปร่างกลมประกอบด้วยเปลือกนอกเรียก Hepatitis B surface Antigen (HBsAg) และแกนกลางข้างในเรียก Hepatitis B core Antigen (HBc Ag) ซึ่งมีเอ็นซัยม์ DNA polymerase อยู่ด้วยเรียก Hepatitis B Antigen (HBe Ag) ขนาดของ virion ประมาณ 42 nmเรียกว่า Dane particle ส่วน HBsAg พบมีการสร้างออกมามากสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนตรวจพบได้ในซีรั่ม มีสองรูปร่างคือรูปร่างกลม ขนาด 20 nm และรูปร่างเป็นแท่งขนาด 20 nm x 50-230 nm • การติดเชื้อพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี จากการให้เลือด, เข็มฉีดยา, เพศสัมพันธ์ และมีการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ซึ่งทารกมักไม่แสดงอาการ แต่จะกลายเป็นพาหะเรื้อรัง

  33. ไวรัสตับอักเสบ เอ(Hepatitis virus;HAV)(ต่อ) • สามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ ระยะฟักตัวของ HBV ยาวนานกว่า HAV คือกินเวลา 2-3 เดือน ส่วนใหญ่คนที่เป็นจะสามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปใน 3 เดือน แต่ก็พบว่าผู้ที่ติดเชื้อบางคนไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้ DNA ของ HBV สามารถเข้าไปรวมตัวกับ DNA ของเซลล์ตับและพบมีการสร้าง HBsAg ออกมาเรื่อย ๆ มีการพัฒนาไปเป็นพาหะ (carrier) ซึ่งคนพวกนี้มีพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติประมาณ 200 เท่า พยาธิสภาพของโรคตับอักเสบที่เกิดจาก HBV เกิดจากระบบอิมมูนทำลายเซลล์ที่มีแอนติเจนของไวรัสในตับ ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี ถ้าติดเชื้อจะมีอาการตับอักเสบรุนแรง และพบอาการตับแข็งตามมาได้

  34. ไวรัสตับอักเสบบี (Heratitis B virus; HBV)(ต่อ) • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ นิยมตรวจโดยวิธี ELISA, RIA, RpHA, PHA ซึ่งมีหลักดังนี้ • 1. คนที่ติดเชื้อแล้วกลายเป็นพาหะของ HBV จะตรวจพบมี HBs Ag และ anti HBc ในเลือดให้ผลบวกเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน • 2. ผู้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกัน ควรตรวจเลือดหา HBsAg, anti HBs และ anti HBc ถ้าให้ผลลบหมดก็สมควรฉัดวัคซีน ถ้าให้ผลบวกตัวใดตัวหนึ่งไม่จำเป็นต้องฉีด • 3. ผู้ที่มีอาการตับอักเสบ ตรวจหา HBs Ag, anti HBc IgM ถ้าให้ผลบวกแสดงว่าเพิ่งมีการติดเชื้อ HBV ถ้าให้ผลลบแสดงว่าตับอักเสบนั้นไม่ได้เกิดจาก HBV • การป้องกัน มี Genetic engineered HBV vaccine ทำจากยีสต์ใช้แล้ว

  35. ไวรัสก่อโรคเอดส์ Human Immunodeficiency Virus; HIV • ไวรัสโรคเอดส์หรือ HIV ซึ่งก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) มีการรายงานโรคครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2524 และแยกเชื้อไวรัสสาเหตุได้ในปี พ.ศ. 2526-27โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศลและอเมริกัน ในตอนแรกมีหลายชื่อเช่น • ชื่อว่า – LAV (Lymphadenopathy Associated Virus)หรือ IDAV (Immunedeficiency Associated Virus) • หรือ - HTLV-III (Human T cell Lymphotropic Virus type III) • หรือ - ARV (AIDS related virus) • ในปี พ.ศ. 2529 จึงตกลงเรียกชื่อเดียวว่า Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV

  36. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • ไวรัส HIV มีคุณสมบัติจัดอยู่ใน Family Retroviridae Subfamily Lentivirinae มียีโนมเป็น ssRNA 2 โมเลกุลอยู่ด้วยกัน พบเอ็นซัยม์ reverse transcriptase ภายใน virion ไวรัสมีขนาด 100-120 nm มี envelope ซึ่งพบ spike อยู่ด้วย ไวรัส HIV ชอบเจริญในเซลล์ T-helper (T4 หรือ CD4 cell) และเซลล์อื่น เช่น เซลล์ประสาท, macrophage, B-lymphocyte รูปร่างเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนเห็นเป็น type D particle ในปัจจุบันมี HIV จำนวน 2 type คือ HIV-1 และ HIV-2 ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ยีโนมและแอนติเจนบางตัว ไวรัสไม่ทนทานต่อความร้อน 56.ซ. 10 นาที และถูกทำลายด้วย 40-70% alcohol แต่สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานานที่อุณหภูมิ -70.ซ. สามารถเพาะเลี้ยง HIV ได้ในเซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้จาก leukemic T-cell line และในหนู SCID (Severe Combine immune Deficiency mice)

  37. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • การติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ การถ่ายเลือดและผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะและติดต่อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ อาการในระยะแรกส่วนใหญ่พบว่าไม่มีอาการอะไร อาจมีไข้ อ่อนเพลีย แล้วทุเลาลง สามารถแยกเชื้อไวรัสได้ในช่วง 2-6 สัปดาห์แรกหลังติดเชื้อ และเริ่มพบแอนติบอดี้ย์ต่อ HIV ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 หรือเดือนที่ 3 หลังติดเชื้อ ในระยะที่สองภายในเวลา 5 ปี จะสามารถแบ่งผู้ติดเชื้อได้เป็น 5 กลุ่ม คือ • 1. กลุ่มไม่มีอาการ แต่ตรวจพบแอนติบอดีย์และ T cell มีจำนวนลดลงพบได้ 45-70% • 2. กลุ่มมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง • 3.กลุ่มมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ (AIDS Related Complex; ARC) มีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ไอเรื้อรัง น้ำหนักตัวลด มีต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว มีผื่นผิวหนัง

  38. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • 4. กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์มีอาการในกลุ่มที่ 3พร้อมกับมีการติดเชื้อแบบฉวยโอกาศ (opportunistic infection) จากเชื้อจุลินทรีย์ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม • 5. กลุ่มผู้มีอาการทางระบบประสาท(AIDS demential complex)ไวรัสHIV ทำลาย • สมอง ทำให้ความจำเสื่อม แขนขาไม่มีแรง • จาการวิจัยพบผู้ป่วยที่มีอาการเป็นโรคเอดส์แล้ว 50% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี, 75% เสียชีวิตใน 3 ปี, และ 100% เสียชีวิตภายใน 5 ปี อาการของโรดเอดส์เต็มขั้นคือ มีต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลดลงรวดเร็วมากกว่า 5 กิโลกรัม มีไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องเสียเรื้อรัง ไอเรื้อรังมีผื่นผิวหนัง พบฝ้าขาวในปากนานกว่า 2 สัปดาห์ มีมะเร็งชนิด kaposi sarcoma (มะเร็งของหลอดเลือดฝอย) มีอาการทางระบบประสาท

  39. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • การติดเชื้อฉวยโอกาศ (opportunistic infection) พบได้ในหลายระบบ • ระบบหายใจมีการติดเชื้อ Pneumocysticcarinii, cytomegalovirus (CMV), • เชื้อรา, Mycobacteria ทำให้มีอาการไข้ ไอหอบ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย • ระบบประสาท เชื้อไวรัส HIV , cryptococcus, toxoplasma, CMV, strongyloides, Histoplasms ทำลายสมองทำให้มีอาการทางระบบประสาท • ระบบทางเดินอาหาร มีการติดเชื้อ Candida, HSV, CMV, cryptosporidium ทำให้มีอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก ท้องเสียเรื้อรัง

  40. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • การตรวจหาสาเหตุของโรดเอดส์ • 1. ตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อ HIV ทำโดยวิธี ELISA, Gelatin Particle Agglutination ถ้าได้ผลบวกต้องทำซ้ำ 2 ครั้ง ในกลุ่มเสี่ยงก็สามารถบอกได้ว่ามีการติดเชื้อ ในคนทั่วไปให้ตรวจยืนยันผลด้วยวิธี Western Blot อีกครั้ง • 2. การตรวจหาแอนติเจนของ HIV ทำโดยวิธี ELISA และ PCR • 3. ตรวจหาการติดเชื้อแบบฉวยโอกาศ • 4. วินิจฉัยสภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง • - การนับจำนวนเม็ดเลือดขาว จำนวนจะลดลง • - การหาอัตราส่วนระหว่าง T4/T8 ปกติจะมากกว่า 1 ผู้ติดเชื้อ HIV อาจพบค่าน้อย กว่า 1

  41. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • - การหาระดับอิมมูโนโกลบุลิน • - การตรวจดูการทำงานของ CMIR • การรักษาโรคติดเชื้อ HIV ยังไม่มียารักษาให้หายขาดเพราะไวรัสมียีโนมที่สามารถเข้าไปร่วมตัวกับยีโนมของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ยาที่พอจะได้ผลในการหยุดการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้คือยา AZT (Azidothymidine) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นซัยม์ reverse transcriptase ของไวรัสได้ ส่วนวิธีการอื่น เช่น การกระตุ้นการทำงานของระบบอิมมูนมีการทดลองใช้ Interleukin และ isoprinosine หรือการสร้างเสริมระบบอิมมูนมีการทดลองให้ gamma-globulin และการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก วิธีการเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ผลเท่าใดนัก

  42. ไวรัสก่อโรคเอดส์(ต่อ) • วัคซีนป้องกันโรคเอดส์ มีการทดลองทำโดยวิธี genetic engineering และกำลังทดสอบดูการสร้างภูมิคุ้มกันในอาสาสมัคร แต่ปัญหาที่พบคือพบว่า envelope gene ของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วคล้ายไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นปัญหาในการผลิตวัคซีนที่จะสามารถป้องกันโรคอย่างได้ผล • ระบาดวิทยาของโรคเอดส์ ไวรัส HIV-1 มีการระบาดไปทั่วโลก ขณะที่ HIV-2 ซึ่งเดิมพบในทวีปแอฟริกาก็เริ่มพบมีการระบาดไปทั่วเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยการระบาดในระยะแรกพบในชายรักร่วมเพศและนักโทษที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือด ต่อมาจึงแพร่กระจายสู่โสเภณี ทำให้ยากต่อการควบคุม แนวโน้มผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยจึงสูงขึ้นมาก คาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัส HIV-1 ไปแล้วถึง 300,000 คน (พ.ศ. 2534) • โรคนี้ถือว่าเป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2523

  43. Herpesviruses • จัดไว้ในแฟมิลี่ herpesviridae หรือ herpetoviridae มีสมาชิกมากกว่า 80 ชนิด ทำให้เกิดโรคในคน ลิง ม้า สุกร วัว ควาย แมว ไก่ แบ่งออกเป็น 3 subfamily คือ • 1. alpha-herpesvirus ทำให้เกิด CPE รวดเร็ว มักมีการหลบซ่อนในปมประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve ganglia) • 2. beta-herpesvirus ทำให้เกิด CPE ช้า ๆ มักมีการหลบซ่อนในต่อมน้ำลายและอวัยวะอื่น ๆ • 3. gamma-herpesvirus ทำให้เกิด transformed cell คุณสมบัติของไวรัสในแฟมิลี่นี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 mn รูปร่างกลมยีโนมเป็นแบบ dsDNA มี envelope สมาชิกทุกตัวทำให้เกิดการติดเชื้อแบบแอบแฝง(latent infection)

  44. Herpesviruses(ต่อ) • คือหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก (primary infection) แล้วเชื้อไวรัสจะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในเซลล์ชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อถูกกระตุ้น (reactivate) โดยสิ่งเร้าต่าง ๆ เชื้อไวรัสก็จะออกมาทำให้เกิดอาการของโรคขึ้น สิ่งเร้าที่กระตุ้นไวรัสกลุ่มนี้เช่น • แสงแดด (รังสี UV) • การติดเชื้อ • ความเครียดวิตกกังวล • บาดแผลที่ผิวหนัง • อาการไข้ • การมีประจำเดือน • การผ่าตัดเส้นประสาท

  45. Herpes virus ในคนมี 5 ชนิด • alpha-herpes virus • 1. Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) ชื่อใหม่ human herpesvirus 1 • 2. Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) ชื่อใหม่ human herpesvirus 2 • 3. Varicella-Zoster virus (VZV) ชื่อใหม่ human herpesvirus 3

  46. ต่อ • beta-herpes virus • 4. Epstein-Barr virus (EBV) ชื่อใหม่ human herpesvirus 5 • gamma-herpes virus • 5. Cytomegalovirus (CMV) ชื่อใหม่ human herpesvirus 4 • Herpes simplex virus • มีชื่อเดิมว่า herpesvirus hominis เชื้อ HSV มี 2 ทัยป์ คือ HSV-1 คำว่า herpes มาจากคำว่า herpein แปลว่าคืบคลาน ซึ่งหมายถึงลักษณะการเกิดตุ่มน้ำพองใสที่ลามออกไปเหมือนการคืบคลานของงู ไวรัสทั้งสองทัยป์มี DNA คล้ายคลึงกัน 50% และมีความแตกต่างกันบ้าง

  47. ต่อ • การติดเชื้อเริม แบ่งเป็น 1. การติดเชื้อครั้งแรก มีอาการรุนแรง 2. การติดเชื้อซ้ำ จากการกระตุ้น (reactivate) อาการรุนแรงน้อยกว่า HSV ก่อโรคได้หลายลักษณะในบริเวณต่างกันคือทำให้เกิด 1. เหงือกและปากอักเสบ (HSV-1) 2. คออักเสบ (HSV-1, HSV-2) 3. กระจกตาและเยื่อบุตาอักเสบ (HSV-1) อาจทำให้ตาบอดได้ 4. ติดเชื้อที่ผิวหนัง บริเวณที่มีบาดแผล (HSV-1, HSV-2)

  48. ต่อ 5. เริมริมฝีปาก (HSV-1) เรียก fever blister 6. เริมอวัยวะสืบพันธุ์ (HSV-2) เรียก Genital herpes 7. เริมในทารกแรกเกิด (HSV-2) เรียก Congenital herpes ทารกติดเชื้อ จากแม่ที่ เป็นเริมในระหว่างคลอด 8. การติดเชื้อเริมในระบบประสาทกลาง พบในทารก และผู้ป่วยโรดเอดส์บ่อย การป้องกัน ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน การรักษา มียาต้านไวรัสเริมหลายชนิด 1. ป้ายตา ใช้ 0.1 % Idoxuridine หรือ Trifluridine หรือ Vidarabine 2. ยาฉีด, m, กิน Acyclovir ทำให้ระยะเวลาเป็นโรคลดลง แต่ไม่มีผลการ รักษาให้หายขาดจากการติดเชื้อแบบแอบแฝง

  49. Cytomegalovirus (CMV) • ไวรัส CMV มีการติดต่อทางการหายใจ กิน ทางเลือดและเพศสัมพันธ์ เชื้อเจริญเพิ่มจำนวนในลำคอแล้วเข้าสู่กระแสเลือดมีการติดเชื้อแบบแอบแฝงในเม็ดเลือดขาวและไต ตรวจพบ cytomegalic cell ได้ในเซลล์ที่ปะปนกับปัสสาวะ ไวรัสนี้ทำให้เกิดโรคในทารกในครรภ์ได้ เด็กมีอาการตับ ม้ามโต หัวเล็ก และตายได้ ในผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอสด์จะมีการติดเชื้อ CMV ที่มีอาการรุนแรง

  50. Epstein-Barr virus (EBV) • ไวรัส EBV ติดต่อทางการหายใจ การจูบ เข้าไปติดเชื้อแบบแอบแฝงใน B-lymphocyte พบว่าเป็นสาเหตุของโรค infectious mononucleosis และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง nasopharyngeal carcinoma และ burkitt lymphoma • อาการในเด็ก ทำให้เกิดคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และอาจพบผื่นขึ้นในวัยรุ่น พบอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ lymphocyte และ monocyte

More Related